Tag: ธรณีแปรสัณฐาน

เรียนรู้

การเวียน-ว่าย-ตาย-เกิด ของเปลือกโลก EP. 2 : ทวีปแตกร้าว

ผลจากการสู้กันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (geothermal gradient) และ ความดันปิดล้อม (confining pressure) ทำให้ 1) เปลือกโลกเป็นของแข็ง 2) เนื้อโลกมีสถานะพลาสติก 3) แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว และ 4) แก่นโลกชั้นในเป็นของแข็ง ...
เรียนรู้

การเวียน-ว่าย-ตาย-เกิด ของเปลือกโลก EP. 1 : ทวีปเสถียร

สมัยก่อน ย้อนกลับไป 50-100 ปี หลังจากนักธรณีวิทยาเริ่มสำรวจการกระจายตัวของหิน แร่และภูมิประเทศได้มากพอ การประมวลผลและคำถามว่า “ทำไม” จึงเริ่มผุดขึ้น ทำไมสระบุรีต้องมีหินปูน ? ทำไมอีสานถึงเป็นหินทราย ? ทำไมภาคเหนือต้องเป็นเทือกเขาสลับที่ราบ ? ทำไมภาคกลางถึงลุ่มต่ำ ? ซึ่งต่อมา ...
สำรวจ

5 เรื่องราวทางธรณีวิทยา ที่ส่งผลต่อไทย เมื่อ “อินเดีย” พุ่งชน “เอเชีย”

จากการศึกษา ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ของประเทศไทย นักธรณีวิทยาสามารถย้อนเรื่องราวทางธรณีวิทยาไทย ไปได้ไกลถึง 400 ล้านปีก่อน โดยในยุคดีโวเนียน (Devonian period) ของ มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) ช่วงนั้น 1) ด้ามขวาน ...
สำรวจ

ธรณีวิทยา สะพานพระราม

สะพานพระราม (Rama’s Bridge) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า สะพานอดัม (Adam’s Bridge) เป็น ภูมิลักษณ์ (landform) ทางทะเล ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเหมือนแนวสันทรายที่ทอดยาว เชื่อมระหว่าง 1) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แผ่นดินใหญ่ และเกาะยักษ์ที่ห่างออกไปอย่าง ...
เรียนรู้

สันเขา (ridge) – เนินเขา (rise) ใต้มหาสมุทร

หากใครเคยร่ำเรียนหรือแวะเวียนเข้ามาในวงการ ธรณีวิทยา (Geology) ธรณีแปรสัณฐาน (Tectonic) หรือ สมุทรศาสตร์ (Oceanography) ก็จะพอรู้ว่า พื้นมหาสมุทร (ocean floor) ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนชามก๋วยเตี๋ยว ที่ขอบทวีปหรือริมฝั่งจะตื้นมากๆ และห่างออกไปกลางมหาสมุทรจะลึกที่สุด เพราะด้วยเทคนิคการหยั่งความลึกพื้นมหาสมุทรที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า บริเวณกลางมหาสมุทร ...
เรียนรู้

คอยดูนะ !!! อีกหน่อย แผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย จะแยก เป็นแผ่นใครแผ่นมัน

จากทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน นักธรณีวิทยาพบว่าโลกประกอบด้วย แผ่นเปลือกโลก (tecotnic plate) ทั้งสิ้น 14 แผ่น ดังนี้ 1) แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic plate) จำนวน 7 แผ่น ได้แก่ แผ่นแปซิฟิก ...
สำรวจ

แผ่นดินไทยมาจากไหน ? : นิทาน . ธรณีแปรสัณฐาน . ประเทศไทย

เชื่อว่าผู้อ่านคงเคยได้รับชมสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางของเผ่าพันธุ์มนุษย์ การอพยพของสัตว์เพื่อหนีหนาว หรือแม้แต่การเดินทางของเม็ดเลือดจากการ์ตูน “นิทานชีวิต” ที่เราคลั่งไคล้กันตอนเด็กๆ คราวนี้ผู้เขียนอยากให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ มาดูการเดินทางของผืนแผ่นดิน (ธรณีแปรสัณฐาน) กันบ้าง ผู้เขียนผู้เขียนตั้งชื่อนิทานเรื่องนี้ว่า “นิทานขวานทอง” ซึ่งอ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยมีการศึกษาวิจัยเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bunopas (1985) Charusiri และคณะ (2002) ...
เรียนรู้

เมื่อหนังหน้าโลกเหลื่อมกัน

รอยเลื่อน – โดยธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมี ปฏิสัมพันธ์กับแผ่นอื่นอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) เข้าชนแล้วก็มุดกัน ซึ่งจะเป็นขอบตามทิศทางการเคลื่อนที่ 2) แยกออกจากกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และ 3) ...
เรียนรู้

การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะยาว

ก็เพราะโดนมาเยอะ เจ็บมาเยอะ มนุษย์เลยตระหนักได้ว่าถ้าไม่สนใจนิสัย แผ่นดินไหว นับวันก็มีแต่จะเจ็บตัวฟรี ก่อนที่สถานการณ์จะย่ำแย่ไปกว่านี้ นักแผ่นดินไหวจึงพยายามศึกษาลักษณะเฉพาะต่างๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะคาดเดาว่าคุณพี่จะมาอีกเมื่อไหร่ หวยจะออกตรงไหน แต่ปัญหาใหญ่คือแผ่นดินไหวมันไม่มีตัวตน มองไม่เห็นเหมือนเมฆฝนที่ต้องตั้งเค้าก่อนแล้วค่อยปะทะ ดังนั้น การพยากรณ์แผ่นดินไหว (earthquake forecasting) หรือ การทำนายแผ่นดินไหว ...
เรียนรู้

แผ่นเปลือกโลก และกลไกการเคลื่อนที่

แผ่นเปลือกโลก – หลังจากปี พ. ศ. 2458 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอ แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาพอปี พ.ศ. 2472 ...
เรียนรู้

“ธรณีแอ่นตัว” ทฤษฏีที่ดับมอดลง หลังการมาถึงของ “ธรณีแปรสัณฐาน”

ในอดีตหลังจากที่นักสำรวจและนักธรณีวิทยาค้นพบพื้นที่ต่างๆ ของโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เกิดข้อสงสัยจำนวนมากเกี่ยวกับการกระจายตัวของภูมิประเทศและหินชนิดต่างๆ ที่พบในแต่ละพื้นที่ โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าความแตกต่างของหินและภูมิประเทศดังกล่าว น่าจะเกิดจากกระบวนการหรือกิจกรรมบางอย่างของโลก และมีความพยายามที่จะอธิบายการมีอยู่ของหินต่างๆ และการเกิดภูมิประเทศที่หลากหลาย ในแต่ละพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เป็นทฤษฏีเริ่มแรก ที่นักธรณีวิทยาพยายามจะปักธงและตั้งแนวคิดขึ้น เพื่อใช้ในการให้เหตุให้ผลแก่หินและภูมิประเทศที่พบในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งกว่าจะเกิดทฤษฏีนี้ได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมมือของนักธรณีวิทยาที่เห็นพ้องต้องกันหลายๆ คน ลองไปดูกันครับว่านักธรณีวิทยาแต่ละคนเขาคิดอะไรกันยังไง ...
เรียนรู้

สภาพแวดล้อมทาง “ธรณีแปรสัณฐาน” ที่ทำให้เกิด “แผ่นดินไหว”

ปัจจุบันเมื่อมีการตรวจวัดและจดบันทึกเวลา ขนาด และตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดมั่วซํ่วไปทั่วโลก แต่จะมีการกระจายตัวของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เฉพาะเจาะจง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมแผ่นดินไหวถึงได้เกิดเฉพาะบางพื้นที่ ซึ่งเมื่อนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวลองนำข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์กับประเด็นต่างๆ ทางธรณีวิทยา พบว่าแผ่นดินไหวแทบทั้งหมดส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก และสามารถอธิบายเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวได้ด้วยทฤษฏีที่เรียกว่า ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการเคลื่อนตัวและกระทบกระทั่งกันของแผ่นเปลือกโลก ปัจจุบัน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า เปลือกโลก (crust) ...
เรียนรู้

เคล็ดลับการทำเบบี้เฟสหนังหน้าโลก

ถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างพื้นผิวของโลกและดวงจันทร์ มันก็เหมือนการเอาหน้าลุงแก่ๆ คนหนึ่งมาเทียบกับหน้าของเด็กวัยขบเผาะอายุซัก 14-15 ผิวหน้าโลกดูราบเรียบชุ่มชื้นและดูมีน้ำมีนวล ในขณะที่หนังหน้าของดวงจันทร์ดูแห้งกร้าน หยาบกระด้าง เพราะเต็มไปด้วยหลุม หรือริ้วรอยการตกกระทบของอุกกาบาต ตลอดช่วงอายุของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมา จะว่าไปความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เค้าเหลาๆ กันมา ก็บอกว่าโลกเกิดก่อนดวงจันทร์มาซักพัก ดังนั้นโลกก็ควรจะผ่านร้อนผ่านหนาวและควรจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตที่มากกว่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ควรจะยุบยับพอๆ หรือเท่าๆ กับที่เราเห็นบนดวงจันทร์ ...
เรียนรู้

โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง

แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ...
เรียนรู้

“ความเหมือนกันในตัวของตัวเอง” กับการศึกษารูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว (ฮั่นแน่ งง ? ลองอ่านดู…งงยิ่งกว่าเดิม)

แฟร็กทัล (Fractal) เป็นคำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ เหมือนกันในตัวเอง (self-similar) คือ ดูเหมือนกันหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (scale) ใดก็ตาม โดยจากการสังเกตและศึกษางานวิจัยในอดีต นักวิทยาศาสตร์พบความเป็นแฟร็กทัลมากที่สุดกับวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ เกร็ดหิมะ ใบไม้ ...
เรียนรู้

ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย

ภูเขาไฟ (volcano) คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่โลกพยายามคลายความร้อนภายในโลกออกสู่ภายนอกในรูปแบบการปะทุของ หินหนืด (molten rock) ซึ่งตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมา มีหินหนืดไหลขึ้นมาบนพื้นโลกผ่านกระบวนการปะทุของภูเขาไฟอย่างนับไม่ถ้วน โดยในบรรดาภูเขาไฟที่ยังมีให้เห็นอยู่บนโลก หลายลูกก็ดับสนิทไปแล้ว ในขณะที่บางลูกก็ฮึ่มๆ พร้อมปะทุได้ทุกเวลา ซึ่งในทางธรณีวิทยา นิสัยคร่าวๆ ที่นักธรณีวิทยาใช้แยกความดุหรือความมีภัยพิบัติของภูเขาไฟคือ ความถี่ของการปะทุและเวลาการปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนั้นๆ ซึ่งแบ่งภูเขาไฟที่มีอยู่บนโลกออกเป็น ...
เรียนรู้

ความเหมือนกันของแผ่นเปลือกโลกกับรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง

ถ้ายึดตามหลักทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ส่วนนอกสุดของโลกคือ เปลือกโลก (crust) โดยในช่วง 200 ล้านปีก่อน มีแค่แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่เพียงแผ่นเดียวที่เรียกว่า มหาทวีปแพนเจีย (Pangaea Supercontinent) แต่ต่อมาแพนเจียเริ่มแตกและแยกออกจากกัน เคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ของโลก อย่างที่เราเห็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน ...
สำรวจ

ไวน์ . แมททิว . มอร์เลย์

ในช่วงที่กำลังเลือกหาหัวข้อเพื่อทำวิจัยปริญญาเอก เฟรเดริก ไวน์ (Frederick Vine) นักศึกษาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นมหาสมุทรแผ่กว้าง (Sea-floor Spreading) ของแฮรี่ เฮสส์ ซึ่งมันทำให้เขาสนใจและอยากรู้ว่าบริเวณ แนวสันเขากลางมหาสมุทรนั้นเป็นต้นกำเนิดของการสร้างแผ่นมหาสมุทรใหม่จริงหรือไม่ และการเกิดใหม่ของแผ่นมหาสมุทรตรงแนวสันเขานี้ใช่ไหมที่ทำให้ทวีปต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างที่อัลเฟรด ...
สำรวจ

ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย

หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน ...
สำรวจ

รอยเลื่อนสะกาย – ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า ...
สำรวจ

นิทาน . ตำนาน . ความเชื่อ . แผ่นดินไหว

ในอดีต แนวคิดแบบเหตุและผลอย่างวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก คนโบราณจึงมักจะดำเนินชีวิตตามความเชื่อและความศรัทธาเป็นหลัก ปรากฏการณ์ธรรมชาติถูกผูกติดกับปาฏิหาริย์และอำนาจลึกลับ ผี เทพเจ้าและสรรพสัตว์ที่ดูน่าเกรงขามถูกบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ข้อมูลจากเอกสารหลายๆ ฉบับ ยืนยันว่าในอดีต คนแทบทุกมุมโลกเคยสัมผัสกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น จินตนาการและอารมณ์จึงถูกผสม นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่อง หลักคิดของชาวยุโรป ในอดีต ...
สำรวจ

จากห้องทดลองสู่มหาสมุทร จากมหาวิทยาลัยสู่ดงสงคราม – ชีวิตที่ผกผันของผู้พันเฮสส์

แฮรีย์ เฮสส์ (Harry Hess) เกิดที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2449 เขาจบไฮสคูลที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเยล รัฐคอนเนตทิคัต ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ต่อมาเขาหันเหความสนใจย้ายไปเรียนและจบปริญญาตรี สาขาธรณีวิทยา (Geology) ในปี พ.ศ. ...
สำรวจ

4 หลักฐานชวนเชื่อ “ทวีปเคลื่อนที่ได้” กับความชอกช้ำของเวเกเนอร์

ต่อให้เป็นยุคนี้ พ.ศ. นี้ ถ้าเราพอจะนึกออกว่าแต่ละทวีปของโลกมันกว้างใหญ่แค่ไหน ใครจะไปกล้าคิดละว่าทวีปต่างๆ จะเคลื่อนที่ได้ แต่เชื่อไหมว่าถ้าย้อนกลับไปซักประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว มีชายเยอรมันคนหนึ่งที่คิดเรื่องพรรณนี้ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) เป็นที่รู้จักในฐานะนักสำรวจขั้วโลกเหนือตัวยง ชีวิตของเขาส่วนใหญ่ก็เลยหนักไปทางสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ บนเกาะกรีนแลนด์ ทั้งในหมวกของนักธรณีวิทยาสำรวจหิน ดิน แร่ ...
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024