วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
1. | _____ | abrasion | ก. | ปริมาณตะกอนมาก ปริมาณน้ำน้อย |
2. | _____ | point bar | ข. | เนินตะกอนติดเชิงเขา |
3. | _____ | saltation | ค. | ระดับต่ำที่สุดที่มีกระบวนการกัดกร่อน |
4. | _____ | flood plain | ง. | ความชันของธารน้ำ |
5. | _____ | stream gradient | จ. | ธารน้ำสายเดิม |
6. | _____ | alluvial fan | ฉ. | คันดินธรรมชาติ |
7. | _____ | braided stream | ช. | การกระโดดเป็นช่วงของตะกอนในธารน้ำ |
8. | _____ | natural levee | ซ. | การครูดถูหินที่อยู่กับที่ |
9. | _____ | oxbow lake | ฌ. | อยู่ในธารน้ำโค้งตวัด |
10. | _____ | base level | ญ. | จมน้ำในฤดูน้ำหลาก |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | _____ | พลังงานขับเคลื่อน วัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) มาจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ภายในโลก |
2. | _____ | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) บางครั้งสามารถเกิดในบริเวณร่องเขาแคบๆ ได้เช่นกัน |
3. | _____ | ความชันของธารน้ำ (gradient) สัมพันธ์กับอัตราน้ำไหลในธารน้ำ (discharge) |
4. | _____ | โดยทั่วไป อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (stream discharge) จะสูงขึ้นไปทางปลายน้ำ |
5. | _____ | หน้าตัดข้างตามธารน้ำ (longitudinal profile) จะมีลักษณะโค้งขึ้นคล้ายกับสมการเอ็กโพเนลเชียลฟังก์ชั่นเพิ่ม |
6. | _____ | แม่น้ำขนาดใหญ่สามารถกัดกร่อนธารน้ำได้ลึกกว่า ระดับน้ำอ้างอิง (base level) |
7. | _____ | ความเร็วของธารน้ำโดยปกติจะลดลงไปทางปลายน้ำ |
8. | _____ | ตะกอนท้องน้ำ (bed load) สามารถถูกพัดพาโดย การกระโดดเป็นช่วง (saltation) |
9. | _____ | พื้นที่ในเมืองมีโอกาสเกิดน้ำท่วมได้ง่ายกว่าชนบท เนื่องจากการระบายน้ำในเมืองไม่ดีเท่าชนบท |
10. | _____ | ธารน้ำ (stream) ทั้งหมดมีศักยภาพที่จะทำให้เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมได้ |
11. | _____ | ธารน้ำที่ไหลหายลงไปในหลุมยุบ (sinkhole) เป็นตัวบ่งชี้ ภูมิประเทศแบบคาร์สต์ (karst topography) |
12. | _____ | ถ้ำ (cave) โดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการละลายหินปูนที่อยู่ใต้พื้นผิวโลก |
13. | _____ | ความชันของธารน้ำ (gradient) มีความชันเพิ่มมากขึ้นไปทางปลายน้ำ |
14. | _____ | ธารน้ำประสานสาย (braided stream) เป็นธารน้ำที่มีปริมาณตะกอนน้อยแต่มีปริมาณน้ำมาก |
15. | _____ | ระดับน้ำอ้างอิง (base level) คือระดับต่ำที่สุดที่ธารน้ำสามารถกัดกร่อนร่องน้ำลงลึกไปได้ โดยปกติจะอ้างอิงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง |
16. | _____ | รูปร่าง ขนาดและความหยาบส่งผลต่อความเร็วในการไหลของน้ำ |
17. | _____ | แม่น้ำโดยส่วนใหญ่พัดพาตะกอนในรูปแบบของสารละลาย (solution) มากกว่าการพัดพาแบบอื่นๆ |
18. | _____ | ในบางกรณีน้ำที่ไหลอยู่ในร่องน้ำมาจาก น้ำใต้ดิน (groundwater) |
19. | _____ | น้ำท่วมไหลหลาก (flash flood) เป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝน ความยาวนานที่ฝนตก สภาพแวดล้อมบนพื้นผิวตลอดจนลักษณะภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่ |
20. | _____ | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการกตรวจวัดแกว่งของธารน้ำในอดีต |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. วัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) คืออะไร
ก. | การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ | ข. | ระบบการไหลของน้ำ | |
ค. | การรับและให้น้ำของระบบใดๆ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
2. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern)
ก. | แบบเถาองุ่น (trellis) | ข. | แบบตามยาว (longitudinal) | |
ค. | แบบกิ่งไม้ (dendritic) | ง. | แบบรัศมี (radial) |
3. การกัดกร่อนและการสะสมตัวโดยธารน้ำถูกควบคุมโดยปัจจัยอะไรเป็นหลัก
ก. | อัตราน้ำไหลในธารน้ำ | ข. | ความชันของธารน้ำ | |
ค. | รูปร่างร่องน้ำ | ง. | ความเร็ว |
4. ข้อใดคือส่วนที่แบ่งแอ่งตะกอนออกจากกัน
ก. | สันปันน้ำ (drainage divide) | ข. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) | |
ค. | หุบเขา (valley) | ง. | คันดินธรรมชาติ (natural levee) |
5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ แอ่งรับน้ำ (drainage basin)
ก. | ความยาวของแม่น้ำขนาดใหญ่ | ข. | ระดับต่ำที่สุดที่แม่น้ำสามารถกัดกร่อนได้ | |
ค. | ทะเลสาบหรือมหาสมุทรที่เป็นทางออกของแม่น้ำ | ง. | พื้นที่โดยรวมที่รองรับน้ำจากธารน้ำและธารน้ำสาขา |
6. สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเลเรียกว่าอะไร
ก. | ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) | ข. | เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) | |
ค. | ลิ่มตะกอน (wedge) | ง. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) |
7. พื้นที่ใดมีศักยภาพในการทำเหมืองทรายก่อสร้าง
ก. | คันดินธรรมชาติ (natural levee) | ข. | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) | |
ค. | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
8. สภาพแวดล้อมแบบใดในทางธรณีวิทยาที่มีศักยภาพในการใช้เป็น แก้มลิง ในงานด้านการบริหารจัดการน้ำ
ก. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) | ข. | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | |
ค. | คันดินธรรมชาติ (natural levee) | ง. | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) |
9. พื้นที่ใดไม่ควรซื้อหรือเลือกเป็นที่อยู่อาศัย
ก. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) | ข. | ตลิ่งชัน (cut bank) | |
ค. | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | ง. | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) |
10. จุดสูงที่สุดตามแนว ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream) คือพื้นที่ใด
ก. | คันดินธรรมชาติ (natural levee) | ข. | ชั้นกรวด (gravel bed) | |
ค. | ท้องน้ำ (channel bottom) | ง. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) |
11. รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern) แบบใดที่มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้
ก. | rectangular | ข. | radial | |
ค. | derange | ง. | dendritic |
12. ธารน้ำแบบเถาองุ่น (trellis) โดยส่วนใหญ่จะพัฒนาในสภาพแวดล้อมแบบใด
ก. | คันดินธรรมชาติ | ข. | ชั้นหินอัคนีตามแนวราบ | |
ค. | ชั้นหินตะกอนที่มีการเอียงเท | ง. | หินบะซอลต์มีแนวรอยแตก |
13. แนวของตะกอนที่สะสมตัวตามขอบของธารน้ำเรียกว่าอะไร
ก. | คันดินธรรมชาติ (natural levee) | ข. | เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) | |
ค. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) | ง. | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) |
14. ความจุของธารน้ำ (stream capacity) ตรวจวัดได้จากอะไร
ก. | ปริมาตรของน้ำ | ข. | ความสามารถกัดกร่อน | |
ค. | อัตราน้ำไหลในธารน้ำ | ง. | ความเร็วของน้ำ |
15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream)
ก. | มีเนินทรายและกรวดจำนวนมากตามธารน้ำ | ข. | เป็นหุบเขาแคบและลึก | |
ค. | มีร่องน้ำเดี่ยวที่โค้งตวัดชัดเจน | ง. | ธารน้ำตรงยาวและมีน้ำตก |
16. สภาพแวดล้อมแบบใดเกิดชั้นหินแบบ ชั้นลาดแนวดินดอน (foreset bed)
ก. | เนินตะกอนรูปพัด | ข. | คันดินธรรมชาติ | |
ค. | เนินทรายริมตลิ่ง | ง. | ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ |
17. ข้อใดคือปัจจัยควบคุมความเร็วการไหลในธารน้ำ
ก. | รูปร่างร่องน้ำ | ข. | ความหยาบร่องน้ำ | |
ค. | ความชันของธารน้ำ | ง. | ถูกทุกข้อ |
18. อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (discharge) คืออะไร
ก. | ขึ้นอยู่กับขนาดและความชันของร่องน้ำ | ข. | ปริมาตรของน้ำที่ผ่านจุดใดๆ ต่อหน่วยเวลา | |
ค. | ขึ้นอยู่กับรูปร่างและความหยาบของร่องน้ำ | ง. | ถูกทุกข้อ |
19. ข้อใดคือรูปแบบธารน้ำที่ธารน้ำไหลเข้า-ออกจากทะเลสาบด้วยทิศทางการไหลที่ไม่สม่ำเสมอ
ก. | แบบรัศมี (radial) | ข. | แบบขนนก (pinnate) | |
ค. | แบบตั้งฉาก (rectangular) | ง. | แบบสับสน (derange) |
20. watershed คืออะไร
ก. | ทะเลสาบที่ละลายมาจากธารน้ำแข็ง | ข. | พื้นที่รองรับน้ำของระบบแม่น้ำใดๆ | |
ค. | พื้นที่ซึ่งครอบคลุมโดยน้ำท่วม | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
21. ข้อใดคือกระบวนการทำให้ ตะกอนท้องน้ำ (bed load) พัดพาตามธารน้ำ
ก. | การแขวนลอย (suspension) | ข. | การครูดถู (abrasion) | |
ค. | การละลาย (solution) | ง. | การกระโดดเป็นช่วง (saltation) |
22. ข้อใดเทียบเคียงได้กับ ระดับน้ำอ้างอิง (base level) ในท้องถิ่น
ก. | ทะเลสาบ (lake) | ข. | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | |
ค. | เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
23. ข้อใดคือภูมิลักษณ์ที่หลงเหลือจากการกัดกร่อน ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ซึ่งสูงกว่าระดับร่องน้ำในปัจจุบัน
ก. | ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) | ข. | สะพานธรรมชาติ (natural bridge) | |
ค. | ตลิ่งชัน (cut bank) | ง. | ตะพักธารน้ำ (terrace) |
24. ข้อใดคือ ทะเลสาบ (lake) ในทะเลทราย
ก. | playa | ข. | mesa | |
ค. | pediment | ง. | inselberg |
25. ธารน้ำ (stream) สามารถทำให้ร่องน้ำลึกขึ้นด้วยกระบวนการใด
ก. | runoff | ข. | meandering | |
ค. | hydraulic action | ง. | headward erosion |
26. เขื่อน (dam) โดยส่วนใหญ่ส่งผลอย่างไรกับกระบวนการทางน้ำ
ก. | เร่งกระบวนการกรัดกร่อนบริเวณต้นน้ำ | ข. | เร่งกระบวนการกรัดกร่อนบริเวณเหนือเขื่อน | |
ค. | ไม่ส่งผลต่อปลายน้ำ | ง. | แอ่งน้ำถูกเติมเต็มด้วยตะกอน |
27. พื้นที่ซึ่งมีหินราบเรียบสม่ำเสมอ โดยส่วนใหญ่เกิดรูปแบบธารน้ำแบบใด
ก. | แบบกิ่งไม้ (dendritic) | ข. | แบบเถาองุ่น (trellis) | |
ค. | แบบรัศมี (radial) | ง. | ถูกทุกข้อ |
28. ข้อใดคือธารน้ำอายุแก่
ก. | อายุ ≥ 1,000 ปี | ข. | อายุ ≥ 10,000 ปี | |
ค. | อายุ ≥ 100,000 ปี | ง. | ธารน้ำมีการกวัดแกว่งมาก |
29. ข้อใดคือธารน้ำที่มีปริมาณตะกอนมากและมีน้ำน้อย
ก. | mature | ข. | youthful | |
ค. | meandering | ง. | braided |
30. รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern) แบบใดที่พบในพื้นที่ซึ่งมีการสลับชั้นกันระหว่างชั้นหินแข็งและอ่อน
ก. | แบบกิ่งไม้ (dendritic) | ข. | แบบสับสน (derange) | |
ค. | แบบเถาองุ่น (trellis) | ง. | ถูกทุกข้อ |
31. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ ตะกอนธารน้ำ (stream load)
ก. | มีสีน้ำตาลจากโคลนซึ่งละลาย มากกับธารน้ำ | ข. | ตะกอนบางชนิดสามารถละลาย ไปตามธารน้ำ | |
ค. | ตะกอนขนาดใหญ่ถูกพัดพาโดยการลากตามท้องน้ำ (traction) | ง. | ตะกอนขนาดเล็กสามารถแขวนลอยไปตามธารน้ำได้ |
32. พื้นที่ใดมีโอกาสพบกระบวนการ headwater erosion
ก. | ปากแม่น้ำ | ข. | ต้นน้ำ | |
ค. | หน้าตัดข้างตามธารน้ำ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
33. tributary คืออะไร
ก. | ธารน้ำที่ให้น้ำกับแม่น้ำสายอื่น | ข. | แม่น้ำที่แห้งแล้ว | |
ค. | ทะเลสาบที่ให้น้ำกับแม่น้ำ | ง. | พื้นที่รับน้ำของระบบแม่น้ำ |
34. คันดินธรรมชาติ (natural levee) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | น้ำท่วมตลิ่ง ทำให้ตะกอนตกทับถมที่ขอบตลิ่ง | ข. | น้ำกัดกร่อนร่องน้ำทำให้มีขอบสูงกว่าด้านข้าง | |
ค. | หินผุพังและหลงเหลือกลายเป็นคันดิน | ง. | ธารน้ำสาขาไหลขนานกับธารน้ำหลักและสะสมตะกอน |
35. ข้อใดคือ ความชันของธารน้ำ (gradient) ที่ลดลง 10 เมตร ในช่วงระยะทางแนวราบ 10 กิโลเมตร
ก. | 2.5 เมตร/กิโลเมตร | ข. | 10 เมตร/กิโลเมตร | |
ค. | 1 เมตร/กิโลเมตร | ง. | 20 เมตร/กิโลเมตร |
36. ก้อนกรวดขนาดใหญ่ (cobble) สามารถถูกพัดพาไปตามธารน้ำอย่างไร
ก. | ตะกอนแขวนลอย (suspended load) | ข. | ตะกอนละลาย (dissolved load) | |
ค. | ตะกอนพื้นผิว (surface load) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
37. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern)
ก. | orbital | ข. | longitudinal | |
ค. | braided | ง. | ถูกทุกข้อ |
38. มวลของตะกอนที่สะสมอยู่บริเวณปากแม่น้ำเรียกว่าอะไร
ก. | ลิ่มตะกอน (wedge) | ข. | เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) | |
ค. | ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
39. เวลาโดยเฉลี่ยของการเกิดน้ำท่วมในแต่ละระดับความรุนแรงเรียกว่าอะไร
ก. | flood incidence | ข. | flood stage | |
ค. | flood frequency | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
40. ข้อใดคือวิธีการป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพ
ก. | สร้างคันดินไปตามแนวธารน้ำ | ข. | สร้างเขื่อนตามธารน้ำ | |
ค. | ย้ายชุมชนจากพื้นที่น้ำท่วมถึง | ง. | ถูกทุกข้อ |
41. นอกจากโลก ดาวเคราะห์ดวงใดที่นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานของการกัดกร่อนโดยธารน้ำ
ก. | ดาวอังคาร (Mars) | ข. | ดาวศุกร์ (Venus) | |
ค. | ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) | ง. | ดาวพุธ (Mercury) |
42. การลดระดับในแนวดิ่งตามธารน้ำเรียกว่าอะไร
ก. | อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (discharge) | ข. | รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern) | |
ค. | ระดับน้ำอ้างอิง (base level) | ง. | ความชันของธารน้ำ (gradient) |
43. ข้อใดคือตะกอนที่เคลื่อนที่โดยการกระโดดเป็นช่วง กลิ้ง
ก. | suspended load | ข. | solution load | |
ค. | bed load | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
44. ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อรูปร่างของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ก. | ความรุนแรงของคลื่นชายฝั่ง | ข. | ปริมาณตะกอนที่มากับแม่น้ำ | |
ค. | ความกว้างของบ่าทวีป | ง. | ความรุนแรงของน้ำขึ้น-น้ำลง |
45. ข้อใดคือสาเหตุทำให้แม่น้ำบางสายไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากอ่อนไปแก่
ก. | ไหลผ่านหินที่มีความแข็งแตกต่างกัน | ข. | ภูมิอากาศไม่คงที่ในแอ่งตะกอนขนาดใหญ่ | |
ค. | ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง | ง. | ถูกทุกข้อ |
46. ข้อใดคือกระบวนการที่ธารน้ำเกิดการเบี่ยงเบนข้ามไปยังระบบธารน้ำข้างเคียง
ก. | stream larceny | ข. | stream piracy | |
ค. | stream theft | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
47. ทรายที่สะสมตัวอยู่โค้งในของธารน้ำเรียกว่าอะไร
ก. | point bar | ข. | quick sand | |
ค. | meandering bar | ง. | sand bar |
48. ข้อใดคือตะกอนที่ตกสะสมบริเวณขอบของธารน้ำในช่วงน้ำท่วม
ก. | ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ | ข. | เนินตะกอนรูปพัด | |
ค. | คันดินธรรมชาติ | ง. | เนินทรายริมตลิ่ง |
49. หากแม่น้ำไหลลงทะเลสาบที่มีน้ำนิ่ง ตะกอนจะสะสมตัวในรูปแบบใด
ก. | ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ | ข. | เนินตะกอนรูปพัด | |
ค. | คันดินธรรมชาติ | ง. | เนินทรายริมตลิ่ง |
50. ตัวแปรใดที่ลดลงเมื่อพิจารณาใกล้ ปลายน้ำ (downstream)
ก. | ความกว้างของร่องน้ำ | ข. | ความชันของธารน้ำ | |
ค. | ความลึกของร่องน้ำ | ง. | ความเร็วของน้ำในธารน้ำ |
51. ตะพักธารน้ำ (terrace) คือผลจากการกัดกร่อนพื้นที่ใด
ก. | ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | ข. | แม่น้ำ | |
ค. | เนินตะกอนรูปพัด | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
52. ตะกอนขนาดใดที่สามารถพัดพาในแม่น้ำในรูปแบบ ตะกอนแขวนลอย (suspended load)
ก. | ดิน (clay) | ข. | ทราย (sand) | |
ค. | กรวด (gravel) | ง. | ถูกทุกข้อ |
53. สภาพแวดล้อมแบบใดมีโอกาสเกิด การไหลแบบปั่นป่วน (turbulent flow)
ก. | ไหลช้าในร่องน้ำตื้น | ข. | ไหลเร็วในร่องน้ำลึก | |
ค. | ไหลเร็วในร่องน้ำตื้น | ง. | ไหลช้าในร่องน้ำลึก |
54. ข้อใดคือปัจจัยในการกัดกร่อน (erosion) ที่โดดเด่นและสำคัญที่สุด
ก. | ธารน้ำ (stream) | ข. | ธารน้ำแข็ง (glacier) | |
ค. | ลม (wind) | ง. | คลื่น (wave) |
55. สันปันน้ำ (drainage divide) ใช้แบ่งอะไร
ก. | แบ่งลุ่มน้ำ (watershed) | ข. | แบ่งที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) | |
ค. | แบ่งพื้นทวีป (continent) | ง. | แบ่งลำดับธารน้ำ (stream order) |
56. ข้อใดคือภูมิประเทศคล้ายกรวยที่เกิดจากตะกอนตกทับถมกันอยู่หน้าร่องเขา
ก. | alluvial fan | ข. | braided stream | |
ค. | meandering stream | ง. | ถูกทุกข้อ |
57. เนินทรายริมตลิ่งสะสมตัวในพื้นที่ใดตามธารน้ำ
ก. | โค้งในของธารน้ำโค้งตวัด | ข. | โค้งนอกของธารน้ำโค้งตวัด | |
ค. | กลางท้องน้ำ | ง. | บริเวณที่มีกระแสคลื่นปั่นปั่วน |
58. ข้อใดคือพื้นที่รับน้ำจากระบบแม่น้ำต่างๆ
ก. | water table | ข. | flood plain | |
ค. | watershed | ง. | bedrock |
59. รูปแบบธารน้ำแบบใดที่สามารถพบได้บริเวณภูเขาไฟ
ก. | แบบกิ่งไม้ (dendritic) | ข. | แบบตั้งฉาก (rectangular) | |
ค. | แบบรัศมี (radial) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
60. หากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นความชันของ หน้าตัดข้างตามธารน้ำ (longitudinal profile) ของแม่น้ำในพื้นที่จะเป็นอย่างไร
ก. | เพิ่มขึ้น | ข. | ลดลง | |
ค. | ช่วงแรกเพิ่มขึ้นหลังจากนั้นจึงลดลง | ง. | ช่วงแรกลดลงหลังจากนั้นจึงเพิ่มขึ้น |
61. ข้อใดคือปริมาตรของน้ำที่ไหลผ่านจุดใดๆ ต่อหน่วยเวลา
ก. | ความสามารถในการไหล (competence) | ข. | อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (discharge) | |
ค. | ความหนืด (viscosity) | ง. | ความจุ (capacity) |
62. การไหลของน้ำรูปแบบใดที่สามารถพัดพากรวด (gravel) ขนาดต่างๆ ได้
ก. | การไหลแบบราบเรียบ | ข. | การไหลแบบปั่นป่วน | |
ค. | ข้อ ก. และ ข. ถูก | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
63. ตะกอนซึ่งเคลื่อนที่โดยการหมุนกลิ้งและเลื่อนไถลไปตามธารน้ำเรียกว่าอะไร
ก. | ตะกอนละลาย (dissolved load) | ข. | ตะกอนแขวนลอย (suspended load) | |
ค. | ตะกอนท้องน้ำ (bed load) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
64. ในสภาวะปกติ หน้าตัดข้างตามธารน้ำ (longitudinal profile) ของแม่น้ำจะเป็นอย่างไร
ก. | เส้นตรงตามแนวนอน | ข. | เส้นตรงเฉียงลงจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ | |
ค. | เส้นโค้งความชันลดลงไปทางปลายน้ำ | ง. | เส้นโค้งความชันเพิ่มขึ้นไปทางปลายน้ำ |
65. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบการไหลของแม่น้ำ
ก. | ไหลแบบฟันเลื่อย (serrated) | ข. | ไหลแบบตรง (straight) | |
ค. | ไหลแบบประสานสาย (braided) | ง. | ไหลแบบโค้งตวัด (meandering) |
66. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวแปรที่อธิบายการโค้งตวัด (meandering) ของธารน้ำ
ก. | ความหลากหลายของธารน้ำ | ข. | ความยาวคลื่น | |
ค. | ความกว้าง | ง. | รัศมีและความโค้ง |
67. ตะกอนขนาด กรวด (gravel) ถูกพัดพาในแม่น้ำในรูปแบบใด
ก. | ตะกอนแขวนลอย (suspended load) | ข. | ตะกอนละลาย (dissolved load) | |
ค. | ตะกอนท้องน้ำ (bed load) | ง. | ถูกทุกข้อ |
68. รูปแบบธารน้ำแบบใดที่มีโอกาสพบได้ในบริเวณที่ธารน้ำไหลผ่านชั้นหินที่มีรอยแตกควบคุมทิศทางการไหลของธารน้ำ
ก. | แบบกิ่งไม้ (dendritic) | ข. | แบบตั้งฉาก (rectangular) | |
ค. | แบบรัศมี (radial) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
69. การพัดพาตะกอนทรายด้วยแม่น้ำและทำให้ทรายลอยเป็นระยะๆ ไปตามท้องน้ำเรียกว่าอะไร
ก. | saltation | ข. | meandering | |
ค. | suspension | ง. | rolling |
70. ข้อใดคือกิจกรรมโดยตรงของ น้ำท่า (runoff)
ก. | bed load | ข. | base level | |
ค. | saltation | ง. | hydraulic action |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ซ | 2. | ฌ | 3. | ช | 4. | ญ | 5. | ง | ||||
6. | ข | 7. | ก | 8. | ฉ | 9. | จ | 10. | ค |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | F | 2. | F | 3. | F | 4. | T | 5. | F | ||||
6. | F | 7. | T | 8. | T | 9. | T | 10. | T | ||||
11. | T | 12. | T | 13. | F | 14. | F | 15. | T | ||||
16. | T | 17. | F | 18. | T | 19. | T | 20. | T |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ก | 2. | ข | 3. | ง | 4. | ก | 5. | ง | ||||
6. | ก | 7. | ข | 8. | ง | 9. | ข | 10. | ก | ||||
11. | ง | 12. | ค | 13. | ก | 14. | ก | 15. | ค | ||||
16. | ง | 17. | ง | 18. | ง | 19. | ง | 20. | ข | ||||
21. | ง | 22. | ก | 23. | ง | 24. | ก | 25. | ง | ||||
26. | ง | 27. | ก | 28. | ง | 29. | ง | 30. | ค | ||||
31. | ก | 32. | ข | 33. | ก | 34. | ก | 35. | ค | ||||
36. | ง | 37. | ง | 38. | ค | 39. | ค | 40. | ง | ||||
41. | ก | 42. | ง | 43. | ค | 44. | ค | 45. | ค | ||||
46. | ข | 47. | ก | 48. | ค | 49. | ก | 50. | ข | ||||
51. | ก | 52. | ก | 53. | ข | 54. | ก | 55. | ก | ||||
56. | ก | 57. | ก | 58. | ค | 59. | ค | 60. | ข | ||||
61. | ข | 62. | ข | 63. | ค | 64. | ค | 65. | ก | ||||
66. | ก | 67. | ค | 68. | ข | 69. | ก | 70. | ง |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
อธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. จงอธิบาย วัฏจักรอุทกวิทยา (Hydrological cycle) และรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วการไหลของน้ำในธารน้ำมีอะไรบ้าง
3. กุมภลักษณ์ หรือ บ่อรูปหม้อ (pothole) เกิดขึ้นได้อย่างไร
4. รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern) มีแบบใดบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
5. การกัดกร่อนของธารน้ำบริเวณต้นน้ำและปลายน้ำ แตกต่างกันอย่างไร และส่งผลอะไรต่อรูปร่างของร่องน้ำ
6. จงอธิบายวิวัฒนาการเกิด ตะพักธารน้ำ (terrace)
7. จงอธิบายวิวัฒนาการเกิด ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake)
8. คันดินธรรมชาติ (natural levee) เกิดขึ้นได้อย่างไร
9. พื้นที่ใดบ้าง ตามธารน้ำที่เหมาะและไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย และเพราะเหตุใด
10. จงวาดรูป ไฮโดรกราฟ (hyrograph) ของพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและพื้นที่น้ำท่วมขัง พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่าง
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth