
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
1. | _____ | ก. | พื้นที่จ่ายน้ำ (discharge area) |
2. | _____ | ข. | ชั้นหินกันน้ำ (confining bed) |
3. | _____ | ค. | หลักวัน |
4. | _____ | ง. | หลักปี |
5. | _____ | จ. | บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well) |
6. | _____ | ฉ. | หลักร้อยปี |
7. | _____ | ช. | พื้นที่รับน้ำ (recharge area) |
8. | _____ | ซ. | หลักพันปี |
9. | _____ | ฌ. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) |
10. | _____ | ญ. | ชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีขอบเขต (unconfined aquifer) |

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | _____ | ธารน้ำแข็งคือแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดบนโลก |
2. | _____ | น้ำใต้ดินเกิดจากน้ำฝนหรือหิมะที่ละลายบนพื้นผิวแล้วซึมผ่านชั้นดินและหินลงไปใต้พื้นดิน |
3. | _____ | หินที่มีความพรุนสูงโดยส่วนใหญ่มีความสามารถในการซึมผ่านได้สูงตามไปด้วย |
4. | _____ | หินที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้สูง โดยส่วนใหญ่มีความพรุนสูงตามไปด้วย |
5. | _____ | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) คือระดับบนสุดชั้นหินอุ้มน้ำ |
6. | _____ | หินทราย (sandstone) ปกติจะมีความพรุนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับหินชนิดอื่นๆ |
7. | _____ | หินทราย (sandstone) ปกติจะมีความสามารถในการซึมผ่านได้ได้สูงเมื่อเปรียบเทียบกับหินชนิดอื่นๆ |
8. | _____ | หินดินดาน (shale) ปกติจะมีความพรุนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับหินชนิดอื่นๆ |
9. | _____ | หินดินดาน (shale) ปกติจะมีความสามารถในการซึมผ่านได้สูงเมื่อเปรียบเทียบกับหินชนิดอื่นๆ |
10. | _____ | น้ำใต้ดิน (groundwater) คือแหล่งทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถสร้างมาทดแทนใหม่ได้ทันปริมาณการใช้ |
11. | _____ | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) คือแหล่งกักเก็บหลักของน้ำใต้ดิน |
12. | _____ | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่อยู่ระหว่าง ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard) จะไม่มีน้ำใต้ดินอยู่ |
13. | _____ | บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well) ไม่น้ำตลอดทั้งปี |
14. | _____ | โซนอิ่มอากาศ (vadose zone) โดยส่วนใหญ่เป็น ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่ดี |
15. | _____ | แม่น้ำและทะเลสาบสามารถจ่ายน้ำลงไปเป็นน้ำใต้ดินได้ |
16. | _____ | ความดันชลศาสตร์ (hydraulic head) บางครั้งสามารถดันน้ำขึ้นไปบนภูเขาหรือที่สูงได้ |
17. | _____ | การหยุดสูบน้ำขึ้นมาใช้ช่วยให้ ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) สามารถฟื้นฟูให้ระดับน้ำกลับมาที่เดิมได้ |
18. | _____ | น้ำใต้ดินไม่สามารถปนเปื้อนจากน้ำพื้นผิวได้ |
19. | _____ | น้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ง่ายกว่าน้ำพื้นผิว |
20. | _____ | น้ำใต้ดินไม่สามารถใช้เป็นน้ำดื่มได้ทันที เนื่องจากมีสารละลายของแร่ต่างๆ จำนวนมากปนอยู่ |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. สัดส่วนของช่องว่างในหินต่อมวลทั้งหมดของหินเรียกว่าอะไร
ก. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ | ข. | แรงดึงดูด | |
ค. | ความหนืด | ง. | ความพรุน |
2. ข้อใดคือขอบเขตระหว่าง โซนอิ่มอากาศ (vadose zone) และ โซนอิ่มน้ำ (phreatic zone)
ก. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | ข. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) | |
ค. | ชั้นหินซับน้ำ (aquiclude) | ง. | กรวยน้ำลด (cone of depression) |
3. น้ำซึ่งอยู่ภายในโซนอิ่มน้ำ (phreatic zone) เรียกว่าอะไร
ก. | ความชื้น (moisture) | ข. | น้ำใต้ดิน (groundwater) | |
ค. | น้ำลึก (artesian water) | ง. | น้ำเค็ม (salt water) |
4. หินชนิดใดมีคุณสมบัติเป็น ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่ดีที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินแกรบโบ (gabbro) | |
ค. | หินทราย (sandstone) | ง. | หินดินดาน (shale) |
5. ข้อใดคือผลกระทบจากการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในอัตราที่มากกว่าอัตราการเติมน้ำ (recharge) ในธรรมชาติ
ก. | ระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลง | ข. | บ่อน้ำที่เจาะตื้นๆ จะแห้ง | |
ค. | แม่น้ำแห้งในช่วงฝนตก | ง. | ถูกทุกข้อ |
6. ข้อใดคือพื้นที่ใกล้พื้นผิวซึ่งช่องว่างระหว่างหินทั้งหมดเต็มไปด้วยน้ำ
ก. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) | ข. | ระนาบชั้นหิน (bed plane) | |
ค. | โซนอิ่มน้ำ (phreatic zone) | ง. | โซนอิ่มอากาศ (vadose zone) |
7. ความสามารถของหินหรือตะกอนซึ่งของเหลวสามารถซึมผ่านได้เรียกว่าอะไร
ก. | permeability | ข. | permittivity | |
ค. | porosity | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
8. ข้อใดคือ โซนอิ่มน้ำ (phreatic zone)
ก. | ชั้นหินอุ้มน้ำ | ข. | ระดับน้ำใต้ดิน | |
ค. | ชั้นใกล้พื้นผิวซึ่งช่องว่างทั้งหมดเต็มไปด้วยน้ำ | ง. | โซนอิ่มอากาศ |
9. ข้อใดคือ ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer)
ก. | หินซึ่งประกอบด้วยน้ำ | ข. | หินซึ่งซับน้ำไว้ไม่ให้ไหลผ่านไป | |
ค. | หินที่น้ำสามารถซึมผ่านได้ง่าย | ง. | หินหรือตะกอนที่น้ำสามารถซึมผ่านได้ง่าย |
10. หินชนิดใดมีคุณสมบัติเป็น ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่ดีที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินทรายแป้ง (siltstone) | |
ค. | หินไนส์ (gneiss) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
11. หินชนิดใดที่มีโอกาสมีความพรุน (porosity) สูงที่สุด
ก. | หินดินดาน (shale) | ข. | หินทรายแป้ง (siltstone) | |
ค. | หินกรวดมน (conglomerate) | ง. | หินทราย (sandstone) |
12. หินชนิดใดที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) สูงที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินทรายแป้ง (siltstone) | |
ค. | หินทราย (sandstone) | ง. | หินดินดาน (shale) |
13. ข้อใดคือชั้นบนสุดของ โซนอิ่มน้ำ (saturated zone)
ก. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) | ข. | ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard) | |
ค. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
14. ข้อใดคือความเร็วของการไหลของน้ำใต้ดิน (groundwater flow)
ก. | ความดันน้ำ | ข. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ | |
ค. | ระดับความสูง | ง. | ถูกทุกข้อ |
15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ การไหลของน้ำใต้ดิน (groundwater flow)
ก. | จากบริเวณที่มีความดันชลศาสตร์ (hydraulic head) สูงไปต่ำ | ข. | จากบริเวณที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) สูงไปต่ำ | |
ค. | จากบริเวณที่มีระดับความสูง (elevation) สูงไปต่ำ | ง. | ถูกทุกข้อ |
16. หากระดับน้ำใต้ดินสูงใกล้เคียงระดับพื้นผิวจะทำให้เกิดอะไร
ก. | น้ำพุ (spring) | ข. | บ่อน้ำ (well) | |
ค. | ถ้ำ (cave) | ง. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) |
17. ข้อใดคือระดับน้ำใต้ดินที่ลดลงโดยรอบบริเวณที่มีการสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไป
ก. | artificial recharge | ข. | artesian well | |
ค. | cone of depression | ง. | vadose zone |
18. น้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามาใช้ชั้นน้ำใต้ดินโดยส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด
ก. | ระดับน้ำขึ้น-น้ำลง (tide) ต่ำอย่างผิดปกติ | ข. | เกลือจากการเกษตรกรรมที่พื้นผิวซึมลงไปสู่น้ำใต้ดิน | |
ค. | ระดับน้ำใต้ดินใกล้ชายฝั่งลดลง | ง. | ถูกทุกข้อ |
19. ข้อใดคือแหล่งน้ำทีใหญ่ที่สุด
ก. | ไอน้ำในชั้นบรรยากาศ | ข. | น้ำใต้ดิน | |
ค. | น้ำแข็งขั้วโลก | ง. | มหาสมุทร |
20. หยาดน้ำฟ้า (precipitation) ซึ่งไหลซึมลงมาเป็นน้ำใต้ดินคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของหยาดน้ำฟ้าทั้งหมด
ก. | 1-20% | ข. | 20-40% | |
ค. | 40-60% | ง. | ถูกทุกข้อ |
21. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ น้ำพุร้อน (geyser)
ก. | มีอุณหภูมิสูงเสมอ | ข. | พบได้ทั่วไปทั่วโลก | |
ค. | คือน้ำที่เกิดจากภูเขาไฟ | ง. | เกิดจากน้ำใต้ดินได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อนใต้โลก |
22. สัดส่วนของ น้ำใต้ดิน (groundwater) คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของน้ำบนโลก
ก. | 33% | ข. | 25% | |
ค. | 10% | ง. | < 1% |
23. ถ้ำ (cave) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | น้ำใต้ดินละลายหินปูนและหินโดโลไมต์ใต้ดิน | ข. | การสูบน้ำออกจากชั้นหินอุ้มน้ำ | |
ค. | น้ำเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินอุ้มน้ำ | ง. | แมกมาไหลออกจากกระเปาะ |
24. หินชนิดใดที่โดยปกติจะมีความพรุน (porosity) มากที่สุด
ก. | หินดินดาน (shale) | ข. | หินกรวดมน (conglomerate) | |
ค. | หินทรายแป้ง (siltstone) | ง. | หินทราย (sandstone) |
25. ข้อใดคือกระบวนการเกิดถ้ำ (cave)
ก. | น้ำใต้ดินกัดเซาะหินปูนใต้ดิน | ข. | การที่น้ำไหลออกไปจากชั้นหินอุ้มน้ำ | |
ค. | รอยแตกของชั้นหินเนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน | ง. | การไหลออกของแมกมาภายในกระเปาะของแมกมาระหว่างการปะทุของภูเขาไฟ |
26. หินชนิดใดมีสมบัติเป็น ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard)
ก. | หินทราย | ข. | หินดินดาน | |
ค. | หินชนวน | ง. | หินแกรนิตผุ |
27. การที่เทือกเขาสูงแต่มีน้ำไหลออกมาจากเทือกเขาดังกล่าว เนื่องจากภายในภูเขานั้นมีคุณสมบัติเกี่ยวกับชั้นน้ำใต้ดินอย่างไร
ก. | ชั้นหินอุ้มน้ำลอย (perched aquifer) | ข. | ชั้นหินอุ้มน้ำมีขอบเขต (confined aquifer) | |
ค. | ชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีขอบเขต (unconfined aquifer) | ง. | ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard) |
28. ชั้นน้ำแบบใดมีแรงดันมากที่สุดและมีโอกาสก่อให้เกิดน้ำพุ (spring) ได้
ก. | ชั้นหินอุ้มน้ำลอย (perched aquifer) | ข. | ชั้นหินอุ้มน้ำมีขอบเขต (confined aquifer) | |
ค. | ชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีขอบเขต (unconfined aquifer) | ง. | ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard) |
29. ข้อใดคือแหล่งน้ำที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในโลก
ก. | ไอน้ำในชั้นบรรยากาศ | ข. | น้ำพื้นผิว | |
ค. | น้ำใต้ดิน | ง. | มหาสมุทร |
30. ข้อใดคือระดับสูงที่สุดของ โซนอิ่มน้ำ (phreatic zone)
ก. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) . | ข. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | |
ค. | ความดันชลศาสตร์ (hydraulic head) | ง. | ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard) |
31. หินชนิดใดที่มี ความพรุน (porosity) สูงที่สุด
ก. | หินดินดาน (shale) | ข. | หินกรวดมน (conglomerate) | |
ค. | หินทรายแป้ง (siltstone) | ง. | หินทราย (sandstone) |
32. หินชนิดใดที่มี ความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) สูงที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินทราย (sandstone) | |
ค. | หินทรายแป้ง (siltstone) | ง. | หินดินดาน (shale) |
33. ข้อใดคือตัวควบคุมความเร็วของการไหลของน้ำใต้ดิน
ก. | ความดันน้ำ | ข. | ความชันของชั้นน้ำ | |
ค. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ | ง. | ถูกทุกข้อ |
34. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการไหลของน้ำใต้ดิน
ก. | ไหลลงจากเขาเสมอ | ข. | ไหลจากพื้นที่ซึ่งมีระดับสูงไประดับต่ำ | |
ค. | ไหลจากพื้นที่ซึ่งมีความสามารถในการซึมผ่านได้สูงไปต่ำ | ง. | ไหลจากพื้นที่ความดันชลศาสตร์สูงไปต่ำ |
35. รอยต่อระหว่าง โซนอิ่มน้ำ (saturated zone) และ โซนไม่อิ่มน้ำ (unsaturated zone) เรียกว่าอะไร
ก. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) | ข. | ชั้นหินซับน้ำ (aquiclude) | |
ค. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | ง. | ความพรุน (porosity) |
36. การซึมผ่าน (infiltration) ของน้ำพื้นผิวลงไปยังใต้ดิน เรียกว่าอะไร
ก. | ไหลเข้ามา (influent) | ข. | ไหลออกไป (effluent) | |
ค. | จ่ายน้ำ (discharge) | ง. | รับน้ำ (recharge) |
37. ข้อใดคือชั้นที่น้ำใต้ดินไม่สามารถซึมผ่านได้
ก. | บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well) | ข. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | |
ค. | ชั้นหินซับน้ำ (aquiclude) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
38. การสูบน้ำขึ้นมาใช้ในปริมาณที่เกินกว่าที่ได้รับจากพื้นที่รับน้ำ ส่งผลอะไรงต่อระบบน้ำใต้ดิน
ก. | ระดับน้ำใต้ดินลดลง | ข. | เกิดกรวยน้ำลด | |
ค. | บ่อน้ำบาดาลแห้งลง | ง. | ถูกทุกข้อ |
39. ข้อใดคือกรดที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ
ก. | กรดไนตริก (nitric) | ข. | กรดคาร์บอนิก (carbonic) | |
ค. | กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric) | ง. | กรดซิตริก (citric) |
40. ในประเทศไทย น้ำใต้ดินที่ลดลงมีสาเหตุสำคัญมาจากอะไร
ก. | อุตสาหกรรม | ข. | เกษตรกรรม | |
ค. | น้ำดื่ม | ง. | ถูกทุกข้อ |
41. หินชนิดใดที่ทำให้เกิดถ้ำได้ง่ายที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินดินดาน (shale) | |
ค. | หินปูน (limestone) | ง. | หินทราย (sandstone) |
42. หินงอก (stalactite) และ หินย้อย (stalagmite) ในถ้ำมีองค์ประกอบเป็นแร่ชนิดใด
ก. | แร่ควอตซ์ (quartz) | ข. | แร่ฮีมาไทต์ (hematite) | |
ค. | แร่เฮไลด์ (halide) | ง. | แร่แคลไซต์ (calcite) |
43. น้ำกระด้าง (hard water) คือน้ำที่มีองค์ประกอบของอะไรปะปนอยู่ในน้ำ
ก. | ตะกั่ว (lead) | ข. | โซเดียม (sodium) | |
ค. | แคลเซียม (calcium) | ง. | ซิลิกอน (silicon) |
44. ข้อใดมีความพรุน (porosity) ต่ำที่สุด
ก. | หินดินดาน (shale) | ข. | กรวด (gravel) | |
ค. | หินแกรนิต (granite) | ง. | หินทราย (sandstone) |
45. โซนอิ่มน้ำ (saturated zone) และ โซนไม่อิ่มน้ำ (unsaturated zone) มีความแตกต่างกันอย่างไร
ก. | โซนอิ่มน้ำมีความพรุนสูงกว่าโซนไม่อิ่มน้ำ | ข. | โซนอิ่มน้ำมีความพรุนต่ำกว่าโซนไม่อิ่มน้ำ | |
ค. | รูพรุนในโซนอิ่มน้ำมีน้ำอยู่เต็ม แต่โซนไม่อิ่มน้ำมีน้ำบางส่วน | ง. | รูพรุนในโซนอิ่มน้ำมีน้ำบางส่วน แต่โซนไม่อิ่มน้ำมีน้ำอยู่เต็ม |
46. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำให้น้ำ (influent stream)
ก. | พบได้โดยทั่วไปในพื้นที่แห้งแล้ง | ข. | พบได้โดยทั่วไปในพื้นที่ชุ่มชื้น | |
ค. | พบเฉพาะในพื้นที่หนาวเย็น | ง. | พบในบริเวณหลุมยุบ |
47. หินชนิดใดที่เกิดถ้ำได้ง่ายที่สุด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินดินดาน (shale) | |
ค. | หินปูน (limestone) | ง. | หินทราย (sandstone) |
48. หลุมยุบ (sinkhole) คืออีกรูปแบบหนึ่งของธรณีภัยพิบัติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดในบริเวณที่มีหินชนิดใด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินทราย (sandstone) | |
ค. | หินดินดาน (shale) | ง. | หินปูน (limestone) |
49. ข้อใดคือแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด
ก. | บรรยากาศ (atmosphere) | ข. | ชีวภาค (biosphere) | |
ค. | น้ำใต้ดิน (groundwater) | ง. | แม่น้ำ (river) |
50. นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าน้ำที่ถูกกักเก็บในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินมีประมาณเท่าใดของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก
ก. | < 1% | ข. | 5% | |
ค. | 10% | ง. | 20% |
51. สัดส่วนของปริมาตรโดยรวมของหินต่อช่องว่างที่อยู่ภายในหินเรียกว่าอะไร
ก. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) | ข. | พื้นที่รับน้ำ (recharge area) | |
ค. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | ง. | ความพรุน (porosity) |
52. แหล่งน้ำใต้ดินที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ก. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ต่ำและความพรุนต่ำ | ข. | ความสามารถในการซึมผ่านได้สูงและความพรุนต่ำ | |
ค. | ความสามารถในการซึมผ่านได้ต่ำและความพรุนสูง | ง. | ความสามารถในการซึมผ่านได้สูงและความพรุนสูง |
53. ความสามารถของวัสดุที่อนุญาตให้น้ำไหลผ่านไปได้เรียกว่าอะไร
ก. | porosity | ข. | chemical cement | |
ค. | aquifer | ง. | permeability |
54. การลดระดับน้ำใต้ดินไปถึงฐานล่างของบ่อน้ำบาดาลเนื่องจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้มากเกินไปเรียกว่าอะไร
ก. | บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well) | ข. | กรวยน้ำลด (cone of depression) | |
ค. | ชั้นหินซับน้ำ (aquiclude) | ง. | ตะกอนหินปูน (speleothem) |
55. ระดับน้ำใต้ดินท้องถิ่นที่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดินโดยรวมในภูมิภาคเรียกว่าอะไร
ก. | stranded | ข. | perched | |
ค. | depressed | ง. | displaced |
56. ข้อใดคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าพื้นที่นั้นมีภูมิประเทศแบบคาร์สต์ (karst topography)
ก. | หลุมยุบ (sinkhole) | ข. | ตะกอนหินปูน (speleothem) | |
ค. | บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well) | ง. | กรวยน้ำลด (cone of depression) |
57. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน (artesian well)
ก. | บ่อน้ำที่มีน้ำใช้ได้โดยไม่ต้องสูบขึ้นมา | ข. | บ่อน้ำที่มีน้ำใช้ได้โดยต้องสูบขึ้นมา | |
ค. | พัฒนาได้ในชั้นหินขวางน้ำ | ง. | บ่อน้ำที่มีการพัฒนากรวยน้ำลด เมื่อมีการสูบน้ำขึ้นมาใช้ |
58. ข้อใดคือปริมาณไอน้ำในอากาศที่ระดับอุณหภูมิใดๆ
ก. | จุดน้ำค้าง (dew point) | ข. | อัตราหยาดน้ำฟ้า (precipitation rate) | |
ค. | อัตราการระเหย (evaporation rate) | ง. | ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) |
59. พื้นที่ใดเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน
ก. | บ่อขยะ | ข. | พื้นที่เกษตรกรรม | |
ค. | สถานีจ่ายน้ำมัน | ง. | ถูกทุกข้อ |
60. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ของวัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) ถูกต้อง
ก. | หยาดน้ำฟ้า = การระเหย -น้ำท่า | ข. | หยาดน้ำฟ้า = น้ำท่า – การระเหย | |
ค. | หยาดน้ำฟ้า = การระเหย + น้ำท่า | ง. | หยาดน้ำฟ้า = การระเหย x น้ำท่า |
61. หินชนิดใดที่มี ความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) สูงที่สุด
ก. | หินดินดานที่ไม่มีรอยแตก | ข. | หินทรายที่มีการเชื่อมประสาน | |
ค. | หินทรายไม่มีการเชื่อมประสาน | ง. | ถูกทุกข้อ |
62. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ ระดับน้ำใต้ดิน (water table)
ก. | เปลี่ยนแปลงได้หากพื้นที่จ่ายน้ำไม่สมดุลกับพื้นที่รับน้ำ | ข. | ในทะเลสาบจะสูงกว่าพื้นผิวโลก | |
ค. | โดยปกติระดับจะราบเรียบ | ง. | ลดลงในบริเวณที่มีการสูบน้ำขึ้นมาใช้ |
63. โซนอิ่มน้ำ (saturated zone) คืออะไร
ก. | ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) | ข. | บริเวณใกล้พื้นผิวซึ่งรูพรุนเต็มไปด้วยน้ำ | |
ค. | ระดับน้ำใต้ดิน (water table) . | ง. | เหมือนกับ โซนอิ่มอากาศ (vadose zone) |
64. ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) คืออะไร
ก. | ชั้นหินซึ่งประกอบด้วยน้ำ | ข. | ชั้นหินขัดขวางการไหลของน้ำ | |
ค. | ชั้นหินที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ | ง. | หินหรือตะกอนซึ่งน้ำสามารถเคลื่อนผ่านได้ง่าย |
65. หินชนิดใดที่มีโอกาสเป็นชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่ดี
ก. | หินไนส์ (gneiss) | ข. | หินแกรนิต (granite) | |
ค. | หินทรายแป้ง (siltstone) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
66. ถ้ำ (cave) โดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการใด
ก. | น้ำใต้ดินละลายหินปูนและหินโดโลไมต์ | ข. | ชั้นหินอุ้มน้ำถูกสูบน้ำไปใช้ | |
ค. | น้ำเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินอุ้มน้ำและละลายชั้นหิน | ง. | การปะทุออกไปของแมกมาในกระเปาะแมกมา |
67. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำรับน้ำ (effluent stream)
ก. | น้ำไหลออกจากธารน้ำไปยังโซนอิ่มน้ำ | ข. | น้ำไหลออกจากธารน้ำไปยังโซนอิ่มอากาศ | |
ค. | น้ำไหลออกจากโซนอิ่มน้ำไปยังธารน้ำ | ง. | น้ำไหลออกจากโซนอิ่มอากาศไปยังธารน้ำ |
68. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ น้ำพุร้อน (hot spring)
ก. | เกิดจากน้ำใต้ดินได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อนใต้ดิน | ข. | น้ำใต้ดินระดับลึกที่มีแรงดันเนื่องจากการเอียงเทของหิน | |
ค. | ภูเขาไฟของน้ำ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
69. ข้อใดคือกระบวนการทำให้น้ำเข้าไปอยู่ตามรูปพรุนของชั้นหินได้
ก. | transpiration | ข. | inflitration | |
ค. | precipation | ง. | sublimation |
70. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. | อากาศเย็นยึดไอน้ำได้ดีกว่าอากาศอบอุ่น | ข. | อากาศอบอุ่นยึดไอน้ำได้ดีกว่าอากาศเย็น | |
ค. | อากาศเย็นและอากาศอบอุ่นยึดไอน้ำได้ใกล้เคียงกัน | ง. | อากาศไม่สามารถยึดไอน้ำได้ |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ก | 2. | ช | 3. | ฌ | 4. | ญ | 5. | ฎ | ||||
6. | ข | 7. | ค | 8. | ง | 9. | ฉ | 10. | ซ | ||||
11. | จ |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | F | 2. | T | 3. | F | 4. | T | 5. | F | ||||
6. | T | 7. | T | 8. | T | 9. | F | 10. | F | ||||
11. | T | 12. | F | 13. | F | 14. | F | 15. | T | ||||
16. | T | 17. | T | 18. | F | 19. | F | 20. | F |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ง | 2. | ข | 3. | ข | 4. | ค | 5. | ง | ||||
6. | ข | 7. | ก | 8. | ค | 9. | ง | 10. | ง | ||||
11. | ก | 12. | ค | 13. | ก | 14. | ง | 15. | ก | ||||
16. | ก | 17. | ค | 18. | ค | 19. | ง | 20. | ข | ||||
21. | ง | 22. | ง | 23. | ก | 24. | ง | 25. | ก | ||||
26. | ข | 27. | ก | 28. | ข | 29. | ข | 30. | ก | ||||
31. | ก | 32. | ข | 33. | ง | 34. | ง | 35. | ก | ||||
36. | ง | 37. | ข | 38. | ง | 39. | ข | 40. | ง | ||||
41. | ค | 42. | ง | 43. | ค | 44. | ค | 45. | ค | ||||
46. | ก | 47. | ค | 48. | ง | 49. | ค | 50. | ง | ||||
51. | ง | 52. | ง | 53. | ง | 54. | ข | 55. | ข | ||||
56. | ก | 57. | ง | 58. | ง | 59. | ง | 60. | ค | ||||
61. | ค | 62. | ค | 63. | ข | 64. | ง | 65. | ง | ||||
66. | ก | 67. | ค | 68. | ก | 69. | ข | 70. | ข |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. น้ำใต้ดิน (groundwater) คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร
2. น้ำใต้ดิน (groundwater) และ น้ำพื้นผิว (surface) เช่น แม่น้ำต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
3. อธิบายความแตกต่างระหว่างลักษณะเฉพาะของ ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) และ ชั้นหินขวางน้ำ (aquitard)
4. ระดับน้ำใต้ดิน (water table) และปัจจัยควบคุมความชันและความลึกของระดับน้ำใต้ดินคืออะไร
5. ผลกระทบที่เกิดจากการนำน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไปมีอะไรบ้าง
6. สาเหตุของการปนเปื้อนน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง
7. ความพรุน (porosity) และ ความสามารถในการซึมผ่านได้ (permeability) คืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร
8. การสูบน้ำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ส่งผลอย่างไรกับรูปร่างของ ระดับน้ำใต้ดิน (water table)
9. อธิบายลักษณะเฉพาะและกระบวนการเกิด ภูมิประเทศแบบคาร์สต์ (karst topography)
10. อธิบาย กฎของดาร์ซี (Darcy’s Law) ที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ดิน
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth