
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายภูมิลักษ์ของพื้นมหาสมุทรทางด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน

1. | ____ | ก. | สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) | |
2. | ____ | ข. | ภูเขาใต้ทะเล (seamount) | |
3. | ____ | ค. | หุบเขาทรุด (rift valley) | |
4. | ____ | ง. | ที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain) | |
5. | ____ | จ. | ลาดทวีป (continental rise) | |
6. | ____ | ฉ. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | |
7. | ____ | ช. | บ่าทวีป (continental shelf) | |
8. | ____ | ซ. | ไหล่ทวีป (continental slope) |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | ____ | ความเค็มของน้ำในมหาสมุทร มีสาเหตุเนื่องจากการผุพังทางเคมีของพื้นทวีป |
2. | ____ | ภูเขาใต้ทะเล (seamount) โดยส่วนใหญ่เป็น ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) |
3. | ____ | กระแสน้ำปั่นป่วน (turbidity current) โดยทั่วไปจะเกิดบนบริเวณ บ่าทวีป (continental shelf) |
4. | ____ | สิ่งมีชีวิตสายพันธ์ต่างถิ่นจะพบอยู่ในบริเวณมหาสมุทรลึก |
5. | ____ | บริเวณ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) จะมี น้ำพุร้อน (geyser) เกิดขึ้น |
6. | ____ | ตะกอนที่ตกสะสมในบริเวณ ที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain) โดยส่วนใหญ่เป็นตะกอนขนาดทราย (sand) |
7. | ____ | มหาสมุทรเกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงต้นประวัติศาสตร์ของโลก |
8. | ____ | ลาดทวีป (continental rise) โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยตะกอนที่มาจากพื้นทวีป |
9. | ____ | ตะกอนของ ลาดทวีป (continental rise) สามารถหนาได้ถึงหลักกิโลเมตร |
10. | ____ | สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) ประกอบด้วยหินอัคนีทั้งหมด |
11. | ____ | หินที่พบมากที่สุดในบริเวณ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือ หินแกรนิต (granite) |
12. | ____ | ภูเขาหัวตัดใต้น้ำ (guyot) ในอดีตเคยเป็น ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) |
13. | ____ | ภูเขาหัวตัดใต้น้ำ (guyot) โดยส่วนใหญ่พบ แนวปะการัง (coral reef) อยู่ตามขอบของภูเขาไฟ |
14. | ____ | ขอบของ ทวีป (continent) คือ ไหล่ทวีป (continental shelve) |
15. | ____ | ไหล่ทวีป (continental shelve) เคยเป็นแผ่นดินอยู่เหนือระดับน้ำทะเลในช่วงระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด |
16. | ____ | ที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain) โดยเฉลี่ยมีความลึกประมาณ 4 กิโลเมตร |
17. | ____ | บ่าทวีป (continental shelf) คือส่วนของพื้นทวีปที่มีการทรุดตัวลงเนื่องจากรอยเลื่อนในช่วงการแยกตัวออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก |
18. | ____ | เมื่อมีการระเหยของน้ำ น้ำทะเลจะมีความเค็มและความหนาแน่นเพิ่มขึ้น |
19. | ____ | กระแสน้ำปั่นป่วน (turbidity current) สามารถพัดพาเม็ดตะกอนให้ไปไกลจากแหล่งกำเนิดได้ถึงหลัก 100 กิโลเมตร |
20. | ____ | แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นให้เกิด กระแสน้ำปั่นป่วน (turbidity current) ใต้มหาสมุทรได้ |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. บ่าทวีป (continental shelf) มีความชันโดยเฉลี่ยเท่าใด
ก. | 0.01 องศา | ข. | 10 องศา | |
ค. | 1 องศา | ง. | 0.1 องศา |
2. ไหล่ทวีป (continental slope) มีความชันโดยเฉลี่ยเท่าใด
ก. | > 30 องศา | ข. | 4-5 องศา | |
ค. | 10-12 องศา | ง. | 1-2 องศา |
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ไหล่ทวีป (continental slope)
ก. | เป็นเกณฑ์ใช้แบ่งขอบเขตของทวีปออกจากมหาสมุทร | ข. | มีความกว้างหลากหลายในแต่ละพื้นที่ | |
ค. | ลึกลงเมื่อห่างจากฝั่งมากขึ้น | ง. | ถูกทุกข้อ |
4. ข้อใดคือมวลน้ำปนเม็ดตะกอนถล่มตามแรงโน้มถ่วงในมหาสมุทร
ก. | เศษหินไหลหลาก (debris flow) | ข. | กระแสน้ำปั่นป่วน (turbidity current) | |
ค. | โคลนไหลหลาก (mud flow) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ร่องลึกก้นสมุทร (trench)
ก. | อยู่ตามขอบของทุกทวีป | ข. | ความลึก 8-10 กิโลเมตร | |
ค. | เกิดจากการกัดกร่อนของแม่น้ำโบราณในช่วงยุคน้ำแข็ง | ง. | ถูกทุกข้อ |
6. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
ก. | มีการไหลเวียนของความร้อน | ข. | เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น | |
ค. | ภูเขาไฟปะทุให้หินบะซอลต์ | ง. | ถูกทุกข้อ |
7. ตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) มีองค์ประกอบเป็นอะไร
ก. | ตมทะเลแคลไซต์ (calcareous ooze) | ข. | แร่ดินสีแดง (red clay) | |
ค. | ตมทะเลซิลิกา (siliceous ooze) | ง. | ถูกทุกข้อ |
8. ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งมหาสมุทรออกจากทวีป
ก. | ที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain) | ข. | ไหล่ทวีป (continental slope) | |
ค. | ลาดทวีป (continental rise) . | ง. | บ่าทวีป (continental shelf) |
9. ข้อใดมีความหนาแน่นสูงที่สุด
ก. | น้ำอุ่นที่มีความเค็มสูง | ข. | น้ำอุ่นที่มีความเค็มต่ำ | |
ค. | น้ำเย็นที่มีความเค็มสูง | ง. | น้ำเย็นที่มีความเค็มต่ำ |
10. ข้อใดพบมากบริเวณ ลาดทวีป (continental rise)
ก. | ตมทะเลแคลไซต์ (calcareous ooze) | ข. | เนินตะกอนรูปพัดใต้ทะเล (submarine fan) | |
ค. | ตมทะเลซิลิกา (siliceous ooze) | ง. | ชุดหินโอฟิโอไลต์ (ophiolite) |
11. ไหล่ทวีป (continental shelve) เป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่ใด
ก. | การตกตะกอนจากน้ำทะเล | ข. | เปลือกหอยและเศษปะการัง | |
ค. | การปะทุของภูเขาไฟ | ง. | การกรัดกร่อนของพื้นทวีป |
12. พื้นมหาสมุทรมีอายุแก่ที่สุดโดยประมาณกี่ปี
ก. | 2 ล้านปี | ข. | 2,000 ล้านปี | |
ค. | 20 ล้านปี | ง. | 200 ล้านปี |
13. น้ำในส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรมีอุณหภูมิโดยประมาณเท่าใด
ก. | 1-2 องศาเซลเซียส | ข. | 20-30 องศาเซลเซียส | |
ค. | 10-20 องศาเซลเซียส | ง. | 30-40 องศาเซลเซียส |
14. แร่ชนิดใดเป็นองค์ประกอบหลักของเกลือในมหาสมุทร
ก. | potassium bromide | ข. | magnesium chloride | |
ค. | sodium chloride | ง. | hydrogen borate |
15. ข้อใดคือมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุด
ก. | มหาสมุทรแอตแลนติก | ข. | มหาสมุทรแปซิฟิก | |
ค. | มหาสมุทรอินเดีย | ง. | มหาสมุทรอาร์คติก |
16. ข้อใดกล่าสวถูกต้องเกี่ยวกับ ไหล่ทวีป (continental shelve)
ก. | ความชันต่ำ | ข. | อยู่ระหว่างไหล่และลาดทวีป | |
ค. | ลาดลงจนกระทั่งระดับความลึกโดยเฉลี่ย 1.5 กิโลเมตร | ง. | ประกอบด้วยตะกอนน้ำลึก (pelagic sediment) |
17. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ สัดส่วนของพื้นที่น้ำและพื้นที่แผ่นดินของโลก
ก. | พื้นที่น้ำในซีกโลกเหนือและใต้มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน | ข. | ซีกโลกเหนือมีพื้นที่น้ำมากกว่าซีกโลกใต้ | |
ค. | ซีกโลกใต้มีพื้นที่น้ำมากกว่าซีกโลกเหนือ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
18. พลังงานที่ขับเคลื่อนกระแสน้ำพื้นผิวในมหาสมุทรมาจากสาเหตุใด
ก. | ความแตกต่างของความเค็ม (salinity) | ข. | กิจกรรมของคลื่น (wave activity) | |
ค. | แรงโคริออริส (coriolis force) | ง. | กระแสลมหลัก (prevailing wind) |
19. ข้อใด ไม่ใช่ ทรัพยากรแร่ที่สกัดได้จากน้ำทะเล
ก. | โบมีน (Br) | ข. | โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) | |
ค. | ทองคำ (Au) | ง. | แมกนีเซียม (Mg) |
20. ข้อใดสัมพันธ์กับสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
ก. | ลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขา | ข. | ภูมิลักษณ์ทางภูเขาไฟ | |
ค. | ความร้อนสูงกว่าพื้นที่อื่นในมหาสมุทร | ง. | ถูกทุกข้อ |
21. พื้นที่ของมหาสมุทรคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวโลกทั้งหมด
ก. | 30% | ข. | 50% | |
ค. | 70% | ง. | 80% |
22. มวลน้ำในมหาสมุทรคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของมวลน้ำทั้งหมดในโลก
ก. | 71% | ข. | 65% | |
ค. | 97% | ง. | 80% |
23. ข้อใดคือพื้นผิวโลกที่แบนราบและกว้างที่สุด
ก. | continental shield | ข. | abyssal plain | |
ค. | coastal plain | ง. | continental margin |
24. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ ร่องลึกก้นสมุทร (trench)
ก. | เป็นร่องแคบแต่ยาวไปตามเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก | ข. | มีความเสถียรสูงในทางธรณีวิทยา | |
ค. | อยู่ขนานกับบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมุดตัวลงไป | ง. | เป็นแหล่งสะสมตะกอนที่สำคัญ |
25. ข้อใดคือปัจจัยที่ทำให้น้ำทะเลมีความเค็มมากขึ้น
ก. | การแช่แข็ง (freezing) | ข. | การระเหย (evaporation) | |
ค. | ถูกทุกข้อ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
26. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain)
ก. | มีการสะสมตัวของตะกอนอย่างช้าๆ ของตะกอนน้ำลึก | ข. | ตะกอนสะสมตัวแบบกระแสน้ำปั่นป่วน (turbidity current) | |
ค. | ตะกอนจากแม่น้ำสะสมตัว | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
27. ข้อใดคือภูมิลักษ์ที่หลงเหลืออยู่ใกล้ผิวน้ำ หลังจากภูเขาไฟในทะเลเกิดการทรุดตัวต่ำลงไป
ก. | หมู่เกาะรูปโค้งปะการัง (atoll) | ข. | ปล่องภูเขาไฟ (crater) | |
ค. | แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) | ง. | สันดอนจงอย (spit) |
28. ในบริเวณเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ส่วนของพื้นมหาสมุทร ที่เกยขึ้นมาด้านบนเรียกว่าอะไร
ก. | ภูเขาหัวตัดใต้น้ำ (guyot) | ข. | ชุดหินมิกมาไทต์ (migmatite) | |
ค. | ชุดหินแกรนูไลท์ (granulites) | ง. | ชุดหินโอฟิโอไลต์ (ophiolite) |
29. ข้อใดสัมพันธ์กับ ลาดทวีป (continental rise)
ก. | ภูเขาใต้ทะเลที่มียอดแบนราบ | ข. | ส่วนที่ยกตัวขึ้นของพื้นทวีป | |
ค. | ส่วนกลางมหาสมุทร | ง. | ลิ่มตะกอนที่สะสมตัวบริเวณฐานของไหล่ทวีป |
30. ข้อใดคือภูเขาใต้ทะเลที่มียอดเขาราบเรียบ
ก. | guyot | ข. | cuesta | |
ค. | mesa | ง. | butte |
31. พื้นที่ใดคือส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร
ก. | ไหล่ทวีป | ข. | สันเขากลางมหาสมุทร | |
ค. | ที่ราบก้นสมุทร | ง. | ร่องลึกก้นสมุทร |
32. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ภูเขาหัวตัดใต้น้ำ (guyot)
ก. | ภูเขากลางมหาสมุทรที่มีแนวปะการังล้อมรอบ | ข. | ภูเขาไฟที่ไม่มีการปะทุอีกแล้ว | |
ค. | โดยส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟสลับชั้น | ง. | เป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลัง |
33. การแผ่กว้างของพื้นทะเล (spreading) ส่งผลต่อระดับน้ำทะเลอย่างไร
ก. | การแผ่กว้างรวดเร็ว ทำให้สันเขากลางมหาสมุทรยกตัวสูงขึ้น | ข. | แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่รวดเร็วทำให้ร่องลึกก้นสมุทรลึกขึ้น | |
ค. | การแผ่กว้างรวดเร็ว ทำให้สันเขากลางมหาสมุทรต่ำลง | ง. | แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่รวดเร็วทำให้พื้นทะเลยกตัวสูงขึ้น |
34. มหาสมุทรใดมีขนนาดใหญ่ที่สุด
ก. | แอตแลนติก | ข. | แปซิฟิก | |
ค. | อินเดีย | ง. | อาร์คติก |
35. มหาสมุทรใดมีความลึกโดยเฉลี่ยของท้องทะเลมากที่สุด
ก. | แอตแลนติก | ข. | แปซิฟิก | |
ค. | อินเดีย | ง. | อาร์คติก |
36. มวลน้ำเคลื่อนที่บริเวณน้ำลึกในรูปแบบใด
ก. | linear | ข. | spherical | |
ค. | elliptical | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
37. กระแสการพัดวน (gyre) ของน้ำในมหาสมุทรเกิดจากสาเหตุใด
ก. | แรงดึงดูดจากดวงจันทร์ | ข. | ลมประจำปี | |
ค. | แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
38. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการ desalination
ก. | แมกนีเซียมแยกออกจากน้ำทะเล | ข. | การก่อตัวของก้อนกลมแมงกานีส | |
ค. | การปดปล่อยก๊าซของภูเขาไฟ | ง. | ความเข้มข้นของน้ำจืด |
39. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนของ ขอบทวีปสถิต (passive continental margin)
ก. | บ่าทวีป (continental shelf) | ข. | ไหล่ทวีป (continental slope) | |
ค. | ลาดทวีป (continental rise) | ง. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) |
40. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ หมู่เกาะรูปโค้งปะการัง (atoll)
ก. | แนวปะการังขนานและใกล้ๆ แนวชายฝั่ง | ข. | ภูเขาหัวตัดใต้สมุทร | |
ค. | แนวปะการังโดยรอบทะเลสาบน้ำเค็ม | ง. | แนวปะการังที่แยกจากแผ่นดินโดยทะเลสาบน้ำเค็มตื้นๆ |
41. โซนรอยแยกใต้พื้นมหาสมุทร (oceanic fracture zone) มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมแบบใด
ก. | ก้อนกลมแมงกานีส | ข. | ขอบชนกันของแผ่นเปลือกโลก | |
ค. | แนวปะการังใต้มหาสมุทร | ง. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ |
42. พื้นที่ซึ่งมีความชันต่ำและไหลไปทางมหาสมุทรเรียกว่าอะไร
ก. | บ่าทวีป (continental shelf) | ข. | ไหล่ทวีป (continental slope) | |
ค. | โตรกเขาใต้มหาสมุทร (submarine canyon) | ง. | แอ่งตะกอนมหาสมุทร (ocean basin) |
43. พื้นที่ใดคือโซนบ่าทวีปที่มีความชันสูงกว่าปกติและลึกไปทางมหาสมุทร
ก. | โตรกเขาใต้มหาสมุทร (submarine canyon) | ข. | แอ่งตะกอนมหาสมุทร (ocean basin) | |
ค. | บ่าทวีป (continental shelf) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
44. นักวิทยาศาสตร์คนใดนำเสนอแบบจำลองกระบวนการเกิด หมู่เกาะรูปโค้งปะการัง (atoll)
ก. | เคลวิน (Kelvin) | ข. | เจมส์ ฮัทตัน (Hutton J.) | |
ค. | อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A.) | ง. | ชาลส์ ดาวิน (Darwin C.) |
45. อายุและความลึกของพื้นมหาสมุทรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ก. | พื้นมหาสมุทรที่มีอายุแก่กว่าจะลึกกว่า | ข. | ไม่มีความสัมพันธ์กัน | |
ค. | พื้นมหาสมุทรที่มีอายุอ่อนกว่าจะลึกกว่า | ง. | พื้นมหาสมุทรที่อายุ > 100 ล้านปี มักจะอยู่ในร่องลึกก้นสมุทร |
46. ข้อใดคือความเค็มโดยเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรของโลก
ก. | 3.5% | ข. | 0-3.5% | |
ค. | 35% | ง. | 3500% |
47. ข้อใดคือจุดต่ำที่สุดของคลื่น
ก. | trough | ข. | crest | |
ค. | wave height | ง. | wavelength |
48. ข้อใดคือคุณสมบัติที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณดำลงไปใต้มหาสมุทร
ก. | อุณหภูมิลดลง | ข. | อุณหภูมิเพิ่มขึ้น | |
ค. | ความดันเพิ่มขึ้น | ง. | ข้อ ก. และ ค. ถูก |
49. คลื่นเสียงเดินทางผ่านน้ำทะเลด้วยความเร็วประมาณเท่าใด
ก. | 300 ฟุต/วินาที | ข. | 1,500 เมตร/วินาที | |
ค. | 1,500 ไมล์/ชั่วโมง | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
50. ข้อใดคือการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร
ก. | current | ข. | tide | |
ค. | gyre | ง. | coriolis |
51. ข้อใดคือโซนของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้กับพื้นผิวทะเล ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องถึง
ก. | benthic zone | ข. | abyssal plain | |
ค. | aphotic zone | ง. | photic zone |
52. ข้อใดคือโซนของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ติดกับพื้นมหาสมุทร
ก. | benthic zone | ข. | abyssal plain | |
ค. | aphotic zone | ง. | photic zone |
53. ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกโคจรอยู่ในแนวเดียวกัน
ก. | น้ำเกิด (spring tide) | ข. | น้ำตาย (neap tide) | |
ค. | กระแสคลื่นขนาดฝั่ง (longshore current) | ง. | ระดับน้ำลดลง (low tidal range) |
54. มวลของน้ำในพื้นที่ใดที่มีความหนาแน่นสูงที่สุด
ก. | มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) | ข. | มหาสมุทรทางตอนใต้ (Southern Ocean) | |
ค. | ทะเลแดง (Dead Sea) | ง. | ทะเลสาบฮิวรอน (Lake Huron) |
55. ข้อใดคือจุดสูงที่สุดของคลื่น
ก. | trough | ข. | crest | |
ค. | wave height | ง. | wavelength |
56. กระแสน้ำพื้นผิวมีสาเหตุมาจากความแตกต่างของอะไร
ก. | ความหนาแน่นที่แตกต่างกัน | ข. | ความเค็ม | |
ค. | คลื่น | ง. | ทิศทางลม |
57. พื้นที่ใดที่กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรไหลออกจากชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา
ก. | บราซิล (Brazil) | ข. | เบลเยี่ยม (Benguela) | |
ค. | เปรู (Peru) | ง. | แหลมอะกอลฮัส (Agulhas) |
58. desalination คือกระบวนการเกี่ยวกับอะไร
ก. | เกลือถูกเพิ่มเข้าไปในน้ำทะเล | ข. | น้ำสะอาดที่ได้จากน้ำเค็ม | |
ค. | เกลือที่สกัดจากน้ำสะอาด | ง. | พลังงานที่ได้จากน้ำทะเล |
59. กระแสน้ำในทะเลลึกสามารถเคลื่อนที่ได้โดยสาเหตุใด
ก. | ลม | ข. | แรงโคลิโอริส | |
ค. | ความหนาแน่นแตกต่างกัน | ง. | แผ่นดินไหวใต้น้ำ |
60. ทิศทางของกระแสน้ำในมหาสมุทรถูกควบคุมโดยปัจจัยใด
ก. | การหมุนเวียนลมในบรรยากาศ | ข. | แรงโคริออริส | |
ค. | การกระจายตัวของพื้นทวีป | ง. | ถูกทุกข้อ |
61. ข้อใดคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างผิวน้ำและลมที่พัดผ่าน ซึ่งทำให้น้ำมีการเคลื่อนที่
ก. | กระแสพื้นผิว | ข. | แรงเสียดทาน | |
ค. | แรงโน้มถ่วง | ง. | ความหนาแน่น |
62. กระแสน้ำพื้นผิว (surface current) จะเคลื่อนมวลน้ำไปแบบใดเสมอ
ก. | ตามเข็มนาฬิกา | ข. | ในแนวดิ่ง | |
ค. | ทวนเข็มนาฬิกา | ง. | ในแนระนาบ |
63. ข้อใดคือโครงสร้างแข็งที่สร้างยาวขนานชายฝั่ง เพื่อช่วยกันพลังงานคลื่นจากการกัดเซาะชายฝั่ง
ก. | groin | ข. | breakwater | |
ค. | barrier island | ง. | jetty |
64. ระยะทางที่ลมพัดผ่านข้ามมหาสมุทรหรือทะเลเปิดเรียกว่าอะไร
ก. | fetch | ข. | gyre | |
ค. | current | ง. | drift |
65. ข้อใดสามารถทำให้น้ำในมหาสมุทรได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ก. | น้ำเสียจากโรงงาน | ข. | น้ำทิ้งจากการทำไร่ทำนา | |
ค. | การทำประมง | ง. | ถูกทุกข้อ |
66. ข้อใดคือกระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรซึ่งอาจจะยกตัวขึ้นไปบนพื้นผิวและนำพาสารอาหารใต้ท้องทะเลขึ้นสู่พื้นผิว ซึ่งทำให้ปลาชุกชุมเหมาะกับการทำประมง
ก. | น้ำผุด (upwelling) | ข. | ยอดคลื่น (crest) | |
ค. | น้ำขึ้น-น้ำลง (tide) | ง. | ท้องคลื่น (trough) |
67. ระยะห่างระหว่าง 2 ยอดคลื่น (crest) หรือ 2 ท้องคลื่น (trough) เรียกว่าอะไร
ก. | ความยาวคลื่น (wavelength) | ข. | ความสูงคลื่น (wave height) | |
ค. | คาบคลื่น (wave period) | ง. | ความเร็วคลื่น (wave speed) |
68. ชายฝั่งตะวันออกของพื้นทวีป ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำในมหาสมุทร ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างไร
ก. | เปียกชื้น | ข. | อบอุ่น | |
ค. | น้ำท่วม | ง. | เย็น |
69. กระแสน้ำนอกชายฝั่งตะวันตกของพื้นทวีป โดยปกติจะเย็นกว่าที่อื่นๆ เนื่องจากแหล่งกำเนิดของน้ำนั้นมาจากพื้นที่ใด
ก. | ขั้วโลก (polar) | ข. | โซนร้อน (tropical) | |
ค. | เส้นศูนย์สูตร (equatorial) | ง. | เขตอบอุ่น (warm) |
70. ข้อใดคือคลื่นซึ่งเกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลง และทำให้มวลน้ำไหลทะลักเข้าไปในปากอ่าวหรือแม่น้ำแคบและตื้น
ก. | น้ำตาย (neap tide) | ข. | น้ำเกิด (spring tide) | |
ค. | ปรากฏการณ์กำแพงน้ำ (tidal bore) | ง. | กระแสคลื่นกว้าน (rip current) |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ช | 2. | ซ | 3. | ฉ | 4. | ก | 5. | ค | ||||
6. | ง | 7. | จ | 8. | ก |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | T | 2. | F | 3. | F | 4. | T | 5. | T | ||||
6. | F | 7. | T | 8. | T | 9. | T | 10. | T | ||||
11. | F | 12. | T | 13. | T | 14. | F | 15. | T | ||||
16. | T | 17. | T | 18. | T | 19. | T | 20. | T |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ง | 2. | ข | 3. | ง | 4. | ข | 5. | ข | ||||
6. | ง | 7. | ง | 8. | ข | 9. | ค | 10. | ข | ||||
11. | ง | 12. | ง | 13. | ก | 14. | ค | 15. | ข | ||||
16. | ก | 17. | ค | 18. | ง | 19. | ค | 20. | ง | ||||
21. | ค | 22. | ค. | 23. | ข | 24. | ข | 25. | ข | ||||
26. | ข | 27. | ข | 28. | ง | 29. | ง | 30. | ก | ||||
31. | ง | 32. | ข | 33. | ก | 34. | ข | 35. | ข | ||||
36. | ง | 37. | ข | 38. | ง | 39. | ง | 40. | ข | ||||
41. | ง | 42. | ก | 43. | ก | 44. | ง | 45. | ก | ||||
46. | ก | 47. | ก | 48. | ง | 49. | ข | 50. | ค | ||||
51. | ง | 52. | ค | 53. | ก | 54. | ค | 55. | ข | ||||
56. | ง | 57. | ง | 58. | ข | 59. | ก | 60. | ง | ||||
61. | ข | 62. | ง | 63. | ข | 64. | ก | 65. | ง | ||||
66. | ค | 67. | ก | 68. | ก | 69. | ก | 70. | ค |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. มหาสมุทรหลักของโลกมีชื่อว่าอะไรบ้าง และมหาสมุทรใดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด
2. เกลือในมหาสมุทรมาจากพื้นที่ใด และเหตุใดความเค็มของน้ำทะเลจึงยังคงเสถียร
3. CCD หมายถึง อะไร และเหตุใด calcareous oozes จึงพบได้โดยทั่วไปในมหาสมุทรแอตแลนติกมากกว่ามหาสมุทรแปซิฟิก
4. อธิบายความแตกต่างระหว่าง ขอบทวีปจลน์ (active continental margin) และ ขอบทวีปสถิต (passive continental margin)
5. อ่าวไทย (Gulf of Thailand) เป็นขอบทวีปประเภทใด
6. อธิบาย อุณหภูมิโดยเฉลี่ย (temperature) ความเค็ม (salinity) และ ความหนาแน่น (density) ของน้ำทะเลซึ่งแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
7. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญ 2 ปัจจัย ที่เป็นตัวควบคุมความหนาแน่นของน้ำทะเล กระแสน้ำชนิดใดที่เกิดจากความแตกต่างของความหนาแน่นของน้ำทะเล และกระแสน้ำแบบนี้เป็นแบบกระแสแนวดิ่งหรือแนวระนาบ
8. อธิบายกลไล การยกตัว (upwelling) และ การจมตัว (downwelling) ของกระแสน้ำในมหาสมุทร
9. อธิบายความแตกต่างระหว่างทิศทางของ ocean gyres ที่แตกต่างกันของ gyres แปซิฟิกใต้และเหนือ
10. อธิบาย การไหลเวียนของเทอร์โมฮาไลน์ (thermohaline circulation) ที่ส่งผลต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth