Monthly Archives: มีนาคม 2021

สำรวจ

มีนิคมอุตสาหกรรมเหล็กร้าง แอบอยู่กลางป่าชายขอบบุรีรัมย์

โบราณคดี – วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ แร่เหล็กถือ (iron) เป็นหนึ่งในวัสดุที่สำคัญในการผลิตเครื่องมือเครื่องไม้ข้างกายมนุษย์มาอย่างยาวนาน แน่นอนว่าปัจจุบันแหล่งผลิตแร่เหล็กที่สำคัญมีกระจายอยู่ทั่วทุกเห็นโลก ได้แก่ ประเทศจีน ออสเตรเลีย ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14

ทบทวนอะตอม อะตอม (atom) คือ หน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วย นิวเคลียส อยู่ตรงกลางอะตอม โดยภายในนิวเคลียสยังประกอบด้วย โปรตอน (proton) ที่มีประจุบวก และ นิวตรอน (neutron) ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ซึ่งนิวเคลียสจะถูกห่อหุ้มล้อมรอบด้วยกลุ่ม อิเล็กตรอน ...
เรียนรู้

เปลือกโลกบนเนื้อโลก ก็คล้ายๆ ขอนไม้ลอยบนแป้งเปียกหนืดๆ

จากการศึกษาความเร็วที่เปลี่ยนไปของคลื่นแผ่นดินไหวของ โลก ซึ่งสื่อถึง คุณลักษณะทางกายภาพภายในโลก นักธรณีวิทยาพบว่าไส้ในของโลกประกอบไปด้วยชั้น 1) ธรณีภาค (lithosphere) 2) ฐานธรณีภาค (asthenosphere) 3) มัชฌิมาภาค (mesosphere) 4) แก่นโลกชั้นนอก (outer core) ...
เรียนรู้

ไส้ใน โลก : กับการคาดเดาองค์ประกอบของแต่ละชั้น

วิวัฒนาการภายในโลก ในเวลาใกล้เคียงกับการเกิดระบบสุริยะ เทหวัตถุต่างๆ รวมทั้ง โลก (Earth) ได้ก่อตัวขึ้น โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าโลกในระยะแรกมีสถานะเป็นกลุ่มก๊าซและของเหลวที่หมุนรอบตัวเอง ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งผลของแรงดึงดูดจากการหมุนรอบตัวเองและปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การพุ่งชนของอุกกาบาต ทำให้ภายในโลกมีวิวัฒนาการที่เด่นชัดอยู่ 4 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะรวมตัวเนื้อเดียว ...
สำรวจ

ราชมรรคา : อีกเหตุผล ทำไมเส้นทางโบราณนี้เป็นที่นิยม

ราชมรรคา : วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศหรือภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ภาคอีสานของไทยอยู่สูงกว่าที่ราบลุ่มต่ำของประเทศกัมพูชา ซึ่งนอกจากระดับความสูงโดยรวมที่แตกต่างกันแล้ว ชายแดนของทั้ง 2 พื้นที่ ยังถูกขวางกั้นตลอดแนวกว่า ...
สำรวจ

คน . หยอก . คลื่น

คลื่น – ปัจจุบันรูปแบบการป้องกันภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่งที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมีอยู่อย่างน้อยๆ 4 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีลีลาในการปก ป้อง ปราม การสูญเสียหาดหรือฝั่งอย่างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการรุกรานของน้ำทะเลหรือ คลื่น ที่ก็ว่ากันไปตามหน้างาน 1) กำแพงกันคลื่น (seawall) คือความพยายามปกป้องพื้นที่ที่น้ำรุกล้ำและประชิดเข้าติดตัวแล้ว ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้น้ำทะเลกระซวกฝั่งเพิ่มหรือเลยเถิด ก็ใช้วิธีใส่เฝือกปูนให้น้ำกระแทกปูน ...
เรียนรู้

หินกัดกร่อนที่ฝั่ง ตะกอนสะสมตัวที่หาด

ด้วยกระแสคลื่นทะเลที่ซัดเข้า หาด (shore) และ ฝั่ง (coast) อย่างไม่มีทีท่าว่าจะหมดเรี่ยวแรง ทำให้ริมชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในทุกๆ วัน แทบจะทุกด้าน โดยในทางธรณีวิทยา กระบวนการหลักๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งประกอบไปด้วย 2 กระบวนการ คือ 1) การกัดกร่อน ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหว : เมื่อคลื่นยำคน เมื่อคนสู้คลื่น

เมื่อพูดถึงภัยพิบัติ แผ่นดินไหว เอาแค่เรื่องแรงสั่นสะเทือนอย่างเดียว มนุษย์เราก็น่าจะห่อเหี่ยวลงไปไม่น้อย ชัวร์ครับ !!! คลื่นแผ่นดินไหวไปที่ไหน ก็บรรดัยกันแน่ๆ แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ายิ่งแผ่นดินไหวมี 1) ขนาด (magnitude) ใหญ่ แรงสั่นสะเทือนก็ยิ่งแรงขึ้น และก็เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ก็จะให้แรงสั่นที่ 2) ...
เรียนรู้

ของแถมจาก แผ่นดินไหว

เวลาเกิด แผ่นดินไหว ขนาดใหญ่ๆ นอกจาก ภัยพิบัติแรงสั่นสะเทือน ภัยพิบัติสึนามิ รวมทั้ง ภัยพิบัติทรายพุและโคลนภูเขาไฟ ที่มักเกิดมาเป็นชุดๆในพื้นที่ใกล้จุดศูนย์กลางแล้ว แผ่นดินไหวยังสามารถเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดภัยพิบัติยิบๆ ย่อยๆ อีกหลายภัย บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะหาเศษหาเลย หรือจ้องจะปรักปรำแผ่นดินไหวจนเกินงาม แต่หลายครั้งก็เลี่ยงเสียไม่ได้ที่จะกล่าวหาอ้างว่า ภัยพิบัติเหล่านี้เป็นเพราะแผ่นดินไหวตัวเดียวแท้ๆ (ร้ายกาจนักน๊าาาาา) ...
เรียนรู้

โต๊ะจีนแผ่นดินไหว : Earthquake Chinese Banquet

แผ่นดินไหว – จากประสบการณ์อันช่ำชองของแผ่นดินไหวในอดีต ทำให้นักแผ่นดินไหวส่วนใหญ่สังเกตได้ว่า ถ้าแผ่นดินไหวใหญ่ๆ เกิดทั้งที ปกติจะเสิร์ฟแผ่นดินไหวให้เป็นชุดๆ เหมือนกับชุดแฮปปี้มีลของแมคโดนัลด์ หรือเหมือนกับ โต๊ะจีน (Chinese Banquet) ที่จัดมาให้ร้อง ว๊าว ว๊าว ว๊าวววว !!! ตามลำดับ ...
เรียนรู้

ธรณีกาล : กาลเวลาทางธรณีวิทยา

ธรณีกาล (geological time scale) คือ การแบ่งย่อยเหตุการณ์หรืออายุทางธรณีวิทยาตามช่วงเวลาต่างๆ โดยนักธรณีวิทยาได้จำแนกและจัดหมวดหมู่กาลเวลาตลอดอายุขัยของโลกออกเป็นช่วงๆ ตามหน่วยเวลาย่อยๆ ดังนี้ 1) บรมยุค (Eon) บรมยุค (eon) เป็นหน่วยเวลาที่ใหญ่ที่สุดในทางธรณีกาล โดยตลอดช่วงอายุ 4,600 ล้านปี ...
วิจัย

อยากรู้นิสัยแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ควรใส่ใจแผ่นดินไหวเล็กๆ

แผ่นดินไหว – ในการเฝ้าติดตาม ตรวจจับและตรวจวัดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ยิ่ง เครือข่ายการตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นถือเป็นเรื่องดี !!! บางท่านอาจจะสงสัยว่าแผ่นดินไหวเล็กๆ จะไปกลัวกันทำไม จะไปมองมันทำไมให้เสียเวลา เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า โดยธรรมชาติของการเกิดภัย (รวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วยนะ) แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่แผ่นดินไหวใหญ่ นานๆ ...
สำรวจ

ความเฟี้ยวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนลำตะคอง

เขื่อน – ในบรรดาเขื่อนต่างๆ กว่า 39 เขื่อน ที่มีอยู่ในประเทศไทย เขื่อนส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เป็น หุบเขาร่องลึก (valley) ตามภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของไทย ทั้งนี้ก็เพราะความเหมาะในการเก็บน้ำแบบลึกๆ แต่กินพื้นที่แคบๆ ซึ่งในทางธรณีวิทยาหุบเขาร่องลึกจะเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะมี รอยเลื่อน ...
เรียนรู้

วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)

วัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) หมายถึง วัฏจักรการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่างของเหลว ของแข็งและก๊าซ ตามสภาพแวดล้อมที่น้ำอาศัยอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำแนกได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การระเหย การระเหย (evaporation) คือ การเปลี่ยนสถานะของน้ำบนพื้นผิวโลกไปสู่บรรยากาศ ทั้งในรูปของไอน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำโดยตรง ...
สำรวจ

กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก

ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด ...