
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
1. | ____ | shield Volcano | ก. | ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการทรุดตัวของปล่องภูเขาไฟ |
2. | ____ | lahar | ข. | ภูเขาไฟสลับชั้น |
3. | ____ | CO2 | ค. | ปริมาณแร่ซิลิกาสูงและมีอุณหภูมิต่ำ |
4. | ____ | nuée ardente | ง. | ลาวารูปร่างคล้ายกับเกลียวเชือก |
5. | ____ | pillow | จ. | ภูเขาไฟขนาดเล็กและความชันสูงเกิดจากกรวดภูเขาไฟ |
6. | ____ | St. Helens | ฉ. | ภัยพิบัติจากฝุ่นและก๊าซความร้อนสูง |
7. | ____ | caldera | ช. | โครงสร้างของลาวาที่เกิดใต้น้ำ |
8. | ____ | viscous lava | ซ. | ก๊าซจากการปะทุของภูเขาไฟ |
9. | ____ | cinder cone | ฌ. | ชนิดของภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย |
10. | ____ | pahoehoe | ญ. | ภัยพิบัติเหมือนโคลนไหลหลาก |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | ____ | หินอัคนีภูเขาไฟ (volcanic rock) โดยส่วนใหญ่มีขนาดเม็ดแร่ที่เล็กกว่าหินอัคนีบาดาล (plutonic rock) |
2. | ____ | แร่ควอตซ์ (quartz) คือ แร่ชนิดแรกที่เกิดขึ้น จากชุดปฏิกิริยาของโบเวน |
3. | ____ | ภูเขไฟที่มีแมกมาความหนืดสูงมีแนวโน้มที่จะปะทุไม่รุนแรง |
4. | ____ | ภัยพิบัติภูเขาไฟที่อันตรายที่สุดคือการทลายของกรวดภูเขาไฟ หรือเรียกว่า nuée ardente |
5. | ____ | แมกมาบะซอลต์มีอุณหภูมิสูงกว่าและประกอบด้วยแร่ซิลิกาน้อยกว่าแมกมาแอนดิไซต์ |
6. | ____ | แมกมาบะซอลต์มีความหนืดต่ำกว่าแมกมาแอนดิไซต์และสามารถเคลื่อนที่สู่พื้นผิวโลกได้ง่ายกว่า |
7. | ____ | แมกมาที่มีปริมาณแร่ซิลิกาสูงจะปะทุไม่รุนแรง |
8. | ____ | ภูเขาไฟที่ปะทุรุนแรงโดยส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบแผ่นเปลือกเคลื่อนที่เข้าหากัน |
9. | ____ | นักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินสถานการณ์และเตือนภัยก่อนการปะทุของภูเขาไฟได้ |
10. | ____ | ก๊าซจากการปะทุภูเขาไฟสามารถพุ่งสูงไปถึงระดับบรรยากาศของโลก |
11. | ____ | กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) โดยส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน |
12. | ____ | ภูเขาไฟบนหมู่เกาะฮาวาย เกิดจากแมกมาซึ่งเกิดจากเนื้อโลก (mantle) พุ่งขึ้นสู่พื้นผิว |
13. | ____ | หินอัคนี โดยส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากกระบวนการผุพัง (weathering) |
14. | ____ | หินอัคนี (igneous rock) เป็นองค์ประกอบย่อยของหินภูเขาไฟ (volcanic rock) |
15. | ____ | กระบวนการเกิดแมกมาโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามขอบแผ่นเปลือกโลก |
16. | ____ | หินอัคนีซึ่งประกอบด้วยแร่ควอตซ์ (quartz) โดยส่วนใหญ่เกิดที่ระดับอุณหภูมิสูง |
17. | ____ | ชุดปฏิกิริยาของโบเวน คือ กุญแจสำคัญในการศึกษาหินอัคนี |
18. | ____ | ขนาดเม็ดแร่ในหินอัคนีบ่งบอกถึงแร่องค์ประกอบในแมกมา |
19. | ____ | น้ำคือปัจจัยสำคัญที่ควบคุมกระบวนการเกิดหินอัคนีจากแมกมา |
20. | ____ | หินอัคนีที่พบโดยทั่วไปในมหาสมุทรคือหินบะซอลต์ (basalt) |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. แมกมา (magma) คืออะไร
ก. | สาเหตุของการสร้างภูเขาไฟ | ข. | หินหลอมละลายใต้พื้นผิวโลก | |
ค. | วัตถุตั้งต้นของหินอัคนีทั้งหมด | ง. | ถูกทุกข้อ |
2. หินอัคนีสีเข้ม (mafic igneous rock) ประกอบด้วยแร่ซิลิกาประมาณเท่าใด
ก. | 30% | ข. | 60% | |
ค. | 70% | ง. | 50% |
3. หินออปซิเดียน (obsidian) คือหินอัคนีที่เกิดอย่างไร
ก. | แร่ซิลิกาตกผลึกอย่างรวดเร็ว | ข. | สายแร่ควอทซ์ตกผลึกอย่างช้าๆ | |
ค. | ตกผลึกใต้แผ่นเปลือกโลก | ง. | ตกผลึกในเนื้อโลก |
4. ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอะไร
ก. | อุณหภูมิ ความดันและความหนืด | ข. | อุณหภูมิ องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างแร่ | |
ค. | ความหนืด อุณหภูมิและความเข้มข้นของแร่ซิลิกา | ง. | อุณหภูมิ ความหนืดและแร่องค์ประกอบ |
5. ข้อใด ไม่ใช่ หินอัคนีเนื้อละเอียด (fine-grained igneous rock)
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินบะซอลต์ (basalt) | |
ค. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | ง. | หินไรโอไลท์ (rhyolite) |
6. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่าง ลำหินอัคนี (stock) และ หินอัคนีมวลไพศาล (batholith)
ก. | ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | ข. | รูปร่าง | |
ค. | องค์ประกอบทางเคมี | ง. | ขนาด |
7. หลักฐานหรือปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการจำแนกหินอัคนี คือ
ก. | เนื้อหินและแร่องค์ประกอบ | ข. | เนื้อหินและอุณหภูมิ | |
ค. | แร่องค์ประกอบและอุณหภูมิ. | ง. | อุณหภูมิและความหนืด |
8. หินอัคนีที่เกิดอยู่ใต้พื้นผิวโลก เรียกว่าอะไร
ก. | platonic | ข. | extrusive | |
ค. | plutonic | ง. | volcanic |
9. หินอัคนีภูเขาไฟ (volcanic rock) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. | explosive | ข. | plutonic | |
ค. | extrusive | ง. | intrusive |
10. ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง หินอัคนีภูเขาไฟและหินอัคนีบาดาลคืออะไร
ก. | ชนิดของแร่องค์ประกอบ | ข. | องค์ประกอบทางเคมี | |
ค. | สถานที่ในการแข็งตัวเป็นหิน | ง. | ถูกทุกข้อ |
11. พื้นที่ใดสามารถพบ หินแอนดิไซต์ (andesite)
ก. | เทือกเขาหิมาลัย | ข. | หมู่เกาะฮาวาย | |
ค. | เทือกเขาแอนดีส | ง. | เทือกเขาร็อคกี้ |
12. หินหนืด (molten rock) ที่พุ่งออกมาสู่พื้นผิวโลกเรียกว่าอะไร
ก. | ลาวา (lava) | ข. | แมกมา (magma) | |
ค. | กากแร่ (slag) | ง. | หินแกรนิต (granite) |
13. หินบะซอลต์ (basalt) โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | เคลื่อนที่ย้อนกลับ (reversible) | ข. | ผ่านกัน (transform) | |
ค. | เข้าหากัน (convergent) | ง. | ออกจากกัน (divergent) |
14. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ หินแอนดิไซต์ (andesite) และ หินไดโอไรท์ (diorite)
ก. | มีความเข้มข้นของแร่ซิลิกาใกล้เคียงกัน | ข. | เกิดจากแมกมาที่อุณหภูมิใกล้เคียงกัน | |
ค. | มีแร่องค์ประกอบเหมือนกัน | ง. | ถูกทุกข้อ |
15. แร่ชนิดใดเกิดขึ้นในลำดับสุดท้ายตามชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series)
ก. | แร่ควอตซ์ (quartz) | ข. | แร่โอลิวีน (olivine) | |
ค. | แร่แพลคจิโอเคลส (plagioclase) | ง. | แร่มัสโคไวต์ (muscovite) |
16. หินแกรนิต (granite) และ หินไรโอไลต์ (rhyolite) มีความสัมพันธ์กันในด้านใด
ก. | ขนาดของผลึกแร่ | ข. | กระบวนการเกิด | |
ค. | แร่องค์ประกอบ | ง. | ถูกทุกข้อ |
17. หินแกรบโบ (gabbro) มีขนาดของผลึกแร่ใหญ่กว่า หินบะซอลต์ (basalt) เนื่องจากสาเหตุใด
ก. | มีแร่ซิลิกามากกว่า | ข. | แมกมาเย็นตัวช้ากว่า | |
ค. | แมกมาเย็นตัวภายใต้ความดันต่ำกว่า | ง. | เกิดจากกระบวนการแปรสภาพของหิน |
18. หมู่เกาะฮาวายเป็นภูเขาไฟชนิดใด
ก. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | ข. | แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) | |
ค. | ภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcanoe) | ง. | ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cone) |
19. ข้อใดคือผลผลิตที่ได้จากแมกมาบะซอลต์ (basaltic magma)
ก. | โดมภูเขาไฟ (volcanic dome) | ข. | ธุลีหลาก (nuée ardente) | |
ค. | ลาวาปาฮอยฮอย (pahoehoe) | ง. | ลาวาอาอ้า (‘a‘a) |
20. ข้อใดสัมพันธ์กับแมกมาบะซอลต์ (basaltic magma)
ก. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | ข. | ธุลีหลาก (nuée ardente) | |
ค. | การระเบิดภูเขาไฟ (explosive eruption) | ง. | หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) |
21. ข้อใดคือภูเขาไฟที่มีประวัติการปะทุในรอบ 1,000 ปี ที่ผ่านมา
ก. | ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) | ข. | ภูเขาไฟดับสนิท (extinct volcano) | |
ค. | ภูเขาไฟที่ยังหลับ (dormant volcano) | ง. | ภูเขาไฟสลับชั้น (composite volcano) |
22. ข้อใดคือ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic)
ก. | ลาวาบะซอลต์ไหลหลาก | ข. | เถ้าภูเขาไฟ | |
ค. | ผนังแทรกชั้นหินไดโอไรท์ | ง. | โคลนภูเขาไฟไหลหลาก |
23. หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) โดยส่วนใหญ่เป็นหินชนิดใด
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | แร่ดันไนท์ (dunite) | |
ค. | หินบะซอลต์ (basalt) | ง. | หินแกรบโบ (gabbro) |
24. หินชนิดโดยที่พบส่วนใหญ่ในบริเวณภูเขาไฟรูปโหล่ (shield volcano)
ก. | หินไรโอไรท์ (rhyolite) | ข. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | |
ค. | หินบะซอลต์ (basalt) | ง. | หินแกรบโบ (gabbro) |
25. เถ้าภูเขาไฟ (volcanic ash) คืออะไร
ก. | ฝุ่นหินที่หลุดออกจากภูเขาไฟ | ข. | แร่ซึ่งมีความเข้มข้นสูงจากก๊าซภูเขาไฟ | |
ค. | ส่วนที่เหลือของวัตถุที่ถูกเผาโดยลาวา | ง. | ดินที่ถูกลมพัดหลังจากการปะทุของภูเขาไฟ |
26. ข้อใดคือโครงสร้างจากการแทรกดันของแมกมาที่ใหญ่ที่สุด
ก. | ลำหินอัคนี (stock) | ข. | พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike) | |
ค. | หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) | ง. | โครงสร้างรูปฝักบัว (lopolith) |
27. หินอัคนีชนิดใดเกิดจากแมกมาที่มีความหนืดต่ำที่สุด
ก. | หินไรโอไรท์ (rhyolite) | ข. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | |
ค. | หินบะซอลต์ (basalt) | ง. | หินไดโอไรท์ (diorite) |
28. แมกมาชนิดใดโดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กับภัยพิบัติแบบ กรวดภูเขาไฟไหลหลาก (pyroclastic flow)
ก. | แมกมาไรโอไรท์ | ข. | แมกมาแอนดิไซต์ | |
ค. | แมกมาบะซอลต์ | ง. | แมกมาไดโอไรท์ |
29. ภูเขาไฟวิสซูเวียส (Vesuvius) ฟูจิ (Fujii) และภูเขาไฟเรนเนียร์ (Rainier) เป็นภูเขาไฟชนิดใด
ก. | ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cones) | ข. | ภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcanoe) | |
ค. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | ง. | บะซอลต์ไหลหลาก (flood basalt) |
30. ภูเขาไฟชนิดใดที่ใช้เวลาในการปะทุสั้นที่สุด
ก. | ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cones) | ข. | ภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcanoe) | |
ค. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | ง. | โดมภูเขาไฟ (plug dome) |
31. หินเดิมที่ถูกแทรกดันด้วยแมกมาเรียกว่าอะไร
ก. | sedimentary rock | ข. | country rock | |
ค. | metamorphic rock | ง. | background rock |
32. ข้อใดคือนิยามของ ภูเขาไฟทีดับสนิท (extinct volcano)
ก. | ไม่มีการปะทุในรอบ 100 ปี | ข. | ไม่มีการปะทุในรอบ 10,000 ปี | |
ค. | ไม่มีการปะทุในรอบ 1,000 ปี | ง. | ไม่สามารถบอกได้ว่าดับสนิท |
33. แมกมาที่มีปริมาณก๊าซสูง มีแนวโน้มที่จะปะทุอย่างไร
ก. | สกปรกมาก | ข. | ระเบิดรุนแรง | |
ค. | หนืดสูง | ง. | ไหลหลากมาก |
34. ข้อใดไม่ส่งผลต่อ ความหนืด (viscosity) ของแมกมา
ก. | ความเข้มข้นของก๊าซ | ข. | อุณหภูมิ | |
ค. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกา | ง. | ถูกทุกข้อ |
35. โดยปกติก๊าซใดชนิดใดไม่พบอยู่ในองค์ประกอบของแมกมา
ก. | มีเทน | ข. | ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ | |
ค. | ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | ง. | ไอน้ำ |
36. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปะทุของ ภูเขาไฟใต้น้ำ (submarine volcano)
ก. | ไม่เคยมีการสังเกตเห็น | ข. | ทำให้เกิดหินบะซอลต์รูปหมอน | |
ค. | ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากน้ำทำให้แมกมาแข็งเร็วเกินไป | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
37. ภูเขาไฟใน วงแหวนไฟ (Ring of Fire) โดยส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟชนิดใด
ก. | รอยแตก (volcanic fissure) | ข. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | |
ค. | ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cone) | ง. | ภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcanoe) |
38. ดาวเคราะห์ดวงใดไม่มีภูเขาไฟ
ก. | ดาวเสาร์ (Saturn) | ข. | ดาวศุกร์ (Venus) | |
ค. | ดาวอังคาร (Mars) | ง. | ถูกทุกข้อ |
39. สารชนิดใดมี ความหนืด (viscosity) สูงที่สุด
ก. | ยางมะตอย | ข. | นม | |
ค. | น้ำผึ้ง | ง. | น้ำ |
40. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ความหนืด (viscosity) ในทางภูเขาไฟวิทยา
ก. | ปริมาณความหนาแน่นของของเหลว | ข. | ความต้านทานการไหลของของเหลว | |
ค. | ปริมาณความร้อนและความดันที่ส่งผลต่อของเหลว | ง. | ความสามารถในการเคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงของของเหลว |
41. ภูเขาไฟชนิดใดที่โดยส่วนใหญ่ไม่พบหินแอนดิไซต์เป็นองค์ประกอบ
ก. | ภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcanoe) | ข. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | |
ค. | ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cone) | ง. | ภูเขาไฟผสม (mixed volcano) |
42. พื้นที่ใดไม่เคยเกิด บะซอลต์ไหลหลาก (flood basalt)
ก. | รัฐโอเรกอนและวอชิงตันของประเทศสหรัฐอเมริกา | ข. | ตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย | |
ค. | ประเทศอินเดีย | ง. | บางส่วนของไซบีเรีย |
43. ข้อใดสัมพันธ์กับการเกิด ซอลต์ไหลหลาก (flood basalt)
ก. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก | ข. | หินอัคนีมวลไพศาล | |
ค. | จุดร้อนหรือแนวการแยกตัว | ง. | เทือกเขา |
44. ข้อใดสัมพันธ์กับ แมกมาสีจาง (felsic magma)
ก. | ลาวาปาฮอยฮอย (pahoehoe) | ข. | ลาวาอาอ้า (‘a‘a) | |
ค. | รอยแตกรูปเสา (columnar joint) | ง. | หินพัมมิซ (pumice) |
45. ภัยพิบัติรูปแบบใดที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากกรณีภูเขาไฟเปอเล (Pelee) ปะทุ ในปี พ.ศ. 2444 ทางหนือของหมู่เกาะเวสต์อินดี ในทะเลแคริบเบียน
ก. | กรวดภูเขาไฟไหลหลาก (pyroclastic flow) | ข. | โคลนไหลหลาก (mud flow) | |
ค. | ลาวาไหลหลาก (lava flow) | ง. | ฝุ่นภูเขาไฟ (ash) |
46. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ (St. Helens)
ก. | เกิดจากเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก | ข. | เป็นภูเขาไฟดับสนิท | |
ค. | อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ | ง. | ถูกทุกข้อ |
47. การปะทุของภูเขาไฟส่งผลต่อภูมิอากาศในพื้นที่อย่างไร
ก. | ฝุ่นจากภูเขาไฟบังแสงแดด | ข. | เพิ่มความร้อนให้บรรยากาศ | |
ค. | ไอน้ำจากการปะทุกลั่นเป็นเมฆ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
48. แมกมาปะทุที่อุณหภูมิต่ำมีแนวโน้มที่จะเป็นแบบใด
ก. | แห้งมาก | ข. | มีกลิ่นเหม็นมาก | |
ค. | ไหลมาก | ง. | ถูกทุกข้อ |
49. แมกมาที่มีความเข้มข้นของแร่ซิลิกาต่ำ จะมีลักษณะเฉพาะอย่างไร
ก. | มีกลิ่นเหม็นมาก | ข. | ไหลมาก | |
ค. | หนืดสูง | ง. | ถูกทุกข้อ |
50. ข้อใดคือ ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ก. | ภูเขาไฟพินาตูโบ | ข. | หมู่เกาะฮาวาย | |
ค. | ภูเขาไฟเรนเนียร์ | ง. | ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ |
51. ภัยพิบัติในรูปแบบใดที่พบน้อยที่สุดในระหว่างการปะทุของภูเขาไฟ
ก. | โคลนไหลหลาก (mud flow) | ข. | ลาวาไหลหลาก (lava flow) | |
ค. | กรวดภูเขาไฟไหลหลาก (pyroclastic flow) | ง. | เถ้าภูเขาไฟ (ash fall) |
52. อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellow Stone Nation Park) คือตัวอย่างกระบวนการเกิดภูเขาไฟในรูปแบบใด
ก. | จุดร้อนบนพื้นทวีป | ข. | หินบะซอลต์ไหลหลาก | |
ค. | การพังทลายกระเปาะแมกมา | ง. | ถูกทุกข้อ |
53. ข้อใด ไม่ใช่ สัญญาณที่บ่งชี้ว่าภูเขาไฟกำลังจะปะทุ
ก. | เกิดน้ำพุร้อนรอบภูเขาไฟ | ข. | อัตราการผุพังที่สูงขึ้น | |
ค. | กลุ่มแผ่นดินไหวขนาดเล็กจำนวนมาก | ง. | การเปลี่ยนแปลงรูปทรงของภูเขาไฟ |
54. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) มีความชันต่ำเนื่องจากลาวาโดยส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะอย่างไร
ก. | เป็นกรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) | ข. | เป็นลาฮาร์ (lahar) | |
ค. | แมกมาสีจาง (felsic magma) | ง. | แมกมาสีเข้ม (mafic magma) |
55. ข้อใดคือแมกมาที่มีความหนืด (viscosity) สูงที่สุด
ก. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกาสูงและอุณหภูมิสูง | ข. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกาสูงและอุณหภูมิต่ำ | |
ค. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกาต่ำและอุณหภูมิสูง | ง. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกาต่ำและอุณหภูมิต่ำ |
56. ข้อใดคือ ชุดแร่แบบต่อเนื่อง (continuous series) ของชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series)
ก. | แร่โอลิวีน (olivine) | ข. | แร่ไบโอไทต์ (biotite) | |
ค. | แร่แอมฟิโบล (amphiboles) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
57. ข้อใดคือหินที่มีผลึกแร่เล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และประกอบด้วยแร่อุณหภูมิต่ำ
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินไรโอไลท์ (rhyolite) | |
ค. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | ง. | หินแกรบโบ (gabbro) |
58. หินชนิดใดที่โดยส่วนใหญ่เกิดในบริเวณภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)
ก. | หินไรโอไรท์ (rhyolite) | ข. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | |
ค. | หินบะซอลต์ (basalt) | ง. | หินไดโอไรท์ (diorite) |
59. ข้อใดคือภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดของภูเขาไฟ
ก. | กรวดภูเขาไฟไหลหลาก (pyroclastic flow) | ข. | ลาวาไหลหลา (lava flow) | |
ค. | ลาวาปาฮอยฮอย (pahoehoe) | ง. | ลาวารูปหมอน (pillow lava) |
60. แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) เกิดอย่างไร
ก. | การพังทลายของยอดภูเขาไฟ | ข. | องค์ประกอบของลาวาเป็นสีเข้ม | |
ค. | การสูบฉีดที่รุนแรงของแมกมา | ง. | การกรัดกร่อนภูเขาไฟ |
61. ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความหนืด (viscosity) ของแมกมา
ก. | อุณหภูมิ | ข. | ความเข้มข้นของแร่ซิลิกา | |
ค. | เนื้อหิน | ง. | ความดัน |
62. ข้อใดคือผลผลิตจากการปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำ
ก. | ธุลีหลาก (nuée ardente) | ข. | ลาฮาร์ (lahar) | |
ค. | ลาวารูปหมอน (pillow lava) | ง. | หินพัมมิซ (pumice) |
63. ข้อใดมีองค์ประกอบของ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) น้อยที่สุด
ก. | ลาฮาร์ (lahar) | ข. | ธุลีหลาก (nuée ardente) | |
ค. | เทฟ่า (tepha) | ง. | ลาวาไหลหลาก (lava flow) |
64. คุณสมบัติของแมกมาที่เป็นตัวกำหนดความหนืด (viscosity)
ก. | ความหนาแน่น | ข. | สี | |
ค. | ความเข้มข้นของ แร่ซิลิกา | ง. | ความเข้มข้นของธาตุเหล็ก |
65. หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินอะไร
ก. | หินแกรนิต (granite) | ข. | หินแกรบโบ (gabbro) | |
ค. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | ง. | หินบะซอลต์ (basalt) |
66. ภูเขาไฟที่ปะทุบนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่เกิดเป็นหินชนิดใด
ก. | หินบะซอลต์ (basalt) | ข. | หินแอนดิไซต์ (andesite) | |
ค. | หินไรโอไรท์ (rhyolite) | ง. | หินดันไนท์ (dunite) |
67. แมกมาชนิดใดที่โดยส่วนใหญ่เกิดในบริเวณแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
ก. | แมกมาสีเข้ม (mafic magma) | ข. | แมกมาสีจาง (felsic magma) | |
ค. | แมกมาสีปานกลาง (intermediate) | ง. | ถูกทุกข้อ |
68. ภัยพิบัติรูปแบบใดที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากกรณีภูเขาไฟ ปะทุ ในปี พ.ศ. 621 ในเมืองปอมเปอี (Pompeii) ประเทศอิตาลี
ก. | ลาวาไหลหลาก (lava flow) | ข. | สึนามิ (tsunami) | |
ค. | โคลนไหลหลาก (mud flow) | ง. | เถ้าภูเขาไฟ (ash fall) |
69. ข้อใดคือเศษหินท้องที่ ซึ่งถูกนำพามาในขณะที่แมกมาแทรกดันแผ่นเปลือกโลกและปะทุขึ้นมาบนพื้นผิวโลก
ก. | meteorite | ข. | exolith | |
ค. | xenolith | ง. | lithograph |
70. ข้อใดคือ concordant pluton
ก. | พนังแทรกชั้นตามยาว (sill) | ข. | ลำหินอัคนี (stock) | |
ค. | พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike) | ง. | หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ฌ | 2. | ญ | 3. | ซ | 4. | ฉ | 5. | ช | ||||
6. | ข | 7. | ก | 8. | ค | 9. | จ | 10. | ง |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | T | 2. | F | 3. | F | 4. | F | 5. | T | ||||
6. | T | 7. | F | 8. | T | 9. | T | 10. | F | ||||
11. | F | 12. | F | 13. | F | 14. | F | 15. | F | ||||
16. | F | 17. | T | 18. | F | 19. | T | 20. | T |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ง | 2. | ง | 3. | ก | 4. | ง | 5. | ก | ||||
6. | ง | 7. | ก | 8. | ก | 9. | ค | 10. | ค | ||||
11. | ค | 12. | ก | 13. | ง | 14. | ง | 15. | ข | ||||
16. | ค | 17. | ข | 18. | ก | 19. | ค | 20. | ก | ||||
21. | ก | 22. | ข | 23. | ก | 24. | ค | 25. | ก | ||||
26. | ค | 27. | ง | 28. | ก | 29. | ข | 30. | ง | ||||
31. | ข | 32. | ข | 33. | ข | 34. | ง | 35. | ก | ||||
36. | ข | 37. | ง | 38. | ก | 39. | ก | 40. | ข | ||||
41. | ก | 42. | ข | 43. | ค | 44. | ง | 45. | ง | ||||
46. | ก | 47. | ง | 48. | ข | 49. | ข | 50. | ข | ||||
51. | ค | 52. | ง | 53. | ข | 54. | ง | 55. | ข | ||||
56. | ง | 57. | ข | 58. | ค | 59. | ก | 60. | ก | ||||
61. | ข | 62. | ค | 63. | ง | 64. | ค | 65. | ก | ||||
66. | ก | 67. | ก | 68. | ง | 69. | ค | 70. | ก |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. เหตุใดในสภาวะปกติบนพื้นผิวโลกจึงไม่สามารถเกิดภูเขาไฟได้
2. อธิบายกลไกลการแทรกดันของแมกมาและการเกิดภูเขาไฟ
3. อธิบาย 1) นิยาม 2) ชนิด และ 3 คุณสมบัติที่น่าสนใจ ของแมกมา
4. อธิบาย ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
5. กระบวนการเกิดแมกมาในแต่ละชนิด เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง
6. ปัจจัยการประทุของภูเขาไฟ มีอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบายนัยสำคัญต่อการประทุ
7. อธิบายความแตกต่างระหว่าง การเอ่อล้น (effusive) และ การระเบิด (explosive)
8. เหตุใดภูเขาไฟจึงมีรูปทรงหรือภูมิลักษณ์ที่แตกต่างกัน และมีรูปทรงแบบใดได้บ้าง
9. จำแนกภัยพิบัติภูเขาไฟที่สามารถเกิดขึ้นได้และอธิบายกลไกการเกิดโดยย่อ
10. หินอัคนีมีอะไรบ้าง และสามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth