Monthly Archives: มีนาคม 2023

เรียนรู้

พายุฝนฟ้าคะนอง (thunderstorm)

พายุ (storm) คือ ลมที่มีการเคลื่อนที่อย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากความแตกต่างอย่างมากของความกดอากาศระหว่าง 2 พื้นที่ (H หรือ L) โดยความรุนแรงของพายุตรวจวัดได้หลายรูปแบบ เช่น 1) เส้นผ่านศูนย์กลางของพายุ 2) ความเร็วที่ศูนย์กลาง 3) ความเร็วและทิศทางของการเคลื่อนตัว ...
สำรวจ

ธรณีวิทยา x กุมภลักษณ์

1) ชุดความเชื่อ ณ แม่น้ำโขง นอกจากปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ที่มักจะขึ้นมาให้ชมในวันออกพรรษาของทุกปี อีกปรากฏการณ์ที่มักจะสร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านริมฝั่งโขงอยู่บ่อยๆ คือ 1) เกิดน้ำแตกฟอง น้ำวนบิดเกลียว ในช่วงน้ำหลาก 2) ในช่วงน้ำลด พบหินฐานท้องน้ำเป็นรูเป็นหลุมรูปทรงกลม จำนวนมาก รวมทั้ง 3) ...
สำรวจ

นี่ไงหลักฐาน !!! แผ่นอินเดีย วิ่งขึ้นเหนือ ชนแผ่นยูเรเซีย

1) ธรณีประวัติ อินเดีย-ยูเรเซีย ในทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) นักธรณีวิทยาพบว่า แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) (โดยเฉพาะส่วนอินเดีย) เริ่มเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือเมื่อประมาณ 71 ล้านปี ที่ผ่านมา และชนกับทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ...
สำรวจ

กำเนิด ภูมิประเทศ ภาคเหนือของไทย

ในมิติ ภูมิศาสตร์ (geography) หรือภูมิประเทศ ภาคเหนือของไทยประกอบไปด้วยหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน ฯลฯ ซึ่งโดยภาพรวม พื้นที่หรืออาณาเขตของแต่ละจังหวัดจะถูกคั่นด้วยแนวเทือกเขา อย่างเทือกเขาขุนตาล ผีปันน้ำ จอมทอง ...
สำรวจ

ฮาวทูเดา อายุภูเขา แบบถัวๆ

ธรณีสัณฐาน (geomorphology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษา ภูมิลักษณ์ (landform) หรือ ลักษณะภูมิประเทศ แบบต่างๆ (ภูเขา แม่น้ำ ที่ราบสูงเนิน ที่ราบน้ำท่วมถึง ฯลฯ) ที่สื่อถึง พลวัต (dynamic) หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลกทั้ง ...
สำรวจ

ปราสาทหินกลางน้ำ : ความน่าจะมี ในหลายที่ของไทย

“สวัสดีครับ !!! เมืองไทยมี ปราสาทหินกลางน้ำ” ออกตัวต้นเรื่องกันแบบล้อฟรีขนาดนี้ ผู้อ่านคงจะงงว่า วันนี้จะมาไม้ไหน ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ แค่อยากจะบอก อยากจะช่วยโปรโมตว่า ประเทศไทยของเรามี ปราสาทหินกลางน้ำ อยู่จริงๆ เพียงแค่เราอาจจะยังไม่เคยทราบ อาจจะไม่เคยเห็น หรืออาจจะเห็นแต่ไม่เคยสังเกต จริงๆ แล้ว ...
สำรวจ

แถบแผ่นดินไหว (seismic belt) กับ 10 แผ่นดินไหว ใหญ่ที่สุดตลอดกาล

แถบแผ่นดินไหว (seismic belt) ในบรรดาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีอยู่บนโลก นักธรณีวิทยาแบ่งย่อย สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว (seismotectonic setting) เอาไว้ 3 สภาพแวดล้อม คือ 1) บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งได้แก่ ขอบการแยกออกจากกัน (divergent) ขอบการเคลื่อนที่ผ่านกัน ...
สำรวจ

พนมวัน – ธรณีวิทยา : ปราสาทหินสไตล์ LGBTQ+

ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ต. บ้านโพธิ์ อ. เมือง จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรโบราณ สภาพเดิมก่อนบูรณะ ตัวปราสาทพังเสียหายอย่างหนัก ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้เข้าบูรณะ พ.ศ. 2532 และแล้วเสร็จในปี ...
สำรวจ

เกลือ : เส้นทางสายปลาแดก

ในบรรดา ทรัพยากรธรณี ที่มีการนำมาใช้สอยกันมากมาย เกลือ คือหนึ่งในทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้วยคุณสมบัติสั้นๆ อันแสนวิเศษ ที่ช่วยเพิ่มรสชาติ และถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นานขึ้น เกลือจึงกลายเป็นของสำคัญที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ในสมัยโบราณ ว่ากันว่าบ้านไหนเมืองไหนมีเกลือ ถือว่าเนื้อหอม ใครก็อยากรุมตอม บางที่บางทีถึงกับยกย่องการเป็นเจ้าของหรือได้ครอบครองแหล่งเกลือ ก็เปรียบเสมือนกับมี ทองคำขาว อยู่กับตัว ...
แผ่นดินไหว

การจัดกลุ่มแผ่นดินไหว (Earthquake Clustering)

จากการศึกษาฐานข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งในระดับโลก (Aki, 1956) และระดับท้องถิ่น (Knopoff, 1964) พบว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว มักจะประกอบด้วย กลุ่มแผ่นดินไหว (earthquake cluster) ของ 1) แผ่นดินไหวนำ (foreshock) 2) แผ่นดินไหวหลัก ...
สำรวจ

สืบเส้นทาง ม้าต่าง-วัวต่าง แห่งล้านนา

ก็ไม่แน่ใจว่าเด็กๆ ยุคใหม่ จะรู้จักกันมั่งไหม แต่ถ้าถามหญิงชายวัยกลางคน 40 อัพขึ้นไป เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและเคยได้ยินตำนาน นายฮ้อย หรือ คาวบอยอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มพ่อค้าวัว-ควาย ที่รอนแรมต้อนวัวต้อนควาย เดินทางไปทำมาค้าขายข้ามภูมิภาค มนต์เสน่ห์ของเรื่องเล่าระหว่างการเดินทางและความเก่งกล้าสามารถของนายฮ้อย ทำให้อาชีพนายฮ้อยมีหน้ามีตา และมีบทบาทมากบารมีในสังคมอีสานสมัยก่อน ข้ามฟากมาอีกฝั่งของภูมิภาค หากอีสานมีตำนานนายฮ้อย ...
วิจัย

ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ลาว-พม่า

1) แผ่นดินไหว x ลาว ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศลาวตั้งอยู่ห่างไกลจาก เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน แต่ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวอยู่ในประเทศลาวและพื้นที่ข้างเคียง เช่น รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู รอยเลื่อนแม่อิง (Mae Ing Fault; Fenton และคณะ, ...
วิจัย

รูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว ภูมิภาคอาเซียน

ในการศึกษา ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (earthquake hazard) ปัจจุบันมีลีลาการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น 1) การประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว (earthquake activity) ว่าในแต่ละพื้นที่ มีโอกาสแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แค่ไหนบ้าง หรือ 2) การประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต (prospective area) ที่อาศัยสัญญาณทางแผ่นดินไหววิทยาต่างๆ ...
สำรวจ

13 เขตกำเนิดแผ่นดินไหว ที่ส่งผลต่อไทย

เขตกำเนิดแผ่นดินไหว (Seismic Source Zone) หมายถึง พื้นที่ที่มี พฤติกรรมหรือกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic activity) เหมือนๆ กัน มีนิสัยการเกิดแผ่นดินไหวทั้งเรื่องขนาดและความถี่คล้ายๆ กัน สำหรับประเทศไทย นักแผ่นดินไหววิทยาท่านแรกที่แบ่งเขตกำเนิดแผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเอาไว้ คือ อาจารย์ปริญญา นุตาลัย ...
วิจัย

EP. 4 : ลีลาการเขียนรูปเล่ม

การเขียนรายงานวิจัย (research writing) หรือ วิทยานิพนธ์ (thesis) เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่นักวิจัยจะต้องทำหลังจากทำวิจัยเสร็จสิ้น โดยเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยออกมาในรูปแบบของตัวหนังสือ ซึ่งก็ไม่รู้ว่านักวิจัยท่านอื่นทำกันยังไง แต่สำหรับพี่ ก็มีลีลาในการเขียนเล่มเฉพาะตัว ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เล่มโอเค เนื้อหาไม่หลุดโลก น้องๆ ที่สนใจลองเอาไปใช้กันดู เผื่อจะถูกจริต ก่อนอื่น ...
วิจัย

EP. 3 : การทำวิจัย

ในส่วนของการทำวิจัย แน่นอนว่าน้องแต่ละคนมีหัวข้อวิจัยในดวงใจที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละงานวิจัยก็มีธรรมชาติของการทำวิจัยที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นพี่คงไม่ขอก้าวล่วงในธรรมชาติการทำงานของแต่ละหัวข้อวิจัยเฉพาะ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พี่ว่าเราน่าจะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่ต่างกัน เราถูกสมมติให้เป็นนักวิจัยเหมือนกัน เรากำลังเดินทางด้วยเหตุและผลเหมือนกัน และพี่ก็เชื่อว่าบนเส้นทางสายนี้ น้องกับพี่ก็น่าจะพบกับสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะการทำงานที่คล้ายๆ กัน ทั้งใน มิติการทำงานและสภาพจิตใจ เอาเป็นว่า อะไรที่พี่เคยผ่านมา และพี่คิดว่ามันพอจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ พี่ขอแชร์ไว้ให้ตรงนี้ ...
วิจัย

EP. 2 : การเขียน โครงร่างงานวิจัย

โครงร่างการวิจัย (research proposal) หมายถึง แผนการดำเนินงานวิจัย ที่ปลุกปั้นขึ้นมาก่อนที่น้องจะทำวิจัย ซึ่งการเขียนโครงร่างการวิจัยมีประโยชน์อะไร ไม่เขียนได้ไหม น้องๆ ลองดู … แล้วจะเริ่มเขียนยังไง แบ่งหัวข้อแบบไหน แล้วต้องบอกอะไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าดี ก็ถ้าพูดกันตรงๆ จะเขียนยังไงก็ได้ ที่เล่าเรื่องแล้ว ...
วิจัย

EP. 1 : วิจัย คืออะไร

เมื่อน้องๆ เลือกที่จะเดินเข้าสู่ดินแดน อุดมศึกษา ภารกิจด่านสุดท้ายก่อนที่จะได้มาซึ่ง ใบปริญญา ไม่ว่าจะเป็นคุณวุฒิ ตรี โท หรือ เอก น้องๆ จะต้องผ่านการทำ วิจัย (research) ในหัวข้อที่ตัวเองถนัดหรือสนใจ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประมวลองค์ความรู้ และฝึกใช้ความรู้ที่น้องได้ร่ำเรียนมาตลอดระยะเวลา 3-4 ...
สำรวจ

มองชุมชนโบราณ ผ่านกูเกิ้ลเอิร์ธ

เมืองนอกเป็นยังไงไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เมืองไทยเราชอบอาศัยอยู่กันเป็นชุมชน จะเรียกคุ้มบ้าน หมู่ 8 หรือ นิคม ฯลฯ ก็สุดแล้วแต่ ซึ่งถ้ามองผ่านภาพถ่ายดาวเทียมอย่าง กูเกิ้ลเอิร์ธ (Google Earth) เราก็จะเห็นกลุ่มหลังคาบ้านกระจุกตัวกันเป็นหย่อมๆ ตามที่ราบในประเทศไทย โดยขนาดและรูปร่างของแต่ละชุมชน ก็ต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ...
เรียนรู้

นิทาน x ระบบเตือนภัยสึนามิ

หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิครั้งใหญ่ ทางฝั่งอันดามันของไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หลายประเทศรอบมหาสมุทรอินเดียรวมทั้งประเทศไทย ตัดสินใจติดตั้ง ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) อย่างที่ฝรั่งเค้ามีกันทางฟากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยนอกเหนือจากกลไกการทำงานที่สลับซับซ้อนในทางเทคนิค หน้าตาระบบเตือนภัยที่ประชาชนทั่วไปพอจะคุ้นและเคยเห็นคือ ทุนลอยน้ำ ...