Monthly Archives: กันยายน 2019

เรียนรู้

มหายุคพรีแคมเบียน – มหายุคแห่งการจัดแจงโลกและสิ่งมีชีวิต

ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมา ช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลก ซึ่งเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลก กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจึงง่วนไปกับการจัดระบบระเบียบของวัสดุหรือแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น ซึ่งตลอดช่วงเวลาของมหายุคนี้มีลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ...
เรียนรู้

5 แนวทางสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกยกขึ้นมาพูดถึงและมีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน นักวิจัยหรือนักวิชาการสายรักษ์โลกก็พยายามตีความไปในทางที่ว่าปัจจุบันโลกกำลังร้อนขึ้น และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นอย่างนี้ก็คือกิจกรรมของมนุษย์อย่างพวกเรา แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่พยายามตีแผ่ข้อมูลว่าจากคาบหรือวงรอบของการขึ้นๆ ลงๆ ของอุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ในปัจจุบันนี้กำลังถึงจุดสูงสุด และกำลังเข้าสู่ภาวะที่จะกดหัวไปในทางที่โลกเย็นลง และภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หมายถึง การเบี่ยงเบนของสภาพอากาศไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี เช่น 1) จากการสังเกตวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา ...
เรียนรู้

“ความเหมือนกันในตัวของตัวเอง” กับการศึกษารูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว (ฮั่นแน่ งง ? ลองอ่านดู…งงยิ่งกว่าเดิม)

แฟร็กทัล (Fractal) เป็นคำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ เหมือนกันในตัวเอง (self-similar) คือ ดูเหมือนกันหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (scale) ใดก็ตาม โดยจากการสังเกตและศึกษางานวิจัยในอดีต นักวิทยาศาสตร์พบความเป็นแฟร็กทัลมากที่สุดกับวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ เกร็ดหิมะ ใบไม้ ...
เรียนรู้

เพราะแมกมาแตกต่าง นิสัยและรูปร่างภูเขาไฟจึงไม่เหมือนกัน

แมกมา (magma) เป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญที่ควบคุมลักษณะเฉพาะทั้งหมดที่สัมพันธ์กับภูเขาไฟ ทั้งรูปร่างของภูเขาไฟ สไตล์การปะทุ วัสดุที่เกิดจากภูเขาไฟ ตลอดจนรูปแบบของภัยพิบัติภูเขาไฟที่มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งในเชิงองค์ประกอบ แมกมาประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile) ของน้ำและก๊าซ ...
เรียนรู้

ฉันจะเป็น “รอยเลื่อน” หรือ “รอยเลื่อนมีพลัง” มันก็ขึ้นอยู่กับความกลัวของพวกมนุษย์

ปกติเวลาพูดถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว พวกเรามักจะได้ยินคำว่ารอยเลื่อนบ้าง หรือไม่ก็รอยเลื่อนมีพลังบ้าง ซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนจะเหมือนกันแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน คำว่า รอยเลื่อน (fault) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เป็นแค่ 1 ใน 3 รูปแบบหลักๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งหมายถึงแนวรอยแตกของหินที่มีการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในอดีต และส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ไปในทางอธิบายความเหลื่อมหรือไม่ลงรอยกันของหินที่พบในแต่ละพื้นที่ จนบางครั้งนักธรณีวิทยาก็ใช่คำว่า ...
สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล ...
สำรวจ

การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า ...
เรียนรู้

ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวแบบฉุกเฉิน

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์อาจจะรู้จักแผ่นดินไหวอยู่บ้าง อย่างที่บอกว่าเห็นแนวโน้ม รู้จักนิสัยหรือแม้กระทั่งเกือบจะทำนายแผ่นดินไหวได้ แต่สุดท้ายการรู้จักรู้ใจหรือการทำนายที่ว่า ก็ดูเหมือนจะพึ่งพาอาศัยได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง เพราะก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งที่คาดการณ์กันผิดพลาดแล้วสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล แถมทุกวันนี้ก็ยังไม่มีนักแผ่นดินไหวคนไหนกล้าลงขันพนันว่า “วิธีของฉัน นั้นแม่นยำ 100%” ยิ่งทำให้ความมั่นใจของพวกเรากับการคาดการณ์แผ่นดินไหวไม่ได้ดีหรืออุ่นใจขึ้น ก็เพราะสภาพการณ์มันเป็นประมาณนี้ ผู้นำในแต่ละประเทศจึงลงความเห็นไปในทิศทางที่ว่าเราไม่ควรเสี่ยง เอาชีวิตของประชาชนในชาติไปเป็นหนูทดลองหรือแขวนไว้กับการคาดการณ์แบบลุ่มๆ ดอนๆ ของนักแผ่นดินไหว ดังนั้นในอีกแนวทางที่ขนานไปกับการศึกษาวิจัยพฤติกรรมแผ่นดินไหว ...
เรียนรู้

เชื่อกันไปได้ยังไง ว่าเอกภพและโลกเกิดจากกลุ่มหมอกควัน

ถ้าจะว่ากันตามนิยาม เอกภพ (universe) จะหมายถึง ทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น 1) สสาร (หรือเทหวัตถุ) 2) พลังงาน รวมทั้ง 3) พื้นที่ว่าง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันขอบเขตที่แน่ชัดของเอกภพ นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งสมมุติฐานว่าเอกภพนั้นไม่มีขอบเขต โดยเอกภพจะประกอบไปด้วยระบบย่อยที่เรียกว่า ...
วิจัย

แผ่นดินไหวเล็กและใหญ่ เกิดเป็นสัดส่วนกัน-ถ้าเราดูออก ก็รู้จักนิสัยของเขา

จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่บันทึกเก็บไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน นักแผ่นดินไหวหลายคนเคยเอามานั่งดู และพบว่าจำนวนการเกิดแผ่นดินไหวโดยภาพรวมในแต่ละช่วงเวลาและในพื้นที่ใดๆ “แผ่นดินไหวเล็กจะมีอัตราการเกิดบ่อยกว่าแผ่นดินไหวใหญ่” เช่น แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นทั่วโลกประมาณ 1,000,000 เหตุกาณ์/ปี ในขณะที่แผ่นดินไหวขนาด 5.0 เกิดโดยเฉลี่ย 2,000 เหตุการณ์/ปี ซึ่งต่อมา Ishimoto และ ...
เรียนรู้

6 ลีลาการ ถ่ม-ถุย-ผุย-พ่น ของภูเขาไฟ

ว่าด้วยเรื่องการแทรกดันหรือผุดขึ้นมาของแมกมากลายเป็นลาวาบนพื้นผิวโลก กองเป็นภูเขาไฟนั้น รูปแบบของการปะทุแบ่งคร่าวๆ ตามความรุนแรงได้ 2 แบบคือ 1) การเอ่อล้น (effusive) เหมือนกับการผุดการผุยเอ่อขึ้นมาบนปากปล่องแมกมา และ 2) การระเบิด (explosive) เหมือนกับการพ่นพรุ่งขึ้นสู่อากาศ ซึ่งทั้ง 2 แบบคร่าวๆ ...
เรียนรู้

6 วรรณะของ “เทหวัตถุ” ในเอกภพ

โดยนิยาม เทหวัตถุ (space object) หมายถึง สสารรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ ซึ่งตั้งแต่เล็กจนโต พวกเรามีโอกาสได้รู้จักเทหวัตถุต่างๆ มากมาย ช่วงประถมครูก็เคยสอนเรื่องดาวฤกษ์ดาวเคราะห์ พอขึ้นมัธยม คำว่าดาวเคราะห์น้อย ดาวตก ดาวบริวาร ฯลฯ ก็เริ่มเข้ามาให้คุ้นหู ซึ่งพอเรียนมาได้สักพักสิ่งที่พวกเราสรุปได้ก็คือ ...
สำรวจ

ฟุกุชิม่าฟิฟตี้ – we’re not afraid to die

11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 นอกชายฝั่งแปซิฟิกทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทั้งแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิทำให้พื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและชายฝั่งแปซิฟิกของญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดทั้งแนว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16,000 คน บาดเจ็บ 6,000 คน และสูญหายอีกกว่า 4,500 คน นอกจากนี้ ...
สำรวจ

ไทย-สึนามิ เคยพบหน้ากันมาแล้วหลายครั้ง – รู้ได้ยังไง ?

ธรรมชาติของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดที่มีสึนามิมาเอี่ยวด้วย) ส่วนใหญ่จะมี คาบอุบัติซ้ำ (return period) ยาวนานเป็นหลักร้อยๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรอินเดียซึ่งแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ได้ดุร้ายเหมือนกับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตั้งแต่เราเกิดมา ก็เพิ่งจะเคยพบเคยเห็นสึนามิแค่ครั้งเดียวในปี พ.ศ. 2547 แต่การเห็นครั้งแรกแค่ครั้งเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีและอนาคตจะไม่เกิดขึ้น บางทีก่อนหน้าปี พ.ศ. 2547 อาจจะเคยเกิดสึนามิมาแล้วหลายครั้ง ...
เรียนรู้

ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี

ถ้าจะให้ไล่เรียงลีลาของโลกที่สามารถหอบมวลน้ำในทะเลซัดขึ้นมาบนฝั่งแบบสูงท่วมหัวหรือเป็นภัยพิบัติกับเราได้ จริงๆ แล้วมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 1) คลื่นเซซแผ่นดินไหว (seismic seiches) 2) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) รวมทั้ง 3) สึนามิ (tsunami) ซึ่งคลื่นน้ำแต่ละแบบก็มีสาเหตุและพฤติกรรมเฉพาะตัวที่ส่งผลกระทบกับเราแตกต่างกัน คำว่า ...
เรียนรู้

ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย

ภูเขาไฟ (volcano) คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่โลกพยายามคลายความร้อนภายในโลกออกสู่ภายนอกในรูปแบบการปะทุของ หินหนืด (molten rock) ซึ่งตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมา มีหินหนืดไหลขึ้นมาบนพื้นโลกผ่านกระบวนการปะทุของภูเขาไฟอย่างนับไม่ถ้วน โดยในบรรดาภูเขาไฟที่ยังมีให้เห็นอยู่บนโลก หลายลูกก็ดับสนิทไปแล้ว ในขณะที่บางลูกก็ฮึ่มๆ พร้อมปะทุได้ทุกเวลา ซึ่งในทางธรณีวิทยา นิสัยคร่าวๆ ที่นักธรณีวิทยาใช้แยกความดุหรือความมีภัยพิบัติของภูเขาไฟคือ ความถี่ของการปะทุและเวลาการปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนั้นๆ ซึ่งแบ่งภูเขาไฟที่มีอยู่บนโลกออกเป็น ...