Monthly Archives: ธันวาคม 2021

เรียนรู้

ชนิดของ ลม

ลม (Wind) คือ การเคลื่อนท่ีของกระแสอากาศแนวราบขนานกับพื้นผิวโลก สืบเนื่องจากความสามารถในการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิต่างกัน อากาศเกิดการหด-ขยายแตกต่างกัน อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ทำให้อากาศเย็นในบริเวณข้างเคียงเข้าไปแทนที่ ทำให้ความกดอากาศต่างกันในแต่ละพื้นที่ เกิดเป็น ความกดอากาศสูง (H) และ หย่อมความกดอากาศต่ำ (L) พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ-สูง จะมีความกดอากาศสูง-ต่ำ ...
สำรวจ

แผ่นดินไทยมาจากไหน ? : นิทาน . ธรณีแปรสัณฐาน . ประเทศไทย

เชื่อว่าผู้อ่านคงเคยได้รับชมสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางของเผ่าพันธุ์มนุษย์ การอพยพของสัตว์เพื่อหนีหนาว หรือแม้แต่การเดินทางของเม็ดเลือดจากการ์ตูน “นิทานชีวิต” ที่เราคลั่งไคล้กันตอนเด็กๆ คราวนี้ผู้เขียนอยากให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ มาดูการเดินทางของผืนแผ่นดิน (ธรณีแปรสัณฐาน) กันบ้าง ผู้เขียนผู้เขียนตั้งชื่อนิทานเรื่องนี้ว่า “นิทานขวานทอง” ซึ่งอ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยมีการศึกษาวิจัยเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bunopas (1985) Charusiri และคณะ (2002) ...
เรียนรู้

จัดหมวดหมู่คำศัพท์ : ธรณีภาค เปลือกโลก ฐานธรณีภาค เนื้อโลก มัชฌิมาภาค แก่นโลก ฯลฯ

เชื่อว่าหลายๆ คนที่เคยเรียนเรื่อง โครงสร้างภายในโลก (Earth’s Interior) ผ่านมา คงจะมีคำศัพท์หรือตัวละครอยู่ในหัวติดมาบ้างพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น เปลือกโลก เนื้อโลก แมนเทิล ธรณีภาค ฐานธรณีภาค มัชฌิมาภาค เปลือกโลกชั้นนอก เปลือกโลกชั้นใน หรือแม่กระทั่ง เปลือกโลกเฉยๆ ...
สำรวจ

ตะพักทะเล : พยานปากเอก จับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

เกริ่นกันก่อน ตะพักแม่น้ำ เกริ่นก่อนจะเข้าเรื่อง แผ่นดินไหว สืบเนื่องจากบทความ : ชนิดและภูมิลักษณ์ของธารน้ำ ผลจากการกวัดแกว่งของ ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream) หินแข็งที่เคยอยู่ริมธารน้ำจะถูกกัดกร่อนและเกิดการทับถมตะกอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปทั่วทุกพื้นที่ที่ธารน้ำเคยตวัดไปถึง ทำให้เกิดภูมิประเทศเป็นที่ราบครอบคลุมพื้นที่กว้างขนาบไปตามธารน้ำที่เรียกกันติดปากว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ซึ่งหากมองในภาพตัดขวางของร่องน้ำ จะพบว่าร่องน้ำโค้งตวัดนี้ ...