วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
1. | _____ | medial moraine | ก. | เป็นสันเขาคดโค้งที่เกิดจากจากการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็งจากน้ำไหลในอุโมงค์ใต้ธารน้ำแข็ง |
2. | _____ | tarn | ข. | โตรกเขาติดทะเล เกิดจากน้ำทะเลท่วมหุบเขาลึกจากธารน้ำแข็ง |
3. | _____ | glacier’s budget | ค. | ความต่างของอัตรา การพอกสะสม (accretion) และ การเสียดกร่อน (ablation) ของธารน้ำแข็ง |
4. | _____ | cirque | ง. | เนินตะกอนรูปไข่ยาวรีเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น |
5. | _____ | esker | จ. | รูปร่างของหุบเขาธารน้ำแข็ง |
6. | _____ | glacial till | ฉ. | แอ่งตะกอนครึ่งทรงกลมบนธารน้ำแข็งภูเขา |
7. | _____ | drumlin | ช. | ตะกอนที่สะสมตัวโดยตรงจากธารน้ำแข็ง |
8. | _____ | U shape | ซ. | หิมะแข็ง เกิดจากหิมะที่เกาะตัวกันอย่างหนาแน่น |
9. | _____ | Fjord | ฌ. | แพเศษหินธารน้ำแข็งส่วนกลาง เป็นธารน้ำแข็งที่รวมกับธารน้ำแข็งข้างเคียง |
10. | _____ | firn | ญ. | แหล่งน้ำในแอ่งพระจันทร์เสี้ยวหรือทะเลสาบธารน้ำแข็ง |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | _____ | การหลอมละลายของธารน้ำแข็งใน โซนการเสียดละลาย (zone of ablation) คือสาเหตุการถอยร่นของธารน้ำแข็ง |
2. | _____ | แพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine) คือลักษณะการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง |
3. | _____ | ธารน้ำ (glacier) แข็งเกิดจาก การตกผลึกใหม่ (recrystallization) ของหิมะ |
4. | _____ | ยุคน้ำแข็ง (ice age) เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง |
5. | _____ | ธารน้ำแข็งสามารถเกิดในพื้นที่เขตร้อนได้ แต่อยู่บนเขาสูง |
6. | _____ | เนินดรัมริน (drumlin) คือแอ่งตะกอนครึ่งทรงกลมที่เกิดจากการครูดถูของธารน้ำแข็ง |
7. | _____ | ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) ไม่มีให้เห็นแล้วบนโลกในปัจจุบัน |
8. | _____ | โตรกเขาติดทะเล (fjord) คือ หุบเขาธารน้ำแข็ง (glacial valley) ที่ปัจจุบันถูกน้ำทะเลท่วม |
9. | _____ | ธารน้ำแข็งแอนตาร์กติก (Antarctica glacier) ถูกปกคลุมด้วย พืดน้ำแข็ง (ice sheet) |
10. | _____ | ใน โซนการเสียดละลาย (zone of ablation) อัตราการหลอมละลายสูงกว่าการสะสมตัวของหิมะ |
11. | _____ | ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) เป็นแหล่งกำเนิดของ หุบเขาแขวน (hanging valley) |
12. | _____ | ธารน้ำแข็ง (glacier) สามารถคืบหน้ากินพื้นที่เพิ่มขึ้นได้หากอัตราการหลอมละลายสูงกว่าการสะสมตัว |
13. | _____ | การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุการเกิดธารน้ำแข็ง |
14. | _____ | สันเขาฟันเลื่อย (arete) คือการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง |
15. | _____ | ตะกอนน้ำแข็งละลาย (outwash) สะสมในส่วนปลายของธารน้ำแข็งในรูปแบบ ธารน้ำประสานสาย (braided stream) |
16. | _____ | การสะสมของ ชั้นดินเลน (varve) คือรูปแบบการสะสมตัวโดยธารน้ำแข็งในทะเลสาบ |
17. | _____ | กระบวนการเกิดธารน้ำแข็ง สมัยโฮโลซีน (Holocene epoch) คือยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดของโลก |
18. | _____ | กระบวนการเกิดธารน้ำแข็ง (glaciation) เกิดเฉพาะบริเวณที่ใกล้กับขั้วโลก |
19. | _____ | หุบเขาที่เกิดจากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็งจะมีหน้าตัดร่องเขาคล้ายกับรูปตัว U |
20. | _____ | เมื่อธารน้ำแข็งถอยร่น จะทิ้งหลักฐานของ เนินรูปงู (esker) และ เนินดรัมริน (drumlin) ซึ่งแสดงถึงระยะไกลที่สุดที่ธารน้ำแข็งเคยปกคลุม |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier)
ก. | ไม่พบบนพื้นผิวโลกในปัจจุบัน | ข. | พบได้ในพื้นที่เทือกเขาสูง | |
ค. | เป็นสาเหตุสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อน | ง. | เกิดบนพื้นราบแต่มีอุณหภูมิต่ำเพียงพอ |
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier)
ก. | เคยเกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ | ข. | เคยเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา | |
ค. | เคยเกิดขึ้นในทวีปยุโรป | ง. | ถูกทุกข้อ |
3. ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ธารน้ำแข็งทั่วโลก
ก. | 0.1% | ข. | 50% | |
ค. | 5% | ง. | 10% |
4. ข้อใดคือชนิดของ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier)
ก. | ทุ่งน้ำแข็ง (ice field) | ข. | ลาดน้ำแข็ง (ice shelve) | |
ค. | พืดน้ำแข็ง (ice sheet) | ง. | ถูกทุกข้อ |
5. ธารน้ำแข็ง (glacier) มีส่วนทำให้เกิดกระบวนการอะไรบ้าง
ก. | การกรัดกร่อน | ข. | การสะสมตัว | |
ค. | การพัฒนาภูมิลักษณ์ | ง. | ถูกทุกข้อ |
6. ข้อใดคือองค์ประกอบหลักของ กระจุกน้ำแข็ง (ice cap) บนดาวอังคาร
ก. | คาร์บอนไดออกไซด์แห้ง | ข. | น้ำแข็ง | |
ค. | ไนโตรเจนเหลว | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
7. ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เจาะสำรวจพืดน้ำแข็งและเก็บตัวอย่างไปเพื่อทำวิจัยและวิเคราะห์อะไร
ก. | ปริมาณธารน้ำแข็งโดยรวม | ข. | ชั้นหินใต้ธารน้ำแข็ง | |
ค. | อายุของโลก | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
8. หุบเขาที่ถูกกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็งจะมีภาพตัดขวางคล้ายกับตัวอักษรอะไรในภาษาอังกฤษ
ก. | รูปตัว U | ข. | รูปตัว V | |
ค. | รูปตัว W | ง. | รูปตัว S |
9. ข้อใด ไม่ใช่ ชนิดของ แพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine)
ก. | แพเศษหินธารน้ำแข็งหยุดนิ่ง (recessional moraine) | ข. | แพเศษหินบนทวีป (continental moraine) | |
ค. | แพเศษหินธารน้ำแข็งด้านข้าง (lateral moraine) | ง. | ถูกทุกข้อ |
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับธารน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปอเมริกาเหนือ
ก. | ยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด | ข. | เกิดจากน้ำทะเลปกคลุมในอดีต | |
ค. | ทวีปอเมริกาเหนือไม่เคยมีน้ำแข็งปกคลุม | ง. | ปกคลุมมากที่สุดเมื่อประมาณ 18,000 ที่ผ่านมา |
11. เหตุใด ธารน้ำแข็งอัลไพน์ (alpine glacier) จึงสามารถไหลลงจากเทือกเขาได้
ก. | น้ำแข็งมีความแข็งมาก | ข. | น้ำแข็งเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก | |
ค. | น้ำแข็งมีความหนามาก | ง. | น้ำแข็งมีมวลขนาดใหญ่ |
12. เหวน้ำแข็ง (crevasse) เกิดจากสาเหตุใด
ก. | พื้นผิวน้ำแข็งไม่เคลื่อนที่แต่ข้างใต้เคลื่อนที่ | ข. | พื้นผิวน้ำแข็งมีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ | |
ค. | พื้นผิวน้ำแข็งเย็นมาก | ง. | พื้นผิวน้ำแข็งหลอมละลายง่าย |
13. น้ำแข็งที่ทำให้เกิดธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) มีต้นกำเนิดมาจากที่ใด
ก. | น้ำที่ควบแน่นจากหิมะ | ข. | น้ำที่ระเหยมาจากมหาสมุทร | |
ค. | หิมะที่ตกผลึกใหม่เป็นน้ำแข็ง | ง. | ถูกทุกข้อ |
14. หาก รอยครูดธารน้ำแข็ง (glacial striation) บนหินมีทิศทางในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (NE-SW) แปลความหมายได้ว่าในอดีตธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ในทิศทางใด
ก. | NE-SW | ข. | SW-NE | |
ค. | NW-SE | ง. | ข้อ ก. และ ข. ถูก |
15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier)
ก. | ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเปลี่ยนแปลง | ข. | อาจมีทะเลสาบตรงส่วนปลายของธารน้ำแข็ง | |
ค. | เปลี่ยนรูปพื้นทวีปจากมวลน้ำแข็งที่กดทับ | ง. | ถูกทุกข้อ |
16. สถานการณ์ของธารน้ำแข็งทั่วโลกในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ก. | ขยายใหญ่กว่าที่เคยเป็นในอดีต | ข. | กำลังหลอมละลาย | |
ค. | หดเล็กกว่าที่เคยเป็นในอดีต | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
17. หากพืดน้ำแข็ง (ice sheet) ทั้งหมดทั่วโลกหลอมละลาย นักวิทยาศาสตร์คาดว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นโดยประมาณเท่าใด
ก. | 60 เมตร | ข. | > 200 เมตร | |
ค. | > 130 เมตร | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
18. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier)
ก. | อากาศหนาวน้อยกว่าธารน้ำแข็งอัลไพน์ | ข. | มีความหนาน้อยกว่าธารน้ำแข็งอัลไพน์ | |
ค. | เคลื่อนที่ได้ช้ากว่าธารน้ำแข็งอัลไพน์ | ง. | สามารถเคลื่อนที่ได้ในหลักกิโลเมตร |
19. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิด ยุคน้ำแข็ง (Ice age) ถูกค้นพบและนำเสนอครั้งแรกเมื่อใด
ก. | ศตวรรษที่ 17 | ข. | ศตวรรษที่ 19 | |
ค. | ศตวรรษที่ 18 | ง. | ศตวรรษที่ 20 |
20. สภาวะแบบใดที่ทำให้น้ำแข็งของธารน้ำแข็งพัฒนาลงไปด้านล่างได้
ก. | การพอกสะสม > การเสียดกร่อน | ข. | การพอกสะสม = การเสียดกร่อน | |
ค. | การพอกสะสม < การเสียดกร่อน | ง. | ถูกทุกข้อ |
21. ขอบเขตที่แบ่งแยกระหว่าง โซนการสะสมตัว (zone of accumulation) และ โซนการเสียดละลาย (zone of ablation) เรียกว่าอะไร
ก. | ระดับทดแทน (compensation level) | ข. | ปริมาณน้ำแข็ง (glacier’s budget) | |
ค. | เส้นสมดุลหิมะ (equilibrium snow line) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
22. ข้อใดคือ หุบเขาลึกรูปตัว U ที่เกิดในสภาพแวดล้อมแบบธารน้ำแข็ง
ก. | ยอดเขาเขี้ยว (horn) | ข. | โตรกเขาติดทะเล (fjord) | |
ค. | หุบเขาแขวน (hanging valley) | ง. | สันเขาฟันเลื่อย (arete) |
23. ข้อใดคือสาเหตุการเกิดยุคน้ำแข็ง (ice age)
ก. | การเปลี่ยนแปลงความร้อนจากดวงอาทิตย์ | ข. | การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ | |
ค. | การเปลี่ยนแปลงวงโคจรโลก | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
24. ข้อใดคือผลจากธารน้ำแข็งไหลลงไปในทะเล
ก. | ภูเขาน้ำแข็ง (iceberg) | ข. | ถูกทุกข้อ | |
ค. | ลาดน้ำแข็ง (ice shelve) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
25. เนินรูปงู (esker) โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
ก. | น้ำแข็งคืบหน้า (advance) | ข. | น้ำแข็งพอกสะสม (accretion) | |
ค. | น้ำแข็งกำลังถอยร่น (retreat) | ง. | น้ำแข็งเสียดกร่อน (ablation) |
26. ข้อใดคือหลักฐานบ่งชี้ขอบเขตธารน้ำแข็ง (glacier) ในอดีต
ก. | เนินรูปงู (esker) | ข. | เนินดรัมริน (drumlin) | |
ค. | แพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine) | ง. | ตะกอนธารน้ำแข็งเนินเคม (kame) |
27. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะเฉพาะของ ธารน้ำแข็งอัลไพน์ (alpine glacier)
ก. | ยอดเขาเขี้ยว (horn) | ข. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยว (cirque) | |
ค. | สันเขาฟันเลื่อย (arete) | ง. | เนินดรัมริน (drumlin) |
28. ข้อใดคือภูมิลักาณ์จากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับชามที่สูงชันบริเวณยอดเขา
ก. | ภูเขาน้ำแข็ง (iceberg) | ข. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยว (cirque) | |
ค. | เนินดรัมริน (drumlin) | ง. | ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial till) |
29. ข้อใดคือภูเขาที่มีรูปทรงคล้ายกับปิรามิดซึ่งเกิดจากการกรัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง
ก. | โตรกเขาติดทะเล fjord) | ข. | หุบเขาแขวน (hanging valley) | |
ค. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยว (cirque) | ง. | ยอดเขาเขี้ยว (horn) |
30. จำนวนของการคืบหน้าของน้ำแข็งในระหว่าง สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene epoch) มีกี่ครั้งโดยประมาณ
ก. | 1 ครั้ง | ข. | 20-25 ครั้ง | |
ค. | 4 ครั้ง | ง. | > 100 ครั้ง |
31. บันทึกที่ดีที่สุดซึ่งบ่งชี้การคืบหน้าของน้ำแข็งใน สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene epoch) ควรอยู่ในพื้นที่ใด
ก. | บนแผ่นดิน | ข. | ในกระจุกน้ำแข็ง (ice cap) | |
ค. | บนพื้นมหาสมุทร | ง. | ในทะเลสาบธารน้ำแข็ง (glacial lake) |
32. ข้อใดคือหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงการคืบหน้าและถอยร่นของธารน้ำแข็ง
ก. | การสลับกันของฟอสซิลขนาดเล็กในสภาพน้ำอุ่นและเย็น | ข. | เศษหินขนาดใหญ่ที่เคยอยู่บนภูเขาน้ำแข็งหล่นลงทะเล | |
ค. | ความหลากหลายของไอโซโทปออกซิเจน | ง. | ถูกทุกข้อ |
33. ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial till) แตกต่างจาก ตะกอนน้ำแข็งละลาย (outwash) อย่างไร
ก. | ตะกอนธารน้ำแข็งมีเพียงเศษหินขนาดเล็กแต่ตะกอนน้ำแข็งละลายมีหลายขนาดปะปะปนกัน | ข. | ตะกอนธารน้ำแข็งมีการคัดขนาดที่ดีกว่าตะกอนน้ำแข็งละลาย | |
ค. | ตะกอนธารน้ำแข็งมีสีเข้มกว่าตะกอนน้ำแข็งละลาย เนื่องจากมีอินทรียวัตถุมากกว่า | ง. | ตะกอนน้ำแข็งละลายมีการคัดขนาดที่ดีกว่าตะกอนธารน้ำแข็ง |
34. เศษหินธารน้ำแข็งส่วนหน้า (terminal moraine) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | การพอกสะสม > การเสียดกร่อน | ข. | การพอกสะสม = การเสียดกร่อน | |
ค. | การพอกสะสม < การเสียดกร่อน | ง. | ถูกทุกข้อ |
35. เหวน้ำแข็ง (crevasses) ในธารน้ำแข็งสามารถลึกลงไปได้เท่าใด
ก. | ≥ 300 เมตร | ข. | โซนการไหลแบบพลาสติก | |
ค. | ฐานธารน้ำแข็ง | ง. | ขึ้นอยู่กับความหนาของน้ำแข็ง |
36. ในช่วงระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งสำคัญล่าสุด ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่า 130 เมตร ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของพื้นที่แผ่นดินระหว่างทวีปใด
ก. | ทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ | ข. | ทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย | |
ค. | ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ | ง. | ทวีปเอเชียและออสเตรเลีย |
37. น้ำแข็งระดับตื้นใกล้พื้นผิวของธารน้ำแข็งจะแสดงพฤติกรรมแบบใด
ก. | แข็งเปราะ (brittle) | ข. | ยืดหยุ่น (elastic) | |
ค. | อ่อนเหนียว (ductile) | ง. | พลาสติก (plastic) |
38. น้ำแข็งระดับลึกภายในธารน้ำแข็งจะแสดงพฤติกรรมแบบใด
ก. | แข็งเปราะ (brittle) | ข. | ยืดหยุ่น (elastic) | |
ค. | อ่อนเหนียว (ductile) | ง. | พลาสติก (plastic) |
39. ข้อใดไม่สามารถใช้แปลความหมายทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำแข็งได้
ก. | เนินดรัมริน (drumlin) | ข. | ชั้นดินเลน (varve) | |
ค. | รอยครูดธารน้ำแข็ง (glacial striation) | ง. | ขบวนก้อนหินมนใหญ่ (boulder train) |
40. ข้อใดคือ หุบเขาธารน้ำแข็ง (glacial valley) ที่อยู่สูงกว่าหุบเขาหลัก ซึ่งเคยมีธารแข็งไหลผ่านและโดยส่วนใหญ่มีน้ำตกเกิดร่วมด้วย
ก. | หุบเขาลอย (perched valley) | ข. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยว (cirque) | |
ค. | หุบเขาแขวน (hanging valley) | ง. | จมูกเขาปลายตัด (truncated spur) |
41. แพเศษหินธารน้ำแข็งส่วนกลาง (medial moraine) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | เกิดตามด้านข้างของธารน้ำแข็ง | ข. | เมื่อส่วนปลายของธารน้ำแข็งคืบหน้าเกินแพเศษหินธารน้ำแข็ง | |
ค. | เมื่อหุบเขาธารน้ำแข็งสองหุบเขามารวมกัน | ง. | เมื่อธารน้ำแข็งก่อนตัวคล้ายกับสันคลื่นโค้งมน |
42. ข้อใดสัมพันธ์กับ ปริมาณน้ำแข็ง (glacier’s budget) ที่ติดลบ
ก. | ส่วนปลายธารน้ำแข็งถอยร่น | ข. | ธารน้ำแข็งทั้งหมดหยุดการไหล | |
ค. | อัตราการพอกสะสมสูงกว่าการสูญเสียธารน้ำแข็ง | ง. | ความยาวของธารน้ำแข็งเพิ่มขึ้น |
43. ความดันเนื่องจากน้ำหนักกดทับของน้ำแข็งด้านบนทำให้ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ได้ในรูปแบบใด
ก. | รอยแยก (fracture) | ข. | การคืบคลานของหิน (rock creep) | |
ค. | การกระเพื่อม (surge) | ง. | การไหลแบบพลาสติก (plastic flow) |
44. ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เกิด ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial drift)
ก. | ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งพื้นทวีป | ข. | ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่แบบพลาสติกและเลื่อนไปตามพื้น | |
ค. | ภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล | ง. | ถูกทุกข้อ |
45. ภูเขาน้ำแข็ง (iceberg) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | น้ำกถูกทำให้เป็นน้ำแข็งในมหาสมุทรและลอยมาบนพื้นผิว | ข. | เศษชิ้นส่วนธารน้ำแข็งแตกหลุดออกมาและไหลลงทะเล | |
ค. | น้ำแข็งในแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล | ง. | น้ำทะเลถูกทำให้เป็นน้ำแข็ง |
46. ข้อใดคือหลักฐานบ่งชี้ โซนการพอกสะสม (accretion) ของธารน้ำแข็ง
ก. | ภูเขาน้ำแข็งไถลลงมหาสมุทร | ข. | พบน้ำแข็งโผล่ | |
ค. | หิมะจากฤดูหนาวครั้งก่อนปกคลุมธารน้ำแข็ง | ง. | พบก้อนหินมนใหญ่ (boulder) ในธารน้ำแข็ง |
47. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ยุคน้ำแข็ง สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene epoch)
ก. | นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าเกิดขึ้น 3-5 ครั้ง | ข. | เกิดจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมหาสมุทร | |
ค. | ทำให้พื้นที่ไซบีเรียและอลาสก้าเชื่อมต่อกัน | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
48. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ หุบเขาแขวน (hanging valley)
ก. | เกิดจากธารน้ำแข็งในหุบเขา | ข. | มีร่องเขาคล้ายกับรูปตัว U | |
ค. | โดยส่วนใหญ่มีน้ำตกเกิดร่วมด้วย | ง. | ถูกทุกข้อ |
49. ข้อใดคือ ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial till)
ก. | ตะกอนดินในทะเลสาบธารน้ำแข็ง | ข. | หินโผล่ที่มีหน้าเรียบมันวาว | |
ค. | ตะกอนจากน้ำแข็งละลาย ซึ่งเป็นทรายที่คัดขนาดดี | ง. | กรวด ทราย และดินที่ปะปนกันอยู่ในแพเศษหินธารน้ำแข็ง |
50. ความดันทำให้ธารน้ำแข็งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ อย่างไร
ก. | แข็งเปราะ (brittle) และอ่อนเหนียว (ductile) | ข. | พลาสติก (plastic) และเหลว (liquid) | |
ค. | ของแข็ง (solid) และเม็ดหิมะ (granular snow) | ง. | หิมะ (snow) และลูกเห็บ (hail) |
51. แอ่งหรือหลุมน้ำแข็ง (kettle) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. | ก้อนหินมนใหญ่ (boulder) หลุดออกจากธารน้ำแข็ง | ข. | ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ฝังอยู่ในตะกอนหลอมละลาย | |
ค. | น้ำที่หลอมละลายกัดกร่อนหลุมลึก | ง. | ธารน้ำแข็งกว้านหลุมลึก |
52. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. | แพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine) เกิดเฉพาะในธารน้ำแข็งพื้นทวีป | ข. | รอยครูดธารน้ำแข็ง (glacial striation) เกิดเฉพาะในธารน้ำแข็งภูเขา | |
ค. | พระจันทร์เสี้ยว (cirque) เกิดเฉพาะในธารน้ำแข็งพื้นทวีป | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
53. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กระบวนการผุพัง (weathering) มีผลต่อ ยุคน้ำแข็ง (ice age) อย่างไร
ก. | ทำให้ภูเขาต่ำลงและกระแสลมของโลกพัดได้สะดวกขึ้น | ข. | กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ ซึ่งเป็นตัวทำให้บรรยากาศอบอุ่น | |
ค. | ปล่อยธาตุแคลเซียมซึ่งรวมอยู่กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ | ง. | สร้างก๊าซมีเทนซึ่งทำให้บรรยากาศโลกเย็นลง |
54. พื้นที่ใดคือธารน้ำแข็งโดยส่วนใหญ่ของของโลก
ก. | กระจุกน้ำแข็งแอนตาร์กติก (Antarctica ice cap) | ข. | กระจุกน้ำแข็งกรีนแลนด์ (Greenland ice cap) | |
ค. | กระจุกน้ำแข็งอาร์คติก (Arctic ice cap) | ง. | ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) |
55. ข้อใดมีโอกาสเป็น โซนการพอกสะสม (accretion) มากที่สุด
ก. | ส่วนที่หนาที่สุดของธารน้ำแข็ง | ข. | ส่วนที่พบการสูญเสียธารน้ำแข็ง | |
ค. | ส่วนที่พบการเสียดกร่อน (ablation) | ง. | ส่วนที่พบแพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine) |
56. หลังจากน้ำแข็งละลายไปจากพื้นทวีป พื้นผิวของทวีปมีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างไร
ก. | ยกตัวขึ้น | ข. | จมตัวลง | |
ค. | เป็นไปได้ทั้งจมตัวหรือยกตัวขึ้น ขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นน้ำแข็งเดิม | ง. | พื้นที่เหมือนกับเดิม เนื่องจากน้ำหนักน้ำแข็งน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นทวีป |
57. ข้อใดคือพื้นผิวหินที่ราบเรียบมันวาวซึ่งเกิดจากการถูกขัดถูโดยธารน้ำแข็ง
ก. | groove | ข. | polish | |
ค. | glacial striation | ง. | glacial till |
58. ข้อใดคือทะเลสาบขนาดเล็กที่อยู่บนยอดเขาน้ำแข็ง
ก. | pluvial lake | ข. | proglacial lake | |
ค. | salt lake | ง. | tarn |
59. ช่วงเวลาใด ที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ ยุคน้ำแข็ง (ice age) มากที่สุด
ก. | มหายุคอาร์เคียน (Archaean aeon) | ข. | สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene epoch) | |
ค. | ยุคแคมเบรียน (Cambrian period) | ง. | ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary period) |
60. ข้อใดคือ ก้อนหินมนใหญ่ (boulder) ที่ถูกธารน้ำแข็งพัดพาไปสะสมตัวห่างจากแหล่งกำเนิดและไม่เข้ากับสภาพแวดล้อมข้างเคียง
ก. | firn | ข. | kame | |
ค. | glacial erratic | ง. | esker |
61. หากเดินทางจากพื้นที่ละติจูดต่ำไปยังละติจูดสูง ความสูงจากพื้นที่ราบของ เส้นขอบหิมะ (snow line) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. | เพิ่มขึ้น | ข. | ลดลง | |
ค. | คงที่ | ง. | เป็นไปได้ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง |
62. แอ่งพระจันทร์เสี้ยว (cirque) และ ทะเลสาบธารน้ำแข็ง (tarn) แตกต่างกันอย่างไร
ก. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยวคือโซนการพอกสะสม ทะเลสาบธารน้ำแข็งคือโซนการเสียดกร่อน | ข. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยวคือแอ่งตะกอนธารน้ำแข็ง ทะเลสาบธารน้ำแข็งคือร่องเขา | |
ค. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยวคือแอ่งตะกอนธารน้ำแข็ง ทะเลสาบธารน้ำแข็งคือทะเลสาบภายในแอ่งพระจันทร์เสี้ยว | ง. | ทะเลสาบธารน้ำแข็งคือแอ่งตะกอนธารน้ำแข็ง แอ่งพระจันทร์เสี้ยวคือร่องเขาที่อยู่ระหว่างทะเลสาบธารน้ำแข็ง |
63. ในช่วง ยุคน้ำแข็ง (ice age) พื้นผิวโลกถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวโลกทั้งหมด
ก. | 10% | ข. | 30% | |
ค. | 50% | ง. | 70% |
64. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ หิมะแข็ง (firn)
ก. | หิมะที่เพิ่งตกลงมาไม่นาน | ข. | ความหนาแน่น 0.4 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร | |
ค. | เม็ดหิมะ (granular snow) | ง. | ถูกทุกข้อ |
65. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของร่องเขาที่เกิดจากธารน้ำแข็งหลอมละลายและไหลลงมาตามร่อง
ก. | ตรงมากขึ้น | ข. | คดโค้งมากขึ้น | |
ค. | ลึกมากขึ้น | ง. | กว้างมากขึ้น |
66. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ยุคน้ำแข็งครั้งยิ่งใหญ่ (great ice age) สิ้นสุดเมื่อใด
ก. | 10,000-15,000 ปี ที่ผ่านมา | ข. | 50,000 ปี ที่ผ่านมา | |
ค. | 1 ล้านปี ที่ผ่านมา | ง. | 1.5 ล้านปี ที่ผ่านมา |
67. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานของการเกิดธารน้ำแข็งในอดีต
ก. | หุบเขาลึกรูปตัว U | ข. | หุบเขาแขวน | |
ค. | แอ่งพระจันทร์เสี้ยว | ง. | ธารน้ำโค้งตวัด |
68. ข้อใดคือกระบวนการที่ธารน้ำแข็งดึงก้อนหินขนาดใหญ่หลุดออกมา
ก. | การขุดรอก (grooving) | ข. | การถอน (plucking) | |
ค. | การเสียดกร่อน (ablation) | ง. | การกระเพื่อม (surge) |
69. ข้อใดคือหลักฐานบ่งชี้ขอบเขตที่ไกลที่สุดที่ธารน้ำแข็งเคยไปถึง
ก. | แพเศษหินธารน้ำแข็งส่วนกลาง (medial moraine) | ข. | แพเศษหินธารน้ำแข็งด้านข้าง (lateral moraine) | |
ค. | แพเศษหินธารน้ำแข็งหยุดนิ่ง (recessional moraine) | ง. | เศษหินธารน้ำแข็งส่วนหน้า (terminal moraine) |
70. ข้อใดคือ พืดน้ำแข็ง (ice sheet)
ก. | ธารน้ำแข็งที่สะสมตัวอยู่ตามร่องเขา | ข. | ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่แผ่ขยายไปทั่วพื้นทวีปในอดีต | |
ค. | ธารน้ำแข็งซึ่งทำให้เกิดหลุมคล้ายกับชาม | ง. | ธารน้ำแข็งกว้างใหญ่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำในมหาสมุทร |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ฌ | 2. | ญ | 3. | ค | 4. | ฉ | 5. | ก | ||||
6. | ช | 7. | ง | 8. | จ | 9. | ข | 10. | ซ |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | F | 2. | T | 3. | T | 4. | T | 5. | T | ||||
6. | F | 7. | F | 8. | T | 9. | T | 10. | T | ||||
11. | F | 12. | F | 13. | T | 14. | F | 15. | T | ||||
16. | T | 17. | F | 18. | F | 19. | F | 20. | F |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ข | 2. | ง | 3. | ง | 4. | ง | 5. | ง | ||||
6. | ก | 7. | ง | 8. | ก | 9. | ค | 10. | ง | ||||
11. | ข | 12. | ข | 13. | ง | 14. | ง | 15. | ง | ||||
16. | ข | 17. | ก | 18. | ง | 19. | ข | 20. | ก | ||||
21. | ค | 22. | ข | 23. | ค | 24. | ข | 25. | ค | ||||
26. | ค | 27. | ง | 28. | ข | 29. | ง | 30. | ข | ||||
31. | ค | 32. | ง | 33. | ง | 34. | ค | 35. | ข | ||||
36. | ข | 37. | ก | 38. | ค | 39. | ข | 40. | ค | ||||
41. | ค | 42. | ก | 43. | ง | 44. | ข | 45. | ข | ||||
46. | ค | 47. | ค | 48. | ง | 49. | ง | 50. | ก | ||||
51. | ข | 52. | ง | 53. | ค | 54. | ก | 55. | ก | ||||
56. | ก | 57. | ข | 58. | ง | 59. | ข | 60. | ค | ||||
61. | ข | 62. | ค | 63. | ข | 64. | ข | 65. | ข | ||||
66. | ค | 67. | ง | 68. | ข | 69. | ง | 70. | ข |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. จงอธิบายกลไก การเกิดธารน้ำแข็ง (glacial formation)
2. เส้นสมดุลหิมะ (equilibrium snow line) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการธารน้ำแข็ง
3. จงอธิบายความแตกต่างของ ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) และ ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier)
4. หุบเขาแขวน (hanging valley) ต่างจากหุบเขาโดยทั่วไปอย่างไร และเหตุใดจึงกลายสภาพเป็นหุบเขาแขวน
5. ธารน้ำแข็งสามารถเคลื่อนที่ได้ในรูปแบบใดบ้าง
6. ร่องเขาที่เกิดจากการไหลของธารน้ำแข็งแตกต่างจากร่องเขาที่ได้จากการกัดกร่อนของน้ำอย่างไร เพราะเหตุใด
7. รอยครูดธารน้ำแข็ง (glacial striation) มีลักษณะพิเศษอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร
8. จงอธิบายข้อสันนิษฐานของการเกิด เนินดรัมริน (drumlin) และ เนินรูปงู (esker)
9. ภูมิลักษณ์ธารน้ำแข็ง (glacial landform) ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
10. ตะกอนที่ถูกพัดพามากับธารน้ำแข็งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากตะกอนที่ถูกพัดพามาจาก ลม หรือ น้ำอย่างไร
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth