Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2021

เรียนรู้

อุลกมณี (tektite)

อุลกมณี (tektite) ถ้าจะให้แปลเป็นไทย คนไทยเคยเรียกเอาไว้และเรียกได้หลายชื่อ เช่น อุลกมณี (นิยมเรียกที่สุด) อุกกามณี หยดน้ำฟ้า แก้วข้าว สะเก็ดดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หรือจะเรียกทับศัพท์แบบฝรั่งไปเลยก็ได้ว่า เทคไทต์ โดยหน้าตาอุลกมณีหรือเทคไทต์ทั่วๆ ไป ก็จะมีลักษณะเป็น ...
เรียนรู้

นักธรณีวิทยา เขาบอกตำแหน่งและการวางตัวของวัตถุบนโลกแบบไหน

เมื่อนักสำรวจหรือนักธรณีวิทยาค้นพบอะไรบางอย่างและต้องการที่จะบอกตำแหน่งหรือการวางตัวของวัตถุ หรือตัวละครที่พิจารณานั้น นักธรณีวิทยามีวิธีการบอกเป็นหลักเป็นการ โดยอันดับแรกจะต้องแปลความหรือมองวัตถุหรือตัวละครนั้นให้อยู่ในเชิงเรขาคณิตเสียก่อน ว่าเป็น จุด เส้น ระนาบ หรือจะเป็น รูปทรง ที่มีปริมาตรหลังจากนั้นในแต่ละชนิดก็จะมีรูปแบบของการบรรยายหรือพรรณนาตำแหน่งและการวางตัวที่แตกต่างกัน ดังนี้ จุด (Point) ในกรณีของวัตถุที่พิจารณาว่าเป็นจุด เช่น ตำแหน่งหมู่บ้านตำแหน่งภูเขาไฟ หรือ ...
เรียนรู้

เมื่อหนังหน้าโลกเหลื่อมกัน

รอยเลื่อน – โดยธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมี ปฏิสัมพันธ์กับแผ่นอื่นอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) เข้าชนแล้วก็มุดกัน ซึ่งจะเป็นขอบตามทิศทางการเคลื่อนที่ 2) แยกออกจากกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และ 3) ...
เรียนรู้

การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะยาว

ก็เพราะโดนมาเยอะ เจ็บมาเยอะ มนุษย์เลยตระหนักได้ว่าถ้าไม่สนใจนิสัย แผ่นดินไหว นับวันก็มีแต่จะเจ็บตัวฟรี ก่อนที่สถานการณ์จะย่ำแย่ไปกว่านี้ นักแผ่นดินไหวจึงพยายามศึกษาลักษณะเฉพาะต่างๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะคาดเดาว่าคุณพี่จะมาอีกเมื่อไหร่ หวยจะออกตรงไหน แต่ปัญหาใหญ่คือแผ่นดินไหวมันไม่มีตัวตน มองไม่เห็นเหมือนเมฆฝนที่ต้องตั้งเค้าก่อนแล้วค่อยปะทะ ดังนั้น การพยากรณ์แผ่นดินไหว (earthquake forecasting) หรือ การทำนายแผ่นดินไหว ...
เรียนรู้

การเปลี่ยนรูปของหิน : ปัจจัยและรูปแบบ

แรงเค้นและการเปลี่ยนรูปหิน หิน – ในธรรมชาติ เมื่อมี แรงเค้น (stress) เข้ามากระทำวัสดุใดๆ จะทำให้วัสดุนั้นเกิด ความเครียด (strain) และมีโอกาส เปลี่ยนรูป (deform) ไปจากเดิม ซึ่งแรงเค้นดังกล่าวแบ่งย่อยเป็น 3 รูปแบบ ...
สำรวจ

เขตมุดตัว (ของเปลือกโลก) ระดับโลก

ธรณีแปรสัณฐาน – ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) หรือ ร่องลึกก้นสมุทร (trench) กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน ร่องลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก ...
เรียนรู้

เมทิโอสึนามิ : สึนามิที่เกิดจากกระบวนการทางอุตุนิยมวิทยา

เมทิโอสึนามิ (meteotsunami) คือ ? meteo (เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา) + tsunami ( สึนามิ ) ดังนั้นคำว่า เมทิโอสึนามิ (meteotsunami) จึงหมายถึง สึนามิที่เกิดจากสาเหตุทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ลม ...
เรียนรู้

ยุคน้ำแข็ง (Ice Age)

ยุคน้ำแข็ง (ice age) หมายถึง ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าธารน้ำแข็งปัจจุบันจะคิดเป็นแค่ 10% ของพื้นโลก แต่ตัวอย่างเช่นใน ยุคน้ำแข็งล่าสุดเมื่อประมาณ 11,000 ปีที่ผ่านมา มีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกถึง 30% ซึ่งจากหลักฐานยืนยันว่าที่ผ่านมามีการเกิดยุคน้ำแข็งหลายครั้ง โดย ขั้วโลกเหนือมีการแผ่ของธารน้ำแข็งได้มากกว่าขั้วโลกใต้ เนื่องจากทางซีกโลกเหนือมีแผ่นดินให้เกิดธารน้ำแข็งมากกว่าซีกโลกใต้ ...
เรียนรู้

ชั้นน้ำและการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในมหาสมุทร

เนื่องจากน้ำใน มหาสมุทร นั้นสามารถดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลกได้ มหาสมุทรจึงมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศและอุณหภูมิของโลก ซึ่งกระแสน้ำในมหาสมุทรเป็นตัวกลางการกระจายความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงแถบศูนย์สูตรไปสู่พื้นที่เย็นแถบขั้วโลก ดังนั้นในการศึกษาด้าน สมุทรศาสตร์ (Oceanography) จึงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติของน้ำในมหาสมุทร ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ 1) องค์ประกอบ (composition) น้ำทะเลประกอบด้วยแร่ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายประมาณ 3.5% โดยน้ำหนัก โดยในจำนวนนี้มีแร่จำนวนมาก ...
เรียนรู้

คลื่นกลางมหาสมุทร และกระแสน้ำริมฝั่ง

คลื่นน้ำ (water wave) ในมหาสมุทร คือ คลื่น ที่เกิดจากการกระเพื่อมขึ้น-ลงของผิวน้ำ เกิดจากการถ่ายทอดพลังงานจากลมเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากลมพัดอ่อนๆ ทำให้พื้นน้ำที่ราบเรียบกลายเป็น ระลอกคลื่น (ripple) ต่อมาผิวน้ำที่ขรุขระจากระรอกคลื่นทำให้ลมปะทะกับน้ำได้ง่ายขึ้น ทำให้คลื่นใหญ่ขึ้นตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความเร็วและความยาวนานของลมที่เข้าปะทะ (รูปซ้าย) โดยเมื่อคลื่นเดินทางผ่านน้ำ มวลน้ำจะเคลื่อนที่แบบหมุนวนแต่จะไม่มีการเดินทางของมวลน้ำ ...
เรียนรู้

หินตะกอนชีวภาพ

หินตะกอน หินตะกอน (sedimentary rock) หรือ หินชั้น คือ หินที่เกิดจากการทับถมของเศษเม็ดตะกอน ที่ได้มาจากการผุพังของหินเดิมที่แก่กว่า โดยแร่ประกอบหินที่สำคัญของหินตะกอน ได้แก่ แร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ แคลไซต์ โดโลไมต์ ยิปซั่มและแร่เฮไลด์ เป็นต้น ซึ่งด้วยชื่อว่าหินตะกอนและภาพจำเก่าๆ ...
เรียนรู้

ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก ...
เรียนรู้

รู้จัก “คลื่นเซซ” ลูกแท้ๆ ของ แผ่นดินไหว

ในบรรดาปรากฏการณ์มวลน้ำยกพลขึ้นฝั่ง แล้วกระทบความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายให้กับสิ่งที่หวงแหนของมนุษย์ ไม่ได้มีเฉพาะคลื่นน้ำที่เกิดจาก แผ่นดินไหว รวมความดูแล้วน่าจะมีอยู่ประมาณ 4 รูปแบบ ได้แก่ สมมุติว่าคุยกันแบบพ่อๆ ลูกๆ เวลาเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นมา หลายคนก็คงคิดว่าสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวนั้นๆ แผ่นดินไหวเป็นพ่อ ส่วนสึนามิก็เป็นลูก ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว แต่เปล่าเลย !!! ความจริงทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ...
เรียนรู้

อย่าว่าแต่รูปากใบ หินก้อนใหญ่ๆ ก็เอามาแปะสไลด์ ส่องใต้กล้องได้เหมือนกัน

ถ้ายังจำกันได้ พวกเราเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ก็ประมาณ ม.4 ม.5 และกิจกรรมเปิดตัวชิ้นแรกๆ ที่เราได้รับมอบหมายจากคุณครู ก็คือการศึกษารูปากใบของพืช หัวหน้าห้องต้องลงไปที่สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เด็ดใบไม้สัก 2-3 ใบขึ้นมา ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แปะใส่ไสลด์ แล้วเอาไปส่อง (อย่างเมามันส์) เพื่อดูรูปากใบ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เชื่อกันไหมว่าในทางธรณีวิทยาก็เช่นกัน ...
เรียนรู้

บรรยากาศ

บรรยากาศ (atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) อากาศหรือก๊าซชนิดต่างๆ 2) ฝุ่นละออง และ 3) ไอน้ำ แรงโน้มถ่วงทำให้อากาศไม่หลุดออกไปสู่นอกโลก โดยบรรยากาศมีความดันและความหนาแน่นอากาศสูงที่ระดับน้ำทะเล เมื่อสูงขึ้นไปความดันและความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ โดยบรรยากาศเป็นตัวควบคุมคุณสมบัติทางกายภาพของภูมิอากาศแลัสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ...
เรียนรู้

ลาวา : รูปแบบและปัจจัยการประทุ

ภูเขาไฟ – แมกมา (magma) ประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile)ของน้ำและก๊าซ รวมทั้ง 3) หินแปลกปลอม (xenolith) ต่างๆ ที่อาจปะปนกันมาตลอดระยะทางระหว่างการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกแมกมาออกเป็น 3 ชนิด ตามองค์ประกอบทางเคมีและสัดส่วนความเข้มข้นของแร่ซิลิกา (SiO2) ซึ่งแมกมาแต่ละชนิดส่งผลให้เกิดคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ...
เรียนรู้

แผ่นเปลือกโลก และกลไกการเคลื่อนที่

แผ่นเปลือกโลก – หลังจากปี พ. ศ. 2458 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอ แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาพอปี พ.ศ. 2472 ...
สำรวจ

ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)

ในทาง แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ปัจจุบันมีแนวคิด วิธีการ หรือทฤษฎีมากมายที่ นักแผ่นดินไหว (seismologist) ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะคาดการณ์สถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง USGS (2002) ได้จัดกลุ่มวิธีต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ในแต่ละวิธีนั้นมีความพอฟังได้ น่าเชื่อถือเอาไว้ 3 กลุ่ม คือ ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ...