ยุคน้ำแข็ง (ice age) หมายถึง ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าธารน้ำแข็งปัจจุบันจะคิดเป็นแค่ 10% ของพื้นโลก แต่ตัวอย่างเช่นใน ยุคน้ำแข็งล่าสุดเมื่อประมาณ 11,000 ปีที่ผ่านมา มีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกถึง 30% ซึ่งจากหลักฐานยืนยันว่าที่ผ่านมามีการเกิดยุคน้ำแข็งหลายครั้ง โดย ขั้วโลกเหนือมีการแผ่ของธารน้ำแข็งได้มากกว่าขั้วโลกใต้ เนื่องจากทางซีกโลกเหนือมีแผ่นดินให้เกิดธารน้ำแข็งมากกว่าซีกโลกใต้ โดยหากพิจารณาการเกิดยุคน้ำแข็งที่เด่นชัด นักวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลาหลักๆ คือ

1) ยุคน้ำแข็งไพลซโตซีน (Pleistocene Ice Age)

จากการศึกษาการลดลงของธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ นักวิทยาศาสตร์พบว่ายุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดเกิดในยุคไพลสโตซีน โดยมี การสลับกันของสภาพภูมิอากาศแบบร้อน-หนาวอย่างน้อย 16 ครั้งในรอบ 2 ล้านปี โดยมีคาบอุบัติซ้ำเฉลี่ยของยุคน้ำแข็ง (glacial period) เกิดขึ้นทุกๆ 100,000 ปี ซึ่งปัจจุบันโลกอยู่ในช่วงปลายยุคน้ำแข็งไพลซโตซีน

สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ช่วงเวลาระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อน ตามธรณีกาล (geological time scale) ซึ่งสมัยนี้มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน

จากการศึกษาแท่งหินตัวอย่างจากพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ พบหลักฐานของการระเบิดภูเขาไฟในช่วงต้นยุคไพลสโตซีน โดยมีตะกอนธารน้ำแข็งปิดทับอยู่ นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่ายุคน้ำแข็งไพลซโตซีนน อาจเกิดจากเถ้าของการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงและปิดกั้นรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิโลกลดลง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าวัฏจักรมิลานโควิทช์ (Milakovitch cycle) อาจเป็นอีกสาเหตุหลักของการเกิดยุคน้ำแข็งสลับกันหลายๆ ครั้งภายในช่วงยุคน้ำแข็งไพลซโตซีน

กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วโลกในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่ 500,000 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน

ขั้วโลกเหนือมีการแผ่ของธารน้ำแข็งได้มากกว่าขั้วโลกใต้เนื่องจากซีกโลกเหนือมีแผ่นดินให้เกิดธารน้ำแข็งมากกว่าซีกโลกใต้

แผนที่โลกแสดงการกระจายตัวของธารน้ำแข็งและแนวชายฝั่งโบราณในสมัยไพลสโตซีน (ที่มา : Pleistocene Project)

2) ทฤษฏีลูกบอลหิมะ (snow ball theory) x ยุคน้ำแข็ง

นอกจากยุคน้ำแข็งไพลซโตซีน นักวิทยาศาสตร์พบว่า โลกเคยถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งทั้งหมด (แม้แต่เส้นศูนย์สูตร) คล้ายลูกบอลหิมะ (snow ball) อย่างน้อย 2-5 ครั้ง ในช่วง 880-550 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งยุคน้ำแข็งในครั้งนี้ต่างจากยุคน้ำแข็งไพลซโตซีน ที่มีมีน้ำแข็งปกคลุมบนพื้นทวีปเพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่โลกเท่านั้น โดยยืนยันจากการพบ หินทิลไลต์ (tillite) เกิดจากการแข็งตัวของตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น หรือ ทิลล์ (till) ซึ่งทำให้ได้หินที่มีตะกอนขนาดกรวดปะปนกันอยู่กับตะกอนหลากหลายขนาด โดยจากการสำรวจ นักธรณีวิทยาพบชั้นหินทิลไลท์ 2 ชั้น อายุ 750-580 ล้านปี และพบได้ในทุกๆ ทวีปทั่วโลก

5 ระยะ ของการเกิดทฤษฏีลูกบอลหิมะ

สาเหตุหลักของการเกิดยุคน้ำแข็งในช่วง 750-580 ล้านปีนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก ความแปรปรวนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ซึ่งเกิดจากอัตราการผุพังของหินบนพื้นทวีปที่ไม่แน่นอน ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลดลง แล้วไปตกตะกอนในรูปของหินปูน (CaCO3) ในทะเล ซึ่ง การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทำให้โลกเย็นลง

นอกจากนี้ตอน ปลายบรมยุคโพรเทอโรโซอิก มหาทวีปแยกออกจากกัน กระจายไปเป็นแผ่นเปลือกโลกต่างๆ ทำให้ชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น พื้นทวีปชุ่มชื้นมากขึ้น มีการผุพังมากขึ้น อีกทั้งเมื่ออากาศเย็นลงมีน้ำแข็งมากขึ้น หิมะสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับออกไปยังบรรยากาศได้ดี จึงช่วยเร่งให้อากาศเย็นลงจนทำให้โลกในยุคนั้นกลายเป็นลูกบอลหิมะในที่สุด

ผลจากอุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลง

ในช่วง ยุคน้ำแข็ง (glacial) น้ำในโลกส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำแข็งบนพื้นทวีป และระดับน้ำทะเลลดต่ำลง นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เมื่อประมาณ 115,000–11,700 ุปีก่อน ระดับน้ำทะเลลดลงจากปัจจุบันประมาณ 130 เมตร ทำให้พื้นทวีปบนโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันถึง 8% ซึ่งพบหลักฐานยืนยันว่า ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษก็เคยเชื่อมกันบริเวณคลองอังกฤษ รัฐอลาสก้า ของสหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกาและไซบีเรียก็เคยต่อกันถึงตรงช่องแคบแบริ่ง และแผ่นดินเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยก็เคยติดกับประเทศอินโดนีเซียบริเวณที่เรียกว่า บ่าทวีปซุนด้า (Sunda Shelf) หรือ ซุนดาแลนด์ (Sundaland)

ซุนดาแลนด์ เมื่อประมาณ 115,000–11,700 ุปีก่อน (ที่มา : https://twitter.com/simonjgreenhill)

ในทางตรงกันข้าม ใน ช่วงคั่นยุคน้ำแข็ง (inter glacial) หรือ ช่วงที่เกิดความอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง ขณะที่น้ำแข็งถอยร่น พืชและสัตว์อาจต้องอพยพจากถิ่นเดิม หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต บางชนิดอาจสูญพันธุ์ แม่น้ำบางสายเปลี่ยนเส้นทางการไหล เช่น แม่น้ำมิสซูรี่ (Missouri) ของอเมริกาในอดีตเคยไหลไปทางเหนือลงอ่าวฮัดสัน หรือแม่น้ำมิสซิสซิบปี้ (Mississippi) เคยไหลลึกลงไปถึงใจกลางรัฐอิลลินอย

นอกจากนี้ สืบเนื่องจากมวลน้ำแข็งเดิมความหนาหนา 3 กิโลเมตร เกิดการละลาย ในช่วงคั่นยุคน้ำแข็ง (inter glacial) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ สมดุลอุทกสถิต (isostasic equilibium) ส่งผลให้บริเวณที่เรียกว่า เขตโล่ทวีป (continental shield) ในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่แถบสแกนดิเนเวียและคานาดา เกิดการยกตัวสูงขึ้นในช่วง 7-8 พันปีที่ผ่านมา รวมทั้งนักธรณีวิทยายังสังเกตและพบว่า หาดทรายเก่าแถบแคนาดาหรืออาร์กติก อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 300 เมตรซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการยกตัวบั๊มขึ้นมา หลังจากที่ธารน้ำแข็งละลายออกไป ในช่วงคั่นยุคน้ำแข็ง

ปรากฏการณ์ สมดุลอุทกสถิต (isostasic equilibium) (ก) การปรับตัวของแผ่นเปลือกโลกเมื่อธารน้ำแข็งที่กดทับอยู่ด้านบนนั้นหลอมละลาย (ข) การปรับตัวในการลอยตัวของแผ่นเปลือกโลกเมื่อส่วนของภูเขาสูงนั้นเกิดการผุพัง (William และ Sternberg, 1981)

ซึ่งปัจจุบัน แนวโน้มของธารน้ำแข็งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่อยู่บริเวณทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก็มีสถานการณ์ประมาณรูปด้านล่างนี้

(ซ้าย) แนวโน้มของน้ำแข็งของซีกโลกเหนือ (ขวา) แนวโน้มของน้ำแข็งของซีกโลกใต้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 จนถึง ค.ศ. 2008

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024