Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2021

เรียนรู้

ทำไมต้องแผ่นดินไหว 7up สึนามิถึงจะขึ้น

ในบรรดาสาเหตุของการเกิดสึนามิทั่วโลก กิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานใต้ทะเล (submarine tectonic activity) ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสึนามิบ่อยที่สุด แต่จะเกิดสึนามิได้หรือไม่ กระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ว่า ต้องเข้าหลักการ 2 ข้อ คือ 1) การเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น จะต้องเป็นการเลื่อนตัวในแนวดิงเป็นหลัก จึงจะทำให้มีโอกาสเกิดสึนามิ ทั้งนี้ก็เพราะสึนามิเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในแนวดิ่งใต้ทะเล และยกมวลน้ำขึ้นอย่างทันทีทันใด ...
เรียนรู้

อุกกาบาต กับการโหม่งโลก

ดาวตก (meteor) คือ เทหวัตถุขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ ซึ่งเมื่อเทหวัตถุเหล่านี้โคจรเข้าใกล้โลก อิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เทหวัตถุเหล่านั้นตกสู่พื้นโลก แต่ในระหว่างที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าคล้ายกับดาวหางที่กำลังพุ่งชนโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักตกไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากถูกเสียดสีเผาไหม้จนหมดในอากาศ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ ตันกัสคา (Tunguska) เขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ...
วิจัย

สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์

หากพูดถึงกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะบทสนทนาที่ว่าด้วยปริมาณ ประโยคจะสมบูรณ์จบลงได้ก็ควรจะต้องมีหน่วยชั่ง-ตวง-วัดเข้ามากำกับ “ป้าครับ !!! ขอนม 1 ขวด แก้ว 1 ใบ แล้วก็เพื่อนข้างกายซัก 1 คน” ขวด–ใบ–คน คือ หน่วยวัดสำคัญที่จะทำให้เครื่องรับและเครื่องส่งประมวลผลการสื่อสารไปในทิศทางเดียว เรื่องของแผ่นดินไหวก็เช่นกัน ...
เรียนรู้

ปรากฏการณ์ขั้วโลกพเนจร กับการศึกษาภูมิศาสตร์บรรพกาล

จากการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกในปัจจุบัน ถึงแม้จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโลกของเรามี สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ครอบคลุมอยู่ โดยในปัจจุบัน เส้นแรงแม่เหล็กโลกพุ่งออกจาก ขั้วแม่เหล็กโลกใต้ (south magnetic pole) แล้ววิ่งโค้งข้ามหัวพวกเราไปมุดตัวอีกทีที่ ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ (north magnetic pole) ...
เรียนรู้

“ธรณีแอ่นตัว” ทฤษฏีที่ดับมอดลง หลังการมาถึงของ “ธรณีแปรสัณฐาน”

ในอดีตหลังจากที่นักสำรวจและนักธรณีวิทยาค้นพบพื้นที่ต่างๆ ของโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เกิดข้อสงสัยจำนวนมากเกี่ยวกับการกระจายตัวของภูมิประเทศและหินชนิดต่างๆ ที่พบในแต่ละพื้นที่ โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าความแตกต่างของหินและภูมิประเทศดังกล่าว น่าจะเกิดจากกระบวนการหรือกิจกรรมบางอย่างของโลก และมีความพยายามที่จะอธิบายการมีอยู่ของหินต่างๆ และการเกิดภูมิประเทศที่หลากหลาย ในแต่ละพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เป็นทฤษฏีเริ่มแรก ที่นักธรณีวิทยาพยายามจะปักธงและตั้งแนวคิดขึ้น เพื่อใช้ในการให้เหตุให้ผลแก่หินและภูมิประเทศที่พบในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งกว่าจะเกิดทฤษฏีนี้ได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมมือของนักธรณีวิทยาที่เห็นพ้องต้องกันหลายๆ คน ลองไปดูกันครับว่านักธรณีวิทยาแต่ละคนเขาคิดอะไรกันยังไง ...
เรียนรู้

การหาอายุวัสดุทางธรณีวิทยาและโบราณคดี

ในการสืบค้นหรือศึกษาเรื่องราวในอดีต ไม่ว่าจะเป็นทางธรณีวิทยาหรือโบราณคดี หากมีพยานบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่คอยบอกเล่า เรื่องราวก็คงคลี่คลายได้ง่าย หรือหากย้อนกลับไปไกลขึ้นอีกก่อนหน้านั้น ในช่วงที่มี บันทึกประวัติศาสตร์ (historical record) ทั้งจดหมายเหตุ คัมภีร์ใบลาน คติชาวบ้าน ฯลฯ นักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีก็ยังพอจะปะติดปะต่อเรื่องราวของงานที่กำลังศึกษาได้ อย่างไรก็ตามหากตัวละครที่กำลังศึกษานั้นเก่าแก่หรือมีอายุมากกว่าเกินที่จะมีคนคอยบอกเล่าหรือมีบันทึกเก็บเอาไว้ หนทางเดียวที่นักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีจะสามารถลำดับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ก็คือ การหาอายุจากวัดจากวัสดุหรือตัวละครที่ยังหลงเหลืออยู่ในตอนนั้น ซึ่งนอกจาก ...
สำรวจ

“คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ถ้าจะให้พูดกันอย่างแฟร์ๆ วิทยาศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาในภายหลังจากความเชื่อในท้องถิ่นที่มักจะมีอยู่ก็ก่อนแล้ว ดังนั้นในหลายๆ สถานที่บนโลก จึงถูกอธิบายไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธา และอาจจะมีในบางสถานที่ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ เคียงขนานกันไป ซึ่งนั่นก็รวมถึงสถานที่ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าในบทความนี้เช่นกัน เพราะเรื่องเล่าในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะลบล้างหรือลบหลู่ความเชื่อในท้องที่ที่มีอยู่ก่อน แต่เจตนาหลักของการเล่าเรื่องก็เพียงแค่อยากให้มีมุมของวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกซักมุม เดินเคียงกันไปกับความศัทธาดั้งเดิม คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด ...
เรียนรู้

5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”

เศษหิน หรือ ตะกอน (sediment) หมายถึง เศษอนินทรียวัตถุทางธรรมชาติ เช่น แร่ที่ผุพังและถูกพัดพาไปสะสมตัวในพื้นที่ใดๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก ดิน (soil) ที่มีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อินทรียวัตถุ น้ำและก๊าซต่างๆ โดยตะกอนหรือหินตะกอนมีประโยชน์อย่างมากในการแปลความสภาพแวดล้อมในอดีต ทั้งจากลักษณะการสะสมตัวและคุณสมบัติต่างๆ ...
เรียนรู้

ดิน เบื้องต้น

ดิน (soil) คือ วัตถุทางธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย เศษหินและแร่ ประมาณ 45% น้ำ ประมาณ 25% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน ประมาณ 25% รวมทั้ง อินทรียวัตถุจากซากพืชซากสัตว์ อีกประมาณ ...