ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ ...
แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)
ในทาง แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ปัจจุบันมีแนวคิด วิธีการ หรือทฤษฎีมากมายที่ นักแผ่นดินไหว (seismologist) ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะคาดการณ์สถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง USGS (2002) ได้จัดกลุ่มวิธีต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ในแต่ละวิธีนั้นมีความพอฟังได้ น่าเชื่อถือเอาไว้ 3 กลุ่ม คือ ...
องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น
จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ...
ทำไมต้องแผ่นดินไหว 7up สึนามิถึงจะขึ้น
ในบรรดาสาเหตุของการเกิดสึนามิทั่วโลก กิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานใต้ทะเล (submarine tectonic activity) ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสึนามิบ่อยที่สุด แต่จะเกิดสึนามิได้หรือไม่ กระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ว่า ต้องเข้าหลักการ 2 ข้อ คือ 1) การเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น จะต้องเป็นการเลื่อนตัวในแนวดิงเป็นหลัก จึงจะทำให้มีโอกาสเกิดสึนามิ ทั้งนี้ก็เพราะสึนามิเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในแนวดิ่งใต้ทะเล และยกมวลน้ำขึ้นอย่างทันทีทันใด ...
อุกกาบาต กับการโหม่งโลก
ดาวตก (meteor) คือ เทหวัตถุขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ ซึ่งเมื่อเทหวัตถุเหล่านี้โคจรเข้าใกล้โลก อิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เทหวัตถุเหล่านั้นตกสู่พื้นโลก แต่ในระหว่างที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าคล้ายกับดาวหางที่กำลังพุ่งชนโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักตกไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากถูกเสียดสีเผาไหม้จนหมดในอากาศ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ ตันกัสคา (Tunguska) เขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. ...