Monthly Archives: สิงหาคม 2019

เรียนรู้

ยังคงมีความงดงาม แม้ในยามแผ่นดินไหว

“ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” ผมคิดว่าประโยคสั้นๆ ประโยคนี้ น่าจะสาสมแก่ใจดีกับการพิพากษา “แผ่นดินไหว” เพราะตลอดระยะเวลาที่เฝ้าขุดคุ้ยค้นหาข้อมูลความเหี้ยม ทั้งจากหนังสือบ้าง อินเตอร์เน็ตบ้าง หลายครั้งก็ยังพบ “ความงาม” ที่แทรกอยู่ในบางบรรทัดของเรื่องเล่าแผ่นดินไหวเสมอ อย่ากระนั้นเลย นอกจากบทความอื่นๆ ที่ผมพยายามตีแผ่ความโหดร้ายและนิสัยของแผ่นดินไหวในเชิงวิทยาศาสตร์ บทความนี้ผมจึงอยากจะเปลี่ยนบรรยากาศมาเล่าเรื่องราวเบาๆ ดีๆ ที่พอจะมีแอบซ่อนอยู่บ้าง ...
เรียนรู้

ก่อนจะเดทกับแผ่นดินไหว ควรแต่งเนื้อแต่งตัวยังไงดี

ว่ากันจริงๆ ก็เกือบจะทุกพื้นที่บนโลกที่มีโอกาสได้ออกเดทกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่ว่านึกอยากจะมาก็จะมา เพราะแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักจะมาตามนัด อย่างที่เราเรียกกันว่า คาบอุบัติซ้ำ (return period) ซึ่งพวกเราก็พอจะคาดจะเดากันได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ยังไม่ได้เทพถึงขั้นบอกได้ว่าแผ่นดินไหวจะมาวันพรุ่งนี้ช่วงบ่ายๆ ดังนั้นการแต่งเนื้อแต่งตัวเพื่อรอรับนัดแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงวันนั้น วางแผนและทำข้อตกลงร่วมกัน ในระหว่างที่แผ่นดินไหวเค้ายังเดินทางมาไม่ถึง สิ่งที่พวกเราควรทำเป็นอันดับแรกคือควรมีการพูดคุย ซักซ้อมและจ่ายงานกัน ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติจากภูเขาไฟ ซึ่งไม่ได้มีแค่ลาวา

การปะทุของภูเขาไฟถือเป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับมนุษย์ ซึ่งจากสถิติที่มีการบันทึกไว้พบว่าในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เสียชีวิตจากภัยพิบัติภูเขาไฟมากกว่า 275,000 คน  เช่น ปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟกรากะตัวทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดปะทุขึ้นและมีผู้เสียชีวิต 36,000 คน หรือในปี พ.ศ. ...
สำรวจ

รำลึกมหาอุทกภัยปี 2554 – ถอดบทเรียนเพื่อป้องกันภัยตามแนวคิดทางธรณีสัณฐานวิทยา

ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ภาคกลางอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่อยู่กับน้ำ ริมน้ำ ริมคลอง ที่คุ้นชินกับการท่วมเกือบทุกปี แต่สำหรับแหล่งชุมชนเมือง อุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว การท่วมจากแม่น้ำที่ไม่เป็นธรรมชาติ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายมากมาย กรณีมหาอุทกภัยปี 2554 เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการประเมินธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดทางกายภาพหลายประการในการระบายน้ำ และความล้มเหลวในความพยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ ในบทความนี้ผู้เขียนได้ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นช่วงกลางถึงปลายปี พ.ศ. 2554 รำลึกและวิเคราะห์สาเหตุ ...
เรียนรู้

รู้จัก “ความรุนแรงแผ่นดินไหว” ซึ่งไม่ใช่แรงสั่นสะเทือน

สมัยเด็กๆ พวกเราคงเคยได้ฟังนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว ซึ่งนอกจากคติสอนใจเรื่องความวิริยะอุตสาหะในการสร้างบ้านของลูกหมูแต่ละตัว อีกหนึ่งข้อควรคิดที่นิทานเรื่องนี้ได้แอบซ่อนเอาไว้คือประสิทธิภาพหรือความสามารถของสิ่งปลูกสร้างในการต้านทานแรงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ ในขณะที่หมาป่าพยายามเป่าลมเพื่อพังบ้านด้วยแรงเท่าๆ เดิม บ้านของลูกหมูแต่ละหลังกลับต้านทานแรงลมได้ดีไม่เท่ากัน บ้านของพี่ใหญ่ถูกลมเป่าครั้งเดียวก็จอด ในขณะที่บ้านของน้องเล็กถึงจะถูกต้องกี่ครั้งก็ยังรอด ผลลัพธ์ของการจอดหรือรอดในเรื่องนี้สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบของ มาตราความรุนแรง (intensity scale) ปกติมาตราความรุนแรงสามารถใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้เช่น ระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนแบ่งย่อยเป็น 5 ระดับ ...
เรียนรู้

ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า บันทึกแผ่นดินไหว (earthqauke record) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บันทึกที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) นั้นมีประโยชน์มหาศาลในการนำไปศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวหรือประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะฐานข้อมูลแผ่นดินไหวนั้นเก็บรายละเอียดแทบทุกอย่าง ทั้งตำแหน่ง เวลาและขนาดแผ่นดินไหว ออกมาทั้งหมดเป็นตัวเลขแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการนำสารข้อมูลแผ่นดินไหวดังกล่าวไปใช้ ...
เรียนรู้

ความเหมือนกันของแผ่นเปลือกโลกกับรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง

ถ้ายึดตามหลักทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ส่วนนอกสุดของโลกคือ เปลือกโลก (crust) โดยในช่วง 200 ล้านปีก่อน มีแค่แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่เพียงแผ่นเดียวที่เรียกว่า มหาทวีปแพนเจีย (Pangaea Supercontinent) แต่ต่อมาแพนเจียเริ่มแตกและแยกออกจากกัน เคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ของโลก อย่างที่เราเห็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน ...
เรียนรู้

ในวันที่ปิโตรเลียมและถ่านหินเริ่มร่อยหรอ เรายังมีทางไหนให้เลือกบ้าง

จะข่าวจริงหรือข่าวลวงก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ช่วงนี้ข่าวค่อนข้างหนาหูว่าปิโตรเลียม (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) รวมทั้งถ่านหินที่มีในโลกกำลังใกล้จะถึงจุดหมายปลายทางในอีกไม่ช้า บางแหล่งคนรุ่นเราอาจจะได้เห็นน้ำมันหยดสุดท้ายถูกใช่ต่อหน้าต่อตาในขณะที่บางแหล่งก็อาจจะหมดชั่วลูกแต่ไปไม่ถึงชั่วหลาน จะเห็นได้ว่าปริมาณการใช้ทรัพยากรพลังงานยังคงที่อยู่ แต่ว่าทรัพยากรที่มีกลับเริ่มร่อยหรอขัดสน สถานการณ์แบบนี้ไม่ดีแน่ในอนาคต ถ้าเรายังคงหวังพึ่งทรัพยากรพลังงานแบบเดิมต่อไป พลังงานทางเลือก (alternative energy) คือพลังงานที่ไม่ได้ผลิตหรือสกัดมาจากทรัพยากรพลังงานทั่วไปอย่างปิโตรเลียมหรือถ่านหิน ถือเป็นพลังงานที่มีมากที่สุดในโลก บางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ บางอย่างไม่มีวันหมด และส่วนใหญ่จัดเป็นพลังงานสะอาด ...
สำรวจ

ไวน์ . แมททิว . มอร์เลย์

ในช่วงที่กำลังเลือกหาหัวข้อเพื่อทำวิจัยปริญญาเอก เฟรเดริก ไวน์ (Frederick Vine) นักศึกษาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นมหาสมุทรแผ่กว้าง (Sea-floor Spreading) ของแฮรี่ เฮสส์ ซึ่งมันทำให้เขาสนใจและอยากรู้ว่าบริเวณ แนวสันเขากลางมหาสมุทรนั้นเป็นต้นกำเนิดของการสร้างแผ่นมหาสมุทรใหม่จริงหรือไม่ และการเกิดใหม่ของแผ่นมหาสมุทรตรงแนวสันเขานี้ใช่ไหมที่ทำให้ทวีปต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างที่อัลเฟรด ...
เรียนรู้

ทำความรู้จักระบบเตือนภัยสึนามิ ยามเฝ้าฝั่งที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้

ก็อย่างที่เรารู้กันดีว่าสึนามิเป็นภัยพิบัติที่ถ้าได้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ บทสรุปความเสียหายก็จะเป็นข่าวใหญ่เมื่อนั้น เพราะผลกระทบของสึนามิมักกินวงกว้างแบบข้ามฝั่งข้ามประเทศ และด้วยความที่ว่าถ้าสึนามิอยากจะมา เขาจะต้องได้มา ไม่มีทางยื้อ ยับยั้งหรือแคลเซิลได้เหมือนกับนัดเพื่อนนัดแฟน ดังนั้นการเตรียมแต่งตัวตั้งรับตั้งแต่เนิ่นๆ จึงดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการลดความสูญเสียของมนุษย์ ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) เป็นระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเอาไว้ตรวจจับและเตือนภัยสึนามิก่อนที่จะซัดเข้าฝั่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมแรงกันของทั้งเครื่องมือตรวจวัดที่จะต้องเข้าไปอยู่ประชิดแหล่งกำเนิดสึนามิและระบบการส่งสารแบบความเร็วสูง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนฝั่งไหวตัวทันกันตั้งแต่สึนามิเริ่มเกิดขึ้นมา ให้มีเวลาพอที่จะเตรียมเนื้อเตรียมตัวอพยพ ...
เรียนรู้

ทรงตัวกันยังไง ถ้าแผ่นดินไหวมา

ในบรรดาภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิหรือดินถล่ม ฯลฯ ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติที่เข้าประชิดตัวพวกเราได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหว คนธรรมดาอย่างพวกเราจะออกอาการรนรานให้เห็น ยิ่งถ้ามีหลายคนรวมกัน ความรนรานก็อาจจะรวมตัวเป็นความโกลาหลครั้งใหญ่ เพราะอย่างนี้พวกเราจึงควรต้องมีการเตรียมพร้อมและทำข้อตกลงร่วมกันในวงคนหลายคนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหวขึ้นมาจริงๆ ใครจะไปทางไหน และใครมีหน้าที่ต้องทำอะไร บทความนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการถูกแผ่นดินไหวกระทำ ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นหลักปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน อันที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรที่สลับซับซ้อน และผมก็เชื่อว่าพวกเราแทบทุกคนก็คงรู้กันดีอยู่แล้ว ผมจึงแค่อยากสะกิดกันลืม เพื่อให้พวกเราสามารถตัดสินใจได้เฉียบคมและแม่นขึ้น ...
สำรวจ

ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย

หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน ...
เรียนรู้

หินแปร-หินที่เปลี่ยนแค่หน้าตา แต่องค์ประกอบรวมยังเหมือนหินดั้งเดิม

หินแปร (metamorphic rock) คือหิน1 ใน 3 ชนิดหินหลักๆ (อัคนี ตะกอน แปร) เกิดจากความดันหรืออุณหภูมิเข้ามากระทำกับหินดั้งเดิมอะไรก็ได้ จนทำให้มีหน้าตาหรือการจัดเรียงตัวของแร่ภายในหินเปลี่ยนไป แต่ยังคงมีองค์ประกอบหรือสัดส่วนโดยรวมของแร่เหมือนกับ หินเดิมดั้งเดิม (potolith) ทุกประการ นักธรณีวิทยาจำแนกกินแปรตามลักษณะโครงสร้างหรือเนื้อหินได้ 2 ...
สำรวจ

รอยเลื่อนสะกาย – ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า ...