รู้จัก “ความรุนแรงแผ่นดินไหว” ซึ่งไม่ใช่แรงสั่นสะเทือน
สมัยเด็กๆ พวกเราคงเคยได้ฟังนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว ซึ่งนอกจากคติสอนใจเรื่องความวิริยะอุตสาหะในการสร้างบ้านของลูกหมูแต่ละตัว อีกหนึ่งข้อควรคิดที่นิทานเรื่องนี้ได้แอบซ่อนเอาไว้คือประสิทธิภาพหรือความสามารถของสิ่งปลูกสร้างในการต้านทานแรงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ ในขณะที่หมาป่าพยายามเป่าลมเพื่อพังบ้านด้วยแรงเท่าๆ เดิม บ้านของลูกหมูแต่ละหลังกลับต้านทานแรงลมได้ดีไม่เท่ากัน บ้านของพี่ใหญ่ถูกลมเป่าครั้งเดียวก็จอด ในขณะที่บ้านของน้องเล็กถึงจะถูกต้องกี่ครั้งก็ยังรอด ผลลัพธ์ของการจอดหรือรอดในเรื่องนี้สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบของ มาตราความรุนแรง (intensity scale) ปกติมาตราความรุนแรงสามารถใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้เช่น ระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนแบ่งย่อยเป็น 5 ระดับ ...
ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า บันทึกแผ่นดินไหว (earthqauke record) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บันทึกที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) นั้นมีประโยชน์มหาศาลในการนำไปศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวหรือประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะฐานข้อมูลแผ่นดินไหวนั้นเก็บรายละเอียดแทบทุกอย่าง ทั้งตำแหน่ง เวลาและขนาดแผ่นดินไหว ออกมาทั้งหมดเป็นตัวเลขแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการนำสารข้อมูลแผ่นดินไหวดังกล่าวไปใช้ ...