Monthly Archives: พฤศจิกายน 2019

เรียนรู้

ธารน้ำแข็งและการเกิด

ธารน้ำแข็ง (glacier) หมายถึง มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะบนแผ่นดินและเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งภายใต้สภาพอากาศหนาวเย็นเพียงพอที่จะรักษาสภาพไม่ให้น้ำแข็งละลายในฤดูร้อน ธารน้ำแข็ง (glacier) แตกต่างจากน้ำทะเลแถบขั้วโลกที่กลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งจะเรียกแตกต่างกันว่า น้ำแข็งทะเล (sea ice) และน้ำแข็งทั้งสองประเภทส่งผลกระทบต่อโลกแตกต่างกัน ธารน้ำแข็งละลายทำให้นำทะเลเปลี่ยนระดับ ส่วนน้ำแข็งทะเลละลาย ลดการสะท้อนกลับของแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก กระบวนการเกิดน้ำแข็ง (glacial formation) ...
เรียนรู้

ธารน้ำแข็งพาตะกอนเอาไปกองไว้ตรงไหนบ้าง

โดยธรรมชาติ ธารน้ำแข็งสามารถกัดกร่อนและพัดพาตะกอนไปได้ในปริมาณมหาศาล ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะเริ่มตกสะสมตัวเมื่อธารน้ำแข็งละลาย ทำให้บริเวณที่ตะกอนธารน้ำแข็งสะสมตัวเกิดเป็นภูมิลักษณ์เฉพาะตัว แปลกตา โดยตะกอนที่ได้จากการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง เรียกว่า ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial drift) แบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ 1) ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น (unstratified drift) ...
เรียนรู้

ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน

ในบรรดาหินทั้ง 3 ชนิด (หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร) หินตะกอน ถือเป็นหินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในหลายๆ กรณีหินตะกอนได้เก็บรักษาลักษณะโครงสร้างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในระหว่างที่ตะกอนสะสมตัวในอดีตได้เป็นอย่างดีรวมทั้งซากสิ่งมีชีวิตที่ในหลายๆ ครั้งก็ถูกปิดเก็บไว้ภายในชั้นหินตะกอน ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างดังกล่าวมีหลากหลาย ซึ่งนักธรณีวิทยาจัดจำแนกเอาไว้อย่างน้อย 8 รูปแบบเด่นๆ ดังนี้ ชั้นตะกอน ตะกอน (bed) ...
เรียนรู้

5 ลางสังหรณ์ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

การทำนายระยะสั้น (short-term prediction) เป็นการคาดการณ์การมาของแผ่นดินไหวในระดับวัน-เดือน ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ากลไกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นซับซ้อนมากและกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งเวลาการเก็บพลังงานที่เพียงพอ ชนิดของหินที่จะเป็นตัวบอกว่าแผ่นดินนั้นล๊อคกันได้นานแค่ไหน และอื่นๆ อีกจิปาถะ ถ้าต้องคิดเป็นสมการความสัมพันธ์ ก็คงต้องยาวเหยียด 3-4 หน้ากระดาษ ด้วยเหตุของความซับซ้อนนี้ ในบางครั้งนักแผ่นดินไหววิทยาจึงพยายามมองหา สัญญาณบอกเหตุ (precursor) ...
เรียนรู้

บ่อน้ำบาดาลและผลกระทบจากการใช้น้ำใต้ดิน

บ่อน้ำบาดาล (groundwater well) คือ บ่อหรือหลุมที่มนุษย์ขุดหรือเจาะลึกลงไป เพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยปกติโดยส่วนใหญ่เจาะให้ผ่าน ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ใต้ระดับน้ำใต้ดิน การสร้างบ่อน้ำบาดาล ในการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลในแต่ละบ่อมีขั้นตอนในการทำงานอย่างน้อย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน (groundwater ...
เรียนรู้

กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา ...
เรียนรู้

ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ ...
เรียนรู้

13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ

ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) ...
เรียนรู้

หินตะกอนเคมี

โดยปกติถ้าพูดถึงหินตะกอน พวกเราอาจจะคิดว่าถ้าได้มองหินตะกอนไกล้ๆ เราก็จะเห็นเม็ดตะกอนเป็นเม็ดๆ จับตัวกันยู่ ซึ่งนั่นคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ส่วน หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกตะกอนและสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาในรูปของสารละลายในน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หินตะกอนเคมีแทบจะไม่สามรถมองเห็นเม็ดของตะกอนได้เลยด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เนื่อจากตะกอนมีขนาดเล็กมาก ...
เรียนรู้

การป้องกันชายฝั่ง

ไม่ว่าจะด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกตามธรรมชาติหรือวัฏจักร หรือว่าการรุกล้ำของมนุษย์ แต่สภาพบริเวณชายฝั่งปัจจุบันในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก พบว่าบางพื้นที่สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพื้นที่ที่มนุษย์เคยจับจอง กำลังถูกทำลายหรือยึดคืนพื้นที่ด้วยกระแสน้ำริมฝั่งทะเล อย่างที่เราเรียกกันว่า ภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) ซึ่งจากความหวงแหนของมนุษย์เอง ทำให้มีการคิดหาวิธีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในหลากหลารูปแบบ ตามปัญหาหรือลีลาการกัดเซาะของโลกในแต่ละพื้นที่ 1) กำแพงกันคลื่น กำแพงกันคลื่น (seawall) ...
เรียนรู้

หินตะกอนเนื้อเม็ด

หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic หรือ detrital sedimentary rock) เกิดโดยการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ และแข็งตัวกลายเป็นหิน หรือ การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมีหรือทางชีวภาพของตะกอน ตั้งแต่ตะกอนเริ่มสะสมตัวจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งกระบวนการก่อตัวใหม่ของตะกอนจนกลายเป็นหินประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ...
เรียนรู้

บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง

เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น ...
เรียนรู้

ขอบทวีป ในทางธรณีวิทยาไม่ใช่ริมทะเล

ขอบทวีป (continental margin) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงริมชายฝั่งทะเล แต่ขอบทวีปในที่นี้หมายถึง ขอบระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปกับแผ่นดเปลือกโลกมหาสมุทร จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศของพื้นมหาสมุทร (bathymetry) นักธรณีวิทยาจำแนกขอบทวีปออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) และ ...
เรียนรู้

ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, ...