Daily Archives: 27 พฤศจิกายน 2019

เรียนรู้

ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน

ในบรรดาหินทั้ง 3 ชนิด (หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร) หินตะกอน ถือเป็นหินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในหลายๆ กรณีหินตะกอนได้เก็บรักษาลักษณะโครงสร้างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในระหว่างที่ตะกอนสะสมตัวในอดีตได้เป็นอย่างดีรวมทั้งซากสิ่งมีชีวิตที่ในหลายๆ ครั้งก็ถูกปิดเก็บไว้ภายในชั้นหินตะกอน ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างดังกล่าวมีหลากหลาย ซึ่งนักธรณีวิทยาจัดจำแนกเอาไว้อย่างน้อย 8 รูปแบบเด่นๆ ดังนี้ ชั้นตะกอน ตะกอน (bed) ...
เรียนรู้

5 ลางสังหรณ์ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

การทำนายระยะสั้น (short-term prediction) เป็นการคาดการณ์การมาของแผ่นดินไหวในระดับวัน-เดือน ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ากลไกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นซับซ้อนมากและกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งเวลาการเก็บพลังงานที่เพียงพอ ชนิดของหินที่จะเป็นตัวบอกว่าแผ่นดินนั้นล๊อคกันได้นานแค่ไหน และอื่นๆ อีกจิปาถะ ถ้าต้องคิดเป็นสมการความสัมพันธ์ ก็คงต้องยาวเหยียด 3-4 หน้ากระดาษ ด้วยเหตุของความซับซ้อนนี้ ในบางครั้งนักแผ่นดินไหววิทยาจึงพยายามมองหา สัญญาณบอกเหตุ (precursor) ...
เรียนรู้

บ่อน้ำบาดาลและผลกระทบจากการใช้น้ำใต้ดิน

บ่อน้ำบาดาล (groundwater well) คือ บ่อหรือหลุมที่มนุษย์ขุดหรือเจาะลึกลงไป เพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยปกติโดยส่วนใหญ่เจาะให้ผ่าน ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ใต้ระดับน้ำใต้ดิน การสร้างบ่อน้ำบาดาล ในการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลในแต่ละบ่อมีขั้นตอนในการทำงานอย่างน้อย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน (groundwater ...
เรียนรู้

กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา ...