Latest Articles

เรียนรู้

ภัยพิบัติน้ำท่วม และการบรรเทา

น้ำท่วม (flood) หมายถึง ภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำพื้นผิวมีปริมาณเกินกว่าทีร่องน้ำจะรองรับได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นออกจากร่องน้ำ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยภัยพิบัติน้ำท่วมนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และส่งผลต่อแตกต่างกัน ได้แก่ 1) น้ำท่วมจาก พายุฝนฟ้าคะนอง (thunder storm) ทำให้เกิดน้ำหลากจากต้นน้ำลงมาอย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่า น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) แต่จะท่วมเพียง ...
เรียนรู้

น้ำหนุน กรุงเทพ ฯ เกิดยังไง ?

นอกจากมวลน้ำทางตอนเหนือที่มีโอกาสไหลบ่าและท่วมพื้นที่ราบลุ่มตอนล่างของภาคกลาง ประเทศไทย กรุงเทพ ฯ และจังหวัดต่างๆ ทางตอนล่างที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านก็มีโอกาสได้รับภัยพิบัติทางน้ำ เพิ่มอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งก็คือ น้ำล้นตลิ่ง หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า น้ำหนุน ซึ่งมักจะเกิดในช่วง 2 เดือนสุดท้าย ปลายปี คือ พฤศจิกายน และธันวาคม และด้วยความที่สังคมออนไลน์ทุกวันนี้ค่อนข้างจะรวดเร็ว ทำให้เหตุการณ์น้ำหนุนล่าสุดในปี ...
วิจัย

ฝูงแผ่นดินไหวจิ๋ว ภาคเหนือของไทย : ปุจฉา-วิสัชนา

แผ่นดินไหว – วิเคราะห์โดย : เชาว์วรรธน์ สิงห์ทอง และ สันติ ภัยหลบลี้ ในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 เกิด กลุ่มแผ่นดินไหวขนาด 1.0-3.0 ...
วิจัย

เส้นทางโบราณ ขึ้นเขาพนมรุ้ง

พนมรุ้ง – วิเคราะห์และเรียบเรียง : สุวภา ศรีสัตยเสถียร, เกชา เจริญศิริมณี และ สันติ ภัยหลบลี้ นอกเหนือจากปราสาทตาควาย ปราสาทพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทเล็กๆ น้อยๆ อีกว่าหลักร้อย ในแถบภาคอีสานตอนล่าง ปราสาทพนมรุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งในแลนด์มาร์คทางศาสนาที่สำคัญของ ...
เรียนรู้

คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge)

คลื่นพายุซัดฝั่ง – เรียบเรียง : สิริรักษณ์ บุญเย็น และ สันติ ภัยหลบลี้ คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) หรือที่เรียกกันว่า สตอร์ม เซิร์จ หลายคนเมื่อได้ยินคำนี้แล้วอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก และอาจจะยังไม่รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุซัดฝั่งนี้ แต่ถ้าหากบอกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงไม่ต่างจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สึนามิ (tsunami) ...
สำรวจ

เกลือ 7 แบบ : หลากสี หลายรส

เกลือ – เรียบเรียง : ธัญพร จันทาดี และ สันติ ภัยหลบลี้ เกลือที่มีดีมากกว่าความเค็ม เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักเกลือกันเป็นอย่างดี มีหลักฐานว่ามนุษย์ใช้เกลือและผลิตเกลือมาตั้งแต่ 6,000 ปี ก่อนคริสต์กาล ในอดีตกาลเกลือเป็นสิ่งมีค่ามากยิ่งกว่าทอง แต่นอกจากเกลือสีขาวในครัวที่เรารู้จักกันแล้ว ยังมีเกลือที่มีสีและรสชาติแตกต่างกันมากมายบนโลกนี้ โดยเกลือสามารถแบ่งออกเป็น 2 ...
เรียนรู้

การทำนาเกลือ (เบื้องต้น)

เกลือ – เรียบเรียง : วสุ ชวนะสุพิชญ์ และ สันติ ภัยหลบลี้ เกลือ หรือชื่อในทางเคมีคือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เป็นของแข็งสีขาว มีรสเค็ม ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคเกลือเฉลี่ย 5-10 กรัม/วัน เพื่อรักษาสมดุลของน้ำในระบบต่างๆ ...
สำรวจ

ควอตซ์ . หลาก . สี

ควอตซ์ (quartz) – เรียบเรียง : นารีรัตน์ อัมพวะศิริ และ สันติ ภัยหลบลี้ ควอตซ์ (quartz) เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นซิลิกอนและออกซิเจน มีสูตรเคมีคือ SiO₂ เป็นแร่ที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 12 ของเปลือกโลก พบได้ทั้งในหินอัคนี หินตะกอน ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีวงปีต้นไม้

การหาอายุด้วยวิธี วงปีต้นไม้ (tree-ring dating) หรือเรียกแบบเป็นทางการว่า การหาอายุด้วยวิธีกาลานุกรมต้นไม้ (dendrochronology) เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธี การหาอายุสัมบูรณ์ (absolute-age dating) โดยอาศัยหลักการเทียบเคียง คล้ายๆ กับ การหาอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) ที่ไล่เรียงอายุในเชิงเปรียบเทียบ อันไหนอยู่บนอยู่ล่าง ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)

แผ่นดินไหวตาม (aftershock) คือ แผ่นดินไหว (earthquake) ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิด แผ่นดินไหวหลัก (main shock) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักเสมอ โดยมักจะเกิดใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวหลักทั้งในมิติของเวลาและพื้นที่ ในแง่กลไกของการเกิด แผ่นดินไหวตามเกิดจากแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใดโดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลัก อันเนื่องมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหลัก หรือเรียกว่า แรงเค้นระหว่างเกิดแผ่นดินไหว (co-seismic stress) และเพื่อที่จะปรับสภาพพื้นที่ให้เข้าสู่สภาวะสมดุล พื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลักที่มีแรงเค้นเพิ่มขึ้น ...
สำรวจ

มีนิคมอุตสาหกรรมเหล็กร้าง แอบอยู่กลางป่าชายขอบบุรีรัมย์

โบราณคดี – วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ แร่เหล็กถือ (iron) เป็นหนึ่งในวัสดุที่สำคัญในการผลิตเครื่องมือเครื่องไม้ข้างกายมนุษย์มาอย่างยาวนาน แน่นอนว่าปัจจุบันแหล่งผลิตแร่เหล็กที่สำคัญมีกระจายอยู่ทั่วทุกเห็นโลก ได้แก่ ประเทศจีน ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14

ทบทวนอะตอม อะตอม (atom) คือ หน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วย นิวเคลียส อยู่ตรงกลางอะตอม โดยภายในนิวเคลียสยังประกอบด้วย โปรตอน (proton) ที่มีประจุบวก และ นิวตรอน (neutron) ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ซึ่งนิวเคลียสจะถูกห่อหุ้มล้อมรอบด้วยกลุ่ม อิเล็กตรอน (electron) ที่มีประจุลบ ...
เรียนรู้

เปลือกโลกบนเนื้อโลก ก็คล้ายๆ ขอนไม้ลอยบนแป้งเปียกหนืดๆ

จากการศึกษาความเร็วที่เปลี่ยนไปของคลื่นแผ่นดินไหวของ โลก ซึ่งสื่อถึง คุณลักษณะทางกายภาพภายในโลก นักธรณีวิทยาพบว่าไส้ในของโลกประกอบไปด้วยชั้น 1) ธรณีภาค (lithosphere) 2) ฐานธรณีภาค (asthenosphere) 3) มัชฌิมาภาค (mesosphere) 4) แก่นโลกชั้นนอก (outer core) และ 5) ...
เรียนรู้

ไส้ใน โลก : กับการคาดเดาองค์ประกอบของแต่ละชั้น

วิวัฒนาการภายในโลก ในเวลาใกล้เคียงกับการเกิดระบบสุริยะ เทหวัตถุต่างๆ รวมทั้ง โลก (Earth) ได้ก่อตัวขึ้น โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าโลกในระยะแรกมีสถานะเป็นกลุ่มก๊าซและของเหลวที่หมุนรอบตัวเอง ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งผลของแรงดึงดูดจากการหมุนรอบตัวเองและปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การพุ่งชนของอุกกาบาต ทำให้ภายในโลกมีวิวัฒนาการที่เด่นชัดอยู่ 4 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะรวมตัวเนื้อเดียว (conglomeration stage) ...
สำรวจ

ราชมรรคา : อีกเหตุผล ทำไมเส้นทางโบราณนี้เป็นที่นิยม

ราชมรรคา : วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศหรือภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ภาคอีสานของไทยอยู่สูงกว่าที่ราบลุ่มต่ำของประเทศกัมพูชา ซึ่งนอกจากระดับความสูงโดยรวมที่แตกต่างกันแล้ว ชายแดนของทั้ง 2 พื้นที่ ยังถูกขวางกั้นตลอดแนวกว่า 300 กิโลเมตร ...
สำรวจ

คน . หยอก . คลื่น

คลื่น – ปัจจุบันรูปแบบการป้องกันภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่งที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมีอยู่อย่างน้อยๆ 4 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีลีลาในการปก ป้อง ปราม การสูญเสียหาดหรือฝั่งอย่างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการรุกรานของน้ำทะเลหรือ คลื่น ที่ก็ว่ากันไปตามหน้างาน 1) กำแพงกันคลื่น (seawall) คือความพยายามปกป้องพื้นที่ที่น้ำรุกล้ำและประชิดเข้าติดตัวแล้ว ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้น้ำทะเลกระซวกฝั่งเพิ่มหรือเลยเถิด ก็ใช้วิธีใส่เฝือกปูนให้น้ำกระแทกปูน พอบรรเทาฆ่าเวลาไปได้บ้าง 2) ...
เรียนรู้

หินกัดกร่อนที่ฝั่ง ตะกอนสะสมตัวที่หาด

ด้วยกระแสคลื่นทะเลที่ซัดเข้า หาด (shore) และ ฝั่ง (coast) อย่างไม่มีทีท่าว่าจะหมดเรี่ยวแรง ทำให้ริมชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในทุกๆ วัน แทบจะทุกด้าน โดยในทางธรณีวิทยา กระบวนการหลักๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งประกอบไปด้วย 2 กระบวนการ คือ 1) การกัดกร่อน (erosion) ของหิน ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหว : เมื่อคลื่นยำคน เมื่อคนสู้คลื่น

เมื่อพูดถึงภัยพิบัติ แผ่นดินไหว เอาแค่เรื่องแรงสั่นสะเทือนอย่างเดียว มนุษย์เราก็น่าจะห่อเหี่ยวลงไปไม่น้อย ชัวร์ครับ !!! คลื่นแผ่นดินไหวไปที่ไหน ก็บรรดัยกันแน่ๆ แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ายิ่งแผ่นดินไหวมี 1) ขนาด (magnitude) ใหญ่ แรงสั่นสะเทือนก็ยิ่งแรงขึ้น และก็เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ก็จะให้แรงสั่นที่ 2) นาน (duration) ...
เรียนรู้

ของแถมจาก แผ่นดินไหว

เวลาเกิด แผ่นดินไหว ขนาดใหญ่ๆ นอกจาก ภัยพิบัติแรงสั่นสะเทือน ภัยพิบัติสึนามิ รวมทั้ง ภัยพิบัติทรายพุและโคลนภูเขาไฟ ที่มักเกิดมาเป็นชุดๆในพื้นที่ใกล้จุดศูนย์กลางแล้ว แผ่นดินไหวยังสามารถเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดภัยพิบัติยิบๆ ย่อยๆ อีกหลายภัย บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะหาเศษหาเลย หรือจ้องจะปรักปรำแผ่นดินไหวจนเกินงาม แต่หลายครั้งก็เลี่ยงเสียไม่ได้ที่จะกล่าวหาอ้างว่า ภัยพิบัติเหล่านี้เป็นเพราะแผ่นดินไหวตัวเดียวแท้ๆ (ร้ายกาจนักน๊าาาาา) แล้วตกลงยังมีภัยอะไรอีกบ้าง ที่สามารถมาพร้อมแผ่นดินไหวได้ ...
เรียนรู้

โต๊ะจีนแผ่นดินไหว : Earthquake Chinese Banquet

แผ่นดินไหว – จากประสบการณ์อันช่ำชองของแผ่นดินไหวในอดีต ทำให้นักแผ่นดินไหวส่วนใหญ่สังเกตได้ว่า ถ้าแผ่นดินไหวใหญ่ๆ เกิดทั้งที ปกติจะเสิร์ฟแผ่นดินไหวให้เป็นชุดๆ เหมือนกับชุดแฮปปี้มีลของแมคโดนัลด์ หรือเหมือนกับ โต๊ะจีน (Chinese Banquet) ที่จัดมาให้ร้อง ว๊าว ว๊าว ว๊าวววว !!! ตามลำดับ ถ้าจะต่างกัน ก็แค่ปกติโต๊ะจีนเสิร์ฟที ...