Latest Articles

สำรวจ

สืบเส้นทาง ม้าต่าง-วัวต่าง แห่งล้านนา

ก็ไม่แน่ใจว่าเด็กๆ ยุคใหม่ จะรู้จักกันมั่งไหม แต่ถ้าถามหญิงชายวัยกลางคน 40 อัพขึ้นไป เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและเคยได้ยินตำนาน นายฮ้อย หรือ คาวบอยอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มพ่อค้าวัว-ควาย ที่รอนแรมต้อนวัวต้อนควาย เดินทางไปทำมาค้าขายข้ามภูมิภาค มนต์เสน่ห์ของเรื่องเล่าระหว่างการเดินทางและความเก่งกล้าสามารถของนายฮ้อย ทำให้อาชีพนายฮ้อยมีหน้ามีตา และมีบทบาทมากบารมีในสังคมอีสานสมัยก่อน ข้ามฟากมาอีกฝั่งของภูมิภาค หากอีสานมีตำนานนายฮ้อย ดินแดนล้านนาภาคเหนือ ก็มีเรื่องเล่า ...
วิจัย

ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ลาว-พม่า

1) แผ่นดินไหว x ลาว ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศลาวตั้งอยู่ห่างไกลจาก เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน แต่ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวอยู่ในประเทศลาวและพื้นที่ข้างเคียง เช่น รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู รอยเลื่อนแม่อิง (Mae Ing Fault; Fenton และคณะ, 2003) รอยเลื่อนน้ำมาและรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ...
วิจัย

รูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว ภูมิภาคอาเซียน

ในการศึกษา ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (earthquake hazard) ปัจจุบันมีลีลาการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น 1) การประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว (earthquake activity) ว่าในแต่ละพื้นที่ มีโอกาสแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แค่ไหนบ้าง หรือ 2) การประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต (prospective area) ที่อาศัยสัญญาณทางแผ่นดินไหววิทยาต่างๆ (เช่น ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน ...
สำรวจ

13 เขตกำเนิดแผ่นดินไหว ที่ส่งผลต่อไทย

เขตกำเนิดแผ่นดินไหว (Seismic Source Zone) หมายถึง พื้นที่ที่มี พฤติกรรมหรือกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic activity) เหมือนๆ กัน มีนิสัยการเกิดแผ่นดินไหวทั้งเรื่องขนาดและความถี่คล้ายๆ กัน สำหรับประเทศไทย นักแผ่นดินไหววิทยาท่านแรกที่แบ่งเขตกำเนิดแผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเอาไว้ คือ อาจารย์ปริญญา นุตาลัย และคณะ (1985) ...
วิจัย

EP. 4 : ลีลาการเขียนรูปเล่ม

การเขียนรายงานวิจัย (research writing) หรือ วิทยานิพนธ์ (thesis) เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่นักวิจัยจะต้องทำหลังจากทำวิจัยเสร็จสิ้น โดยเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยออกมาในรูปแบบของตัวหนังสือ ซึ่งก็ไม่รู้ว่านักวิจัยท่านอื่นทำกันยังไง แต่สำหรับพี่ ก็มีลีลาในการเขียนเล่มเฉพาะตัว ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เล่มโอเค เนื้อหาไม่หลุดโลก น้องๆ ที่สนใจลองเอาไปใช้กันดู เผื่อจะถูกจริต ก่อนอื่น พี่ขอให้น้องเอานิ้วออกจากแป้น (ใครแอบพิมพ์ ...
วิจัย

EP. 3 : การทำวิจัย

ในส่วนของการทำวิจัย แน่นอนว่าน้องแต่ละคนมีหัวข้อวิจัยในดวงใจที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละงานวิจัยก็มีธรรมชาติของการทำวิจัยที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นพี่คงไม่ขอก้าวล่วงในธรรมชาติการทำงานของแต่ละหัวข้อวิจัยเฉพาะ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พี่ว่าเราน่าจะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่ต่างกัน เราถูกสมมติให้เป็นนักวิจัยเหมือนกัน เรากำลังเดินทางด้วยเหตุและผลเหมือนกัน และพี่ก็เชื่อว่าบนเส้นทางสายนี้ น้องกับพี่ก็น่าจะพบกับสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะการทำงานที่คล้ายๆ กัน ทั้งใน มิติการทำงานและสภาพจิตใจ เอาเป็นว่า อะไรที่พี่เคยผ่านมา และพี่คิดว่ามันพอจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ พี่ขอแชร์ไว้ให้ตรงนี้ 1) ปริญญา ...
วิจัย

EP. 2 : การเขียน โครงร่างงานวิจัย

โครงร่างการวิจัย (research proposal) หมายถึง แผนการดำเนินงานวิจัย ที่ปลุกปั้นขึ้นมาก่อนที่น้องจะทำวิจัย ซึ่งการเขียนโครงร่างการวิจัยมีประโยชน์อะไร ไม่เขียนได้ไหม น้องๆ ลองดู … แล้วจะเริ่มเขียนยังไง แบ่งหัวข้อแบบไหน แล้วต้องบอกอะไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าดี ก็ถ้าพูดกันตรงๆ จะเขียนยังไงก็ได้ ที่เล่าเรื่องแล้ว ทำให้คนให้ทุนเห็นภาพว่างานนี้จะทำได้ดีและสำเร็จ แต่ก็นั่นแหละ ...
วิจัย

EP. 1 : วิจัย คืออะไร

เมื่อน้องๆ เลือกที่จะเดินเข้าสู่ดินแดน อุดมศึกษา ภารกิจด่านสุดท้ายก่อนที่จะได้มาซึ่ง ใบปริญญา ไม่ว่าจะเป็นคุณวุฒิ ตรี โท หรือ เอก น้องๆ จะต้องผ่านการทำ วิจัย (research) ในหัวข้อที่ตัวเองถนัดหรือสนใจ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประมวลองค์ความรู้ และฝึกใช้ความรู้ที่น้องได้ร่ำเรียนมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปี คำถามคือแล้ว ...
สำรวจ

มองชุมชนโบราณ ผ่านกูเกิ้ลเอิร์ธ

เมืองนอกเป็นยังไงไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เมืองไทยเราชอบอาศัยอยู่กันเป็นชุมชน จะเรียกคุ้มบ้าน หมู่ 8 หรือ นิคม ฯลฯ ก็สุดแล้วแต่ ซึ่งถ้ามองผ่านภาพถ่ายดาวเทียมอย่าง กูเกิ้ลเอิร์ธ (Google Earth) เราก็จะเห็นกลุ่มหลังคาบ้านกระจุกตัวกันเป็นหย่อมๆ ตามที่ราบในประเทศไทย โดยขนาดและรูปร่างของแต่ละชุมชน ก็ต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ บ้างก็กระจุกกันกลมๆ รีๆ ...
เรียนรู้

นิทาน x ระบบเตือนภัยสึนามิ

หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิครั้งใหญ่ ทางฝั่งอันดามันของไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หลายประเทศรอบมหาสมุทรอินเดียรวมทั้งประเทศไทย ตัดสินใจติดตั้ง ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) อย่างที่ฝรั่งเค้ามีกันทางฟากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยนอกเหนือจากกลไกการทำงานที่สลับซับซ้อนในทางเทคนิค หน้าตาระบบเตือนภัยที่ประชาชนทั่วไปพอจะคุ้นและเคยเห็นคือ ทุนลอยน้ำ (bouy) ที่ถูกปล่อยวางอยู่กลางทะเล ...
สำรวจ

ธรณีวิทยา สะพานพระราม

สะพานพระราม (Rama’s Bridge) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า สะพานอดัม (Adam’s Bridge) เป็น ภูมิลักษณ์ (landform) ทางทะเล ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเหมือนแนวสันทรายที่ทอดยาว เชื่อมระหว่าง 1) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แผ่นดินใหญ่ และเกาะยักษ์ที่ห่างออกไปอย่าง 2) ประเทศศรีลังกา ...
สำรวจ

ขุนสมุทรจีน : ภาพจำทะเลกินบก

ภาพปก : กิติคุณ วิวัฒนธนกิจ วัดขุนสมุทรจีน หรือ วัดขุนสมุทราวาส ตั้งอยู่ที่ ต. แหลมฟ้าผ่า อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ ซึ่งตามประวัติ วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2510 ด้วยความที่ในวันสร้างวัด วัดตั้งอยู่ปากอ่าวริมทะเล ...
เรียนรู้

ดวงจันทร์ : สัพเพเหระ

ในบรรดา เทหวัตถุ (space object) นับล้านล้านดวง ที่มีอยู่ใน เอกภพ (universe) หรือ ระบบสุริยะ (solar system) ดวงจันทร์ (Moon) ถือได้ว่าเป็นเทหวัตถุที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ด้วยความที่ใกล้ชิดกับโลก ดวงจันทร์จึงเป็นตัวละครที่ถูกมนุษย์เฝ้าสังเกตและศึกษามากที่สุดเป็นเงาตามตัว นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์ถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ...
สำรวจ

ไข่น้ำแข็ง x ธรณีวิทยา

ฟินแลนด์ (Finland) เป็นประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป ที่อยู่ค่อนไปทางเหนือของทวีป แถบสแกนดิเนเวีย ภูมิอากาศของฟินแลนด์ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบหนาวเจี๊ยกเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งด้วยความหนาวบวกกับอัตลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศ ทำให้ฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่น่าเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเที่ยวแบบชมบ้านชมเมือง หรือว่าชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า แสงเหนือ (aurora)
สำรวจ

ทำไม ญี่ปุ่น ถึงอุดมไปด้วย แผ่นดินไหว

หากเรามองแผ่นเปลือกโลกเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่อยู่ชิดติดกัน แผ่นดินญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ทอดตัวยาวคร่อมอยู่บนจิ๊กซอว์ชื่อแปลกๆ 3 แผ่น คือ 1) แผ่นเปลือกโลกโอค็อตสค์ (Okhotsk Plate) ทางตอนเหนือ 2) แผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ทางตอนใต้ และ 3) ...
เรียนรู้

ธรณีวิทยา ผาแดง – นางไอ่

ผาแดง – นางไอ่ คือ ชื่อของหนึ่งในวรรณกรรมพื้นบ้าน ที่เล่าขานกันมานมนานในแถบภาคอีสาน (ตอนบน) พล๊อตเรื่องคร่าวๆ ก็จะประมาณว่า มีพญานาคหนุ่มรูปงามนาม ท้าวภังคี หลงรักสาวหน้าตาดีที่ชื่อ นางไอ่ ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของ พญาขอม เจ้าผู้ครองนคร เมืองหนองหาน ซึ่งนางไอ่ก็มีคู่หมั้นคู่หมายอยู่แล้วชื่อ ท้าวผาแดง เมื่อหัวใจมันเรียกร้อง ...
สำรวจ

ฤา หินบะซอลต์ เขาพนมรุ้ง-ปลายบัด จะเคยผ่านมือชาย

ในทางภูมิศาสตร์ เขาพนมรุ้ง-ปลายบัด เป็นภูเขาลูกโดดอยู่กลางที่ราบลุ่ม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 กิโลเมตร สูง ประมาณ 100-180 เมตร จากพื้นราบ บนยอดมี ปล่องภูเขาไฟ (crater) ซึ่งในทางโบราณคดีมี ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาปลายบัด ๑ และ ปราสาทเขาปลายบัด ...
วิจัย

สืบเส้นทางเกวียนโบราณ จากศาสตร์ ภูมินาม-ภูมิสารสนเทศ

ถึงแม้ว่าการคมนาคมในปัจจุบัน จะมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อซักประมาณ 100 ปีก่อน เมืองไทยก็มีตัวเลือกอยู่ไม่มาก นอกเหนือจากการคมนาคมทางเรือที่ดูฟูฟ่าในช่วงนั้น แต่ทางบกก็เห็นจะมีแค่ ม้า หรือ วัว-ควายเทียมเกวียน ที่พอจะเป็นสรณะได้ เพราะจากประวัติที่สืบย้อนกลับไป รถยนต์คันแรกของไทย คือของ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ...
สำรวจ

ภูมิศาสตร์โบราณคดี พนมรุ้ง บุรีรัมย์

ในมิติการท่องเที่ยวคีย์เวิร์ด พนมรุ้ง คงหมายเพียงถึงปราสาทสวยๆ หลังเดียว ที่อยู่บนยอดภูเขาไฟพนมรุ้ง แต่จากข้อมูลโบราณคดีในพื้นที่พบว่า มีตัวละครอีกมากมายอยู่รายรอบแลนด์มาร์คเขาพนมรุ้งลูกนี้ จนทำให้ภาพอารยธรรมในพื้นที่มีความหลากหลายและร้อยเรียงกันอยู่อย่างละมุล หากไม่คิดเรื่องห้วงเวลาและความต่างของยุคสมัย กิจกรรมมากมายเคยเกิดขึ้นที่นี่ ตลอดระยะเวลากว่าพันปี งานสถาปนิก-วิศวกรรมในการก่อสร้างอาคารและประสาท งานโลจิสติกส์การขนถ่ายวัตถุดิบจากแหล่งผลิตสู่จุดหมาย งานเกษตรกรรมที่มีนวัตกรรมอยู่มากมาย ตลอดจนงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ก็มากมี ณ ดินแดนแห่งนี้ วนัมรุง วนัมรุง เป็นคำเขมรโบราณของ ...
สำรวจ

หิน-ลับ-หิน ที่ปราสาทเขาปลายบัด ๒ (เพิ่งเจอเมื่อวาน บอก “โบราณ” ไว้ก่อน)

ทีมเล่าเรื่อง : สันติ ภัยหลบลี้, กังวล คัชชิมา, สมบัติ มั่งมีสุขศิริ, อุเทน วงศ์สถิตย์ และ โอภาส จริยพฤติ ภาพปก : ภาพแกะสลักที่ปราสาทบายน กัมพูชา แสดงกรรมวิธีการผลิตและปรับปรุงคุณภาพของหิน ก่อนนำมาสร้างปราสาทหิน (ที่มา ...