
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
1. | ____ | pebble | ก. | ตะกอนขนาด > 2 มิลลิเมตร |
2. | ____ | cobble | ข. | ตะกอนขนาด 2-64 มิลลิเมตร |
3. | ____ | breccia | ค. | ตะกอนขนาด 1/256-1/16 มิลลิเมตร |
4. | ____ | sand | ง. | ตะกอนขนาด 1/16-2 มิลลิเมตร |
5. | ____ | shale | จ. | ตะกอนขนาด 64-256 มิลลิเมตร |
6. | ____ | silt | ฉ. | ตะกอนขนาด < 1/256 มิลลิเมตร |
7. | ____ | clay | ช. | หินกรวดเหลี่ยม |
8. | ____ | sandstone | ซ. | หินทราย |
9. | ____ | conglomerate | ฌ. | หินกรวดมน |
10. | ____ | gravel | ญ. | หินที่มีตะกอนขนาดดิน |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | ____ | ระแหงโคลน (mudcrack) มีประโยชน์ในการบอก ด้านบน-ด้านล่าง ของชั้นตะกอนได้ |
2. | ____ | หินกรวดมน (conglomerate) เป็นหินตะกอนที่พบมากที่สุดบนโลกเมื่อเที่ยบกับหินตะกอนชนิดอื่นๆ |
3. | ____ | ความกลม (angularity) และความมน (roundness) ของเม็ดตะกอนขึ้นอยู่กับ 1) ความแข็งของเม็ดตะกอน 2) ความห่างจากแหล่งกำเนิดของตะกอนที่ถูกพัดพามา และ 3) พลังงานที่ใช้ในการพัดพาตะกอน |
4. | ____ | ทะเสสาบเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากในการทำให้ตะกอนมีความกลมและมน เนื่องจากตะกอนสามารถกลิ้งไป-มา ภายในทะเลสาบเนื่องจากคลื่นน้ำที่พื้นทะเลสาบ |
5. | ____ | หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) จำแนกย่อยตามขนาดของเม็ดตะกอน |
6. | ____ | หินกรวดมน (conglomerate) เกิดในสภาพแวดล้อมแบบพลังงานสูง เช่น ชายหาด ธารน้ำโค้งตวัด |
7. | ____ | หินโคลน (mudstone) เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบพลังงานต่ำ เช่น ก้นทะเลลึก |
8. | ____ | รอยริ้วคลื่น (ripple mark) ที่ถูกเก็บรักษาไว้ใน หินกรวดเหลี่ยม (breccia) มีประโยชน์ในการบอกทิศทางของกระแสน้ำบรรพกาล (paleocurrent) |
9. | ____ | ถ่านหิน (coal) คือ chemical sedimentary rock |
10. | ____ | cement โดยส่วนใหญ่ตกผลึกมาจากสารละลาย |
11. | ____ | ก้อนหินมนใหญ่ (boulder) สะสมตัวและแข็งตัวกลายเป็นหินตะกอนเคมี |
12. | ____ | ขนาดตะกอน (grain size) เป็นหลักฐานสำคัญในการบอกสภาพแวดล้อมการสะสมตัวในอดีต |
13. | ____ | นักวิทยาศาสตร์ใช้หินตะกอนในการแปลความหมายและลำดับเวลาทางธรณีวิทยาของโลก |
14. | ____ | แหล่งปิโตรเลียมโดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กับหินตะกอน |
15. | ____ | แนวปะการัง (coral reef) คือ clastic sedimentary rock |
16. | ____ | โลกคือดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีหินตะกอน |
17. | ____ | ควอตซ์ (quartz) เป็นแร่องค์ประกอบหลักของหินตะกอน เนื่องจากทนต่อการผุพังทางเคมี |
18. | ____ | ดิน (soil) ก่อตัวมาจากการผุพังของหินรวมกับอินทรียวัตถุที่ย่อยสลาย |
19. | ____ | หินตะกอนเคมี เกิดจากอนุภาคที่ได้จากการเปลี่ยนสภาพหินเนื่องจากการผุพังทางเคมี |
20. | ____ | ตะกอน (sediment) เกิดจากการผุพังของ หินตะกอน (sedimentary rock) |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. หินดินดาน (shale) เกิดจากวัสดุชนิดใด
ก. | ตะกอนขนาดทราย | ข. | ซากพืชซากสัตว์ | |
ค. | ตะกอนขนาดดิน | ง. | ตะกอนขนาดทรายแป้ง |
2. ข้อใดคือ หินตะกอนชีวเคมี (biochemical sedimentary rock)
ก. | หินทราย (sandstone) | ข. | ถ่านหิน (coal) | |
ค. | หินดินดาน (shale) | ง. | หินกรวดมน (conglomerate) |
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องกับ หินตะกอนเนื้อเม็ด (detrital sedimentary rock)
ก. | เกิดจากการพัดพาโดยลม น้ำ หรือธารน้ำแข็ง | ข. | เกิดจากการผุพังทางกายภาพ ของหินอื่นๆ | |
ค. | แยกตามขนาดตะกอน | ง. | ถูกทุกข้อ |
4. สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนแบบใดที่มีโอกาสน้อยที่สุดที่จะพบตะกอนขนาดทราย
ก. | เนินตะกอนรูปพัด (fan) | ข. | หน้าหาด (beach) | |
ค. | ทะเลทราย (desert) | ง. | ธารน้ำแข็ง (glacier) |
5. สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนแบบใดที่มีโอกาสทำให้เกิดโครงสร้างตะกอนแบบรอยริ้วคลื่น (ripple mark)
ก. | ธารน้ำ (stream) | ข. | ทะเลทราย (desert) | |
ค. | ใกล้ชายฝั่ง (near shore) | ง. | ถูกทุกข้อ |
6. โครงสร้างทางตะกอนแบบใดที่บ่งชี้สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนแบบแห้งแล้ง
ก. | ชั้นตะกอนเรียงขนาด (graded bed) | ข. | ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) | |
ค. | รอยริ้วคลื่น (ripple mark) | ง. | ระแหงโคลน (mudcrack) |
7. ความแตกต่างระหว่าง breccia และ conglomerate คืออะไร
ก. | ขนาดตะกอน | ข. | แร่องค์ประกอบ | |
ค. | รูปร่างตะกอน | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
8. ตะกอนชนิดใดพบมากที่สุดในโลก
ก. | ตะกอนเนื้อเม็ดขนาดใหญ่ (coarse clastic) | ข. | ตะกอนเนื้อเม็ดขนาดเล็ก (fine clastic) | |
ค. | ตะกอนเคมี (chemical sediment) | ง. | ตะกอนชีวเคมี (biochemical sediment) |
9. ข้อใดคือปัจจัยที่สามารถพัดพาตะกอนขนาดทรายได้
ก. | แม่น้ำ | ข. | ลม | |
ค. | คลื่นในมหาสมุทร | ง. | ถูกทุกข้อ |
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ชั้นตะกอนเรียงขนาด (graded bed)
ก. | ขนาดตะกอนใหญ่ขึ้นจากล่างขึ้นบนของชั้นตะกอน | ข. | ขนาดตะกอนเล็กลงจากล่างขึ้นบนของชั้นตะกอน | |
ค. | มีการปะปนกันของตะกอนหลากหลายขนาด | ง. | พบเฉพาะบริเวณไหล่ทวีป |
11. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมการสะสมตัวใน ระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional deposit)
ก. | เนินตะกอนรูปพัด (fan) | ข. | บ่าทวีป (continental shelf) | |
ค. | ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) | ง. | ไหล่ทวีป (continental slope) |
12. สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนแบบใดที่มีโอกาสพบโครงสร้างทางตะกอนแบบรอยริ้วคลื่นสมมาตร (oscillatory ripple mark)
ก. | เนินตะกอนรูปพัด (fan) | ข. | หน้าหาด (beach) | |
ค. | ทะเลทราย (desert) | ง. | ธารน้ำแข็ง (glacier) |
13. ข้อใดคือหินทรายที่มีองค์ประกอบหลักเป็น เศษชิ้นหิน (rock fragment) และ แร่ดิน (clay mineral)
ก. | arkose | ข. | litharenite | |
ค. | quartzarenite | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
14. ข้อใดคือหินทรายที่มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่เฟลด์สปาร์
ก. | arkose | ข. | litharenite | |
ค. | quartzarenite | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
15. ตะกอนที่ถูกทับถมลึกลงไป 3 กิโลเมตร ใต้พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิโดยประมาณเท่าใด
ก. | 0 องศาเซลเซียส | ข. | 100 องศาเซลเซียส | |
ค. | 300 องศาเซลเซียส | ง. | 1,000 องศาเซลเซียส |
16. เศษเปลือกหอยในทะเลมีองค์ประกอบหลักเป็นอะไร
ก. | ซิลิกา (SiO2) | ข. | แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) | |
ค. | แคลเซียมฟอสเฟต (Ca3 (PO4) 2) | ง. | แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) |
17. ข้อใด ไม่ใช่ โครงสร้างที่สัมพันธ์กับหินตะกอน
ก. | การวางชั้น (bedding) | ข. | ริ้วลาย (foliation) | |
ค. | ฟอสซิล (fossil) | ง. | ระแหงโคลน (mudcrack) |
18. ข้อใดเรียงลำดับขนาดตะกอนจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง
ก. | หินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน | ข. | หินทราย หินกรวดมน หินทรายแป้ง | |
ค. | หินกรวดมน หินทราย หินทรายแป้ง | ง. | หินทรายแป้ง หินทราย หินกรวดมน |
19. กำหนดให้ชั้นหินจากล่างขึ้นบนดังนี้ ถ่านหิน หินทราย หินปูน หินทราย และถ่านหิน จากชั้นหินเหล่านี้ สภาพแวดล้อมการสะสมตัวในอดีตควรเป็นแบบใด
ก. | ภูมิอากาศเปลี่ยนจากอบอุ่นและเย็นกลับไป-มา | ข. | น้ำทะเลรุกสูงเข้าไปในฝั่งและถอยร่นอีกครั้ง | |
ค. | น้ำทะเลถอยร่นและรุกขึ้นสูงอีกครั้ง | ง. | ปริมาณน้ำฝนลดลงและเพิ่มขึ้นอีกครั้ง |
20. ข้อใดคือ หินตะกอนชีวภาพ (biological sedimentary rock)
ก. | หินเฮไลด์ (halite) | ข. | หินปูน (limestone) | |
ค. | หินเชิร์ต (chert) | ง. | ถ่านหิน (coal) |
21. กระบวนการใดไม่เกิดในช่วง การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ของหินตะกอน
ก. | การอัดแน่น (compaction) | ข. | การเชื่อมประสาน (cementation) | |
ค. | การแข็งเป็นหิน (lithification) | ง. | การแปรสภาพหิน (metamorphism) |
22. ตะกอนที่ถูกพัดพาโดยธารน้ำแข็ง เมื่อใช้เวลานานขึ้น ตะกอนจะมีลักษณะอย่างไร
ก. | มีความมนมากขึ้น | ข. | มีขนาดเล็กลง | |
ค. | มีความมนมากขึ้นและมีขนาดเล็กลง | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
23. ตะกอนที่ถูกพัดพาโดยกระบวนการทางน้ำ เมื่อใช้เวลานานขึ้น ตะกอนจะมีลักษณะอย่างไร
ก. | มีความมนมากขึ้น | ข. | มีขนาดเล็กลง | |
ค. | มีความมนมากขึ้นและมีขนาดเล็กลง | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
24. ถ่านหิน (coal) คือ หินตะกอนชนิดใด
ก. | clastic | ข. | evaporite | |
ค. | biochemical | ง. | detrital |
25. หินชนิดใดที่โดยส่วนใหญ่พบซากของพืชและสัตว์ติดอยู่ในชั้นหิน
ก. | หินปูน (limestone) | ข. | ถ่านหิน (peat) | |
ค. | หินทราย (sandstone) | ง. | หินกรวดเหลี่ยม (breccia) |
26. หินตะกอนอิ่มตัว (mature sedimentary rock) มีลักษณะเฉพาะอย่างไร
ก. | ตะกอนประกอบด้วยแร่ที่ไม่เสถียร | ข. | มีความหลากหลายของขนาดตะกอน | |
ค. | ตะกอนมีความกลมและมนสูง | ง. | ตะกอนประกอบด้วยแร่ที่เสถียร |
27. แร่ที่มีความเสถียรมากที่สุดในหินตะกอนคือแร่ชนิดใด
ก. | แร่ควอต์ซ (quartz) | ข. | แร่แอมฟิโบล (amphibole) | |
ค. | แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) | ง. | แร่โอลิวีน (olivine) |
28. ชั้นตะกอนเรียงขนาด (graded bed) โดยปกติสัมพันธ์กับข้อใด
ก. | น้ำเคลื่อนที่เร็วและชะลอความเร็วลงอย่างช้าๆ | ข. | น้ำเคลื่อนที่ช้าและเพิ่มความเร็วขึ้นตามลำดับ | |
ค. | ความเร็วน้ำคงที่ | ง. | ตะกอนสะสมตัวบนพื้นที่แห้ง |
29. ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) โดยปกติสัมพันธ์กับข้อใด
ก. | มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสะสมตัวและการกรัดกร่อน | ข. | น้ำเคลื่อนที่เร็วและชะลอตัวลงอย่างช้าๆ | |
ค. | น้ำมีคลื่นที่มีพลังงานคงที่ | ง. | ตะกอนสัมผัสอากาศเป็นช่วง |
30. ข้อใดคือ หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock)
ก. | หินปูน | ข. | ยิปซั่ม | |
ค. | หินเกลือ | ง. | ถูกทุกข้อ |
31. รอยริ้วคลื่น (ripple mark) โดยทั่วไปเกิดจากกระบวนการใด
ก. | มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสะสมตัวและการกรัดกร่อน | ข. | น้ำเคลื่อนที่เร็วและชะลอตัวลงอย่างช้าๆ | |
ค. | น้ำมีคลื่นที่มีพลังงานคงที่ | ง. | ตะกอนสัมผัสอากาศเป็นช่วง |
32. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ หินปูน (limestone)
ก. | องค์ประกอบของหินปูนคือแร่แคลไซต์ | ข. | หินปูนละลายได้ในสารละลายกรดคาร์บอนิก | |
ค. | หินปูนละลายได้ในน้ำบริสุทธิ์ | ง. | ถูกทุกข้อ |
33 หินชนิดใดที่มีแนวโน้มการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบบนบกและแห้งแล้ง
ก. | หินดินดาน (shale) | ข. | หินโคลน (mud rock) | |
ค. | หินทรายสีแดง (red sandstone) | ง. | หินโดโลไมต์ (dolomite) |
34. ข้อใดมีแนวโน้มที่บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมแบบทะเลทราย (desert)
ก. | ชั้นตะกอนขวาง (cross bed)ขนาดใหญ่ | ข. | หินเกลือระเหย (evaporate) | |
ค. | ถ่านหิน (coal) | ง. | ระแหงโคลน (mudcrack) |
35. สภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบใด สามารถสร้างลักษณะของ ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) ได้
ก. | เนินทราย (sand dune) | ข. | เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) | |
ค. | สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) | ง. | ถูกทุกข้อ |
36. หินชนิดใดที่เกิดจาก กระบวนการระเหย (evaporation) เป็นหลัก
ก. | หินดินดาน | ข. | หินโคลน | |
ค. | หินเกลือ | ง. | หินโดโลไมต์ |
37. ข้อใดคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหินกรวดเหลี่ยมและหินกรวดมน
ก. | ขนาดตะกอน | ข. | สีตะกอน | |
ค. | รูปร่างตะกอน | ง. | แร่องค์ประกอบ |
38. เม็ดตะกอนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร เรียกว่าอะไร
ก. | clay | ข. | sand | |
ค. | silt | ง. | gravel |
39. rounding คืออะไร
ก. | การผุพังของขอบของหินที่แหลมคมเมื่อโผล่พ้นพื้นผิวโลก | ข. | การขัดสีขอบที่แหลมคมของตะกอนในระหว่างการพัดพา | |
ค. | ตะกอนมีความกลมและมนสูง | ง. | ถูกทุกข้อ |
40. การอัดแน่น (compaction) และ การเชื่อมประสาน (cementation) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการใด
ก. | metamorphism | ข. | transportation | |
ค. | sedimentation | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
41. ระแหงโคลน (mudcrack) เกิดจากกระบวนการใด
ก. | มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสะสมตัวและการกรัดกร่อน | ข. | น้ำเคลื่อนที่เร็วและชะลอตัวลงอย่างช้าๆ | |
ค. | น้ำมีคลื่นที่มีพลังงานคงที่ | ง. | ตะกอนสัมผัสอากาศเป็นช่วง |
42. หินทราย (sandstone) และ หินกรวดมน (conglomerate) แตกต่างกันอย่างไร
ก. | ขนาดตะกอน | ข. | ความกลมและมน | |
ค. | องค์ประกอบ | ง. | ถูกทุกข้อ |
43. ข้อใดคือชนิดของหินทราย
ก. | breccia | ข. | arkose | |
ค. | conglomerate | ง. | ถูกทุกข้อ |
44. หากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นหรือพื้นที่ชายฝั่งเกิดการทรุดตัว กระบวนการใดควรเกิดขึ้น
ก. | transportation | ข. | transgression | |
ค. | tidal wave | ง. | regression |
45. กระบวนการที่ทำให้หินขนาดใหญ่ย่อยกลายเป็นเม็ดตะกอนเรียกว่าอะไร
ก. | metamorphism | ข. | transportation | |
ค. | weathering | ง. | abrasion |
46. หินตะกอนที่ประกอบด้วยตะกอนขนาด กรวด (gravel) และมีความกลมและมนสูงคือหินอะไร
ก. | gravelstone | ข. | conglomerate | |
ค. | sandstone | ง. | breccia |
47. ตะกอนที่มีขนาดเล็กกว่า 1/256 มิลลิเมตร เรียกว่าอะไร
ก. | cobble | ข. | boulder | |
ค. | clay | ง. | gravel |
48. ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) ที่พบใน เนินทราย (dune) เป็นหลักฐานบ่งชี้เกี่ยวกับอะไร
ก. | ความสูงของเนินทราย | ข. | ทิศทางลม | |
ค. | สภาพแวดล้อมการสะสมตัวโบราณ | ง. | ถูกทุกข้อ |
49. หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ชนิดใดพบมากที่สุด
ก. | หินปูน (limestone) | ข. | หินทราย (sandstone) | |
ค. | หินโคลน (mud rock) | ง. | หินอาร์โคส (arkose) |
50. หินปูน (limestone) มีองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่เป็นแร่แคลไซต์ ซึ่งถูกแยกออกมาจากน้ำทะเลด้วยกระบวนการใด
ก. | inorganic chemical reaction | ข. | chemical weathering | |
ค. | organism | ง. | lithification |
51. หินโดโลไมต์ (dolomite) คือ หินที่เกิดจากการเพิ่มแร่ชนิดใดเข้าไปในหินปูน
ก. | แร่แคลเซียม (calcium) | ข. | แร่คาร์บอเนต (carbonate) | |
ค. | แร่เหล็ก (iron) | ง. | แร่แมกนีเซียม (magnesium) |
52. ข้อใดคือกระบวนการตกผลึกของแร่ที่ถูกละลายและตกตะกอนในช่องว่างของรูพรุนของเม็ดตะกอนและเชื่อมเม็ดตะกอนเข้าด้วยกัน
ก. | compaction | ข. | rounding | |
ค. | weathering | ง. | cementation |
53. หินกรวดเหลี่ยม (breccia) เป็นหินที่โดยส่วนใหญ่พบได้ยากเนื่องจากสาเหตุใด
ก. | กรวดถูกขัดสีให้กลมมนได้เร็วระหว่างการพัดพา | ข. | การสะสมตัวของทรายมีการคัดขนาดที่ดีในธรรมชาติ | |
ค. | แร่ดินอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าตะกอนอื่น | ง. | แร่เฟลด์สปาร์ไม่เสถียรในทางองค์ประกอบทางเคมี |
54. ข้อใดคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock)
ก. | เศษหอยแตกหัก (shell fragment) | ข. | ไอออนในสารละลาย (ion solution) | |
ค. | รอยริ้วคลื่น (ripple mark) | ง. | ทราย (sand) |
55. ตะกอนที่มีเม็ดตะกอนขนาดใกล้เคียงกันเรียกว่าอะไร
ก. | well sorted | ข. | poorly rounded | |
ค. | sandstone | ง. | lithified |
56. กระบวนการที่ตะกอนในทะเลถูกพัดพามาสะสมตัวบนชายฝั่งเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เรียกว่าอะไร
ก. | superposition | ข. | regression | |
ค. | invasion | ง. | transgression |
57. การจำแนกตะกอนชนิดเนื้อเม็ด (clastic) ใช้อะไรเป็นเกณฑ์
ก. | sorting | ข. | dessication | |
ค. | graduating | ง. | collimating |
58. ข้อใดสามารถนำมาใช้กำหนดทิศทางของ กระแสน้ำบรรพกาล (paleocurrent)
ก. | mudcrack | ข. | graded bedding | |
ค. | turbidity current | ง. | cross bedding |
59. ข้อใดคือ ถ่านหิน (coal)
ก. | หินตะกอนชนิดเนื้อเม็ด | ข. | พบร่วมกับหินปูนเสมอ | |
ค. | เกิดจากการระเหยของน้ำ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
60. หินดินดาน (shale) แตกต่างจาก หินทรายแป้ง (siltstone) อย่างไร
ก. | ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก | ข. | เม็ดตะกอนในหินดินดานมีความมนกว่าหินทรายแป้ง | |
ค. | เม็ดตะกอนในหินดินดานมีขนาดเล็กกว่าหินทรายแป้ง | ง. | เม็ดตะกอนในหินดินดานมีขนาดใหญ่กว่าหินทรายแป้ง |
61. ข้อใดคือ clastic sedimentary rock
ก. | เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตที่หลงเหลืออยู่ | ข. | เกิดจากการเชื่อมประสานตะกอนเข้าด้วยกัน | |
ค. | เกิดจากการระเหยของน้ำ | ง. | เกิดจากการหลอมเหลวของหิน |
62. การสะสมตัวของแร่ดินและพัฒนากลายเป็นหินแข็ง ทำให้เกิดหินชนิดใด
ก. | หินปูน (limestone) | ข. | หินดินดาน (shale) | |
ค. | หินทราย (sandstone) | ง. | หินอีแวพอไรท์ (evaporite) |
63. หินกรวดเหลี่ยม (breccia) ต่างจาก หินกรวดมน (conglomerate) อย่างไร
ก. | หินกรวดมนมีแร่ควอตซ์เป็นหลัก | ข. | หินกรวดมนมีความกลมมากกว่า | |
ค. | หินกรวดมนมีขนาดที่ใหญ่กว่า | ง. | หินกรวดมนมีความมนมากกว่า |
64. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่สุดของหินตะกอน
ก. | มีขนาดตะกอนที่หลากหลาย | ข. | มีการวางตัวและลำดับชั้นหิน | |
ค. | เป็นแหล่งสะสมอินทรียวัตถุ | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
65. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเกิด หินโคลน (mudstone)
ก. | ชายฝั่ง | ข. | ริมตลิ่งธารน้ำ | |
ค. | เนินตะกอนรูปพัด | ง. | ทะเลสาบ |
66. การเปลี่ยนแปลงขนาดตะกอนในแนวดิ่งเรียกว่าอะไร
ก. | lamination | ข. | cross bedding | |
ค. | graded bedding | ง. | foliation |
67. รอยริ้วคลื่น (ripple mark) สามารถใช้บอกสภาพแวดล้อมในอดีตอย่างไร
ก. | ทิศทางการไหลของน้ำ | ข. | จำแนกน้ำขึ้น-น้ำลง | |
ค. | ความเร็วของกระแส | ง. | ถูกทุกข้อ |
68. ข้อใดคือตัวเชื่อมประสานให้เม็ดตะกอนยึดติดกันเป็นหินตะกอน
ก. | cement | ข. | porosity | |
ค. | fossil | ง. | silt |
69. ธาตุใดพบในหินโดโลไมต์ (dolomite) แต่พบน้อยมากในหินปูน (limestone)
ก. | ออกซิเจน | ข. | คาร์บอน | |
ค. | แมกนีเซียม | ง. | แคลเซียม |
70. ตะกอนขนาดดินมีขนาดเท่าใด
ก. | > 2 เมตร | ข. | 2-10 เซนติเมตร | |
ค. | < 1/256 มิลลิเมตร | ง. | 5 มิลลิเมตร |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ข | 2. | จ | 3. | ช | 4. | ง | 5. | ญ | ||||
6. | ค | 7. | ฉ | 8. | ซ | 9. | ฌ | 10. | ก |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | T | 2. | F | 3. | T | 4. | F | 5. | T | ||||
6. | T | 7. | T | 8. | F | 9. | F | 10. | T | ||||
11. | F | 12. | T | 13. | T | 14. | T | 15. | F | ||||
16. | F | 17. | T | 18. | T | 19. | F | 20. | F |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ค | 2. | ข | 3. | ง | 4. | ง | 5. | ง | ||||
6. | ข | 7. | ค | 8. | ข | 9. | ง | 10. | ข | ||||
11. | ค | 12. | ข | 13. | ข | 14. | ก | 15. | ข | ||||
16. | ค | 17. | ง | 18. | ค | 19. | ข | 20. | ง | ||||
21. | ง | 22. | ข | 23. | ค | 24. | ค | 25. | ข | ||||
26. | ง | 27. | ง | 28. | ก | 29. | ก | 30. | ง | ||||
31. | ค | 32. | ค | 33. | ค | 34. | ก | 35. | ง | ||||
36. | ค | 37. | ค | 38. | ง | 39. | ข | 40. | ค | ||||
41. | ง | 42. | ก | 43. | ข | 44. | ข | 45. | ค | ||||
46. | ข | 47. | ค | 48. | ข | 49. | ค | 50. | ค | ||||
51. | ง | 52. | ง | 53. | ก | 54. | ง | 55. | ก | ||||
56. | ง | 57. | ก | 58. | ง | 59. | ง | 60. | ค | ||||
61. | ข | 62. | ข | 63. | ง | 64. | ข | 65. | ง | ||||
66. | ค | 67. | ก | 68. | ก | 69. | ค | 70. | ค |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. อธิบาย กระบวนการพัดพา (erosion) ของตะกอนที่ส่งผลต่อขนาด ความกลมและมนของตะกอน
2. กระบวนการเกิดหินตะกอนมีอะไรบ้าง
3. สภาพแวดล้อมที่ทำให้ได้ กรวดเหลี่ยม (breccia) มีอะไรบ้าง
4. หินตะกอนภูเขาไฟ (agglomerate) และ กรวดภูเขาไฟ (phyroclastic) แตกต่างกันอย่างไร
5. หินปูนที่มีฟอสซิล (fossiliferous limestone) และ หินโคคีนา (coquina) แตกต่างกันอย่างไร
6. ถ่านหิน (coal) จำแนกย่อยเป็นอะไรได้บ้าง และใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก
7. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการสะสมตัวของทรายและก่อตัวเป็นหินทรายมีอะไรบ้าง
8. อธิบาย กระบวนการเกิดไม้กลายเป็นหิน (petrified wood) เหตุใดต้นไม้จึงไม่เน่าเปื่อยเหมือนกับสภาวะปกติโดยทั่วไป
9. อธิบายหลักการแปลความหมายกระแสน้ำโบราณจากหลักฐาน ชั้นตะกอนขวาง (cross bedding)
10. ยกตัวอย่างประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาตะกอนและหินตะกอน
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth