Monthly Archives: เมษายน 2020

วิจัย

กว่า 4 ทศวรรษ พัฒนาการการประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญมากมาย ซึ่งจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว บันทึกประวัติศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลธรณีวิทยาแผ่นดินไหว บ่งชี้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง ซึ่งจากการประมวลผล ความไหวสะเทือนเท่า (isoseismal map) ที่เคยมีการรายงานไว้ในอดีต Pailoplee (2012) สรุปว่าในช่วงปี ค.ศ. 1912-2012 ประเทศไทยเคยได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหวหลายครั้งในระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว II-VII ตาม ...
เรียนรู้

ทอร์นาโด (Tornado) : เล็ก เรียว แต่รุนแรง

ทอร์นาโด (tornado) คือ พายุที่มีลักษณะคล้ายกับงวงช้างสีดำ ห้อยลงมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 กิโลเมตร แต่มีการหมุนวนของลมด้วยความเร็วสูง บางครั้งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งภายในมวลพายุประกอบด้วยไอน้ำและฝุ่นละออง ตลอดจนวัตถุต่างๆ ที่ถูกลมพัดลอยเข้ามาในตัวพายุ เนื่องจากเมื่อพายุเคลื่อนไปพื้นที่ใด ฐานของพายุจะกวาดทุกอย่างบนพื้นขึ้นไปด้วย ทอร์นาโดเกิดจากมวลอากาศที่เย็นและหนักกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้มวลของอากาศที่อบอุ่นและเบากว่า ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวในภาคตะวันตกของประเทศไทย : นัยสำคัญถึงแผ่นดินไหวในอนาคต

ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ประเทศไทยและเพื่อนบ้านตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) ซึ่งในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย (Indo-Australia Plate) กำลังวิ่งชนและมุดลงไปใต้แผ่นยูเรเซียบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ผลจากการชนกันทำให้เกิดแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน บีบอัดแผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นและยกตัวสูงขึ้นกลายเป็น แนวเทือกเขาอาระกัน (Arakan-Yoma thrust range) ทางฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า นอกจากนี้แรงเค้นดังกล่าวยังส่งผลเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนรอยต่อ ระหว่างภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคใต้ของประเทศพม่า ผลที่ได้คือเกิดกลุ่มรอยเลื่อนมากมายในแถบนั้น ...
เรียนรู้

รู้จักแนวปะทะอากาศ รู้จักเมฆฝน

มวลอากาศ (air mass) หมายถึง กลุ่มของอากาศขนาดใหญ่ ที่มีอุณหภูมิและความชื้นใกล้เคียงกันในแนวระดับ โดยแหล่งกำเนิดของมวลอากาศในแต่ละที่จะมีสภาพแวดล้อมที่เฉพาะตัวทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่คงที่ ทำให้มีเวลาพอต่อการถ่ายเทพลังงานจากพื้นที่สู่อากาศ ซึ่งทั้งความแตกต่างของอุณภูมิและความชื้นในแต่ละพื้นที่จะส่งผลต่อลักษณะของมวลอากาศเหล่านั้น เช่น พื้นทวีปหรือทะเล และบริเวณศูนย์สูตรหรือขั้วโลก โดยภาพรวม แหล่งกำเนิดมวลอากาศที่สำคัญของโลก ได้แก่ บริเวณเขตร้อน (tropical) และขั้วโลก ...
เรียนรู้

แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว : หน้าตา นิสัย และหน่วยวัด

ถ้าจะเอาแบบกำปั้นทุบดิน ตอบแบบตีหน้าซื่อ แผ่นดินไหว (earthquake หรือ quake หรือ tremor) ก็คงหมายถึง แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ดังนั้นอะไรก็ตามที่พอจะทำให้พื้นดินที่เราย่ำ เกิดอาการสั่นสะท้าน ก็เหมารวมกันไปได้เลยว่าเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว ทั้งการตอกเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสร้างบ้าน รถวิ่งบนถนน หรือแม้กระทั่งลูกมะพร้าวหล่นกระแทกพื้น ฯลฯ แต่ก็รู้ๆ ...
เรียนรู้

มหาสมุทรและเทคนิคการหยั่งความลึก

โลกประกอบด้วยแผ่นดินประมาณ 29% ของพื้นผิวโลกทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก 71% หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 361×106 ตารางกิโลเมตร นั้นเป็นส่วนของมหาสมุทร โดยซีกโลกเหนือถือเป็น ซีกโลกแห่งแผ่นดิน (land hemisphere) ในขณะที่ซีกโลกใต้ เรียกว่า ซีกโลกแห่งน้ำ (water hemisphere) ...
เรียนรู้

ปิโตรเลียมและการสำรวจ : ความรู้เบื้องต้น

ปิโตรเลียม (petroleum) คือ สารผสมที่มีองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนโครงสร้างซับซ้อน มีคุณสมบัติในการเผาไหม้และให้พลังงานสูง ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด ตามสถานะ คือ 1) น้ำมันดิบ (crude oil) มีสถานะเป็นของเหลว โดยทั่วไปมีสีดำหรือสีน้ำตาล สามารถเปลี่ยนรูปมันเป็นเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่องยนต์ และแก๊ซโซลีน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานพื้นฐานของโลกในปัจจุบัน ...
เรียนรู้

เขาใช้อะไรแบ่งโลกเป็นชั้นๆ (เปลือกโลก . เนื้อโลก . แก่นโลก)

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่าโลกนั้นแบ่งออกเป็นชั้นๆ ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด แต่องค์ความรู้นี้ไม่ได้เกิดจากการใช้เครื่องมือลงไปสำรวจ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถทำได้ เช่น การทำเหมืองใต้ดินสามารถขุดลึกลงไปได้ 3-4 กิโลเมตร ในขณะที่การขุดเจาะน้ำมันมีความลึกสูงสุด 6-7 กิโลเมตร นอกจากนี้จากการศึกษา หินแปลกปลอม (xenolith) ที่ติดมากับแมกมาและแข็งตัวกลายเป็นหินพบว่าหินดังกล่าวอยู่ที่ระดับความลึก 50-300 กิโลเมตร หรือแม้กระทั่งกระบวนการเกิด ...
เรียนรู้

ทะเลทรายกับการสะสมตัวของตะกอน

โดยปกติในพื้นที่ทะเลทราย ตัวพัดพาของตะกอนที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือลม ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จำแนกรูปแบบการพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ลมพัดพาตะกอนขนาดทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็กให้เคลื่อนที่ได้โดย การคืบคลาน (creep) หรือ การกลิ้ง (rolling) 2) การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ...
เรียนรู้

ภูมิประเทศน่าสนใจ ใต้มหาสมุทร

ผลการสำรวจพื้นมหาสมุทรในปัจจุบันบ่งชี้ว่า แอ่งมหาสมุทร (ocean basin) นั้นไม่ได้มีความราบเรียบทั่วทั้งมหาสมุทร แต่ประกอบด้วยภูมิลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างน้อย 3-4 รูปแบบ 1) ที่ราบมหาสมุทร ที่ราบมหาสมุทร (abyssal plain) หมายถึง พื้นที่ราบเรียบและลึก ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจาก ลาดทวีป (continental ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเทียบเคียง

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำหนดอายุสัมพัทธ์ ที่ศึกษาได้จากการลำดับชั้นหินและฟอสซิลดังที่อธิบายในข้างต้น การกำหนดอายุสัมบูรณ์ ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย เป็นหรือตาย ? จากนิยาม “รอยเลื่อนมีพลัง”

ในการประเมินระดับอันตรายแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis) (Kramer, 1996) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบสิ่งปลูกสร้างนั้น ตัวแปรสำคัญที่ควรพิจารณาให้ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด คือ แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อพื้นที่ศึกษา ทั้งในด้านรูปร่าง (ขนาดและทิศทางการวางตัว) และนิสัยใจคอ (พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว) ทั้งนี้เนื่องจากหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ครอบคลุม ผลการประเมินระดับแรงสั่นสะเทือนอาจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การออกแบบจากผลการประเมินที่ได้ยังคงไม่ปลอดภัยจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมากเกินไป ...
เรียนรู้

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

นึกภาพตามนะครับ ถ้าเราจะวัดความเร็วของรถไฟโดยจับคนวัดไปนั่งอยู่บนรถไฟ ถามว่าผลจะออกมาแบบไหน คำตอบคือคนวัดคงนั่งงง วัดอะไรไม่ได้เลย เพราะทั้งรถทั้งคนก็วิ่งไปพร้อมๆ กันด้วยความเร็วของรถไฟ เว้นเสียแต่คนวัดจะลงจากรถไฟมานั่งนิ่งๆ มองรถไฟวิ่งผ่านหน้าไป ก็คงพอจะเดาได้ว่ารถไฟกำลังวิ่งฉึกฉักหวานเย็น หรือวิ่งฟิ้ววววแบบไม่เห็นฝุ่น ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกโดยที่เราไม่สั่นไปพร้อมกับโลก เราคงต้องลอยนิ่งๆ เหนือพื้นโลกแล้วค่อยวัด จึงจะได้ระดับการสั่นไหวของโลกที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าจะต้องลงทุนกันขนาดนั้น ...
เรียนรู้

การวิเคราะห์และคัดกรองแผ่นดินไหวที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์

นอกจากแผ่นดินไหวทั่วไปที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวบางส่วนที่บันทึกไว้ได้ในปัจจุบันก็เป็น แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (man-made earthquake) เช่น การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ ซึ่งหากมีข้อมูลแผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในฐานข้อมูลแผ่นดินไหว มักจะทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานมีความคลาดเคลื่อน เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตจาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งนักแผ่นดินไหวหลายกลุ่ม (Zuniga และ Wyss, 1995; Toda ...
เรียนรู้

วิทยาศาสตร์โลก (Earth Science) และลูกๆ ของเขา

ความเชื่อเกี่ยวกับโลกในอดีต ในอดีตการศึกษาเกี่ยวกับโลกมีวิวัฒนาการมาจากการพัฒนาลัทธิความเชื่อ 3 ลัทธิ ได้แก่ 1) ลัทธิความหายนะ (Catastrophism) เกิดขึ้นในสมัยโบราณ โดยเชื่อว่าโลกเกิดขึ้นมาอย่างลี้ลับ เหนือความเข้าใจของมนุษย์ ทุกอย่างในโลกเกิดจากปรากฏการณ์ที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งลัทธินี้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาคริสต์ซึ่งเจริญรุ่งเรื่องในยุคนั้น 2) ลัทธิดุลยภาพ (Uniformitarianism) นำเสนอเป็นครั้งแรกโดย เจมส์ ...
เรียนรู้

ทรายพุและโคลนภูเขาไฟ

ทรายพุ (Liquefaction) ทรายพุ (liquefaction) หรือ ทรายเดือด (sand boil) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจจะดูแปลกตาสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในเชิงของภัยพิบัติ ทรายพุถือเป็นภัยพิบัติประเภทหนึ่งที่มีโอกาสสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้ หากทรายพุที่ว่ามีขนาดหรือสเกลใหญ่ๆ ซึ่งกระบวนการเกิดทรายพุเกิดจากพฤติกรรมเฉพาะของชั้นทรายชุ่มน้ำ ที่เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทรายจะสามารถเคลื่อนตัว แทรกดันและพุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกได้ และจากหลักคิดง่ายๆ ...
เรียนรู้

การหาอายุทางธรณีวิทยาและโบราณคดีจากสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกบรรพกาล

จากการศึกษาโครงสร้างภายในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีสถานะเป็นของเหลว และมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญของแก่นโลก และเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ของเหลวในแก่นโลกชั้นนอกไหลเวียน (Jacobson, 1975) และผลิต สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ตามหลักการพื้นฐานที่นำเสนอโดยไมเคิล ฟาราเดย์ ...
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777