วิจัย
Research
EP. 5 : การเผยแพร่ ผลงานวิจัย V.1
นอกจากการทำวิจัยให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์ตั้งต้นของการวิจัย อีกบทบาทสำคัญที่นักวิจัยจะต้องทำ เพื่อปิดจ๊อบงานวิจัยแต่ละชิ้นคือ การเผยแพร่ผลงานที่ได้ออกสู่สาธารณะ ซึ่งรูปแบบของการเผยแพร่ก็มีหลากหลายช่องทางในปัจจุบัน และมีเกรดความน่าเชื่อถือของการเผยแพร่แตกต่างกัน ตามที่คนวงวิชาการ ร่วมกันกำหนดกฏเกณฑ์ขึ้น ซึ่งโดยภาพรวม รูปแบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ทำๆ กันในปัจจุบัน ขมวดได้ประมาณนี้ 1) รายงานวิจัย (Research Report) รายงานวิจัย (research report) ...
ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ลาว-พม่า
1) แผ่นดินไหว x ลาว ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศลาวตั้งอยู่ห่างไกลจาก เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน แต่ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวอยู่ในประเทศลาวและพื้นที่ข้างเคียง เช่น รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู รอยเลื่อนแม่อิง (Mae Ing Fault; Fenton และคณะ, 2003) รอยเลื่อนน้ำมาและรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ...
รูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว ภูมิภาคอาเซียน
ในการศึกษา ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (earthquake hazard) ปัจจุบันมีลีลาการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น 1) การประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว (earthquake activity) ว่าในแต่ละพื้นที่ มีโอกาสแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แค่ไหนบ้าง หรือ 2) การประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต (prospective area) ที่อาศัยสัญญาณทางแผ่นดินไหววิทยาต่างๆ (เช่น ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน ...
EP. 4 : ลีลาการเขียนรูปเล่ม
การเขียนรายงานวิจัย (research writing) หรือ วิทยานิพนธ์ (thesis) เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่นักวิจัยจะต้องทำหลังจากทำวิจัยเสร็จสิ้น โดยเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยออกมาในรูปแบบของตัวหนังสือ ซึ่งก็ไม่รู้ว่านักวิจัยท่านอื่นทำกันยังไง แต่สำหรับพี่ ก็มีลีลาในการเขียนเล่มเฉพาะตัว ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เล่มโอเค เนื้อหาไม่หลุดโลก น้องๆ ที่สนใจลองเอาไปใช้กันดู เผื่อจะถูกจริต ก่อนอื่น พี่ขอให้น้องเอานิ้วออกจากแป้น (ใครแอบพิมพ์ ...
EP. 3 : การทำวิจัย
ในส่วนของการทำวิจัย แน่นอนว่าน้องแต่ละคนมีหัวข้อวิจัยในดวงใจที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละงานวิจัยก็มีธรรมชาติของการทำวิจัยที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นพี่คงไม่ขอก้าวล่วงในธรรมชาติการทำงานของแต่ละหัวข้อวิจัยเฉพาะ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พี่ว่าเราน่าจะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่ต่างกัน เราถูกสมมติให้เป็นนักวิจัยเหมือนกัน เรากำลังเดินทางด้วยเหตุและผลเหมือนกัน และพี่ก็เชื่อว่าบนเส้นทางสายนี้ น้องกับพี่ก็น่าจะพบกับสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะการทำงานที่คล้ายๆ กัน ทั้งใน มิติการทำงานและสภาพจิตใจ เอาเป็นว่า อะไรที่พี่เคยผ่านมา และพี่คิดว่ามันพอจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ พี่ขอแชร์ไว้ให้ตรงนี้ 1) ปริญญา ...
EP. 2 : การเขียน โครงร่างงานวิจัย
โครงร่างการวิจัย (research proposal) หมายถึง แผนการดำเนินงานวิจัย ที่ปลุกปั้นขึ้นมาก่อนที่น้องจะทำวิจัย ซึ่งการเขียนโครงร่างการวิจัยมีประโยชน์อะไร ไม่เขียนได้ไหม น้องๆ ลองดู … แล้วจะเริ่มเขียนยังไง แบ่งหัวข้อแบบไหน แล้วต้องบอกอะไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าดี ก็ถ้าพูดกันตรงๆ จะเขียนยังไงก็ได้ ที่เล่าเรื่องแล้ว ทำให้คนให้ทุนเห็นภาพว่างานนี้จะทำได้ดีและสำเร็จ แต่ก็นั่นแหละ ...
EP. 1 : วิจัย คืออะไร
เมื่อน้องๆ เลือกที่จะเดินเข้าสู่ดินแดน อุดมศึกษา ภารกิจด่านสุดท้ายก่อนที่จะได้มาซึ่ง ใบปริญญา ไม่ว่าจะเป็นคุณวุฒิ ตรี โท หรือ เอก น้องๆ จะต้องผ่านการทำ วิจัย (research) ในหัวข้อที่ตัวเองถนัดหรือสนใจ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประมวลองค์ความรู้ และฝึกใช้ความรู้ที่น้องได้ร่ำเรียนมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปี คำถามคือแล้ว ...
สืบเส้นทางเกวียนโบราณ จากศาสตร์ ภูมินาม-ภูมิสารสนเทศ
ถึงแม้ว่าการคมนาคมในปัจจุบัน จะมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อซักประมาณ 100 ปีก่อน เมืองไทยก็มีตัวเลือกอยู่ไม่มาก นอกเหนือจากการคมนาคมทางเรือที่ดูฟูฟ่าในช่วงนั้น แต่ทางบกก็เห็นจะมีแค่ ม้า หรือ วัว-ควายเทียมเกวียน ที่พอจะเป็นสรณะได้ เพราะจากประวัติที่สืบย้อนกลับไป รถยนต์คันแรกของไทย คือของ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ...
ตามรอยหนุ่ม-สาว อังกอร์ เลาะบ้านมีไฟ
ในช่วงที่อาณาจักร อังกอร์ (พุทธศตวรรษที่ 14-18) เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นอกจากปราสาทนครวัด-นครธม หรือ เมืองพระนคร ยังมีการก่อสร้างปราสาทสำคัญๆ อีกมากมายกระจายตัวอยู่โดยรอบของประเทศกัมพูชาปัจจุบัน รวมทั้งภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเพื่อให้การเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองหลักและเมืองรองต่างๆ กษัตริย์หรือผู้นำอาณาจักร จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเมือง ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดี พบว่าปัจจุบันมีเส้นทางสายหลักอย่างน้อย 5 เส้นทางได้แก่ เส้นทางที่วิ่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากเมืองพระนครสู่ ...
ฝูงแผ่นดินไหวจิ๋ว ภาคเหนือของไทย : ปุจฉา-วิสัชนา
แผ่นดินไหว – วิเคราะห์โดย : เชาว์วรรธน์ สิงห์ทอง และ สันติ ภัยหลบลี้ ในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 เกิด กลุ่มแผ่นดินไหวขนาด 1.0-3.0 ...
เส้นทางโบราณ ขึ้นเขาพนมรุ้ง
พนมรุ้ง – วิเคราะห์และเรียบเรียง : สุวภา ศรีสัตยเสถียร, เกชา เจริญศิริมณี และ สันติ ภัยหลบลี้ นอกเหนือจากปราสาทตาควาย ปราสาทพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทเล็กๆ น้อยๆ อีกว่าหลักร้อย ในแถบภาคอีสานตอนล่าง ปราสาทพนมรุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งในแลนด์มาร์คทางศาสนาที่สำคัญของ ...
อยากรู้นิสัยแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ควรใส่ใจแผ่นดินไหวเล็กๆ
แผ่นดินไหว – ในการเฝ้าติดตาม ตรวจจับและตรวจวัดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ยิ่ง เครือข่ายการตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นถือเป็นเรื่องดี !!! บางท่านอาจจะสงสัยว่าแผ่นดินไหวเล็กๆ จะไปกลัวกันทำไม จะไปมองมันทำไมให้เสียเวลา เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า โดยธรรมชาติของการเกิดภัย (รวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วยนะ) แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่แผ่นดินไหวใหญ่ นานๆ จะเกิดที และในบางพื้นที่แผ่นดินไหวใหญ่เกิดน้อยเกินไป ...
สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์
หากพูดถึงกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะบทสนทนาที่ว่าด้วยปริมาณ ประโยคจะสมบูรณ์จบลงได้ก็ควรจะต้องมีหน่วยชั่ง-ตวง-วัดเข้ามากำกับ “ป้าครับ !!! ขอนม 1 ขวด แก้ว 1 ใบ แล้วก็เพื่อนข้างกายซัก 1 คน” ขวด–ใบ–คน คือ หน่วยวัดสำคัญที่จะทำให้เครื่องรับและเครื่องส่งประมวลผลการสื่อสารไปในทิศทางเดียว เรื่องของแผ่นดินไหวก็เช่นกัน หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ก็ได้ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล ...
ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน กับพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว
เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ...
ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวในภาคเหนือของไทย กับพื้นที่เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว
นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบและมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ เช่น รอยเลื่อนแม่จัน ในจังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนปัว ในจังหวัดน่าน รอยเลื่อนลำปาง-เถิน ในจังหวัดลำปาง และรอยเลื่อนแม่ทา ในจังหวัดเชียงใหม่ ...
การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : นัยสำคัญถึงแผ่นดินไหวใหญ่ในอนาคต
เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ...
อัตราการเกิดแผ่นดินไหวในพม่าเปลี่ยนไป ซึ่งค่อนข้างจะไม่ใช่เรื่องดี
ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ด้วยความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ ทำให้รอยเลื่อนสะกายถือว่าเป็นรอยเลื่อนยักษ์ที่อยู่ใกล้คนมากเกินไปและไม่น่าไว้ใจในอนาคต คำว่า Sagaing Fault เมื่อก่อนคนไทยเคยอ่าน รอยเลื่อนสะเกียง ฝรั่งต่างชาติอ่าน รอยเลื่อนสะแกง ต่อมาคนพม่าบอกว่าบ้านเขาเรียก รอยเลื่อนสะกาย ทุกวันนี้สรุปเรียกให้ตรงกันว่า รอยเลื่อนสะกาย ตามคนพม่าเจ้าของพื้นที่ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยมีการบันทึกไว้ในอดีต (Milne, 1911; Chhibber, 1934; ...
แรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานในภาคเหนือของไทย กับการประเมินพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในอนาคต
นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน (Mae Chan ...
ความเงียบทางฝั่งตะวันตกของไทยจากแผ่นดินไหว : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยง
ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับแอ่งที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริเวณชายแดนภาคตะวันตกของประเทศไทย-พม่า จึงมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว (Charusiri และคณะ, 2007) อย่างไรก็ตามจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียมรวมทั้งการสำรวจธรณีวิทยาแผ่นดินไหวบ่งชี้ว่ามีรอยเลื่อนมีพลังกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เช่น รอยเลื่อนพานหลวง (Pan Luang Fault; Nutalaya และคณะ, 1985) รอยเลื่อนผาปูน (Pa Pun Fault; Nutalaya ...
การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในอนาคต
เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกขนานไปกับแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกิดจากการชนกันในแนวเหนือ-ใต้ของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) ทำให้แนวหมู่เกาะอินโดนีเซียยังคงมีภูเขาไฟมีพลังและกิจกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิเกิดขึ้นตลอดแนวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ในเรื่องของแผ่นดินไหว เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมต่ำกว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน ในแถบบ้านเรา ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ดังกล่าว บ่งชี้ว่าไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด > 8.6 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 (Newcomb ...