สำรวจ

เขามีดอีโต้ – ธรณีวิทยาพาเที่ยว EP. 17

ภูมิประเทศเควสตา (cuesta topography) หรือ ภูเขารูปมีดอีโต้ คือ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวภูเขาที่มีสันเขาแหลมคม ด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันสูง (ฝั่งซ้ายของเขา) ส่วนอีกด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันต่ำราดลงไป (ฝั่งขวาของเขา)

เขายายเที่ยง เขื่อนลำตะคอง

จุดชมวิวเขื่อนลำตะคอง ต. หนองสาหร่าย อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา
https://goo.gl/maps/gNuBiNpTqmQ6sTf16

อย่างไรก็ตาม ด้วยมิติของความต้องการพลังงานไฟฟ้า และพื้นที่ที่พอจะสร้างเขื่อนได้ เขื่อนลำตะคอง (หมายเลข 18)จึงถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำ ใต้และติดขอบที่ราบสูงโคราช ทำให้ด้วยปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บได้เท่าๆ กัน เราจะเห็นเขื่อนลำตะคองมีพื้นที่กว้างกว่าเขื่อนอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพราะพื้นที่กักเก็บน้ำไม่ใช่หุบเขาร่องลึก ซึ่งถ้าใครมีโอกาสขับรถผ่านถนนมิตรภาพในช่วงหน้าแล้งจะพบว่าถึงแม้น้ำในเขื่อนจะลดระดับลงในแนวดิ่งเพียงเล็กน้อย แต่พื้นที่บกเพิ่มขึ้นเยอะมาก ถึงขนาดเป็นลานกว้าง เอื้อให้เอาวัวเอาควายมาปล่อยอาบน้ำกินหญ้าอย่างเป็นล่ำเป็นสันกันเลยทีเดียว

ภาพสามมิติแสดงภูมิประเทศโดยรวม บริเวณขอบที่ราบสูงโคราช เขื่อนลำตะคอง และเขายายเที่ยง

และก็ด้วยความที่น้ำกว้างและตื้น ทำให้ในกรณีของเขื่อนลำตะคองเกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ไฟเหลือกลางวันแต่ขาดกลางคืน นั่นหมายความว่าหากเขื่อนลำตะคองผลิตกระแสไฟฟ้าเต็มกำลังความสามารถ ในเวลากลางวันที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเหลือเกินความต้องการ ในขณะที่ช่วงเวลากลางคืน ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เขื่อนลำตะคองกลับไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ

เพิ่มเติม : ความเฟี้ยวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนลำตะคอง

ผาหำหด

ผาหำหด ต. เจาทอง อ. เทพสถิต จ. ชัยภูมิ
https://goo.gl/maps/52abFfNxzbCRPVQA8

ภาพ : ภูมิประเทศเควสตา เขายายเที่ยง เขื่อนลำตะคอง ทางขึ้นไปบนที่ราบสูงโคราช
(ที่มา : http://www.painaidii.com/business/117226/pha-ham-hot-36250/lang/t/)

ผามออีแดง

ผามออีแดง ต. เสาธงชัย อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษ
https://goo.gl/maps/nsaiTTaRhLLuyxBe7

(ที่มา : https://travel.trueid.net/detail/6q1RxnjlRQzo)

ผาตารุ่ง ช่องโอบก

ผาตารุ่ง ต. ปราสาท อ. บ้านกรวด จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/r1uhormvZ6NrQ8j97

(ที่มา : http://u2t.bru.ac.th/idtech/id081/11-supanida/)

ภูชี้ฟ้า

วนอุทยานภูชี้ฟ้า ต. ตับเต่า อ. เทิง จ. เชียงราย
https://goo.gl/maps/Zxq33EmshqvSuvCi7

ภูชี้ฟ้า (ที่มา : https://www.dplusguide.com/2017/phu-chi-fa/)

ธรณีวิทยาน่าเล่า

ในเวลาต่อมา กระบวนการทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) บีบอัดและยกตัวกลุ่มหินโคราชเหล่านี้ จนกลายเป็นเหมือนขอบแอ่งกระทะ ตลอดแนวตะวันตกและใต้ของที่ราบสูงภาคอีสาน ขอบแอ่งกระทะทางตอนใต้ คือ เทือกเขาพนมดงรัก ส่วนขอบแอ่งกระทะทางตะวันตก คือ เทือกเขาดงพยาเย็น โดยในแง่ของ การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) หินบนเทือกเขาดงพยาเย็น รวมทั้งเขาทุกลูกที่ไล่ยาวมาทางทิศตะวันออก ในเขต จ. ชัยภูมิ และ จ. นครราชสีมา จะมีการเอียงเทของชั้นหินไปในทางทิศตะวันออก ดังนั้นหากไล่ลำดับชั้นหินตะกอนจากฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ ชั้นตะกอนอายุแก่กว่าจะอยู่ทางตะวันตก และไล่อายุอ่อนขึ้นไปทางตะวันออก

(บน) ภูมิประเทศ 3 มิติ พื้นที่รอยต่อขอบที่ราบสูงโคราช แสดงการกระจายตัวของเขาสำคัญต่างๆ ซึ่งมีโอกาสเป็นแหล่งหินในการนำไปก่อสร้างปราสาทหินพนมวันและปราสาทหินพิมาย (ล่าง) ภาพตัดขวางการวางตัวของชั้นหินในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ไล่จากซ้าย – เทือกขายเที่ยง ไปจนถึง ขวา – ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล (ที่มา : www.khoratcuesta.net)

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: