Monthly Archives: กันยายน 2023

สำรวจ

ปากแม่น้ำโบราณ ของไทย

ในบรรดา ภูมิลักษณ์ (landform) รูปแบบต่างๆ บนพื้นผิวโลก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) ถือเป็นภูมิลักษณ์อันดับหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดต่อการเกษตรกรรม อุดมยิ่งกว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplain) อย่างที่เราเคยรู้กัน ทั้งนี้ก็เพราะดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นพื้นที่สุดท้าย ที่คอยรวบรวมอินทรีย์วัตถุที่สะสมมาตลอดทาง จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้ตกสะสมในบริเวณนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัดในแถบบ้านเรา คือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ...
สำรวจ

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta)

แม้จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน แต่กระบวนการสะสมตัวของตะกอนและการเกิด ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) จะแตกต่างจาก เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) ตรงที่ เนินตะกอนรูปพัดเกิดจากน้ำที่ไหลแรงในร่องเขา ลดความเร็วและแผ่ซ่านเมื่อไหลออกสู่ที่ราบ ทำให้ตะกอนตกสะสมที่ หน้าเขา (mountain font) เป็นรูปพัด ส่วนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แม่น้ำหอบตะกอนไหลวิ่งไปชนกับคลื่นและมวลน้ำทะเล ...
วิจัย

ภูมิบ้านนามเมือง : เนิน-โนน-โพน-โคก

ภูมินามวิทยา (toponymy) คือ ศาสตร์ทางด้านภาษา ที่ศึกษาความหมายหรือนัยสำคัญ ของชื่อสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ว่าสื่อสัมพันธ์หรือสำแดงลักษณะเฉพาะอะไรที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มภาษา พืชพันธุ์ สัตว์ สิ่งปลูกสร้าง ทรัพยากร รวมไปถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ถิ่นฐานนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น เช่น ...
สำรวจ

ดินบรรพกาล (paleosol) : ประโยชน์ในการตีความทางธรณีวิทยา

ทุกคนรู้จัก ดิน (soil) แต่ ดินบรรพกาล (paleosol) เป็นยังไง ? เชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้จัก ทำไมต้องรู้จัก มันมีประโยชน์ในการสำรวจทางธรณีวิทยายังไงบ้าง ว่างๆ ลองอ่านเล่นๆ กันนะครับ 1) กำเนิดดิน ในทางธรณีวิทยา วัสดุโลก ...
เรียนรู้

การเวียน-ว่าย-ตาย-เกิด ของเปลือกโลก EP. 2 : ทวีปแตกร้าว

ผลจากการสู้กันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (geothermal gradient) และ ความดันปิดล้อม (confining pressure) ทำให้ 1) เปลือกโลกเป็นของแข็ง 2) เนื้อโลกมีสถานะพลาสติก 3) แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว และ 4) แก่นโลกชั้นในเป็นของแข็ง ...
เรียนรู้

การเวียน-ว่าย-ตาย-เกิด ของเปลือกโลก EP. 1 : ทวีปเสถียร

สมัยก่อน ย้อนกลับไป 50-100 ปี หลังจากนักธรณีวิทยาเริ่มสำรวจการกระจายตัวของหิน แร่และภูมิประเทศได้มากพอ การประมวลผลและคำถามว่า “ทำไม” จึงเริ่มผุดขึ้น ทำไมสระบุรีต้องมีหินปูน ? ทำไมอีสานถึงเป็นหินทราย ? ทำไมภาคเหนือต้องเป็นเทือกเขาสลับที่ราบ ? ทำไมภาคกลางถึงลุ่มต่ำ ? ซึ่งต่อมา ...
สำรวจ

หมุดหมายการเดินทาง คนโบราณ (Ancient Viewshed)

คิดผ่านๆ เพลินๆ คนเดินทางสมัยโบราณ น่าจะอาศัยดูดาวหรือจับทิศลม แต่พอตั้งสติคิดดูดีๆ อ้าวเฮ้ย !!! ต้องเป็นคนแบบไหนถึงชอบเดินทางกันตอนกลางคืน ถ้าเลือกได้ ซึ่งก็เลือกได้ ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน คนเราก็ชอบเดินทางตอนกลางวันกันทั้งนั้น เพราะสว่างชัด วิสัยทัศเยี่ยม ซึ่งหากไม่ชินทาง คนสมัยนี้ก็คงพึ่งพา google map ...
สำรวจ

“ถนนพระร่วง” สุโขทัย คืออะไรกันแน่ ?

นอกจากความเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ตามที่เราเข้าใจสมัยประถมฯ อาณาจักรสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งเมืองโบราณที่ถูกกล่าวขานกันมาตลอด ทั้งในเรื่องความเจริญก้าวหน้าด้านภาษา (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และลีลาการบริหารจัดการน้ำในอดีต โดยในส่วนของตัวเมืองสุโขทัย กรรมวิธีกักเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้ สำแดงไว้อย่างชัดแจ้งผ่านการสร้าง สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่กั้นกักน้ำ ที่ไหลลงมาจาก เขาประทักษ์ ทางตะวันตกของตัวเมือง หลังจากนั้นจึงผันน้ำผ่าน ...
สำรวจ

8 ลีลา คนโบราณ บริหารจัดการน้ำ

สันติ ภัยหลบลี้ และ ชวลิต ขาวเขียว ภาพปก : วารสารเมืองโบราณ น้ำ คือ ชีวิต ทั้งกินทั้งใช้ทั้งทำไร่ทำนา ต้องมีน้ำเข้ามาเอี่ยวเกี่ยวแทบทั้งสิ้น ในสมัยนี้การจัดการน้ำก็ยังดีหน่อย เพราะด้วยองค์ความรู้ที่มีและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้คนรู้จักกักเก็บน้ำไว้ใช้ทั้ง น้ำผิวดิน (surface ...