สำรวจ

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta)

แม้จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน แต่กระบวนการสะสมตัวของตะกอนและการเกิด ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) จะแตกต่างจาก เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) ตรงที่ เนินตะกอนรูปพัดเกิดจากน้ำที่ไหลแรงในร่องเขา ลดความเร็วและแผ่ซ่านเมื่อไหลออกสู่ที่ราบ ทำให้ตะกอนตกสะสมที่ หน้าเขา (mountain font) เป็นรูปพัด ส่วนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แม่น้ำหอบตะกอนไหลวิ่งไปชนกับคลื่นและมวลน้ำทะเล (หรือทะเลสาบ) ทำให้ตะกอนพัดพาไปต่อไม่ได้ (ในทันที) ต้องตกสะสมตัว เป็นดินดอน ค้างเติ่งอยู่ที่ ปากแม่น้ำ (river mount)

ตัวอย่าง เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) ที่เกิดจากการที่น้ำหอบตะกอนออกมาจากร่องเขา และลดความเร็วน้ำอย่างรวดเร็วเมื่อถึงที่ราบ

อีความแตกต่างที่น่าสนใจคือ เนินตะกอนรูปพัดเกิดบริเวณ ต้นน้ำ (upstream) ตะกอนจึงมีขนาดใหญ่ เช่น กรวด ทราย และมี การคัดขนาดตะกอน (sorting) ที่แย่กว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนโคลน และด้วยความที่เป็น ปลายน้ำ (downstream) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจึงมีอินทรีย์วัตถุจำนวนมาก อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก

อย่างที่เราเคยเรียนกันมาสมัยประถม พื้นที่ที่เหมาะสมในการทำนา คือ ที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplain) ตัวอย่างเช่น ที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย เพราะเป็นที่ราบเรียบ ปั้นคันนากักน้ำได้ง่าย และที่สำคัญมีอินทรีย์วัตถุมากพอต่อการปลูกข้าวให้งอกงาม ด้วยเหตุนี้ในยุคสมัยหนึ่ง ประเทศไทยจึงเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดของโลก ซึ่งก็เพราะอานิสงส์ความสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นสำคัญ แต่อย่างที่รู้กัน ปัจจุบันตำแหน่งนี้ตกเป็นของเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งสาเหตุหลักก็เพราะทั้ง 2 ประเทศ มี ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Maekong Delta) เป็นอู่ข้าวอู่น้ำในภูมิภาคนี้ ประเด็นที่อยากจะสื่อก็คือ ที่ราบน้ำท่วมถึงที่ว่าอุดมสมบูรณ์มากแล้ว นัมเบอร์วันเหนือกว่านั้นคือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการสะสมตัวของ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามและกัมพูชา

ภูมิศาสตร์ (geography)

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) เป็นสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำบริเวณปากอ่าว หรือ ปากแม่น้ำ (river mount) ซึ่งเมื่อธารน้ำพบกับทะเลหรือทะเลสาบ กระแสน้ำจะลดความเร็วลง ทำให้ตะกอนขนาดใหญ่ตกทับถมก่อน และเล็กลงถึงขนาดดินเมื่อออกห่างจากฝั่ง คล้ายกับการสะสมตัวของตะกอนบริเวณเนินตะกอนรูปพัด เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในประเทศเวียดนามและกัมพูชา ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมการตกตะกอนในพื้นที่ต่างๆ ของโลก
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการสะสมตัวของ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการสะสมตัวของ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนอียิปต์มาทุกยุคสมัย

ธรณีวิทยา (geology)

ในมิติธรณีวิทยา ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ มีสถานะเป็น หาดเลน หรือ ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง (tidal flat) ซึ่งเป็นหาดที่ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ น้ำขึ้น-น้ำลง (tide) เป็นส่วนใหญ่ เกิดการสะสมตัวของตะกอนละเอียดที่ถูกพัดพาแบบแขวนลอยมากับน้ำ จนเป็นลานแบนราบ มักพบตามปากแม่น้ำที่ต่อเชื่อมกับทะเล บางครั้งในพื้นที่เขตร้อนอาจพบ แนวชายฝั่งแบบป่าโกงกาง (mangroves) เกิดในโซนน้ำขึ้น-น้ำลง ร่วมด้วย

เพิ่มเติม : ฝั่ง . หาด . ชายฝั่ง . ชายหาด ต่างกันยังไง

หาดเลนและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
สภาพแวดล้อมแบบปาชายเลน

ในประเด็นการสะสมตัวของตะกอน นักธรณีวิทยาจำแนกโซนการสะสมตัวที่แตกต่างกันไว้ 3 สภาพแวดล้อม ได้แก่ 1) ในช่วงต้นของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จะเป็นการสะสมตัวของตะกอนที่มีขนาดทรายหรือทรายแป้ง ซึ่งเป็นการสะสมตัวจาก กระบวนการทางน้ำ (river process) บริเวณปลายน้ำเป็นหลัก ถัดมาในช่วงที่ 2) ตะกอนตกลงสู่พื้นทะเลในช่วงแรก เป็นการสะสมตัวของตะกอนเพื่อสร้างเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่ ซึ่งประกอบไปด้วยตะกอนขนาดทรายแป้งและดินเป็นส่วนใหญ่ ที่ถูกพัดพาต่อเนื่องมาจากกระบวนการทางน้ำ และสุดท้ายบริเวณปลายของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จะมีการสะสมตัวของตะกอนขนาดดิน เหมือนกับ การสะสมตัวในทะเลสาบ (lake deposit) ซึ่งตะกอนที่ถูกพัดพามาสะสมตัวในพื้นที่นี้ มาในลักษณะของ ตะกอนแขวนลอย (suspendion load) และค่อยๆ ตกสะสมตัวด้วยอัตราที่คงที่

ภาพตัดขวาง (cross section) แสดงการสะสมตัวของตะกอนบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ประเภทดินดอนฯ (type of delta)

จากการศึกษารูปร่างดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทั่วโลก วิลเลียม กัลโลเวย์ (William Galloway) ประมวลผลและจำแนกประเภทของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำออกเป็น 3 ประเภท ตามปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ช่วยปั้นรูปร่างของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ได้แก่

ตารางสามเหลี่ยมแสดงความสัมพันธ์ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่เกิดจากอิทธิพลทางธรรมชาติต่างๆ ได้แก่ 1) สีแดง แม่น้ำเด่น 2) สีเขียว คลื่นทะเลเด่น และ 3) สีน้ำเงิน น้ำขึ้น-น้ำลงเด่น นำเสนอโดย วิลเลียม กัลโลเวย์ (William Galloway) (ที่มา : https://geo.libretexts.org)
  • แม่น้ำเด่น (river dominated) คือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำพัดพาตะกอนลงสู่ทะเลในปริมาณมาก จนทำให้กระแสคลื่นทะเลหรือแม้กระทั่งน้ำขึ้น-น้ำลง ก็ไม่สามารถต้านทานปริมาณตะกอนจำนวนมากนั้นได้ ทำให้ดินดอนมีรูปลักษณ์คล้ายกับตะกอนพยายามจะรุกล้ำลงไปได้ในทะเลตามอำเภอใจ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ หรือนักวิชาการบางท่านเรียกว่าคล้าย ตีนนก (bird’s foot delta) ตัวอย่างเช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา หรือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแม่น้ำในทะเลสาบแว็กซ์ (Wax Lake) รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ซึ่งไหลลงไปยังอ่าวเม็กซิโก
  • คลื่นทะเลเด่น (wave dominated) เกิดจากตะกอนไหลลงมาสู่ทะเลหรือทะเลสาบแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีปัจจัยที่ช่วยปั้นรูปร่างของดินดอนคือคลื่นทะเล โดยมีมวลตะกอนที่ไหลลงมาจากแม่น้ำเป็นตัวเติมทำให้รูปร่างมีลักษณะมน ไม่มีเหลี่ยมมุม บางครั้งก่อตัวเป็นเหมือน สันทรายชายหาด (sand bar) ตัวอย่างเช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเซาฟรานซิสโก (São Francisco) แม่น้ำสายใหญ่ในประเทศบราซิล
  • น้ำขึ้น-น้ำลงเด่น (tide dominated) คือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีตะกอนไหลลงมาจากแม่น้ำ แต่ตะกอนบางส่วนถูกพักดันกลับเข้าไปตามร่องน้ำ ในช่วงเวลาที่มีน้ำขึ้น-น้ำลง ทำให้มีลักษณะคล้ายกับเป็น ชวากทะเล (estuary) ตัวอย่างเช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฟลาย (Fly river delta) ของเกาะนิวกินี เกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (ก) ทะเลสาบแว็กซ์ (Wax Lake) รัฐลุยเซียนา ไหลลงไปยังอ่าวเม็กซิโก (ข) แม่น้ำเซาฟรานซิสโก (São Francisco) แม่น้ำสายใหญ่ในประเทศบราซิล (ค) แม่น้ำฟลาย (Fly river delta) บนเกาะนิวกินี

นอกจากนี้ ยังมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบางพื้นที่ ที่แสดงลักษณะเด่นควบคู่กัน ตัวอย่างเช่น 1) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอโบร (Ebro delta) แคว้น คาตาลัน ประเทศสเปน ที่เกิดจากทั้งปัจจัย แม่น้ำเด่น (river dominated) และ คลื่นทะเลเด่น (wave dominated) 2) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทองแดง (Copper River) หรือ แม่น้ำอัทนา (Ahtna River) ทางตอนใต้ของอลาสกา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลมาจากคลื่นทะเลและน้ำขึ้น-น้ำลง และ 3) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมหาคัม (mahakam river) บนเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งแม่น้ำและน้ำขึ้น-น้ำลง ไปพร้อมๆ กัน

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (ก) แม่น้ำเอโบร (Ebro delta) แคว้น คาตาลัน ประเทศสเปน (ข) แม่น้ำทองแดง (Copper River) หรือ แม่น้ำอัทนา (Ahtna River) ทางตอนใต้ของรัฐอลาสกา สหรัฐอเมริกา (ค) แม่น้ำมหาคัม (mahakam river) บนเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024