เรียนรู้

แบบฝึกหัด 17 การเปลี่ยนรูปร่างหิน

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่สัมพันธ์กันกับส่วนต่างๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยาดังแสดงในรูป

ชื่อเรียก และองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา
1._____ ก.ผนังรอยเลื่อนด้านล่าง (footwall)
2._____ ข.เส้นพับ (hinge line) ของชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ
3._____ ค.ผนังรอยเลื่อนด้านบน (hanging wall)
4._____ ง.แกนคดโค้ง (fold axis) ของชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ
5._____ จ.เส้นพับ (hinge line) ของชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย
6._____ ฉ.เส้นพับมุมกด (plunging hinge line) ของชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย
7._____ ช.ทิศทางการเอียงเท (dip direction) ของระนาบรอยเลื่อน (fault plane)
8._____ ซ.เส้นพับ (hinge line)
9._____ ฌ.เส้นพับมุมกด (plunging hinge line) ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ
10._____ ญ.ชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุดของชั้นหินคดโค้งเอียง (plunging fold)
11._____ ฎ.แนวการวางตัว (strike) ของระนาบรอยเลื่อน (fault plane)
12._____ ฏ.ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane)
13._____ ฐ.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)
14._____ ฑ.ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดของชั้นหินคดโค้งเอียง (plunging fold)
15._____ ฒ.ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane) ของมุมกดของชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ
16._____ ณ.หินที่มีอายุอ่อนที่สุดที่โผล่บนพื้นผิว
17._____ ด.แกนคดโค้ง (fold axis) ของชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ
18._____ ต.ชั้นหินที่มีทิศทางการเอียงเท (dip direction) ของชั้นหิน ออกจาก แกนคดโค้ง (fold axis)
19._____ ถ.ชั้นหินที่มีทิศทางการเอียงเท (dip direction) ของชั้นหิน เข้าหา แกนคดโค้ง (fold axis)
20._____ ท.หินที่มีอายุแก่ที่สุดที่โผล่บนพื้นผิว
21._____ ธ.ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane) ของมุมกด
22._____ ณ.ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane)
23._____ บ.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด

1._____รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ตัวอย่างรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวดิ่ง
2._____มุมเอียงเท (dip angle) คือ มุมการเอียงเทของระนาบ ที่ตรวจวัดในทิศทางตั้งฉากกับ แนวการวางตัว (strike) ของระนาบ
3._____จุดพับ (hinge point) คือ จุดที่แสดงค่าการโค้งของชั้นหินคดโค้งมากที่สุด
4._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) หินที่มีอายุอ่อนที่สุดพบใกล้กับ แกนคดโค้ง (fold axis)
5._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) ทุกชั้นหินจะเอียงเทไปทาง แกนคดโค้ง (fold axis)
6._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงายเอียง (plunge syncline) โครงสร้างจะเปิดไปในทิศทางของ มุมกด (plunge)
7._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ ผนังรอยเลื่อนด้านบน (hanging wall) เคลื่อนที่ลงไปด้านล่างสัมพันธ์กับ ผนังรอยเลื่อนด้านล่าง (footwall)
8._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline) หินที่มีอายุแก่ที่สุดพบใกล้กับ แกนคดโค้ง (fold axis)
9._____ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำเอียง (plunge anticline) หินที่มีอายุแก่ที่สุดพบใกล้กับ แกนคดโค้ง (fold axis)
10._____โครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ โดม (dome) คือ ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงายในรูปแบบ 3 มิติ ที่ถูกแรงกระทำในทุกทิศทาง
11._____ชั้นหินคดโค้ง (fold) สามารถยาวและกว้างเป็นหลักหลายกิโลเมตร
12._____รอยเลื่อนตามแนวเอียงเท (dip-slip fault) คือรอยเลื่อนที่พบโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ประเทศไทย
13._____ในกรณีของ รอยเลื่อนปกติ (normal fault) จะมี ผนังรอยเลื่อนด้านบน (hanging wall) จะเลื่อนขึ้นสัมพันธ์กับ ผนังรอยเลื่อนด้านล่าง (footwall)
14._____รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) โดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่ผ่านกัน
15._____หินในระดับลึกใต้พื้นผิวโลกสามารถเกิด การเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก (plastic deformation)
16._____ชั้นหินคดโค้ง (fold) เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนรูปแบบแข็งเปราะ (brittle deformation) ของหิน
17._____ในธรรมชาติไม่มีรอยเลื่อนที่มี การเลื่อนตามแนวระดับแบบซ้ายเข้า (left-lateral)
18._____รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) มีการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนขนานไปกับ แนวการวางตัว (strike) ของรอยเลื่อน
19._____รอยเลื่อนตามแนวเอียงเท (dip-slip fault) โดยส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวในแนวดิ่ง
20._____แรงเค้น (stress) และ ความเครียด (strain) คือแรงชนิดเดียวกัน

3) แบบฝึกหัดปรนัย

คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้

1. ข้อใดคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกถูกบีบอัดให้หดส้นลง

 ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
 ค.รอยแตก (joint)ง.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)

2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ สมดุลอุทกสถิต (isostasy)

 ก.แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่าแผ่นเปลือกโลกทวีปข.ฐานธรณีภาคโดยส่วนใหญ่หลอมเหลว
 ค.แผ่นเปลือกโลกลอยอยู่บนเนื้อโลกซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่าแผ่นเปลือกโลกง.ความผิดปกติของสนามแม่เหล็กโลกเกิดจากแผ่นเปลือกโลกถูกกดทับด้วยธารน้ำแข็ง

3. ความร้อนภายในโลก โดยส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

 ก.การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกข.การตกกระทบของอุกกาบาต
 ค.การสลายตัวกัมมันตภาพรังสีง.แผ่นดินไหว

4. การคดโค้ง (folding) โดยส่วนใหญ่เป็นผลของจากอะไร

 ก.การเกิดรอยแยก (fracturing)ข.แรงบีบอัด (compression)
 ค.กระแสพาความร้อน (convection current)ง.การแตกแยกออกจากกัน (rifting)

5. ข้อใดคือคุณสมบัติของหินที่ทำให้หินเกิด ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)  เมื่อได้รับแรงเค้นเข้ามากระทำ

 ก.แข็งเปราะ (brittle)ข.รอยแยก (fracture)
 ค.เฉือน (shear)ง.อ่อนเหนียว (ductile)

6. ข้อใดคือ ชั้นหินคดโค้ง (fold) ที่มีทิศทางการเอียงเทของชั้นหินเข้าหา แกนคดโค้ง (fold axis)

 ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)ข.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)
 ค.โดม (dome)ง.แอ่งตะกอน (basin)

7. ข้อใดคือ ชั้นหินคดโค้งทรงกลม (circular fold) ที่มีทิศทางการเอียงเทของชั้นหินออกจาก แกนคดโค้ง (fold axis)

ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)ข.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)
 ค.โดม (dome)ง.แอ่งตะกอน (basin)

8. ข้อใดคือชนิดของ แรงเค้น (stress)

 ก.แรงบีบอัด (compression)ข.แรงเฉือน (shear)
 ค.แรงดึง (tension)ง.ถูกทุกข้อ

9. ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline) คือ ชั้นหินคดโค้งที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษรใดในภาษาอังกฤษ

 ก.Wข.U
 ค.Cง.A

10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)

 ก.มีระนาบการเอียงเทของชั้นหินไปทางเดียวกันข.ชั้นหินเอียงเทออกจากแกนคดโค้ง (fold axis)
 ค.มีการเอียงเทของชั้นหินในแนวดิ่งง.ชั้นหินเอียงเทไปทางแกนคดโค้ง (fold axis)

11. หินที่มีอายุแก่ที่สุดใน ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) พบในพื้นที่ใด

ก.ด้านล่างของชั้นหินคดโค้งข.แขนการโค้งตัว (limb) ด้านบนของชั้นหินคดโค้ง
 ค.แกนคดโค้ง (fold axis)ง.ไม่มีข้อใดถูก

12. หินที่มีอายุอ่อนที่สุดใน ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) พบในพื้นที่ใด

ก.ทานล่างของชั้นหินคดโค้งข.แขนการโค้งตัว (limb) ด้านบนของชั้นหินคดโค้ง
 ค.แกนคดโค้ง (fold axis)ง.ไม่มีข้อใดถูก

13. ในด้านการลำดับชั้นหิน แอ่งตะกอน (basin) สัมพันธ์กับโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบใด

ก.anticlineข.syncline
 ค.domeง.ไม่มีข้อใดถูก

14. รอยเลื่อนชนิดใดคือรอยเลื่อนที่ ผนังรอยเลื่อนด้านบน (hanging wall) เลื่อนขึ้นบน ผนังรอยเลื่อนด้านล่าง (footwall)

ก.รอยเลื่อนแบบซ้ายเข้า (left-lateral fault)ข.รอยเลื่อนแบบขวาเข้า (right-lateral fault)
 ค.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ง.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)

15. รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ตอนกลางของประเทศพม่า คือตัวอย่างรอยเลื่อนชนิดใด

ก.รอยเลื่อนแบบซ้ายเข้า (left-lateral fault)ข.รอยเลื่อนแบบขวาเข้า (right-lateral fault)
 ค.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ง.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)

16. ข้อใดคือรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวทั้งในแนวดิ่งและแนวราบพร้อมกัน

ก.oblique faultข.complex fault
 ค.slippery faultง.spray fault

17. ข้อใดมีความหมายเช่นเดียวกันกับ รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)

ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.รอยเลื่อนผ่านกัน (transform fault)
 ค.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)ง.รอยเลื่อนตามแนวเอียงเท (dip-slip fault)

18. รอยเลื่อน (fault) เป็นผลมาจากอะไร

ก.การเปลี่ยนรูปหินแบบอ่อนเหนียวข.การคดโค้งของหิน
 ค.การเปลี่ยนรูปหินแบบแข็งเปราะง.ถูกทุกข้อ

19. รอยแยก (fracture) เป็นผลมาจากอะไร

ก.การเปลี่ยนรูปหินแบบอ่อนเหนียวข.การคดโค้งของหิน
 ค.การเปลี่ยนรูปหินแบบแข็งเปราะง.ถูกทุกข้อ

20. ข้อใด ไม่ใช่ ชนิดของ ชั้นหินคดโค้ง (fold)

ก. ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)
 ค.ชั้นหินคดโค้งย้อน (thrust fold)ง.โดม (dome)

21. การคดโค้ง (folding) โดยส่วนใหญ่เกิดในช่วงใดของ การแปรสภาพหิน (metamorphism)

ก.เกิดก่อนเสมอข.เกิดพร้อมกัน
 ค.เกิดหลังเสมอง.ไม่จำเป็นต้องเกิดด้วยกัน

22. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)

ก.สร้างขึ้นจากหินที่ต้านทานการคดโค้งข.ไม่มีในธรรมชาติ
 ค.ชั้นหินเอียงเทออกจากศูนย์กลางง.ไม่มีข้อใดถูก

23. กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) โดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กับรูปแบบทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด

ก.รอยเลื่อนตามแนวระดับข.เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
 ค.สันเขากลางมหาสมุทรง.แอ่งตะกอนในมหาสมุทร

24. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) และ รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) แตกต่างกันอย่างไร

ก.รอยเลื่อนย้อนเกิดจากแรงดึง ส่วนรอยเลื่อนปกติเกิดจากแรงบีบอัดข.รอยเลื่อนย้อนโดยส่วนใหญ่เลื่อนแบบซ้ายเข้า รอยเลื่อนปกติเลื่อนแบบขวาเข้า
 ค.รอยเลื่อนย้อนเกิดจากแรงบีบอัด ส่วนรอยเลื่อนปกติเกิดจากแรงดึงง.ไม่มีข้อใดถูก

25. ชั้นหินคดโค้ง (fold) เกิดขึ้นเมื่อหินมีสถานะเหมือนกับหรือใกล้เคียงข้อใด

ก.อ่อนเหนียว (ductile)ข.ของไหล (fluid)
 ค.ของเหลว (liquid)ง.แข็งเปราะ (brittle)

26. ข้อใดคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าแผ่นเปลือกโลกกำลังถูกแรงดึงออกจากกัน

 ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike)
 ค.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ง.ไม่มีข้อใดถูก

27. ข้อใดคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าแผ่นเปลือกโลกกำลังถูกแรงบีบอัดเข้าหากัน

 ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike)
 ค.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ง.ไม่มีข้อใดถูก

28. โครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบใดที่มีโอกาสทำให้หินขนาดใหญ่ที่เลื่อนขึ้นไปบนเทือกเขาลูกอื่น

 ก.ดินถล่ม (landslide)ข.การแทรกดันของหิน (intrusion)
 ค.รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)ง.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)

29. การคดโค้ง (folding) เป็นผลของจากสาเหตุใดเป็นหลัก

 ก.การเกิดรอยแยก (fracturing)ข.แรงบีบอัด (compression)
 ค.กระแสพาความร้อน (convection current)ง.การแตกแยกออกจากกัน (rifting)

30. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ การเปลี่ยนรูปหิน (rock deformation)

ก.หินระดับลึกเปลี่ยนรูปแบบอ่อนเหนียวได้ดีกว่าหินระดับตื้นข.หินที่ร้อนกว่าเปลี่ยนรูปแบบอ่อนเหนียวมากกว่าหินที่เย็น
 ค.หินตะกอนโดยส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนรูปได้ง่ายกว่าหินอัคนีง.หินที่มีแรงดันกักเก็บต่ำเปลี่ยนรูปแบบแบบอ่อนเหนียวได้ดีกว่าแรงดันสูง

31. ข้อใดคือความแตกต่างที่มากที่สุดระหว่างการทดลอง การเปลี่ยนรูปหิน (rock deformation) ในห้องปฏิบัติการและในธรรมชาติ

ก.อุณหภูมิในห้องปฏิบัติการต่ำกว่าในธรรมชาติอย่างมากข.ความดันในห้องปฏิบัติการต่ำกว่าในธรรมชาติอย่างมาก
 ค.เวลาในการเปลี่ยนรูปหินในห้องปฏิบัติการสั้นกว่าในธรรมชาติอย่างมากง.หินจริงไม่สามารถนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการได้ เนื่องจากเคยอยู่ในธรรมชาติ

32. ข้อใดคือลักษณะเฉาะของ ชั้นหินคดโค้งตลบทับ (overturned fold)

ก.แขนการโค้งตัว (limb) ทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกันข.แขนการโค้งตัว (limb) ทั้ง 2 ข้างเอียงเทไปทางเดียวกัน
 ค.แขนการโค้งตัว (limb) ทั้ง 2 ข้างทำมุมตรงกันข้ามกันง.ไม่มีข้อใดถูก

33. แรงทางธรณีแปรสัณฐานชนิดใดที่ทำให้มีการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน

ก.แรงบีบอัด (compressive force)ข.แรงดึง (tensional force)
 ค.แรงเฉือน (shearing force)ง.ถูกทุกข้อ

34. ข้อใดคือตัวอย่าง รอยเลื่อน (fault) ที่มีการเลื่อนตัวในแนวระนาบเป็นหลัก

ก.รอยเลื่อนตามแนวระดับข.รอยเลื่อนแบบขวาเข้า
 ค.รอยเลื่อนผ่านกันง.ถูกทุกข้อ

35. รอยเลื่อนเฉียง (oblique fault) เกิดจากแรงชนิดใด

ก.แรงเฉือนข.แรงดึง
 ค.แรงบีบอัดง.แรงดึงและแรงบีบอัด

36. ข้อใดคือตัวอย่าง รอยเลื่อน (fault) ที่เกิดจาก แรงเฉือน (shearing force)

ก.รอยเลื่อนปกติข.รอยเลื่อนย้อน
 ค.รอยเลื่อนตามแนวระดับง.ถูกทุกข้อ

37. ชั้นหินคดโค้ง (fold) ที่มี แขนการโค้งตัว (limb) คว่ำลง เรียกว่าอะไร

ก.anticlineข.fault
 ค.synclineง.unconformity

38. รอยเลื่อน (fault) ชนิดใดที่ทำให้หินเหนือระนาบรอยเลื่อน เลื่อนลงเมื่อเปรียบเทียบกับอีกด้านที่อยู่ใต้ระนาบรอยเลื่อนที่เลื่อนขึ้น

ก.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ข.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)
 ค.รอยเลื่อนตามแนวระดับง.ถูกทุกข้อ

39. ข้อใดคือผลการทดลองในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ การเปลี่ยนรูปหิน (rock deformation)

ก.หินอัคนีโดยส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนรูปได้ดีกว่าหินตะกอนข.หินอัคนีโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนรูปได้ยากกว่าหินตะกอน
 ค.หินแข็งมีคุณสมบัติอ่อนเหนียวสูงกว่าตะกอนอายุอ่อนง.ตะกอนอายุอ่อนมักจะแข็งเปราะมากกว่าอ่อนเหนียว

40. ข้อใดคือ มุมเอียงเท (dip angle) ของชั้นหิน

ก.ทิศทางของการตัดกันของชั้นหินในแนวระนาบข.มุมที่เกิดจากบางส่วนของหินที่ถูกกัดกร่อนออกไป
 ค.มุมของชั้นหินที่เอียงจากแนวระนาบง.ความเอียงของหินก่อนการเปลี่ยนรูปหิน

41. ชั้นหินคดโค้ง (fold) ที่มี แขนการโค้งตัว (limb) หงายขึ้น เรียกว่าอะไร

ก.anticlineข.fault
 ค.synclineง.unconformity

43. รอยเลื่อน (fault) ชนิดใดที่แสดงลักษณะของชั้นหินที่อยู่เหนือระนาบรอยเลื่อนเคลื่อนที่ขึ้น และชั้นหินที่อยู่ใต้ระนาบรอยเลื่อนเคลื่อนที่ลง

ก.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ข.รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
 ค.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)ง.ถูกทุกข้อ

44. ระนาบรอยเลื่อนมี แนววางตัว (strike) ในแนวเหนือ-ใต้ และมี มุมเอียงเท (dip angle) ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งในการสำรวจบ่งชี้ว่ารอยเลื่อนโดยส่วนใหญ่จะเคลื่อนในแนวดิ่ง โดยหินอ่อนพบทางตะวันออกของรอยเลื่อนในขณะหินที่มีอายุแก่กว่าพบทางตะวันตกของรอยเลื่อน รอยเลื่อนดังกล่าวเป็นรอยเลื่อนชนิดใด

ก.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ข.รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
 ค.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)ง.ถูกทุกข้อ

45. รอยเลื่อนชนิดใดมีการเคลื่อนที่ทั้งใน แนวการวางตัว (strike) และ แนวเอียงเท (dip) ในเวลาเดียวกัน

ก.รอยเลื่อนเฉียง (oblique fault)ข.รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
 ค.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)ง.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)

46. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)

ก.เคลื่อนในแนวระนาบเป็นหลักข.เคลื่อนในแนวดิ่งเป็นหลัก
 ค.ไม่สามารถประเมินระยะการเลื่อนตัวได้ง.โดยส่วนใหญ่เกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก

47. การตรวจวัดในข้อใดช่วยอธิบายการวางตัวของ ระนาบรอยเลื่อน (fault plane) ได้

ก.แกน (axis) และ ระนาบ (plane)ข.แนวการวางตัว (strike) และ มุมเอียงเท (dip angle)
 ค.การเลื่อนด้านข้าง (lateral) และ การเลื่อนย้อน (reverse)ง.แนวโน้ม (trend) และ มุมกด (plunge)

48. แนวเทือกเขาในภาคเหนือของประเทศไทย เกิดจากแรงทางธรณีแปรสัณฐานชนิดใด

ก.แรงบีบอัด (compressive force)ข.แรงดึง (tensional force)
 ค.แรงเฉือน (shearing force)ง.ถูกทุกข้อ

49. thrust fault เกิดจากชั้นหินได้รับแรงชนิดใด

ก.แรงเฉือนข.แรงดึง
 ค.แรงบีบอัดง.แรงดึงและแรงบีบอัด

50. แรงเค้นชนิดใดพบมากในการเคลื่อนที่ออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก

ก.แรงดึง (tensional force)ข.แรงบีบอัด (compress force)
 ค.แรงเฉือน (shearing force)ง.ไม่มีข้อใดถูก

51. ข้อใดคือชั้นหินที่มีอายุแก่เลื่อนไถลไปบนหินที่มีอายุอ่อนกว่า

ก.การแทรกดันของชั้นหิน (bed intrusion)ข.ดินถล่ม (landslide)
 ค.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ง.รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)

52. ข้อใดคือคุณสมบัติที่วัสดุหรือหินเมื่อไม่ได้รับแรงเค้นจะกลับสู่สภาพเดิม

ก.แรงบีบอัด (compression)ข.แรงเฉือน (shear)
 ค.พลาสติก (plastic)ง.ยืดหยุ่น (elastic)

53. ข้อใดคือการตัดกันระหว่างระนาบการเอียงเทของชั้นหินและระนาบในแนวระดับ

 ก.แนวระนาบของชั้นหินข.รอยแตก (joint)
 ค.แนวการวางตัว (strike)ง.ไม่มีข้อใดถูก

54. ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) ที่เป็นวงกลม เรียกอีกอย่างว่าอะไร

ก.monoclineข.overturned fault
 ค.asymmetric synclineง.basin

55. ข้อใดคือโครงสร้างแบบ ชั้นหินคดโค้ง (fold) ที่ชั้นหินทั้งหมดเอียงเทเข้าสู่จุดศูนย์กลาง

ก.domeข.monocline
 ค.synclineง.anticline

56. แรงทางธรณีแปรสัณฐานชนิดใดที่มีแนวโน้มที่ผลักให้มวลมีการเคลื่อนที่ในแนวราบและมีทิศทางตรงกันข้ามกัน

ก.tensional forceข.shearing force
 ค.compressive forceง.ไม่มีข้อใดถูก

57. แรงชนิดใดที่พบมากในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบเคลื่อนที่เข้าหากัน

ก.tensional forceข.shearing force
 ค.compressive forceง.ไม่มีข้อใดถูก

58. มุมที่ซึ่งชั้นหินนั้นจะเอียงจากแนวระนาบ (horizontal) เรียกว่าอะไร

ก.anticlineข.strike
 ค.synclineง.dip angle

59. แรงทางธรณีแปรสัณฐานชนิดใดที่สัมพันธ์กับ การคดโค้ง (folding) หรือ การเลื่อนตัวของรอยเลื่อน (faulting)

ก.compressive forceข.tensional force
 ค.shearing forceง.ถูกทุกข้อ

60. ชั้นหินทั้ง 2 ด้านของชั้นหินคดโค้ง (fold) เรียกว่าอะไร

 ก.ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline)ข.ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline)
 ค.แขนการโค้งตัว (limb)ง.ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane)

61. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากันมักจะพบโครงสร้างทางธรณีวิทยาชนิดใด

ก.ชั้นหินคดโค้งข.รอยเลื่อน
 ค.ชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนง.ไม่ใช่ทั้งชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน

62. ขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันมีโอกาสที่จะพบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบใด

ก.ชั้นหินคดโค้งข.รอยเลื่อน
 ค.ชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนง.ไม่ใช่ทั้งชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน

63. ขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันมีโอกาสที่จะพบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบใด

 ก.ชั้นหินคดโค้งข.รอยเลื่อน
 ค.ชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนง.ไม่ใช่ทั้งชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน

64. ทะเลแดง (Red Sea) คือตัวอย่างโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบใด

 ก.anticlineข.strike-slip fault
 ค.rift valleyง.horst block

65. สภาพของหินชนิดใดที่ทำให้เกิดโครงสร้างแบบ การคดโค้ง (folding) มากกว่า การเลื่อนตัวของรอยเลื่อน (faulting)

 ก.อุณหภูมิต่ำ แรงดันกักเก็บต่ำข.อุณหภูมิต่ำ แรงดันกักเก็บสูง
 ค.อุณหภูมิสูง แรงดันกักเก็บต่ำง.อุณหภูมิสูง แรงดันกักเก็บสูง

66. ปัจจัยใดที่ไม่ส่งผลต่อระดับการเกิด การคดโค้ง (folding)

 ก.ขนาดของแรงที่กระทำข.ความยาวของเวลาที่แรงเข้ามากระทำ
 ค.อายุหินง.ความสามารถของหินในการต้านทานการเปลี่ยนรูปหิน

67. เทือกเขาแอนดีส (Andes) เกิดจากแรงทางธรณีแปรสัณฐานชนิดใด

 ก.แรงบีบอัด (compressive force)ข.แรงดึง (tensional force)
 ค.แรงเฉือน (shearing force)ง.ถูกทุกข้อ

68. รอยเลื่อนตามแนวเอียงเท (dip-slip fault) สัมพันธ์กับแรงชนิดใด

 ก.แรงเฉือนข.แรงดึง
 ค.แรงบีบอัดง.แรงดึงและแรงบีบอัด

69. หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติ การเปลี่ยนรูปแบบอ่อนเหนียว (ductile deformation) ให้เพิ่มมากขึ้นต้องทำอย่างไรกับตัวอย่างที่พิจารณา

 ก.ลดอุณหภูมิและแรงดันกักเก็บข.ลดอุณหภูมิ เพิ่มแรงดันกักเก็บ
 ค.เพิ่มอุณหภูมิ ลดแรงดันกักเก็บง.เพิ่มอุณหภูมิและแรงดันกักเก็บ

70. หากมองชั้นหินไปยังหน้าผาหรือผนังที่ถนนตัดผ่าน ถือเป็นการมองชั้นหินในแนวใด

 ก.mapข.cross-sectional
 ค.lateralง.horizontal

เฉลยแบบฝึกหัด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13. 14. 15.
16. 17. 18. 19. 20.
21. 22. 23.      

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

1.F 2.T 3.T 4.T 5.T
6.T 7.F 8.F 9.F 10.F
11.T 12.F 13.F 14.T 15.F
16.F 17.F 18.T 19.T 20.F

3) แบบฝึกหัดปรนัย

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13. 14. 15.
16. 17. 18. 19. 20.
21. 22. 23. 24. 25.
26. 27. 28. 29. 30.
31. 32. 33. 34. 35.
36. 37. 38. 39. 40.
41. 42. 43. 44. 45.
46. 47. 48. 49. 50.
51. 52. 53. 54. 55.
56. 57. 58. 59. 60.
61. 62. 63. 64. 65.
66. 67. 68. 69. 70.

4) แบบฝึกหัดอัตนัย

คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์

1. โครงสร้างทางธรณีวิทยา (geological structure) คืออะไร

 
 
 

2. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) แตกต่างจาก รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) และ รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) อย่างไร

 
 
 

3. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนชนิด รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) และ รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)

 
 
 

4. การเปลี่ยนรูป (deformation) ของวัสดุทางธรณีวิทยา แบบแข็งและเปราะ (brittle) แตกต่างจาก แบบอ่อนและเหนียว (ductile) อย่างไร และแบบใดที่โดยส่วนใหญ่พกบ่อยบนแผ่นเปลือกโลก (crust)

 
 
 

5. รอยแตก (joint) และ รอยเลื่อน (fault) แตกต่างกันอย่างไร

 
 
 

6. อธิบายความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของ แรงเค้น (stress) และ ความเครียด (strain)

 
 
 

7. การเปลี่ยนรูป (deformation) ของหินคืออะไร และแบ่งเป็นกี่รูปแบบย่อย อะไรบ้าง

 
 
 

8. เปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนรูปหิน แบบแข็งและเปราะ (brittle) และ แบบอ่อนและเหนียว (ductile)

 
 
 

9. อธิบายวิธีการตรวจวัด แนวการวางตัว (strike) และ การเอียงเทของชั้นหิน (dip) และอธิบายว่านักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านี้เพื่ออะไร

 
 
 

10. วาดรูปโครงสร้างทางธรณีวิทยาต่างๆ ดังนี้ ระนาบแกน (axial plane) แกนรอยพับ (fold axis) เส้นพับ (hinge line) และ ส่วนข้างของชั้นหินคดโค้ง (limb)

 
 
 

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: