Tag: โบราณคดี

สำรวจ

โบราณคดี ใต้ตอต้นตาล

เดินสำรวจแหล่งโบราณคดีมาก็หลายที่ ผู้เขียนก็เพิ่งเคยประสบ ลีลาการพบแหล่งโบราณคดีกันในแบบนี้ สืบเนื่องจากการค้นพบและนำเสนอ แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนงานถลุงเหล็กโบราณ ในพื้นที่บ้านเขาดินใต้ อ. บ้านกรวด จ. บุรีรัมย์ (เพิ่มเติม : พบหอพักหนุ่มสาวโรงงาน ถลุงเหล็กโบราณ ที่บุรีรัมย์) เพื่อที่จะเพิ่มตัวละครในการร้อยเรื่องราว จึงมีการวางแผนสำรวจเพิ่มเติม ในพื้นที่ข้างเคียง ...
สำรวจ

ศิลาแลง : วัสดุก่อสร้างยอดนิยมในอดีต (ยาวหน่อย แต่อร่อยนะ)

เปิดหัวง่ายๆ เลยครับ ศิลาแลง (laterite) เป็นหนึ่งในวัสดุยอดนิยมในอดีต ที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหล่าปราสาท ที่มีอยู่มากมายทั้งในไทยและกัมพูชา ปัจจุบันก็ยังมีการนำศิลาแลงมาใช้ ทั้งบดให้ละเอียดเป็นถนนลูกรัง หรือตัดเป็นก้อนๆ มาปูพื้นแต่งสวน นั่นไง !!! ศิลาแลงถึงได้สำคัญและใกล้ตัว อย่ากระนั้นเลยครับ รู้จักเขาไว้ซักหน่อยก็ดี เผื่อวันดีคืนดี ...
สำรวจ

พบหอพักหนุ่มสาวโรงงาน ถลุงเหล็กโบราณ ที่บุรีรัมย์

ในการเปิดเวย์สำรวจใหม่ในแต่ละพื้นที่ บ่อยครั้งที่นักโบราณคดี พบหลักฐานกิจกรรมการทำงานของมนุษย์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองหินก่อสร้าง (หินทราย-ศิลาแลง) เตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา หรือ กองเนินตระกัน (ขี้แร่) ที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมการถลุงโลหะ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวบ่งชี้การ (เคย) มีอยู่ของกลุ่มคน หรือชุมชน ณ สถานที่นั้นๆ อย่างไรก็ตาม ...
สำรวจ

ปราสาทเมืองเก่า เนียงเขมาเมืองไทย

สำรวจโดย : สันติ ภัยหลบลี้ และ กังวล คัชชิมา ในการเที่ยวชมปราสาทหินทั้งของไทยและกัมพูชา หนึ่งในลีลาที่คนพื้นที่หรือไกด์ทัวร์ พยายามจะสร้างสเน่ห์ให้ปราสาทแต่ละที่ให้มีความเป็นปัจเจก มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือการสกัดจุดเด่น และตั้งฉายาให้กับปราสาทแต่ละหลัง เช่นปราสาทในแถบนครวัด-นครธม ก็จะเน้นความยิ่งใหญ่อลังการ ปราสาทเกาะแกร์ ได้ฉายาว่า พีระมิดแห่งเอเชีย ...
สำรวจ

ข้อย้อนแย้ง ธรณีวิทยา-โบราณคดี : กรณีวัดแสนตุ่ม อ. เขาสมิง จ. ตราด

วัดแสนตุ่ม หรือ วัดเขาโต๊ะโม๊ะ อ. เขาสมิง จ. ตราด คือหนึ่งในแหล่งโบราณคดี ที่ทางกรมศิลปากรได้ประกาศและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในนาม เมืองเก่าแสนตุ่ม ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่ คือสภาพเนินลูกโดด ตั้งตระหง่านอยู่กลางพื้นที่ราบภายในวัด โดยความสูงของเนิน ประเมินด้วยสายตา ...
สำรวจ

“บาราย” ในประเทศไทย ทำไมแห้ง ?

ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ เพื่อที่จะสำรองน้ำไว้ใช้ แต่ละชุมชนนิยมสร้างภาชนะกักเก็บน้ำ 2 รูปแบบ คือ 1) ตระพัง หมายถึง สระน้ำขนาดเล็กรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้าเป๊ะๆ กว้างประมาณ 200-300 เมตร ยาวประมาณ 400-600 เมตร ...
สำรวจ

ฤา ศรีเทพจะมี 3 เมือง ซ้อนทับกัน ?

ถ้าใครได้กดสับตะไคร้ ติดตามความเป็นมาเป็นไปของ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หรือ เมืองโบราณศรีเทพ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็จะรู้ว่า ณ ห้วงเวลา ต่อจากนี้ไป ไอ ไอ ไอ ไอ … ศรีเทพ ได้ถูกอวยยศจากยูเนสโกให้เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม ...
สำรวจ

พระหินทรายสมัยอยุธยา แหล่งที่มาและเส้นทางขนหิน

ในการศึกษาและกำหนดอายุโบราณวัตถุของแต่ละยุคสมัย นอกเหนือจากการพินิจรูปแบบศิลปะ วัสดุที่นำมาใช้สร้างโบราณวัตถุ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่อาจช่วยแปลความเรื่องราวและกำหนดห้วงเวลาทางโบราณคดีได้อยู่บ้าง อย่างในสมัยอยุธยา นอกจากลวดลายและสไตล์เฉพาะตัว หากสังเกตุดูดีๆ จะพบว่าพระพุทธรูปจำนวนมากในสมัยอยุธยา นิยมสร้างจากการแกะสลักขึ้นรูปหินทราย ที่พอจะหามาได้จากธรรมชาติ พระพุทธรูปบางองค์ก็โชว์เนื้อหินทรายเปลือย ส่วนบางองค์ก็ใช้หินทรายเป็นโครงสร้างหลักด้านใน และใช้ปูนปั้นเก็บรายละเอียดลวดลายผิวด้านนอก พระหินทราย กระจายตัวอยู่ที่ไหนบ้าง จากการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและนั่งจิ้มตำแหน่งบนแผนที่ แหล่งพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ...
สำรวจ

ถมอรัตน์ ภูเขาคู่บารมี เมืองศรีเทพ

นอกเหนือจาก โบราณสถาน เขาคลังนอก และโบราณสถานอื่นๆ ทั้งในและนอกเมืองอีกกว่า 100 แห่ง เขาถมอรัตน์ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวละครสำคัญ ที่ช่วยแต่งเติมเสริมสีสันอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีความยิ่งใหญ่อลังการมากยิ่งขึ้น เพราะจากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาพบว่า ถมอรัตน์ไม่ใช่แค่ภูมิประเทศรอบตัวทั่วไป แต่บนเขาถมอรัตน์ มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ทรงคุณค่า และช่วยเชื่อมต่อเรื่องราวว่า ในอดีตคนศรีเทพและเขาถมอรัตน์ผูกพันธ์กัน ...
สำรวจ

ทำไม ศรีเทพ ถึงยิ่งใหญ่นัก ?

ภาพปก : โบราณสถาณเขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ (ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag.com) ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีของไทย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หรือ เมืองโบราณศรีเทพ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดได้ว่าเป็นท็อปเท็น-ท็อปไฟว์ เมืองโบราณสำคัญที่ควรค่าแก่การกดติดตาม และกดกระดิ่ง ยิ่งในปี พ.ศ. ...
วิจัย

ภูมิบ้านนามเมือง : เนิน-โนน-โพน-โคก

ภูมินามวิทยา (toponymy) คือ ศาสตร์ทางด้านภาษา ที่ศึกษาความหมายหรือนัยสำคัญ ของชื่อสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ว่าสื่อสัมพันธ์หรือสำแดงลักษณะเฉพาะอะไรที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มภาษา พืชพันธุ์ สัตว์ สิ่งปลูกสร้าง ทรัพยากร รวมไปถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ถิ่นฐานนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น เช่น ...
สำรวจ

หมุดหมายการเดินทาง คนโบราณ (Ancient Viewshed)

คิดผ่านๆ เพลินๆ คนเดินทางสมัยโบราณ น่าจะอาศัยดูดาวหรือจับทิศลม แต่พอตั้งสติคิดดูดีๆ อ้าวเฮ้ย !!! ต้องเป็นคนแบบไหนถึงชอบเดินทางกันตอนกลางคืน ถ้าเลือกได้ ซึ่งก็เลือกได้ ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน คนเราก็ชอบเดินทางตอนกลางวันกันทั้งนั้น เพราะสว่างชัด วิสัยทัศเยี่ยม ซึ่งหากไม่ชินทาง คนสมัยนี้ก็คงพึ่งพา google map ...
สำรวจ

“ถนนพระร่วง” สุโขทัย คืออะไรกันแน่ ?

นอกจากความเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ตามที่เราเข้าใจสมัยประถมฯ อาณาจักรสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งเมืองโบราณที่ถูกกล่าวขานกันมาตลอด ทั้งในเรื่องความเจริญก้าวหน้าด้านภาษา (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และลีลาการบริหารจัดการน้ำในอดีต โดยในส่วนของตัวเมืองสุโขทัย กรรมวิธีกักเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้ สำแดงไว้อย่างชัดแจ้งผ่านการสร้าง สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่กั้นกักน้ำ ที่ไหลลงมาจาก เขาประทักษ์ ทางตะวันตกของตัวเมือง หลังจากนั้นจึงผันน้ำผ่าน ...
สำรวจ

8 ลีลา คนโบราณ บริหารจัดการน้ำ

สันติ ภัยหลบลี้ และ ชวลิต ขาวเขียว ภาพปก : วารสารเมืองโบราณ น้ำ คือ ชีวิต ทั้งกินทั้งใช้ทั้งทำไร่ทำนา ต้องมีน้ำเข้ามาเอี่ยวเกี่ยวแทบทั้งสิ้น ในสมัยนี้การจัดการน้ำก็ยังดีหน่อย เพราะด้วยองค์ความรู้ที่มีและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้คนรู้จักกักเก็บน้ำไว้ใช้ทั้ง น้ำผิวดิน (surface ...
สำรวจ

เผยสูตรลับ ฐานรากอาคารโบราณ – กรณีศึกษา (บาง) ปราสาทหิน บุรีรัมย์

ทีมสำรวจ : เกชา-สุวภา-ชลิดา-วัชราภา เจริญศิริมณี ปัจจุบันในวงการก่อสร้าง เพื่อให้ตัวอาคารมั่นคงในทางวิศวกรรม วิศวกรเลือกที่จะใช้การตอกเสาเข็ม ก่อนที่จะสร้างอาคารใดๆ อย่างไรก็ตาม ในสมัยโบราณที่เทคโนโลยีเสาเข็มยังไม่มีใช้ แต่เพื่อให้อาคารยังแข็งแรงตั้งอยู่ได้ การปรับปรุงและการสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานรากก่อนสร้างอาคารจึงมีความจำเป็น จากการสำรวจและประมวลถาพรวมในหลายๆ พื้นที่ พบว่าปราสาทในอารยธรรมเขมรโบราณ มักมีการปรับปรุงรากฐาน ก่อนที่จะนำหินทรายหรือศิลาแลงมาวางเป็นตัวประสาทต่อไป อย่างที่เราทราบกันว่าในปัจจุบัน ...
สำรวจ

โบราณคดี x แผ่นดินไหว – กรณีศึกษา วัดส้มสุก เชียงใหม่

โบราณสถาน วัดส้มสุก อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองเก่าสำคัญในลุ่มน้ำฝาง วัดส้มสุกโด่งดังในทางโบราณคดี เพราะในช่วงที่ขุดค้นและบูรณะ พบ จารึกโบราณ อักษรฝักขาม อยู่ในแผ่นอิฐจำนวนมากกว่า 200 ก้อน (ครองสถิติ จารึกมากที่สุดในประเทศไทย) ยืนยันถึงการเผยแพร่ ...
สำรวจ

ข้อสังเกตทางธรณีวิทยา สู่เจตนาการซ่อนแอบโบราณ เขาปลายบัด บุรีรัมย์

ภาพปก : ประติมากรรมสำริด ที่ขุดพบในพื้นที่ปราสาทเขาปลายบัด ๒ นอกเหนือจาก ปราสาทหินพนมรุ้ง (บนเขาพนมรุ้ง) และ ปราสาทเมืองต่ำ (ที่ราบตอนล่างเชิงเขา) เขาปลายบัด อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ทางตอนใต้ของเขาพนมรุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งดินแดนแห่งศาสนสถานโบราณที่สำคัญในทางโบราณคดี ...
สำรวจ

ทำไมของโบราณต้องฝังอยู่ใต้ดิน ? แล้วทำไม นักโบราณคดีต้องขุด ?

ภาพปก : หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ต. บ้านเชียง อ. หนองหาน จ. อุดรธานี (ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th) บทความสั้นๆ นี้ เกิดจากความซุกซนทางความคิดของผู้เขียน อาจจะไม่ใช่ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจมากนัก แต่หลายครั้งที่ออกสำรวจทาง ธรณีวิทยาโบราณคดี ...
สำรวจ

ปราสาทหินกลางน้ำ : ความน่าจะมี ในหลายที่ของไทย

“สวัสดีครับ !!! เมืองไทยมี ปราสาทหินกลางน้ำ” ออกตัวต้นเรื่องกันแบบล้อฟรีขนาดนี้ ผู้อ่านคงจะงงว่า วันนี้จะมาไม้ไหน ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ แค่อยากจะบอก อยากจะช่วยโปรโมตว่า ประเทศไทยของเรามี ปราสาทหินกลางน้ำ อยู่จริงๆ เพียงแค่เราอาจจะยังไม่เคยทราบ อาจจะไม่เคยเห็น หรืออาจจะเห็นแต่ไม่เคยสังเกต จริงๆ แล้ว ...
สำรวจ

พนมวัน – ธรณีวิทยา : ปราสาทหินสไตล์ LGBTQ+

ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ต. บ้านโพธิ์ อ. เมือง จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรโบราณ สภาพเดิมก่อนบูรณะ ตัวปราสาทพังเสียหายอย่างหนัก ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้เข้าบูรณะ พ.ศ. 2532 และแล้วเสร็จในปี ...