Latest Articles

เรียนรู้

ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, 2009) หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ๆ ...
เรียนรู้

เครื่องจับแผ่นดินไหวแรกของโลก กับความคูลของคุณปู่จาง

ย้อนอดีตกลับไปในสมัยราชวงศ์ฮั่น ด้วยความเก่งกล้าสามารถของฮ่องเต้ในยุคนั้น ทำให้ราชวงศ์ฮั่นสามารถรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นแผ่ไพศาลไปเกือบทั่วประเทศจีนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ในพื้นที่ ทำให้อาณาจักรฮั่นเกิดแรงสั่นบ่อยครั้งจากแผ่นดินไหว และประชาชนของฮ่องเต้ก็ได้รับทุกข์เข็ญให้เห็นกันอยู่เนืองๆ ด้วยคอนเซ็ปของฮ่องเต้ที่ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ฮ่องเต้จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆ ต้องส่งข่าวโดยเร็วเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งกรรมก็มาตกลงตรงที่ ม้าเร็วต้องคอยคาบข่าวควบเข้าเมือง อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งช่วงแรกก็โอเคดีตามแรงม้า แต่พอยืนระยะยาวๆ ม้าเหนื่อย ม้าเริ่มท้อแท้ ...
เรียนรู้

การกัดกร่อนในทะเลทราย

อย่า่งที่รู้กันว่าทะเลทรายเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งและมีสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ดังนั้นกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลทรายจึงสร้างลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจพอสมควร ในส่วนของการกัดกร่อนในทะเลทราย สามารถจำแนกจากปัจจัยของการกัดกร่อนได้ 2 ปัจจัย คือ ลมและน้ำ ซึ่งแต่ละแบบก็มีพฤติกรรมและลักษณะที่เกิดจากการกัดกร่อนที่แตกต่างกันทั้งระหว่างน้ำและลม และที่สำคัญแตกต่างจากการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ของโลก การกัดกร่อนโดยลม นักวิทยาศาสตร์จำแนกรูปแบบการกัดกร่อนและพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ...
เรียนรู้

แร่ประกอบหิน

แร่ (mineral) หมายถึง ธาตุ หรือ สารประกอบ ของแข็งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างผลึกคงที่ มีสูตรเคมีแน่นอน และมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีที่เฉพาะตัว เช่น แร่ทองคำ แร่ควอตซ์ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์จำแนกแร่ตามมูลค่าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) แร่เศรษฐกิจ ...
วิจัย

7 ตัวอย่างการนำค่า b มาศึกษานิสัยการปริแตกบนโลก

จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ดังแสดงในสมการ (1) ( Ishimoto และ Iida, 1939; Gutenberg และ Richter, 1944) กำหนดให้ NM คือ จำนวนหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวสะสม ...
เรียนรู้

มีวิธีไหนบ้างที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้

ธรณีแปรสัณฐาน กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic activity) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานในแต่ละรูปแบบ 1) การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ภูมิประเทศยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา ซึ่งหากภูเขาสูงเกินเส้นแบ่งหิมะ สภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นแบบหนาวเย็นและปกคลุมไปด้วยหิมะ นอกจากนี้การยกตัวของภูเขายังทำให้ความชันของพื้นที่สูงขึ้น อัตราการผุพังสูงขึ้น ทำให้เกิดเศษหินเพิ่มมากขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดต่ำลง ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโดยรวมนั้นเย็นตัวลง เช่น การยกตัวของเทือกเขาหิมาลัยทำให้มหายุคซีโนโซอิกเย็นขึ้น 2) การแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก ...
เรียนรู้

สิ่งที่ภูเขาไฟผุยออกมา ไม่ได้มีลาวาแค่อย่างเดียว

กรวดภูเขาไฟ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาจำแนกกรวดภูเขาไฟตามขนาด ดังแสดงในตารางด้านล่าง ชนิด ขนาด (มม.) ลักษณะเฉพาะ ฝุ่นภูเขาไฟ (dust)  < 0.2 ฟุ้งได้ไกลและอยู่ในอากาศได้นาน เถ้าภูเขาไฟ ...
เรียนรู้

โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง

แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ซึ่งแตกเป็นแผ่นๆ ลอยอยู่บนส่วนที่เป็นเนื้อโลก ...
เรียนรู้

6 สภาพแวดล้อม ที่ทำให้หินแข็งๆ แปรสภาพได้

จากลักษณะการแปรสภาพหินประกอบกับลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีแปรสัณฐานที่หินแปรชนิดต่างๆ นั้นถูกพบ นักธรณีวิทยาสามารถจำแนกสภาพแวดล้อมของการแปรสภาพเป็น 6 รูปแบบ 1) แปรจากสารละลายน้ำร้อน การแปรสภาพจากสารละลายน้ำร้อน (hydrothermal metamorphism) พบมากแถบสันเขากลางมหาสมุทร โดยน้ำทะเลไหลแทรกซึมลงไปตามแนวรอยแตกของสันเขากลางมหาสมุทร น้ำได้รับความร้อนจากมวลแมกมาใต้พื้นผิวโลกและทำละลายกับหินในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร เกิดเป็น สารละลายน้ำร้อน (hydrothermal solution) ที่มีไอออนชนิดต่างๆ และก๊าซจากหินหนืดผสมกัน พุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกในรูปของ ...
เรียนรู้

6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา

หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ประกอบด้วยหินอัคนีและหินแปรในยุคเก่า (โดยส่วนใหญ่มีอายุหินมากกว่า ...
เรียนรู้

รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา

ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง ภูมิลักษณ์จากการปะทุ 1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ทำให้เศษกรวดภูเขาไฟ กระเด็นออกจากปากปล่องกลายเป็นแอ่ง ...
เรียนรู้

มหายุคซีโนโซอิก – มหายุคแห่งนม

มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) เริ่มต้นเมื่อประมาณ 65 ล้านปี ถึงปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเข้ามาแทนที่สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปในมหายุคมีโซโซอิก พืชโดยส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีดอก ในทางธรณีแปรสัณฐาน มหายุคซีโนโซอิกเกิด กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) ที่สำคัญ 2 พื้นที่ คือ 1) แนวเทือกเขาอัลไพน์-หิมาลัย (Alpine-Himalayan ...
เรียนรู้

การคดโค้งโก่งงอของหิน

ชั้นหินคดโค้ง (fold) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินถูกแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานแบบบีบอัด (compressional stress) ทำให้หินเกิดความเครียดแบบหดสั้นลง และเกิดการคดโค้ง โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่เข้าหากัน และเป็นโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดแนวเทือกเขา และเพื่อที่จะจำแนกรูปร่างและการวางตัวของชั้นหินคดโค้งในรายละเอียด นักธรณีวิทยาจึงกำหนดส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของชั้นหินคดโค้งไว้อย่างน้อย 5 ส่วน 1) จุดพับ (hinge point) และ ...
เรียนรู้

ทะเลทรายไม่ได้ร้อนเสมอไป แถมยังเกิดได้หลายแบบ

โลกมี พื้นที่แห้งแล้ง (arid area) กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสภาพแวดล้อมแห้งแล้งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) หมายถึง พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) ฝนตกโดยเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตร โดยส่วนใหญ่อยู่ตามรอยต่อระหว่างทะเลทรายและพื้นที่ปกติ ...
เรียนรู้

กระบวนการแปรสภาพหิน

การแปรสภาพหิน (metamorphism) หมายถึง กระบวนการฟแปรสภาพ หินเดิม (photolith) ทั้งหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปร ให้กลายเป็น หินแปร (metamorphic rock) ซึ่งมีลักษณะหน้าตาไม่เหมือนเดิม โดยที่หินไม่หลอมละลายและยังคงสัดส่วนของแร่องค์ประกอบคล้ายกับหินเดิม ปัจจัยการแปรสภาพ ปัจจัยที่ทำให้หินแปรสภาพในขณะที่ยังเป็นของแข็งอยู่ประกอบด้วย 3 ปัจจัย 1) ความดัน ...
เรียนรู้

หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน

ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับสภาวะปกติของโลก เช่น ...
เรียนรู้

มหายุคพาลีโอโซอิก – เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มรุกขึ้นบก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 545-245 ล้านปี คิดเป็นประมาณ 7% ของประวัติศาสตร์โลก สิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยจำกัดอยู่เฉพาะในทะเล เช่น ปะการัง ไครนอยด์ ไทรโลไบต์ ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลาง สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก แมลงและพืชเคลื่อนที่สู่แผ่นดิน เกิดพืช เช่น เฟิร์นและต้นไม้ที่ไม่มีเมล็ด ...
เรียนรู้

รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน

รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ของหิน ทำให้หินเกิดรอยแตกในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแรงที่กระทำสูงที่สุด ...
เรียนรู้

มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย (ginkgoe) เป็นพืชโดดเด่นของมหายุคมีโซโซอิก ...
เรียนรู้

มหายุคพรีแคมเบียน – มหายุคแห่งการจัดแจงโลกและสิ่งมีชีวิต

ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมา ช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลก ซึ่งเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลก กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจึงง่วนไปกับการจัดระบบระเบียบของวัสดุหรือแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น ซึ่งตลอดช่วงเวลาของมหายุคนี้มีลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นบนโลกอยู่พอสมควร โดยนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งมหายุคพรีแคมเบียนออกเป็น ...