สำรวจ

พระหินทรายสมัยอยุธยา แหล่งที่มาและเส้นทางขนหิน

ในการศึกษาและกำหนดอายุโบราณวัตถุของแต่ละยุคสมัย นอกเหนือจากการพินิจรูปแบบศิลปะ วัสดุที่นำมาใช้สร้างโบราณวัตถุ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่อาจช่วยแปลความเรื่องราวและกำหนดห้วงเวลาทางโบราณคดีได้อยู่บ้าง อย่างในสมัยอยุธยา นอกจากลวดลายและสไตล์เฉพาะตัว หากสังเกตุดูดีๆ จะพบว่าพระพุทธรูปจำนวนมากในสมัยอยุธยา นิยมสร้างจากการแกะสลักขึ้นรูปหินทราย ที่พอจะหามาได้จากธรรมชาติ พระพุทธรูปบางองค์ก็โชว์เนื้อหินทรายเปลือย ส่วนบางองค์ก็ใช้หินทรายเป็นโครงสร้างหลักด้านใน และใช้ปูนปั้นเก็บรายละเอียดลวดลายผิวด้านนอก

พระพุทธรูปที่ตั้งเรียงรายภายในวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แกะสลักจากหินทรายสีขาว ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้วัสดุเฉพาะ ตามสมัยนิยมของศิลปะสมัยอยุธยา (ที่มา : The Bangkok Insight)

พระหินทราย กระจายตัวอยู่ที่ไหนบ้าง

จากการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและนั่งจิ้มตำแหน่งบนแผนที่ แหล่งพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ พบว่าโดยส่วนใหญ่ พระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา กระจายตัวอยู่ภายในที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง จะมีบ้างบางส่วนที่อยู่ในภาคใต้ของไทย เช่นจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี

ในกรณีขององค์พระหินทรายสีขาว (สี่เหลี่ยมสีขาวในแผนที่) พบกระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่น 2 พื้นที่ คือ 1) อยุธยา เช่น วัดท่าทราย วัดสมณโกฎฐาราม วัดมหาธาตุ วัดโคกมะเกลือ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดสิงห์ วัดหอระฆัง วัดกษัตรา วัดดุสิต วัดถนนจีน วัดราชพลี วัดนางกุย วัดใหญ่ชัยมงคล และ 2) กรุงเทพมหานคร (กรุงรัตนโกสินทร์) เช่น วัดบางกร่าง วัดธรรมาภิรตาราม วัดปฐมบุตรอิศราราม วัดอังกุลา วัดไทร วัดกำแพง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (จอมทอง) เป็นต้น

นอกจากนี้ยีงพบพระหินทรายสีขาวอีกประปราย กระจายตัวอยู่บ้างที่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร (หลวงพ่อโสธร) จ.ฉะเชิงเทรา วัดการ้อง จ. สุพรรณบุรี เมืองโบราณศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี และ เมืองโบราณศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ ก็สร้างจากหินทรายสีขาวในสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน

แผนที่ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของไทย แสดงการกระจายตัวของพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่นิยมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สี่เหลี่ยมสีขาวแสดงพระพุทธรูปที่แกะสลักมาจากหินทรายสีขาว ส่วนสี่เหลี่ยมสีแดง แสดงพระพุทธรูปหินทรายแดง

ในกรณีของพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ที่แกะสลักจากหินทรายสีแดง ก็พบอยู่อีกไม่น้อย โดยการกระจายตัวจะเทไปทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย เช่น วัดศิริเจริญเนินหม้อ และ วัดเขาเหลือ จ. ราชบุรี ซึ่งพบพระพุทธรูปแกะสลักหินทรายแดงจำนวนมาก วัดการ้อง จ. สุพรรณบุรี วัดหลังศาลประสิทธิ์ จ.สมุทรสาคร วัดบางอ้อยช้าง จ. นนทบุรี และวัดแจงร้อน ในกรุงเทพฯ ก็พบพระพุทธรูปหินทรายแดงเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นตีความจากรูปลักษณ์ได้ว่า ล้วนสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น

กลุ่มพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายสีแดง ณ วัดศิริเจริญเนินหม้อ จ. ราชบุรี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ที่มา : www.Faiththaistory.com)
ลองจิจูดละติจูดสถานที่ลองจิจูดละติจูดสถานที่
100.26016.829วัดศรีสุคต100.014.4วัดการ้อง ต.สวนแตง
100.26116.828วัดวิหารทอง100.513.8วัดบางอ้อยช้าง
100.26216.824วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)100.513.7วัดแจงร้อน
101.14515.464อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ99.813.6วัดศิริเจริญเนินหม้อ
100.47214.414วัดตามา บางบาล99.813.5วัดเขาเหลือ
100.47414.410วัดไทรน้อย100.213.5วัดหลังศาลประสิทธิ์
100.54414.409วัดกำแพง (ใกล้ค่ายโพธิ์สามต้น)99.29.4วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
99.97014.375วัดการ้อง ต.สวนแตง99.69.2วัดชลคราม
100.50214.374วัดเครียด99.38.7เมืองโบราณเวียงสระ
100.57814.366วัดสะพานเกลือ
100.56914.363วัดท่าทราย
100.59014.361วัดสมณโกฎฐาราม
100.56814.357วัดมหาธาตุ
100.59014.357วัดโคกมะเกลือ ร้าง
100.55814.356วัดพระศรีสรรเพชญ์
100.54814.355วัดสิงห์
100.57514.352วัดหอระฆัง
100.54414.352วัดกษัตรา
100.59214.351วัดดุสิต
100.57314.350วัดถนนจีน
100.53114.349วัดราชพลี
100.57414.347วัดนางกุย
100.58014.346ประตูช่องกุด โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย
100.59214.346วัดใหญ่ชัยมงคล
100.53013.967วัดชินวรารามวรวิหาร
101.41413.895เมืองศรีมโหสถ
100.46113.835วัดบางกร่าง
100.53413.798วัดธรรมาภิรตาราม
100.47713.774วัดปฐมบุตรอิศราราม
100.45113.773วัดอังกุลา
100.44613.740วัดกำแพง
100.46513.703วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (จอมทอง)
100.45713.690วัดไทร
100.52013.677วัดแจงร้อน
101.06713.674วัดโสธรวรารามวรวิหาร
99.9648.425วัดเสมาเมือง
99.9648.425วัดเสมาเมือง

หินทรายมาจากไหน

หากจะตามหาแหล่งที่มาของหินทรายที่ใช้แกะสลักพระพุทธรูป โดยใช้วิธีไล่หาตามเขาไปทีละลูกตามหลักภูมิศาสตร์ทั่วไป การสรุปที่มาที่ไปของหินทรายก็คงทำได้ยาก แต่จากข้อมูลการกระจายตัวของหินชนิดต่างๆ ที่สำรวจและประมวลผลไว้จากกรมทรัพยากรธรณี จะพบว่าเขาต่างๆ ที่รายรอบภาคกลางตอนล่าง ไม่ว่าจะเป็นภาคตะวันตก แถบ จ. กาญจนบุรี ราชบุรี หรือทางตะวันออก แถบ จ. สระบุรี ฉะเชิงเทรา และ จ. ปราจีนบุรี ทั้งหมดนี้มีอยู่แค่ไม่กี่ที่ ที่เป็นเขาหินทราย ซึ่งจากการสกรีนในรายละเอียดพบว่า พื้นที่ภาคกลางตอนล่างของไทยและใกล้เคียง มีภูเขาที่เป็นหินทรายสีขาว-สีขาวอมเทา อยู่เพียง 2 ที่ คือ 1) เขาสำเภาล่ม ใน จ. ลพบุรี และ 2) เทือกเขาใหญ่ ซึ่งก็อยู่ลึกเข้าไปทางภาคตะวันออก แถบ จ. ปราจีนบุรี หรืออาจจะแถมอีกที่ ก็อยู่ตามแนวเขาพังเหย-เขายายเที่ยง ขอบที่ราบสูงโคราช แถบจ. นครราชสีมา และ จ. ชัยภูมิ

โดยในทางธรณีวิทยา กำหนดให้หินทรายสีขาวอมเทาอยู่ใน หมวดหินพระวิหาร (Phra wihan Formation) ของ กลุ่มหินโคราช (Korat Group) ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานพบแหล่งตัดหินโบราณอยู่ 2 พื้นที่ คือ 1) แหล่งตัดหินบ้านโคกสลุง ต. โคกสลุง อ. พัฒนานิคม จ. ลพบุรี และ 2) แหล่งตัดหินเชิงเขาวัดราชบรรทม ต. เพนียด อ. โคกสำโรง จ. ลพบุรี โดยทั้ง 2 แหล่ง เป็นส่วนหนึ่งของ เขาสำเภาล่ม ลพบุรี

แหล่งตัดหินบ้านโคกสลุง ต. โคกสลุง อ. พัฒนานิคม จ. ลพบุรี

ในกรณีของพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายสีแดง ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตเห็นว่ากระจายตัวอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย จากการสกรีนในรายละเอียดถึงการกระจายตัวของหินทรายสีแดงที่มีอยู่ในพื้นที่เทือกเขาในละแวก พบว่าทั่วทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่ของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี จะมีหินทรายสีแดงอยู่เพียงกระจึ๋งเดียว โดยพบตามแนวเทือกเขาขนาดเล็กที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ (NW-SW) ทางฝั่งตะวันตกของ วัดศิริเจริญเนินหม้อ (วัดโคกหม้อ) ต.โคกหม้อ อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ซึ่งในทางธรณีวิทยา จัดเขาหินทรายสีแดงนี้อยู่ใน 1) หมวดหินกล้อทอ (Klo Tho Formation) และ 2) หมวดหินตะซูโคะ (Ta Sue Kho Formation) ของ กลุ่มหินอุ้มผาง (Umphang Group) (Meesook, 1994)

ตัวอย่างแผ่นหินทรายสีแดง ที่ปัจจุบันยังมีการทำเมืองหิน ในแถบ ต. ทุ่งหลวง อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี เพื่อจำหน่ายไปแต่งบ้านเติมสวน

หินทรายเดินทางมายังไง

จากตำแหน่งพระพุทธรูปสลักหินทรายที่รวบรวมได้ ประกอบกับแหล่งที่มาของหินทรายธรรมชาติทั้งสีขาวและสีแดง ที่กระจายตัวอยู่โดยรอบภาคกลางตอนล่างของไทย ผู้เขียนได้วิเคราะห์และจำลองเส้นทางการขนหินที่พอจะเป็นไปได้ ด้วยปัจจัยด้านภูมิประเทศ ซึ่งจากข้อมูลภูมิประเทศ (DEM) ร่วมกับ เทคนิคการวิเคราะห์แบบภูมิสารสนเทศ (GIS) พบว่า มีความเป็นไปได้สูงที่หินทรายสีขาวอมเทา (หมวดหินพระวิหาร) จะถูกขนมาจากเขาสำเภาล่ม ใน จ. ลพบุรี เพราะเป็นแหล่งหินทรายสีขาวที่อยู่ใกล้อยุธยาและกรุงเทพฯ มากที่สุด ในขณะที่หินทรายสีขาวจากเทือกเขาใหญ่ ของ จ. ปราจีนบุรี ก็ดูจะไกลเกินไปถึงแม้จะมีอยู่ก็ตาม

แผนที่ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของไทย แสดงการกระจายตัวของพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่นิยมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สี่เหลี่ยมสีขาวแสดงพระพุทธรูปหินทรายขาว สี่เหลี่ยมสีแดงแสดงพระพุทธรูปหินทรายแดง เส้นสีขาวแสดงเส้นทางการขนย้ายหินที่เป็นไปได้ของหินทรายสีขาว ส่วนเส้นสีแดงแสดงการขนย้ายหินทราบสีแดงมาสู่ปลายทาง

โดยในกรณีแหล่งตัดหินโบราณที่ 1) เชิงเขาวัดราชบรรทม ในทางภูมิศาสตร์ ในช่วงแรกคงต้องขนมาทางบกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านปรางค์แขก และพระปรางค์สามยอด ในตัวเมืองลพบุรี ซึ่งหากอยากให้ขนมาทางน้ำ ก็สามารถล่องเรือต่อมาตามแม่น้ำลพบุรีเข้าสู่อยุธยาได้เช่นกัน ในกรณีของแหล่งตัดหิน 2) บ้านโคกสลุง จากตำแหน่งที่แสดงในแผนที่และเส้นทางการวิเคราะห์การขนย้ายหิน ชีดชัดว่ามีความเป็นไปได้สูง ที่การขนหินจะใช้วิธีล่องมาตามแม่น้ำป่าสัก ผ่านสระบุรี ก่อนจะเข้าสู่อยุธยา เพราะเส้นทางที่วิเคราะห์ได้จากคอมพิวเตอร์ (เส้นสีขาว) และ แม่น้ำป่าสัก (เส้นสีน้ำเงิน) ทับกันเกือบสนิทมาตลอดทาง

ในกรณีของหินทรายสีขาวที่ใช้แกะสลักหลวงพ่อโสธร จ. ฉะเชิงเทรา และ พระพุทธรูปหินทราย ในเมืองโบราณศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี หากมองเพียงบริบทภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว ก็มีความเป็นไปได้ ที่จะใช้หินทรายจากเทือกเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งหินทรายที่อยู่ใกล้ที่สุด แต่ประวัติการจัดสร้างรวมทั้งบริบทอื่นๆ ในรายละเอียด ก็ต้องไปศึกษากันต่อไป

พระพุทธรูปที่ตั้งเรียงรายภายในวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แกะสลักจากหินทรายสีขาว ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้วัสดุเฉพาะ ตามสมัยนิยมของศิลปะสมัยอยุธยา (ที่มา : The Bangkok Insight)

ในกรณีของหินทรายสีแดง ผลการวิเคราะห์เส้นทางแสดงให้เห็นแนวโน้มการขนหินทรายจากแหล่งหินใน จ. ราชบุรี ไปสร้างพระในที่ต่างๆ ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะล้อไปกับแนวคลองคนขุดที่วิ่งจาก จ. ราชบุรี จ. สมุทรสงครามมาสู่กรุงเทพฯ ซึ่งจากการสำรวจเชิงเอกสารพบว่า 1) คลองสุนัขหอน มีมาตั้งแต่อยุธยา 2) คลองดำเนินสะดวก ขุดสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วน 3) คลองสนามไชย หรือ คลองมหาชัยชลมาค ขุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ. 2245-51) จึงมีความเป็นไปได้ว่าหินทรายหรือพระพุทธรูปหินทรายสีแดง ที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบ จ. ราชบุรี จะขนไปยังที่ต่างๆ ผ่านเส้นทางทางบกได้ แต่หากต้องการมาทางน้ำก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยผ่านคลองสุนัขหอน และต่อเข้าคลองมหาชัยชลมาค ตามลำดับ

กลุ่มพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายสีแดง ณ วัดศิริเจริญเนินหม้อ จ. ราชบุรี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ที่มา : www.Faiththaistory.com)

ป.ล. งานวิจัยนี้ ผู้เขียนเพียงขึ้นโครงไว้ให้ เผื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา และสำรวจเพิ่มเติม เพื่อกระชับความถูกต้องต่อไปในอนาคตครับ 🙂

ท่านใดสนใจข้อมูลผลการวิเคราะห์เพิ่มเติม ในรูปแบบไฟล์ Google Earth (.kmz) โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยนะครับ : พระหินทรายสมัยอยุธยา แหล่งที่มาและเส้นทางขนหิน
https://drive.google.com/drive/folders/14LNUf6UNOiuPcV3S4Xg8VxDgRalngK9K?usp=drive_link

เกร็ดความรู้คู่เรื่องเล่า

สมัยอยุธยาตอนต้น – พระพุทธรูปดูเข้มแข็ง ท่าทางขึงขัง มีลักษณะผสมทั้งลพบุรี อู่ทองและสุโขทัย

สมัยอยุธยาตอนกลาง – นิยมทำพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีวงพระพักตร์และพระรัศมีตามแบบสุโขทัย สร้างจากปูนปั้น สลักหิน และหล่อด้วยโลหะ

สมัยอยุธยาตอนปลาย – พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์ มีลายกระหนกอ่อนพลิ้วซ้อนกัน ลวดลายต่าง ๆ เริ่มประดิษฐ์เป็นแบบแผนเฉพาะตัวของไทยมากขึ้น

ที่มา : https://th.m.wikipedia.org
Share: