เรียนรู้

ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก บันทึกทางธรณีวิทยา (geological record) โดยเฉพาะในบางครั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ไม่สมบูรณ์ นักแผ่นดินไหววิทยาอาจใช้ข้อมูลจากแหล่งโบราณคดี ช่วยยืนยันการมีอยู่ หรือเพิ่มข้อมูลรายละเอียดให้กับบันทึกประวัติศาสตร์ได้ เช่น การประเมินระดับความรุนแรงจากสภาพความเสียหายที่พบได้ในแหล่งโบราณคดี ซึ่งหลักฐานสำคัญที่นักโบราณคดีใช้ในการแปลความหมายแผ่นดินไหวแบ่งได้ 3-4 กลุ่ม คือ (Galadini และคณะ, 2006)

1) การเลื่อนตัวของรอยเลื่อน

หลักฐานการเลื่อนตัวของโบราณสถาน บ่งบอกถึงแนวหรือ ระนาบรอยเลื่อน (fault plane) โดยเฉพาะเมื่อมีการเลื่อนตัวแบบเหลื่อมข้าง ทำให้เห็นการเลื่อนตัวของโบราณสถานต่างๆ ใช้เป็นหลักฐานของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้ เช่น แนวท่อน้ำ ถนน หรือแนวกำแพง เป็นต้น (รูป 1-2 และ 5-11) ซึ่งถ้าหลักฐานดังกล่าวมีการเลื่อนตัวชัดเจน นักแผ่นดินไหววิทยาหรือนักโบราณคดีก็สามารถวัดระยะการเลื่อนตัว และสามารถคำนวณอัตราการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นและมีประโยชน์อย่างมากใน การประเมินระดับภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Meghraoui, 2003)

หลักฐานจากแหล่งโบราณคดีที่มีนัยว่าน่าจะเกิดจากแผ่นดินไหว (1-2 และ 5-11) โบราณสถานมีการเลื่อนตัวในแนวระนาบ (3-4) แนวการล้มของเสาหิน ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับทิศทางของแรงสั่นหรือทิศของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว (Hinzen และคณะ, 2009)

2) ระดับแรงสั่นสะเทือน

ผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน เช่น อาคารแตกหัก กำแพงเอียง การเคลื่อนหรือการบิดเบี้ยวไปจากเดิม หรือการล้มคว่ำของวัตถุ เช่น เสา อนุสาวรีย์ ป้ายหลุมศพ (รูป 3-4) ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานตั้งต้นในการศึกษาด้านแผ่นดินไหวได้ แต่หลักฐานเหล่านี้ ไม่สามารถบอกแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้ (Nikonov, 1988) จะบอกได้แค่ว่าได้รับแรงสั่นสะเทือนเท่าใด

ตัวอย่างการแปลความด้านแรงสั่นสะเทือนจากซากโบราณสถาน เช่น จากรูป 3-4 หากมองเผินๆ ก็จะบอกว่าเสาต่างๆ นั้นล้มจากแรงสั่นสะเทือน แต่นักแผ่นดินไหววิทยาจับประเด็นได้เพิ่มเติมว่า เสานั้นล้มไปในทิศทางเดียวกัน

เพราะด้วยความเสาล้มไปในทางเดียวกัน นักแผ่นดินไหวจึงแปลว่าเสาน่าจะล้มเพราะแรงสั่นของ คลื่นเนื้อโลก (body wave) อย่างคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิ ทั้งนี้ก็เพราะคลื่นทั้งสองมีการเคลื่อนที่ของอนุภาคไปในทิศทางเดียว ต่างจากคลื่นพื้นผิวที่เมื่อวิ่งผ่านที่ใดๆ อนุภาคจะเคลื่อนที่แบบปั่นป่วน

แผ่นดินไหว 1 ครอบครัว (มีอยู่ 4 ตัว ลูก 2 หลาน 2) และผลกระทบต่อวัตถุบนพื้นผิวโลก

และก็เพราะจากความที่เชื่อว่าเสาล้มเพราะคลื่นเนื้อโลก ซึ่งโดยธรรมชาติคลื่นเนื้อโลกจะมีขนาดหรือแอมพลิจูดต่ำกว่าคลื่นพื้นผิวอยู่มากโข นักแผ่นดินไหวจึงแปลความสรุปว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ทำให้เสาล้มนั้น น่าจะมีขนาดใหญ่พอสมควร ใหญ่จนถึงขนาดว่าแค่คลื่นเนื้อโลกก็ยังสามารถทำให้เสาล้มได้ แล้วในวันนั้นคลื่นพื้นผิวจะรุนแรงขนาดไหน

ลำดับเวลาการเดินทางไปถึงที่ต่างๆ และแอมพลิจูดของคลื่นไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละชนิด

3) ผลกระทบทางอ้อม

ผลกระทบทางอ้อม เช่น ถ้ามีการทรุดตัวของอาคาร หรือมีหลักฐานของทรายพุ ก็ช่วยยืนยันว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวเมื่อใดในละแวกหรือแถบนั้น ตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ Kázmér และคณะ (2011) ที่ศึกษาเจดีย์โบราณในจังหวัดเชียงใหม่และสุดท้ายก็แปลความออกมาในรูปแบบของภัยพิบัติแผ่นดินไหว

โดย Kázmér และคณะ (2011) ได้สังเกตเห็นว่าเจดีย์โบราณ ที่กระจายตัวตามที่ต่างๆ รอบเมืองเชียงใหม่ มีการเอียงเทจนผิดสังเกต ดังนั้นจึงได้มีการเก็บรายละเอียดตำแหน่งที่ตั้งและทิศทางการเอียงเทของเจดีย์เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งจากการทำแผนที่และประมวลผล พบว่าในบรรดาเจดีย์ทั้งหมดที่เก็บข้อมูลมาได้นั้น มีทั้งที่เอียงและไม่เอียงปะปนกันไป

(ก) เจดีย์ใน จังหวัดเชียงใหม่ แสดงลักษะการเอียงตัวไปทางขวาของภาพ (ข) แผนที่แสดงการกระจายตัวของเจดีย์ รอบตัวเมืองเชียงใหม่ (กรอบสี่เหลี่ยม) จุดทึบคือเจดีย์ที่แสดงการเอียงตัว และเส้นชี้ทิศการเอียง ส่วนจุดโปร่งคือจุดที่ไม่ปรากฏว่าเอียงตัวของเจดีย์ (ค) รายละเอียดวัดและเจดีย์ทั้งหมดรอบตัวเมืองเชียงใหม่ ที่มีหลักฐานทางเอกสารว่าสร้างก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในปี พ.ศ. 2088 (ค.ศ. 1545) หมายเลขแสดงลำดับการสำรวจของแต่วัด ซึ่งทั้งหมดมีความเอียง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Kazmer และคณะ, 2011)

หลังจากได้มีการสืบสาวราวเรื่องกันต่อ พบว่าเจดีย์ที่เอียงส่วนใหญ่สร้างมาก่อนแผ่นดินไหวใหญ่ พ.ศ. 2088 ที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า แผ่นดินไหวครั้งนั้นรุนแรงมากจนทำให้เจดีย์หลวง เจดีย์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ พังทลายลงมา ด้วยเหตุนี้ Kázmér และคณะ (2011) จึงเชื่อว่านอกจากแรงสั่นสะเทือนจะพังทลายเจดีย์หลวงแล้ว แผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2088 ยังส่งผลให้เจดีย์ส่วนใหญ่ในตัวเมืองเชียงใหม่นั้นเอียงไปจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก ทรายพุ (liquefraction) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากพฤติกรรมเฉพาะของชั้นทรายชุ่มน้ำ ที่เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทรายจะสามารถเคลื่อนตัว ทำให้พื้นที่เกิดอาการตะปุ่มตะป่ำ และทำให้สิ่งปลูกสร้างทรุดตัวได้

สภาพเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนยอดได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ซึ่งเดิมเจดีย์หลวงมีความสูง 80 เมตร แต่หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น ทำให้ส่วนยอดพังทลายลง (Kazmer และคณะ, 2011)
ตัวอย่างผลกระทบจากทรายพุในปัจจุบัน เชื่อว่าน่าจะไม่ต่างอะไรกับเจดีย์เอียงที่เชียงใหม่ (ซ้าย) ตึกเอียง (ไม่ได้ถล่ม) หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2507 (ขวา) แท็งก์น้ำที่อยู่ใต้ดินผุดขึ้นมาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น พ.ศ. 2507

เพิ่มเติม : ทรายพุและโคลนภูเขาไฟ

นอกจากนี้ หลักฐานการย้ายถิ่นฐานหรือการซ่อมแซมโบราณสถาน ก็พอจะอนุมานได้ว่า เมืองน่าจะพบกับแผ่นดินไหว แต่ในทางวิชาการจะตอบได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหว แล้วใช้หลักฐานการย้ายถิ่นฐานเป็นเพียงข้อมูลเสริมเท่านั้น ไม่ใช้พบการย้ายหรือสร้างใหม่ แล้วกระโดดใส่เลยว่ามาจากแผ่นดินไหว เพราะหลักฐานค่อนข้างอ่อน (Galadini และคณะ, 2006)

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024