Tag: รอยเลื่อน

สำรวจ

รอยเลื่อนมีพลัง ประเทศไต้หวัน

เรียบเรียง : ภูริช โพธิ์ไอยรา และ สันติ ภัยหลบลี้  ประเทศไต้หวันตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ 1) แผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) และ 2) ...
สำรวจ

กำเนิด ภูมิประเทศ ภาคเหนือของไทย

ในมิติ ภูมิศาสตร์ (geography) หรือภูมิประเทศ ภาคเหนือของไทยประกอบไปด้วยหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน ฯลฯ ซึ่งโดยภาพรวม พื้นที่หรืออาณาเขตของแต่ละจังหวัดจะถูกคั่นด้วยแนวเทือกเขา อย่างเทือกเขาขุนตาล ผีปันน้ำ จอมทอง ...
สำรวจ

ล่อง (รอยเลื่อน) แม่ปิง

ปัจจุบัน รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศเอาไว้ว่าเป็น รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ก็จะมีอยู่ประมาณ 14-15 รอยเลื่อน ครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย เช่น รอยเลื่อนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่จัน จังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ...
สำรวจ

4 รอยเลื่อน แห่งลุ่มน้ำโขง ที่ไทยควรเฝ้าระวัง

ภาพปก : https://pantip.com/topic/36696666 ปัจุบัน ผลจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย กำลังพุ่งชนและมุดเข้าไปใต้แผ่นยูเรเซีย นอกจากขอบการชนกันอย่าง เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman subduction zone) แรงส่งจากการบดขยี้กันของแผ่นทั้งสอง ยังทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกเกิดรอยแตกร้าวมากมาย อย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า รอยเลื่อน (fault) ซึ่งทั้งเขตมุดตัวและรอยเลื่อน ถือเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญและเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ...
เรียนรู้

เมื่อหนังหน้าโลกเหลื่อมกัน

รอยเลื่อน – โดยธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมี ปฏิสัมพันธ์กับแผ่นอื่นอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) เข้าชนแล้วก็มุดกัน ซึ่งจะเป็นขอบตามทิศทางการเคลื่อนที่ 2) แยกออกจากกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และ 3) ...
เรียนรู้

การเปลี่ยนรูปของหิน : ปัจจัยและรูปแบบ

แรงเค้นและการเปลี่ยนรูปหิน หิน – ในธรรมชาติ เมื่อมี แรงเค้น (stress) เข้ามากระทำวัสดุใดๆ จะทำให้วัสดุนั้นเกิด ความเครียด (strain) และมีโอกาส เปลี่ยนรูป (deform) ไปจากเดิม ซึ่งแรงเค้นดังกล่าวแบ่งย่อยเป็น 3 รูปแบบ ...
เรียนรู้

ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ...
เรียนรู้

4 วิธี จับพิรุธภูมิประเทศ ด้วยตัวเลข

ดัชนีธรณีสัณฐาน (geomorphic index) คือ การวิเคราะห์ ธรณีสัณฐาน (morphology) หรือ ภูมิลักษณ์ (landform) หรือ พื้นผิวโลก ในเชิงปริมาณ (ตัวเลข) โดยอาศัยข้อมูลภูมิประเทศทั้งในรูปของ ภาพถ่ายดาวเทียม (sattelite image) ...
วิจัย

กว่า 4 ทศวรรษ พัฒนาการการประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญมากมาย ซึ่งจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว บันทึกประวัติศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลธรณีวิทยาแผ่นดินไหว บ่งชี้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง ซึ่งจากการประมวลผล ความไหวสะเทือนเท่า (isoseismal map) ที่เคยมีการรายงานไว้ในอดีต Pailoplee (2012) สรุปว่าในช่วงปี ค.ศ. 1912-2012 ประเทศไทยเคยได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหวหลายครั้งในระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว II-VII ตาม ...
เรียนรู้

การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis)

นิยาม โดยคำจำกัดความ คำว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard) หมายถึง ระดับแรงสั่นสะเทือนของพื้นดินในแต่ละพื้นที่ ในขณะที่คำว่า เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว (seismic risk) หมายถึง ระดับความเสี่ยงภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งประเมินจากมูลค่าหรือความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีโอกาสได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ดังนั้นในทาง วิทยาคลื่นไหวสะเทือน หรือ ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต

นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนในภาคตะวันตกของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต

ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับแอ่งที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริเวณชายแดนภาคตะวันตกของประเทศไทย-พม่า จึงมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว (Charusiri และคณะ, 2007) เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนฮัทจีในประเทศพม่า (Pailoplee, 2009) เขื่อนภูมิพลในจังหวัดตาก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณในจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนท่าทุ่งนาในจังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนกระเสียวในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics ...
เรียนรู้

6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา

หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ...
เรียนรู้

รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน

รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ...