Daily Archives: 1 ตุลาคม 2019

เรียนรู้

มหายุคซีโนโซอิก – มหายุคแห่งนม

มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) เริ่มต้นเมื่อประมาณ 65 ล้านปี ถึงปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเข้ามาแทนที่สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปในมหายุคมีโซโซอิก พืชโดยส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีดอก ในทางธรณีแปรสัณฐาน มหายุคซีโนโซอิกเกิด กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) ที่สำคัญ 2 พื้นที่ คือ 1) ...
เรียนรู้

การคดโค้งโก่งงอของหิน

ชั้นหินคดโค้ง (fold) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินถูกแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานแบบบีบอัด (compressional stress) ทำให้หินเกิดความเครียดแบบหดสั้นลง และเกิดการคดโค้ง โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่เข้าหากัน และเป็นโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดแนวเทือกเขา และเพื่อที่จะจำแนกรูปร่างและการวางตัวของชั้นหินคดโค้งในรายละเอียด นักธรณีวิทยาจึงกำหนดส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของชั้นหินคดโค้งไว้อย่างน้อย 5 ส่วน 1) จุดพับ (hinge ...
เรียนรู้

ทะเลทรายไม่ได้ร้อนเสมอไป แถมยังเกิดได้หลายแบบ

โลกมี พื้นที่แห้งแล้ง (arid area) กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสภาพแวดล้อมแห้งแล้งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) หมายถึง พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) ฝนตกโดยเฉลี่ย 25-50 ...
เรียนรู้

กระบวนการแปรสภาพหิน

การแปรสภาพหิน (metamorphism) หมายถึง กระบวนการฟแปรสภาพ หินเดิม (photolith) ทั้งหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปร ให้กลายเป็น หินแปร (metamorphic rock) ซึ่งมีลักษณะหน้าตาไม่เหมือนเดิม โดยที่หินไม่หลอมละลายและยังคงสัดส่วนของแร่องค์ประกอบคล้ายกับหินเดิม ปัจจัยการแปรสภาพ ปัจจัยที่ทำให้หินแปรสภาพในขณะที่ยังเป็นของแข็งอยู่ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ...
เรียนรู้

หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน

ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ...
เรียนรู้

มหายุคพาลีโอโซอิก – เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มรุกขึ้นบก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 545-245 ล้านปี คิดเป็นประมาณ 7% ของประวัติศาสตร์โลก สิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยจำกัดอยู่เฉพาะในทะเล เช่น ปะการัง ไครนอยด์ ไทรโลไบต์ ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลาง สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก แมลงและพืชเคลื่อนที่สู่แผ่นดิน เกิดพืช ...
เรียนรู้

รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน

รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ...
เรียนรู้

มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย ...