เรียนรู้

แบบฝึกหัด 19 ทรัพยากรธรณี

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน

1.____อะลูมิเนียม (aluminum)ก.bauxite
2.____โครเมียม (chromium)ข.native silver
3.____ทองแดง (copper)ค.galena
4.____ทองคำ (gold)ง.pitchblende
5.____เหล็ก (iron)จ.hematite
6.____ตะกั่ว (lead)ฉ.chromite
7.____แมงกานีส (manganese)ช.chalcopyrite
8.____ (mercury)ซ.pyrolusite
9.____นิกเกิล (nickel)ฌ.cinnabar
10.____เงิน (silver)ญ.sphalerite
11.____ดีบุก (tin)ฎ.native gold
12.____ยูเรเนียม (uranium)ฏ.pentlandite
13.____สังกะสี (zinc)ฐ.cassiterite

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด

1.____เชื้อเพลิงฟอสซิลมี ปริมาณสำรอง (reserve) ที่จำกัด
2.____กากของเสียจากการทำเหมืองโดยส่วนใหญ่ถูกปลดปล่อยหรือรั่วไหลไปเป็นกรดความเข้มข้นสูงสู่น้ำในสิ่งแวดล้อม
3.____โดยปกติก๊าซธรรมชาติจะสะสมตัวอยู่ใต้ฐานน้ำมันดิบ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันดิบ
4.____กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบก่อให้เกิดผลกระทบด้นสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย
5.____การทำเหมืองแบบเปิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในบริเวณข้างเคียงมากกว่ากันทำเหมืองใต้ดิน
6.____ด้วยอัตราการใช้ในปัจจุบัน ประเมินว่าปริมาณน้ำมันสำรองสามารถใช้ต่อไปได้อีกประมาณ 40-50 ปี
7.____ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) คือชนิดหนึ่งของเชื้อเพลิงฟอสซิล
8.____การทำเหมืองโลหะสามารถส่งผลต่อทรัพยากรน้ำในพื้นที่ข้างเคียง
9.____หินประดับ (dimension stone) คืออีกหนึ่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
10.____หินต้นกำเนิด (source rock) โดยส่วนใหญ่จะเป็นหินทราย
11.____ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline trap) เป็นรูปแบบหนึ่งของ ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม (trap)
12.____เพชรใน หินคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite) คือตัวอย่างกระบวนการเกิด แหล่งแร่แบบแยกชั้น (magmatic segregation deposit)
13.____แหล่งแร่แบบเพกมาไทต์ (pegmatite deposit) คือ แหล่งแร่ที่เกิดจากแมกมาตกผลึกลำดับส่วน และส่วนที่เหลือมีปริมาณของสารที่มีสภาพเป็นไอสูง เช่น น้ำ โบรอนและฟลูออรีน
14.____ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการเกิด แหล่งแร่แบบน้ำยาความร้อน (hydrothermal deposit)
15.____แหล่งแร่แบบน้ำยาความร้อน (hydrothermal deposit) โดยส่วนใหญ่พบในบริเวณแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน
16.____แร่ซัลไฟด์ โดยส่วนใหญ่สะสมตัวบริเวณ ปล่องควันดำใต้มหาสมุทร (black smoker) ตามแนวสันเขากลางมหาสมุทร
17.____ทองคำและทับทิมสามารถเกิดได้ใน แหล่งแร่แบบลานแร่ (placer deposit)
18.____หินสการ์น (skarn) หมายถึง หินแปรสภาพโดยการแทนที่ ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก ตะกั่ว สังกะสีและทองแดง
19.____ก้อนกลมแมงกานีส (manganese nodule) เกิดจาก แหล่งแร่จากการระเหย (evaporate deposit)
20.____ทาร์ (tar) คือ หินทรายที่มีไฮโดรคาร์บอนความหนืดสูงปะปนอยู่ด้วย

3) แบบฝึกหัดปรนัย

คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้

1. ข้อใดคือทรัพยากรที่สามารถฟื้นฟูกลับมาใหม่ได้

 ก.เหล็ก (iron)ข.ปิโตรเลียม (petroleum)
 ค.ถ่านหิน (coal)ง.น้ำใต้ดิน (groundwater)

2. ข้อใดคือปริมาณโดยรวมของทรัพยากรทั้งที่ค้นพบและยังไม่พบ

 ก.stuffข.reservoir
 ค.resourceง.reserve

3. ข้อใดคือปริมาณของทรัพยากรที่ค้นพบและสามารถนำมาผลิตได้คุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์

 ก.stuffข.reservoir
 ค.resourceง.reserve

4. ข้อใด ไม่ใช่ ชนิดของถ่านหิน (coal)

 ก. แอนทราไซต์ (anthracite)ข.บิทูมินัส (bituminous)
 ค.ลิกไนต์ (lignite)ง.พีท (peat)

5. สินแร่โลหะชนิดใดที่เกิดจากกระบวนการตกผลึกของแร่ในกระเปาะแมกมา

ก.โครเมียม (chromium)ข.ทองคำ (gold)
 ค.เงิน (silver)ง.ทองแดง (copper)

6. กระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด ไม่ใช่ แหล่งสินแร่โลหะ

 ก.เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) .ข.จุดร้อน (hot spot)
 ค.หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc)ง.สันเขากลางมหาสมุท (mid-oceanic ridge)

7. ข้อใดใช้ ตะกั่ว (Pb) เป็นวัสดุหลักในการผลิต

 ก.แบตเตอรี่ข.น้ำมันเบนซิน
 ค.ดินสอง.เหรียญกษาปณ์

8. ถ่านหิน (coal) ชนิดใดที่มีคุณภาพต่ำที่สุด

 ก. บิทูมินัส (bituminous)ข. แอนทราไซต์ (anthracite)
 ค.ลิกไนต์ (lignite)ง.ไม่มีข้อใดถูก

9. ข้อใดคือแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์

 ก.ถ่านหิน (coal)ข.แร่บอกไซต์ (bauxite)
 ค.แร่ยูเรเนียม (uranium)ง.แร่ทองแดง (copper)

10. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนของพลังงานทดแทนในอนาคต

 ก.ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นข.ความขาดแคลนทรัพยากรน้ำ
 ค.การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างจำกัดง.มีการใช้พลังงานที่ฟื้นฟูกลับมาใหม่ได้เพิ่มขึ้น

11. ทรัพยากรชนิดใดผลิตได้จากน้ำในมหาสมุทร

ก.หินปูน (limestone)ข.หินทราย (sandstone)
 ค.แร่โคบอลต์ (cobalt)ง.แร่โบรมีน (bromine)

12. ข้อใดคือทรัพยากรที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาใช้ใหม่ได้

 ก.ลมข.น้ำ
 ค.พืชผักง.ถ่านหินและแร่

13. แหล่งแร่แบบน้ำยาความร้อน (hydrothermal deposit) โดยปกติประกอบด้วยกลุ่มแร่ชนิดใด

 ก.ออกไซด์ (oxide)ข.ซัลไฟด์ (sulfide)
 ค.ฟอสเฟต (phosphate)ง.ซัลเฟต (sulfate)

14. ข้อใด ไม่ใช่ เชื้อเพลิงฟอสซิล

 ก.ก๊าซธรรมชาติ (natural gas)ข.ปิโตรเลียม (petroleum)
 ค.ถ่านหิน (coal)ง.แร่ยูเรเนียม (uranium)

15. ก๊าซชีวภาพ (biogas) เกิดจากกระบวนการใด

 ก.fermentationข.degradation
 ค.putrificationง.ข้อ ก. และ ข. ถูก

16. ข้อใด ไม่ใช่ ทรัพยากรแร่อโลหะ (non-metallic mineral)

 ก.แกร์ไฟต์ (graphite)ข.ตะกั่ว (lead)
 ค.ยิปซั่ม (gypsum)ง.คาโอลีไนต์ (kaolinite)

17. สินแร่ (ore) ใช้ในการกล่าวถึงทรัพยากรชนิดใด

 ก.เกลือข.อโลหะ
 ค.โลหะง.ปิโตรเลียม

18. ทรัพยากรแร่ และ ปริมาณสำรองแร่ แตกต่างกันอย่างไร

ก.ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีผลิตในปัจจุบันข.ความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์
 ค.ตำแหน่งของแร่ง.กฏหมายควบคุม

19. หินคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite) สัมพันธ์กับทรัพยากรแร่ชนิดใด

ก.เพชรข.ทองคำ
 ค.เงินง.ปิโตรเลียม

20. ทรัพยากรแร่ชนิดใดที่สัมพันธ์กับกระบวนการเกิดแบบ การแทรกดันเป็นชั้น (layered intrusion)

 ก.เพชรข.ปิโตรเลียม
 ค.แร่โลหะง.แร่อโลหะ

21. ข้อใดคือแหล่งกำเนิดโดยทั่วไปของผลึกแร่ขนาดใหญ่ของแร่ควอตซ์และแร่เฟลด์สปาร์

 ก.เพกมาไทต์ (pegmatite)ข.หินคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite)
 ค.การแทรกดันเป็นชั้น (layered intrusion)ง.แหล่งแร่แบบน้ำยาความร้อน (hydrothermal deposit)

22. ข้อใดคือทรัพยากรที่สามารถฟื้นฟูกลับมาใช้ใหม่ได้

 ก.ดินข.น้ำ
 ค.พืชและสัตว์ง.ถูกทุกข้อ

23. ข้อใดสะสมตัวในบริเวณ แหล่งแร่แบบลานแร่ (placer deposit)

 ก.หินปูน (limestone)ข.หินเกลือ (หิน salt)
 ค.ทองคำ (gold)ง.แร่ควอตซ์ (quartz)

24. ข้อใด ไม่ใช่ ทรัพยากรที่เกิดจาก การแปรสภาพบริเวณไพศาล (regional metamorphism)

 ก.หินดินดานข.หินอ่อน
 ค.แร่ใยหินง.หินชนวน

25. ข้อใดคือกระบวนการที่ทำให้กรวด ทรายและดินแยกออกจากันอย่างบริสุทธิ์

ก.กิจกรรมของน้ำยาความร้อน (hydrothermal activity)ข.การคัดขนาดโดยแรงน้ำ (hydraulic sorting)
 ค.การตกผลึกของแร่ (crystal settling)ง.การแปรสภาพบริเวณไพศาล (regional metamorphism)

26. ทองแดง (copper) โดยส่วนใหญ่เกิดในสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของแร่แบบใด

 ก.เพกมาไทต์ (pegmatite)ข.หินคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite)
 ค.การแทรกดันเป็นชั้น (layered intrusion)ง.แหล่งแร่ซัลไฟด์ชั้นหนา (massive sulphide deposits)

27. แร่ใยหิน (asbestos) โกเมน (garnet) และแร่แกร์ไฟต์ (graphite) มีการสะสมตัวแบบใด

 ก.ผลึกแร่แยกตัวออกจากแมกมาข.สะสมตัวตามธารน้ำ
 ค.เกิดจากการไหลเวียนของน้ำยาความร้อน (hydrothermal)ง.มีความร้อนและความดันเข้ามาเกี่ยวข้อง

28. วัสดุที่ใช้สร้าปราสาทขอมโบราณเกิดจากการสะสมตัวของแหล่งแร่แบบใด

 ก.หินคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite)ข.ลานแร่ (placer)
 ค.ศิลาแลง (laterite)ง.เพกมาไทต์ (pegmatite)

29. หมวกเหล็ก (iron hat) เป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการเกิดแหล่งแร่ชนิดใด

 ก.ทองแดงออกไซด์ (copper oxide)ข.ทองแดงซัลไฟด์ (copper sulfide)
 ค.ทองแดงคาร์บอเนต (copper carbonate)ง.ทองแดงซัลเฟต (copper sulfate)

30. ข้อใด ไม่ใช่ แร่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบมหาสมุทร

 ก.ยิปซั่ม (gypsum)ข.เฮไลด์ (halite)
 ค.โปแตสเซียมครอไรด์ (potassium chloride)ง.ทองแดงซัลไฟด์ (copper sulfide)

31. แร่ชนิดใดที่ได้จาก สายแร่ (vein) และ ทางแร่ (lode)

 ก.สังกะสี (zinc)ข.หินปูน (limestone)
 ค.แร่รูไทต์ (rutile)ง.แร่ไมกา (mica)

32. โดยส่วนใหญ่แหล่งแร่จะมีการสะสมตัวของแบบเป็นชั้นในหินชนิดใด

 ก.หินอัคนีข.หินแปร
 ค.หินตะกอนง.ไม่มีข้อใดถูก

33. แร่ชนิดใดที่ได้ การระเหย (evaporation) ในพื้นที่แห้งแล้ง

 ก.ยิปซั่ม (gypsum)ข.สังกะสี (zinc)
 ค.ถ่านหิน (coal)ง.ทองแดง (copper)

34. แร่ชนิดใดที่เกิดจากการย่อยสลายของพื้นผิวหิน และหลงเหลือวัสดุที่ผุพังไว้

 ก.ทองคำ (gold)ข.แร่บอกไซต์ (bauxite)
 ค.สังกะสี (zinc)ง.ถ่านหิน (coal)

35. แร่ชนิดใดมีโอกาสพบในชั้นทรายที่สะสมตัวอยู่ตามพื้นของร่องเขาหรือร่องน้ำ

 ก.ทองคำ (gold)ข.ทองแดง (copper)
 ค.ซัลเฟอร์ (sulfer)ง.หินอ่อน (marble)

36. ข้อใดคือทรัพยากรที่ฟื้นฟูกลับมาใช้ใหม่ได้

ก.ผลผลิตทางการเกษตรข.ทรัพยากรน้ำ
 ค.พลังงานแสงอาทิตย์ง.ถูกทุกข้อ

37. ข้อใดคือแหล่งพลังงานทางเลือกในปัจจุบัน

ก.พลังงานแสงอาทิตย์ข.พลังงานน้ำ
 ค.พลังงานลมง.ถูกทุกข้อ

38. ข้อใดใช้ทรัพยากร ทราย (sand) และกรวด (gravel) มากที่สุด

 ก.การปรับปรุงพื้นที่ชายหาดข.อุตสาหกรรมเซรามิค
 ค.อุตสาหกรรมก่อสร้างง.อุตสาหกรรมแก้ว

39. ฟอสเฟต (phosphate) เป็นวัสดุที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมชนิดใด

 ก.ผลิตยุทธภัณฑ์ข.ผลิตปุ๋ย
 ค.ผลิตสีสกรีนเสื้อง.ไม่มีข้อใดถูก

40. ปริมาณสำรองของวัสดุทางธรณีวิทยาจะใช้ได้ยืนยาวได้อย่างไร

 ก.ใช้ให้มีประโยชน์สูงที่สุดข.น้ำกลับมาใช้ใหม่
 ค.ใช้วัสดุทดแทนเท่าที่เป็นไปได้ง.ถูกทุกข้อ

41. การสะสมตัวของ แร่ฟอสฟอไรท์ (phosphorite) ประกอบด้วยแร่ดัชนีอะไร

 ก.ยิปซั่ม (gypsum)ข.แคลไซต์ (calcite)
 ค.อพาไทต์ (apatite)ง.ครอไรท์ (chlorite)

42. ผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการทำเหมืองมีหลากหลายรูปแบบยกเว้นข้อใด

 ก.การปนเปื้อนจากสารละลายกรดข.การรุกล้ำของน้ำเค็มจากทะเล
 ค.มลสภาวะจากโลหะหนักง.การทรุดตัวและถล่มของพื้นดิน

43. ข้อใดคือปัจจัยที่สามารถทำให้วัสดุทางธรณีวิทยานั้นมีค่าเพิ่มขึ้น

 ก.การค้นพบแหล่งแร่ใหม่ข.เทคโนโลยีการแยกแร่ดีขึ้น
 ค.มีการให้ความสนใจแร่ใหม่มากขึ้นง.ถูกทุกข้อ

44. ข้อใดคือแหล่งแร่ซึ่งก่อตัวขึ้นสัมพันธ์กับน้ำพุร้อนใกล้สันเขากลางมหาสมุทร

 ก.การระเหย (evaporate)ข.กระบวนการแมกมาติก (magmatic)
 ค.เพกมาไทต์ (pegmatite)ง.น้ำยาความร้อน (hydrothermal)

45. โรงงานผลิตแบบใดสามารถผลิตทั้งพลังงานและปุ๋ยธรรมชาติ

 ก.thermal plantข.nuclear plant
 ค.biogas plantง.hydroelectric plant

46. หากน้ำทะเลถูกทำให้น้ำระเหยออกไปจะเหลือแร่ชนิดใด

ก.แร่กลีบหินดำ (biotite) และควอตซ์ (quartz)ข.แร่ยิปซั่ม (gypsum) และเฮไลด์ (halite)
 ค.แร่ฟลูออไรท์ (fluorite) และซัลไฟด์ของตะกั่ว (galena)ง.แคลไซต์ (calcite) และชาลโคไพไรต์ (chalcopyrite)

47. บริษัททำเหมืองวางแผนการทำเหมืองโดยไม่เอาแร่ทองแดงมาใช้ ข้อใดคือเหตุผลที่ดีที่สุดที่ไม่ควรนำทองแดงมาผลิตในการทำเหมือง

 ก.มูลค่าของทองแดงนั้นต่ำเกินไปข.ทองแดงเข้มข้นมากเกินไป
 ค.ทองแดงมีโอกาสปนเปื้อนกับแร่ที่เหมืองต้องการผลิตง.ตลาดทองแดงอยู่ใกล้เหมืองมากเกินไป

48. เมื่อพบแร่ทองแดงความเข้มข้นสูงอยู่ตามสายแร่โดยรอบหินแกรนิต กระบวนการเกิดแร่แบบใดที่เป็นสาเหตุการเกิดแร่ทองแดง

ก.การระเหย (evaporation)ข.การย่อยและดูดซึมของแมกมา (magma assimilation)
 ค.การสะสมตัวแบบลานแร่ (placer deposition)ง.แหล่งแร่แบบน้ำยาความร้อน (hydrothermal deposition)

49. แร่บอกไซต์ (bauxite) คือแหล่งกำเนิดของแร่โลหะชนิดใด

 ก.อะลูมินั่ม (aluminum)ข.สังกะสี (zinc)
 ค.เหล็ก (iron)ง.นิกเกิล (nickel)

50. พลังงานนิวเคลียร์ ผลิตมาจาก สินแร่ (ore) ชนิดใด

ก.ทองแดง (copper)ข.ยูเรเนียม (uranium)
 ค.ทอเรียม (thorium)ง.โปแตสเซียม (potassium)

51. ข้อใดที่คือตัวอย่างแหล่งแร่เนื่องจากกระบวน การพุพัง (weathering) และ การกัดกร่อน (erosion)

ก.ลานแร่ของทองคำ (gold placer)ข.ทังสเตนจากกระบวนการแมกมาติก (magmatic tungsten)
 ค.ทองแดงเนื้อดอก (porphyry copper)ง.หินปูนที่มีฟอสซิลเป็นองค์ประกอบ (fossiliferous limestone)

52. ข้อใดคือแหล่งแร่ที่โดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการระเหย

 ก.ทองคำและเงินข.แคลไซต์และยิปซั่ม
 ค.ซัลไฟด์ของตะกั่วและสปาเลอไรท์ง.ชาลโคไพไรต์และบอร์นไนท์

53. ข้อใดคือวัสดุต้นกำเนิดของ ถ่านหิน (coal)

 ก.อินทรียวัตถุ เช่น ไม้ข.แพลงตอนในทะเล
 ค.ฟอสซิลมีกระดูสันหลังง.หินกลุ่มแร่คาร์บอเนต

54. แร่โลหะที่มีจำนวนมากที่สุดใน แผ่นเปลือกโลก (crust) คือแร่ชนิดใด

 ก.เหล็ก (iron)ข.อะลูมินั่ม (aluminum)
 ค.ทองแดง (copper)ง.ไททาเนียม (titanium)

55. ข้อใด ไม่ใช่ สภาพแวดล้อมการเกิดแหล่งแร่

 ก.กระบวนการแมกมาติก (magmatic)ข.ลานแร่ (placer)
 ค.น้ำยาความร้อน (hydrothermal)ง.การแปรสภาพหิน (metamorphic)

56. การสะสมตัวของ กลุ่มแร่ซัลไฟด์ (sulfide) โดยส่วนใหญ่เกิดในรูปแบบใด

 ก.บนขอบทวีปสถิต (passive continental margin)ข.สัมพันธ์กับสายแร่น้ำยาความร้อน (hydrothermal vent)
 ค.การพอกสะสมของเศษเปลือกหอยขนาดเล็กบนพื้นทะเลง.จากการสะสมตัวของเม็ดตะกอนที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีป

57. ข้อใดคือวัสดุต้นกำเนิดของ ปิโตรเลียม (petroleum)

 ก.อินทรียวัตถุข.แพลงตอนในทะเล
 ค.ฟอสซิลมีกระดูสันหลังง.หินกลุ่มแร่คาร์บอเนต

58. กระบวนการใดที่ช่วยทำให้สินแร่มีเกรดหรือคุณภาพดีขึ้น

 ก.การแปรสภาพหิน (metamorphism)ข.กระบวนการเกิดหินอัคนี (igneous activity)
 ค.การผุพัง (weathering)ง.การระเหย (evaporation)

59. สินแร่โลหะที่เกิดในบริเวณแผ่นเปลือกโลก เคลื่อนที่ออกจากกัน (divergent) เกิดจากสาเหตุใดเป็นหลัก

ก.ลาวาไหลหลากข.น้ำยาความร้อน
 ค.การสะสมตัวร่วมกับตะกอนง.ถูกทุกข้อ

60. ข้อใดคือวัตถุดิบของ โรงงานก๊าซชีวภาพ (biogas plant)

ก.เศษไม้ข.มูลวัวควาย
 ค.โคลนง.ใบหญ้า

เฉลยแบบฝึกหัด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13.      

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

1.T 2.T 3.F 4.F 5.F
6.T 7.T 8.T 9.T 10.F
11.F 12.F 13.T 14.T 15.F
16.T 17.T 18.T 19.F 20.T

3) แบบฝึกหัดปรนัย

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13. 14. 15.
16. 17. 18. 19. 20.
21. 22. 23. 24. 25.
26. 27. 28. 29. 30.
31. 32. 33. 34. 35.
36. 37. 38. 39. 40.
41. 42. 43. 44. 45.
46. 47. 48. 49. 50.
51. 52. 53. 54. 55.
56. 57. 58. 59. 60.

4) แบบฝึกหัดอัตนัย

คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์

1. สภาวะแวดล้อมของการเกิดถ่านหินแตกต่างจากสภาพแวดล้อมของการเกิดปิโตรเลียมอย่างไร

 
 
 

2. ยกตัวอย่างทรัพยากร แร่โหละ (metallic) และ อโลหะ (non-metallic) ที่สำคัญในธรรมชาติมาอย่างละ 4 ชนิดแร่

 
 
 

3. อธิบายกระบวนการเกิดแหล่งแร่ในบริเวณสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)

 
 
 

4. native metallic แตกต่างจาก base metallic อย่างไร

 
 
 

5. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สร้างพลังงานได้อย่างไร

 
 
 

6. ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) สร้างขึ้นจากกระบวนการใด

 
 
 

7. ข้อใดคือกระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทำให้ สินแร่ (ore) นั้นมีความเข้มข้นสูงมากขึ้น

 
 
 

8. อธิบายกระบวนการเกิดของ ถ่านหิน (coal genesis)

 
 
 

9. oil window คืออะไรและมันจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบใด

 
 
 

10. อธิบายกระบวนการ thermal cracking

 
 
 

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: