แบบฝึกหัด 6 ภูเขาไฟและหินอัคนี
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด 1) แบบฝึกหัดจับคู่ คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร ...
ธรณีวิทยา เสาหินเหลี่ยม
เสาหินเหลี่ยม (columnar joint) คือ หนึ่งในหลายๆ รูปแบบของโครงสร้างทางธรณีวิทยา (geological structure) ที่แสดงการแตกอย่างเป็นระบบของมวลหิน โดย ระบบรอยแตก (joint set) ทั่วไป เกิดจากแรงบีบอัด (compression stress) ของแรงทางธรณีแปรสัณฐาน ...
นี่ไงหลักฐาน !!! แผ่นอินเดีย วิ่งขึ้นเหนือ ชนแผ่นยูเรเซีย
1) ธรณีประวัติ อินเดีย-ยูเรเซีย ในทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) นักธรณีวิทยาพบว่า แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) (โดยเฉพาะส่วนอินเดีย) เริ่มเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือเมื่อประมาณ 71 ล้านปี ที่ผ่านมา และชนกับทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ...
รู้จัก “หิน ดำตับเป็ด” เห็นปุ๊บ-แก่ปั๊บ
หากอ่านแค่ชื่อบทความ หลายท่านคงจะตงิดอยู่ในใจว่า เรียนมาตั้งแต่เด็กยันโต คุณครูก็สอนแค่ หิน (rock) 3 ชนิด 1) หินอัคนี (igneous rock) 2) หินตะกอน (sedimentary rock) และ 3) ...
ลาวา : รูปแบบและปัจจัยการประทุ
ภูเขาไฟ – แมกมา (magma) ประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile)ของน้ำและก๊าซ รวมทั้ง 3) หินแปลกปลอม (xenolith) ต่างๆ ที่อาจปะปนกันมาตลอดระยะทางระหว่างการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกแมกมาออกเป็น 3 ชนิด ตามองค์ประกอบทางเคมีและสัดส่วนความเข้มข้นของแร่ซิลิกา (SiO2) ซึ่งแมกมาแต่ละชนิดส่งผลให้เกิดคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ...
หมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ : ร่องรอยการเดินทางของแผ่นเปลือกโลก
ก่อนที่เราจะคุยกันเรื่อง หมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ ผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกท่านย้อนกลับไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแมกมาและภูเขาไฟกันสักนิด (ตามอ่านได้ที่บทความ ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย) เรื่องของเรื่องคือจากการกระจายตัวของ ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) ทั่วโลกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่าภูเขาไฟไม่ได้เกิดขึ้นแบบมั่วซั่ว เพราะความจริงแล้ว ใต้เปลือกโลกปกติๆ เปลือกโลกจะวางตัวอยู่บนเนื้อโลกหรือ แมนเทิล (mantle) ซึ่งไม่ใช่แมกมาอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจหรือจินตนาการเอาไว้ ...
10 การปะทุของภูเขาไฟ ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในโลก
เรียบเรียงโดย : ธนภูมิ โฆษิตานนท์ และ สันติ ภัยหลบลี้ ภูเขาไฟปะทุ (volcanic eruption) ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ภัยพิบัติทางธรณีวิทยา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งด้วย รูปแบบของการประทุภูเขาไฟที่แตกต่างกันทำให้ระดับความรุนแรงของภูเขาไฟนั้นต่างกันไปด้วย โดยในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุและมีการบันทึกไว้ในอดีต ...
เขาสามมุข : ควอตซ์ . ไดค์ . ไซต์ . เวิลด์คลาส
ถ้าเอ่ยชื่อ เขาสามมุข เขื่อว่าชาวเมืองชลฯ คนภาคตะวันออก หรือแม้แต่คนไทยค่อนประเทศ คงจะพอคุ้นหูหรือไม่ก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนจะเคยหรือไม่เคยไป จะไปให้อาหารลิง นั่งนิ่งๆ ที่จุดชมวิวบนเขา หรือมาไหว้ขอพรศาลเจ้าแม่สามมุข ก็ตามแต่โอกาสของแต่ละคน ซึ่งหากดูเผินๆ หรือขับรถวนเล่นเพลินๆ ทุกคนก็คงจะคิดว่าเขาสามมุขก็แค่เขาทั่วๆ ไป ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่ในทางธรณีวิทยา ...
สิ่งที่ภูเขาไฟผุยออกมา ไม่ได้มีลาวาแค่อย่างเดียว
กรวดภูเขาไฟ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาจำแนกกรวดภูเขาไฟตามขนาด ดังแสดงในตารางด้านล่าง ชนิด ขนาด (มม.) ลักษณะเฉพาะ ฝุ่นภูเขาไฟ (dust) < 0.2 ...
โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง
แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ...
รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา
ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง ภูมิลักษณ์จากการปะทุ 1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ...
เพราะแมกมาแตกต่าง นิสัยและรูปร่างภูเขาไฟจึงไม่เหมือนกัน
แมกมา (magma) เป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญที่ควบคุมลักษณะเฉพาะทั้งหมดที่สัมพันธ์กับภูเขาไฟ ทั้งรูปร่างของภูเขาไฟ สไตล์การปะทุ วัสดุที่เกิดจากภูเขาไฟ ตลอดจนรูปแบบของภัยพิบัติภูเขาไฟที่มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งในเชิงองค์ประกอบ แมกมาประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile) ของน้ำและก๊าซ ...
6 ลีลาการ ถ่ม-ถุย-ผุย-พ่น ของภูเขาไฟ
ว่าด้วยเรื่องการแทรกดันหรือผุดขึ้นมาของแมกมากลายเป็นลาวาบนพื้นผิวโลก กองเป็นภูเขาไฟนั้น รูปแบบของการปะทุแบ่งคร่าวๆ ตามความรุนแรงได้ 2 แบบคือ 1) การเอ่อล้น (effusive) เหมือนกับการผุดการผุยเอ่อขึ้นมาบนปากปล่องแมกมา และ 2) การระเบิด (explosive) เหมือนกับการพ่นพรุ่งขึ้นสู่อากาศ ซึ่งทั้ง 2 แบบคร่าวๆ ...
ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย
ภูเขาไฟ (volcano) คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่โลกพยายามคลายความร้อนภายในโลกออกสู่ภายนอกในรูปแบบการปะทุของ หินหนืด (molten rock) ซึ่งตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมา มีหินหนืดไหลขึ้นมาบนพื้นโลกผ่านกระบวนการปะทุของภูเขาไฟอย่างนับไม่ถ้วน โดยในบรรดาภูเขาไฟที่ยังมีให้เห็นอยู่บนโลก หลายลูกก็ดับสนิทไปแล้ว ในขณะที่บางลูกก็ฮึ่มๆ พร้อมปะทุได้ทุกเวลา ซึ่งในทางธรณีวิทยา นิสัยคร่าวๆ ที่นักธรณีวิทยาใช้แยกความดุหรือความมีภัยพิบัติของภูเขาไฟคือ ความถี่ของการปะทุและเวลาการปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนั้นๆ ซึ่งแบ่งภูเขาไฟที่มีอยู่บนโลกออกเป็น ...
ภัยพิบัติจากภูเขาไฟ ซึ่งไม่ได้มีแค่ลาวา
การปะทุของภูเขาไฟถือเป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับมนุษย์ ซึ่งจากสถิติที่มีการบันทึกไว้พบว่าในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เสียชีวิตจากภัยพิบัติภูเขาไฟมากกว่า 275,000 คน เช่น ปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟกรากะตัวทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดปะทุขึ้นและมีผู้เสียชีวิต 36,000 คน หรือในปี พ.ศ. ...
ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย
หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน ...