
ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง
ภูมิลักษณ์จากการปะทุ
1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ทำให้เศษกรวดภูเขาไฟ กระเด็นออกจากปากปล่องกลายเป็นแอ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งโดยส่วนใหญ่ต่อมาจะกลายเป็นทะเลสาบ เรียกว่า ทะเลสาบกลางปล่องภูเขาไฟ (crater lake)

2) แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ปกติเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร เกิดจากการยุบตัวลงของภูเขาไฟเดิม เนื่องจากแนวแทรกดันของแมกมานั้นเปราะบางกว่าพื้นที่ข้างเคียง หรืออาจเป็นเพราะแมกมาที่เคยเป็นฐานด้านใต้ภูเขาไฟนั้นเปลี่ยนทิศทาง


3) โดมภูเขาไฟ (volcanic dome) เกิดจากแมกมาความหนืดสูงปะทุและเย็นตัวอย่างรวดเร็วกองสะสมปิดทับปากปล่อง ทำให้มีก๊าซสะสมด้านใต้มาก มีโอกาสปะทุอย่างรุนแรงในอนาคต


พัฒนาการของขนาดโดมภูเขาไฟ เป็นสัญญาณบอกเหตุก่อนภูเขาไฟปะทุ
5) คอภูเขาไฟ (volcanic neck) คือ โครงสร้างที่เกิดจากแมกมาเย็นตัวในปล่องภูเขาไฟเดิม ซึ่งเมื่อภูเขาไฟผุพังทำให้หลงเหลือเพียงโครงสร้างภายในคล้ายกับแท่งขนาดใหญ่ของหินอัคนี เช่น คอภูเขาไฟ เดวิลส์ทาวเวอร์ (Devils Tower) ในประเทศสหรัฐอเมริกา และภูเขาชิปร๊อก (Shiprock) ในรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

6) ที่ราบสูงลาวา (lava plateau) ส่วนใหญ่จะเกิดกับภูเขาไฟที่มีแมกมาชนิดบะซอลต์ ซึ่งมีความหนืดต่ำ ทำให้เวลามีการประทุ จะเป็นในลักษณะบะซอลต์ไหลหลาก เช่น ที่ราบสูงโคลัมเบีย ในสหรัฐอเมริกา บะซอลต์ไหลหลากในช่วง 10-15 ล้านปี ทับถมกันหนา 1.8 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางกิโลเมตร

7) ท่อลาวา (lava tube) เกิดจากเมื่อลาวาไหลหลากมาที่พื้นผิว ผิวส่วนนอกสัมผัสอากาศจึงแข็งตัวกลายเป็นหินอย่างรวดเร็วในขณะที่ภายในยังหนืดจึงสามารถเคลื่อนที่ไปต่อได้ ซึ่งเมื่อเย็นตัวกลายเป็นหิน บางแห่งท่อลาวาอาจพัฒนากลายเป็นโพรงเหมือนกับถ้ำ

ภูมิลักษณ์จากการแทรกดัน
ในกรณีที่แมกมาไม่สามารถปะทุสู่ผิวโลก แมกมาจะตกผลึกและแข็งตัวอยู่ภายในแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเมื่อมีการยกตัวและกัดกร่อน จะเกิดภูมิลักษณ์จากการแทรกดันแมกมา ดังนี้

1) หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) คือ โครงสร้างที่เกิดจากการแทรกดันของหินอัคนีปริมาณมหาศาลมีพื้นที่ > 100 ตารางกิโลเมตร โดยส่วนใหญ่เกิดจากแมกมาไรโอไรท์หรือแอนดีไซต์ เช่น หินอัคนีมวลไพศาลไอดาโฮ (Idaho) มี่พื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร และหินอัคนีมวลไพศาลเซียร์ร่าเนวาดา (Sierra Nevada) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2) ลำหินอัคนี (stock) ลักษณะเหมือนกับหินอัคนีมวลไพศาล แต่มีพื้นที่เล็กกว่า มีรูปรีเกือบกลม โดยส่วนใหญ่แยกออกมาจากหินอัคนีมวลไพศาล

3) พนังแทรกชั้นตามยาว (sill) คือ โครงสร้างที่เกิดจากการแทรกดันของแมกมาตามระนาบของชั้นหินเดิม มีความหนาระดับเซนติเมตรจนถึงร้อยเมตรและอาจมีความยาวหลายกิโลเมตร


4) พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike) คือ โครงสร้างที่เกิดจากการแทรกดันของแมกมาในแนวตั้งฉากหรือขวางกับแนวระนาบของหินเดิม
3) โครงสร้างรูปเห็ด (laccolith) คือ โครงสร้างที่เกิดจากการแทรกดันของแมกมาในแนวดิ่ง คล้ายกับผนังแทรกชั้นตามขวาง แต่ในช่วงระยะสุดท้ายของการแทรกดันมีการเปลี่ยนแนวการแทรกดันไปในแนวระนาบและเกิดการโก่งงอของชั้นหินเดิม ทำให้มวลแมกมามีลักษณะคล้ายกับรูปเห็ด

4) โครงสร้างรูปฝักบัว (lopolith) เกิดในลักษณะคล้ายกับโครงสร้างรูปเห็ด แต่ระนาบรอยแตกด้านล่างของหินเดิมโป่งออก ทำให้มีลักษณะโค้งหงายคล้ายกับรูปฝักบัว
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth