ภูมิบ้านนามเมือง : เนิน-โนน-โพน-โคก
ภูมินามวิทยา (toponymy) คือ ศาสตร์ทางด้านภาษา ที่ศึกษาความหมายหรือนัยสำคัญ ของชื่อสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ว่าสื่อสัมพันธ์หรือสำแดงลักษณะเฉพาะอะไรที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มภาษา พืชพันธุ์ สัตว์ สิ่งปลูกสร้าง ทรัพยากร รวมไปถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ถิ่นฐานนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น เช่น ...
หมุดหมายการเดินทาง คนโบราณ (Ancient Viewshed)
คิดผ่านๆ เพลินๆ คนเดินทางสมัยโบราณ น่าจะอาศัยดูดาวหรือจับทิศลม แต่พอตั้งสติคิดดูดีๆ อ้าวเฮ้ย !!! ต้องเป็นคนแบบไหนถึงชอบเดินทางกันตอนกลางคืน ถ้าเลือกได้ ซึ่งก็เลือกได้ ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน คนเราก็ชอบเดินทางตอนกลางวันกันทั้งนั้น เพราะสว่างชัด วิสัยทัศเยี่ยม ซึ่งหากไม่ชินทาง คนสมัยนี้ก็คงพึ่งพา google map ...
ถนนพระร่วง – ท่อปู่พระยาร่วง สุโขทัย
นอกจากความเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ตามที่เราเข้าใจสมัยประถมฯ อาณาจักรสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งเมืองโบราณที่ถูกกล่าวขานกันมาตลอด ทั้งในเรื่องความเจริญก้าวหน้าด้านภาษา (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และลีลาการบริหารจัดการน้ำในอดีต โดยในส่วนของตัวเมืองสุโขทัย กรรมวิธีกักเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้ สำแดงไว้อย่างชัดแจ้งผ่านการสร้าง สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่กั้นกักน้ำ ที่ไหลลงมาจาก เขาประทักษ์ ทางตะวันตกของตัวเมือง หลังจากนั้นจึงผันน้ำผ่าน ...
8 ลีลา คนโบราณ บริหารจัดการน้ำ
สันติ ภัยหลบลี้ และ ชวลิต ขาวเขียว ภาพปก : วารสารเมืองโบราณ น้ำ คือ ชีวิต ทั้งกินทั้งใช้ทั้งทำไร่ทำนา ต้องมีน้ำเข้ามาเอี่ยวเกี่ยวแทบทั้งสิ้น ในสมัยนี้การจัดการน้ำก็ยังดีหน่อย เพราะด้วยองค์ความรู้ที่มีและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้คนรู้จักกักเก็บน้ำไว้ใช้ทั้ง น้ำผิวดิน (surface ...
เผยสูตรลับ ฐานรากอาคารโบราณ – กรณีศึกษา (บาง) ปราสาทหิน บุรีรัมย์
ทีมสำรวจ : เกชา-สุวภา-ชลิดา-วัชราภา เจริญศิริมณี ปัจจุบันในวงการก่อสร้าง เพื่อให้ตัวอาคารมั่นคงในทางวิศวกรรม วิศวกรเลือกที่จะใช้การตอกเสาเข็ม ก่อนที่จะสร้างอาคารใดๆ อย่างไรก็ตาม ในสมัยโบราณที่เทคโนโลยีเสาเข็มยังไม่มีใช้ แต่เพื่อให้อาคารยังแข็งแรงตั้งอยู่ได้ การปรับปรุงและการสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานรากก่อนสร้างอาคารจึงมีความจำเป็น จากการสำรวจและประมวลถาพรวมในหลายๆ พื้นที่ พบว่าปราสาทในอารยธรรมเขมรโบราณ มักมีการปรับปรุงรากฐาน ก่อนที่จะนำหินทรายหรือศิลาแลงมาวางเป็นตัวประสาทต่อไป อย่างที่เราทราบกันว่าในปัจจุบัน ...
โบราณคดี x แผ่นดินไหว – กรณีศึกษา วัดส้มสุก เชียงใหม่
โบราณสถาน วัดส้มสุก อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองเก่าสำคัญในลุ่มน้ำฝาง วัดส้มสุกโด่งดังในทางโบราณคดี เพราะในช่วงที่ขุดค้นและบูรณะ พบ จารึกโบราณ อักษรฝักขาม อยู่ในแผ่นอิฐจำนวนมากกว่า 200 ก้อน (ครองสถิติ จารึกมากที่สุดในประเทศไทย) ยืนยันถึงการเผยแพร่ ...
ข้อสังเกตทางธรณีวิทยา สู่เจตนาการซ่อนแอบโบราณ เขาปลายบัด บุรีรัมย์
ภาพปก : ประติมากรรมสำริด ที่ขุดพบในพื้นที่ปราสาทเขาปลายบัด ๒ นอกเหนือจาก ปราสาทหินพนมรุ้ง (บนเขาพนมรุ้ง) และ ปราสาทเมืองต่ำ (ที่ราบตอนล่างเชิงเขา) เขาปลายบัด อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ทางตอนใต้ของเขาพนมรุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งดินแดนแห่งศาสนสถานโบราณที่สำคัญในทางโบราณคดี ...
ทำไมของโบราณต้องฝังอยู่ใต้ดิน ? แล้วทำไม นักโบราณคดีต้องขุด ?
ภาพปก : หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ต. บ้านเชียง อ. หนองหาน จ. อุดรธานี (ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th) บทความสั้นๆ นี้ เกิดจากความซุกซนทางความคิดของผู้เขียน อาจจะไม่ใช่ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจมากนัก แต่หลายครั้งที่ออกสำรวจทาง ธรณีวิทยาโบราณคดี ...
ปราสาทหินกลางน้ำ : ความน่าจะมี ในหลายที่ของไทย
“สวัสดีครับ !!! เมืองไทยมี ปราสาทหินกลางน้ำ” ออกตัวต้นเรื่องกันแบบล้อฟรีขนาดนี้ ผู้อ่านคงจะงงว่า วันนี้จะมาไม้ไหน ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ แค่อยากจะบอก อยากจะช่วยโปรโมตว่า ประเทศไทยของเรามี ปราสาทหินกลางน้ำ อยู่จริงๆ เพียงแค่เราอาจจะยังไม่เคยทราบ อาจจะไม่เคยเห็น หรืออาจจะเห็นแต่ไม่เคยสังเกต จริงๆ แล้ว ...
พนมวัน – ธรณีวิทยา : ปราสาทหินสไตล์ LGBTQ+
ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ต. บ้านโพธิ์ อ. เมือง จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรโบราณ สภาพเดิมก่อนบูรณะ ตัวปราสาทพังเสียหายอย่างหนัก ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้เข้าบูรณะ พ.ศ. 2532 และแล้วเสร็จในปี ...
เกลือ : เส้นทางสายปลาแดก
ในบรรดา ทรัพยากรธรณี ที่มีการนำมาใช้สอยกันมากมาย เกลือ คือหนึ่งในทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้วยคุณสมบัติสั้นๆ อันแสนวิเศษ ที่ช่วยเพิ่มรสชาติ และถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นานขึ้น เกลือจึงกลายเป็นของสำคัญที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ในสมัยโบราณ ว่ากันว่าบ้านไหนเมืองไหนมีเกลือ ถือว่าเนื้อหอม ใครก็อยากรุมตอม บางที่บางทีถึงกับยกย่องการเป็นเจ้าของหรือได้ครอบครองแหล่งเกลือ ก็เปรียบเสมือนกับมี ทองคำขาว อยู่กับตัว ...
สืบเส้นทาง ม้าต่าง-วัวต่าง แห่งล้านนา
ก็ไม่แน่ใจว่าเด็กๆ ยุคใหม่ จะรู้จักกันมั่งไหม แต่ถ้าถามหญิงชายวัยกลางคน 40 อัพขึ้นไป เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและเคยได้ยินตำนาน นายฮ้อย หรือ คาวบอยอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มพ่อค้าวัว-ควาย ที่รอนแรมต้อนวัวต้อนควาย เดินทางไปทำมาค้าขายข้ามภูมิภาค มนต์เสน่ห์ของเรื่องเล่าระหว่างการเดินทางและความเก่งกล้าสามารถของนายฮ้อย ทำให้อาชีพนายฮ้อยมีหน้ามีตา และมีบทบาทมากบารมีในสังคมอีสานสมัยก่อน ข้ามฟากมาอีกฝั่งของภูมิภาค หากอีสานมีตำนานนายฮ้อย ...
มองชุมชนโบราณ ผ่านกูเกิ้ลเอิร์ธ
เมืองนอกเป็นยังไงไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เมืองไทยเราชอบอาศัยอยู่กันเป็นชุมชน จะเรียกคุ้มบ้าน หมู่ 8 หรือ นิคม ฯลฯ ก็สุดแล้วแต่ ซึ่งถ้ามองผ่านภาพถ่ายดาวเทียมอย่าง กูเกิ้ลเอิร์ธ (Google Earth) เราก็จะเห็นกลุ่มหลังคาบ้านกระจุกตัวกันเป็นหย่อมๆ ตามที่ราบในประเทศไทย โดยขนาดและรูปร่างของแต่ละชุมชน ก็ต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ...
ฤา หินบะซอลต์ เขาพนมรุ้ง-ปลายบัด จะเคยผ่านมือชาย
ในทางภูมิศาสตร์ เขาพนมรุ้ง-ปลายบัด เป็นภูเขาลูกโดดอยู่กลางที่ราบลุ่ม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 กิโลเมตร สูง ประมาณ 100-180 เมตร จากพื้นราบ บนยอดมี ปล่องภูเขาไฟ (crater) ซึ่งในทางโบราณคดีมี ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาปลายบัด ๑ ...
สืบเส้นทางเกวียนโบราณ จากศาสตร์ ภูมินาม-ภูมิสารสนเทศ
ถึงแม้ว่าการคมนาคมในปัจจุบัน จะมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อซักประมาณ 100 ปีก่อน เมืองไทยก็มีตัวเลือกอยู่ไม่มาก นอกเหนือจากการคมนาคมทางเรือที่ดูฟูฟ่าในช่วงนั้น แต่ทางบกก็เห็นจะมีแค่ ม้า หรือ วัว-ควายเทียมเกวียน ที่พอจะเป็นสรณะได้ เพราะจากประวัติที่สืบย้อนกลับไป รถยนต์คันแรกของไทย คือของ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ...
ภูมิศาสตร์โบราณคดี พนมรุ้ง บุรีรัมย์
ในมิติการท่องเที่ยวคีย์เวิร์ด พนมรุ้ง คงหมายเพียงถึงปราสาทสวยๆ หลังเดียว ที่อยู่บนยอดภูเขาไฟพนมรุ้ง แต่จากข้อมูลโบราณคดีในพื้นที่พบว่า มีตัวละครอีกมากมายอยู่รายรอบแลนด์มาร์คเขาพนมรุ้งลูกนี้ จนทำให้ภาพอารยธรรมในพื้นที่มีความหลากหลายและร้อยเรียงกันอยู่อย่างละมุล หากไม่คิดเรื่องห้วงเวลาและความต่างของยุคสมัย กิจกรรมมากมายเคยเกิดขึ้นที่นี่ ตลอดระยะเวลากว่าพันปี งานสถาปนิก-วิศวกรรมในการก่อสร้างอาคารและประสาท งานโลจิสติกส์การขนถ่ายวัตถุดิบจากแหล่งผลิตสู่จุดหมาย งานเกษตรกรรมที่มีนวัตกรรมอยู่มากมาย ตลอดจนงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ก็มากมี ณ ดินแดนแห่งนี้ วนัมรุง ...
หิน-ลับ-หิน ที่ปราสาทเขาปลายบัด ๒ (เพิ่งเจอเมื่อวาน บอก “โบราณ” ไว้ก่อน)
ทีมเล่าเรื่อง : สันติ ภัยหลบลี้, กังวล คัชชิมา, สมบัติ มั่งมีสุขศิริ, อุเทน วงศ์สถิตย์ และ โอภาส จริยพฤติ ภาพปก : ภาพแกะสลักที่ปราสาทบายน กัมพูชา แสดงกรรมวิธีการผลิตและปรับปรุงคุณภาพของหิน ...
วัสดุแปลกปลอม กลางป่าพนมรุ้ง
ทีมสำรวจ : สันติ ภัยหลบลี้, นพมาศ ฤทธานนท์, กังวล คัชชิมา, สมบัติ มั่งมีสุขศิริ, อุเทน วงศ์สถิตย์, ปัญญา นากระโทก, จักรกริช อุดรพิมพ์, ตามศักดิ์ วงศ์มุนีวร, ...
ภูมิสารสนเทศ (GIS) เส้นทางทัพสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตลอดระยะเวลา 14 ปี ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133 – พ.ศ. 2148) พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรบ จากบันทึกพงศาวดารกล่าวว่า พระองค์ทรงทำศึกสงครามหลายต่อหลายครั้งภายในห้วงเวลาสั้นๆ 14 ปี ไม่ว่าจะเป็น 1) ...
How to ดู : คลองคนขุดโบราณ
ในทางโบราณคดี นอกจากโบราณสถาณและโบราณวัตถุ ที่มีให้สำรวจ-ขุดค้นกันอย่างไม่หวาดไม่ไหว อีกหนึ่งตัวละครที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ระบบชลประทาน (irrigation system) หรือ คลองขุดโบราณ ซึ่งมันก็ไม่ยากที่จะแยก หากสิ่งปลูกสร้างในอดีต เช่น ปราสาท สถูป เจดีย์ ฯลฯ ไม่ได้มีการใช้แล้วในปัจจุบัน สิ่งเหล่านั้นก็จะถูกนิยามเป็นโบราณสถาน ...