Tag: เขตมุดตัวของเปลือกโลก

เรียนรู้

สภาพแวดล้อมทาง “ธรณีแปรสัณฐาน” ที่ทำให้เกิด “แผ่นดินไหว”

ปัจจุบันเมื่อมีการตรวจวัดและจดบันทึกเวลา ขนาด และตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดมั่วซํ่วไปทั่วโลก แต่จะมีการกระจายตัวของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เฉพาะเจาะจง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมแผ่นดินไหวถึงได้เกิดเฉพาะบางพื้นที่ ซึ่งเมื่อนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวลองนำข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์กับประเด็นต่างๆ ทางธรณีวิทยา พบว่าแผ่นดินไหวแทบทั้งหมดส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก และสามารถอธิบายเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวได้ด้วยทฤษฏีที่เรียกว่า ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการเคลื่อนตัวและกระทบกระทั่งกันของแผ่นเปลือกโลก ปัจจุบัน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า เปลือกโลก (crust) ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : นัยสำคัญถึงแผ่นดินไหวใหญ่ในอนาคต

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในอนาคต

เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกขนานไปกับแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกิดจากการชนกันในแนวเหนือ-ใต้ของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) ทำให้แนวหมู่เกาะอินโดนีเซียยังคงมีภูเขาไฟมีพลังและกิจกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิเกิดขึ้นตลอดแนวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ในเรื่องของแผ่นดินไหว เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมต่ำกว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน ในแถบบ้านเรา ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ดังกล่าว บ่งชี้ว่าไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด > 8.6 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ...
วิจัย

ความเงียบงันตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : ยิ่งเงียบ ยิ่งน่ากลัว

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย ...
วิจัย

พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน

จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก ...
สำรวจ

สึนามิกำพร้า – ป่าผี

สึนามิกำพร้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในแต่ละครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ประเทศต่างๆ จะพยายามบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา นำมาถอดบทเรียนในการเตรียมตัวรับมือและศึกษาพฤติกรรมของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการนำบันทึกมาวิเคราะห์คาบอุบัติซ้ำของการเกิด หรือแม้กระทั่งนำมาประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความใส่ใจในการจดบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวรวมไปถึงเหตุการณ์สึนามิอย่างดีเยี่ยม ...
เรียนรู้

13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ

ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) ...
สำรวจ

ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย

หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน ...