Latest Articles

วิจัย

ความเงียบงันตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : ยิ่งเงียบ ยิ่งน่ากลัว

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ ...
วิจัย

พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน

จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญ ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือของไทย : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยง

นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน (Mae Chan ...
เรียนรู้

แผนที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวเท่า : การสำรวจและประโยชน์ของแผนที่

ปัจจุบันเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก กรมธรณีวิทยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US. Geological Survey) หรือ USGS (https://earthquake.usgs.gov/) จะรายงานข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้นอย่างทันท่วงที ซึ่งนอกเหนือจาก 1) เวลาการเกิดแผ่นดินไหวในรายละเอียดระดับวินาที 2) จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวพร้อมความลึก และ 3) กลไกการเกิดแผ่นดินไหว อีกข้อมูลหนึ่งที่ขาดไม่ได้และ ...
เรียนรู้

การเกิดแผ่นดินไหว : แนวคิดการคืนตัววัสดุและแบบจำลองตะกุกตะกัก

ด้วยนิยามของ แผ่นดินไหว (earthquake หรือ quake หรือ tremor) ถ้าจะเอาแบบกำปั้นทุบดิน หรือตอบแบบตีหน้าซื่อ ก็คงหมายถึง แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ดังนั้นอะไรก็ตามที่พอจะทำให้พื้นดินที่เราย่ำ เกิดอาการสั่นสะท้าน ก็พอจะเหมารวมกันไปได้เลยว่าเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว ทั้งการตอกเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสร้างบ้าน รถวิ่งบนถนน หรือแม้กระทั่งลูกมะพร้าวหล่นกระแทกพื้น ฯลฯ แต่ก็รู้ๆ กันอยู่ ...
วิจัย

คนโบราณแถวพังงา ใช้อิฐแบบ medium rare มาสร้างเมือง

ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2547 ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ตรงหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และสึนามิซัดขึ้นฝั่งอันดามันของไทย ผู้เขียนได้รับโอกาสจาก สำนักงานศิลปากรที่ 15 จังหวัดภูเก็ต ให้ไปเก็บตัวอย่างจาก แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพื่อมากำหนดอายุแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่มาที่ไปคือก่อนหน้านี้ กรมศิลปากรได้มีการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก ที่ตั้งอยู่บนเกาะคอเขา ติดกับแผ่นดินใหญ่ฝั่งอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ...
วิจัย

โลก (แผ่นดินไหว) ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

แทบทุกครั้ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่ทำให้เกิดสึนามิที่บ้านเรา  แผ่นดินไหวขนาด 8.9 นอกชายฝั่งเมืองโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2554 ที่ทำให้เกิดสึนามิซัดญี่ปุ่น แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ประเทศฟิจิ ...
สำรวจ

10 การปะทุของภูเขาไฟ ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในโลก

เรียบเรียงโดย : ธนภูมิ โฆษิตานนท์ และ สันติ ภัยหลบลี้  ภูเขาไฟปะทุ (volcanic eruption) ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ภัยพิบัติทางธรณีวิทยา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งด้วย รูปแบบของการประทุภูเขาไฟที่แตกต่างกันทำให้ระดับความรุนแรงของภูเขาไฟนั้นต่างกันไปด้วย โดยในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุและมีการบันทึกไว้ในอดีต มนุษย์ก็หลบได้บ้างไม่ได้บ้าง และมีบางเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาให้กับมนุษย์ได้อย่างเจ็บปวด ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 7 เครื่องมือหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง

ปัจจุบันเครื่องมือใน การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง (Luminescence Dating, TL and OSL) ที่นิยมใช้กันทั่วโลกมีอยู่ 2 ค่าย 2 สายพันธุ์ คือ 1) เครื่องมือสายเยอรมัน และ 2) เครื่องมือ Risø TL/OSL-DA-20 ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 6 ชนิดตัวอย่างยอดนิยม

1) วัสดุที่ได้รับความร้อนหรือความดัน การประยุกต์ หลักการเปล่งแสง กับการหาอายุวัสดุที่ได้รับความร้อนหรือความดัน เช่น หินอัคนีหรือหินแปร หรือแม้กระทั่งโบราณวัตถุในทางโบราณคดี เริ่มต้นจากแร่เดิมนั้นมีการสะสมอิเล็กตรอนอยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราที่คงที่ ตามอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีในธรรมชาติ ซึ่งหากแร่ได้รับความร้อนประมาณ 300-500 องศาเซลเซียส (Feathers, 2002) เช่น ลาวาที่กลายเป็นหินอัคนี หินเดิมที่ถูกแปรสภาพด้วยความดันและอุณหภูมิสูง แร่เดิมซึ่งเคยมีอิเล็กตรอนสะสมตัวอยู่จะถูกขับออกจากหลุมกักเก็บอิเล็กตรอนจนหมด จากนั้นแร่จึงเริ่มต้นสะสมอิเล็กตรอนใหม่อีกครั้ง ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 5 การเก็บและเตรียมตัวอย่าง

การเก็บตัวอย่าง ในการคัดเลือกตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อนำไปหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง (ทั้ง TL และ OSL) อย่างมีประสิทธิภาพนั้น อันดับแรกต้องมีหลักฐานหรือข้อสมมุติฐานที่แสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างที่ผ่านความร้อน และต้องการหาอายุการถูกเผาครั้งสุดท้ายนั้น ได้รับความร้อนเพียงพอ (300-500 oC; Feathers, 2003) หรือ ตัวอย่างตะกอนดิน ที่ต้องการหาอายุการสะสมตัวครั้งล่าสุดนั้น ต้องมีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนที่ชี้นำได้ว่ามีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ 6-8 ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 4 รังสีบรรพกาลจาก OSL

หลักการเปล่งแสงจากวิธีการกระตุ้นด้วยแสง การเปล่งแสงจากวิธีกระตุ้นด้วยแสง (Optically Stimulated Luminescence, OSL) เกิดแบบเดียวกับ การเปล่งแสงจากการกระตุ้นด้วยความร้อน (Thermoluminescence, TL) โดยเริ่มจากอิเล็กตรอนที่ถูกกักเก็บอยู่ใน หลุมกักเก็บอิเล็กตรอน (electron trap) ถูกกระตุ้นด้วยแสงและตกไปที่ ศูนย์กลางการเปล่งแสง (luminescence center) ทำให้เกิด ปรากฏการณ์การรวมตัวใหม่ ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 3 รังสีบรรพกาลจาก TL

หลักการตรวจวัดสัญญาณ TL การเปล่งแสงจากการกระตุ้นด้วยความร้อน (thermally stimulated luminescence) ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 (Daniels และคณะ, 1953) เพื่อที่จะวัดปริมาณรังสีหรือปริมาณอิเล็กตรอนที่อยู่ในหลุมกักเก็บ ที่วัตถุต่างๆ ได้รับ โดยใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า หลอดขยายสัญญาณแสง (photomultiplier tube หรือ ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 2 อัตราการแผ่รังสีจากสิ่งแวดล้อม

ในการกำหนดอายุวัสดุทางธรณีวิทยาหรือโบราณคดีด้วยวิธีการเปล่งแสง ค่าตัวแปรที่เราจำเป็นจะต้องประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งอายุของวัสดุประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1) ค่าจำนวนอิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้นให้ไปอยู่ในหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน (Equivalent Dose, ED) ในหน่วย Gy และ 2) อัตราการแผ่รังสีต่อปีของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในบริเวณรอบข้าง (Annual dose, AD) ในหน่วย Gy/year ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง : ตอน 1 ทฤษฏีและการประยุกต์เพื่อหาอายุ

แสงและการเปล่งแสง แสง (light) คือ การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น (visible light) หรืออาจรวมถึงช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ แสงอินฟราเรด (infrared, IR) ถึงแสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet, UV) โดยคุณสมบัติพื้นฐานของแสง ได้แก่ 1) ความเข้มของแสงหรือแอมพลิจูดของคลื่น แสดงอยู่ในรูปความสว่างของแสง และ ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน

ในบรรดาธาตุต่างๆ ที่มีอยู่บนโลก ธาตุโปแตสเซียม (Potassiam, K) เป็นอีกธาตุหนึ่งที่มีปริมาณพอสมควร โดยส่วนมากมักจะพบปะปนอยู่ใน แร่ประกอบหิน ทั่วไป ซึ่งทั้งหมดของธาตุ K ที่มีอยู่บนโลก ประกอบด้วย 3 ไอโซโทป คือ K-39 K-40 และ K-41 ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม

จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า มีไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี (radioactive isotope) หลายชนิดที่สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยที่ทุก ๆ วิธีการการหาอายุด้วยการใช้ ไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีนั้น ใช้หลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับ การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น จะแตกต่างกันก็ตรงที่ วัสดุที่เหมาะสมในการหาอายุหรือวิธีการการคัดแยกแร่และธาตุต่าง ๆ เพื่อนำมาคำนวณการประเมินอัตราการสลายตัวเท่านั้น ซึ่งนอกจาก การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน การหาอายุด้วยวิธียูเรเนียม-ตะกั่ว ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีออบซิเดียน

ออบซิเดียน (obsidian) คือ หินอัคนีภูเขาไฟ (volanic igneous rock) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของแมกมาไรโอไรท์ที่มีปริมาณแร่ซิลิก้าสูง โดยทั่วไปออบซฺเดียนมีหลายสีตั้งแต่ใสเหมือนแก้ว สีเทา สีน้ำตาล สีน้ำตาลออกแดง จนกระทั่งสีดำเหมือนถ่านหิน ความแตกต่างของสีเกิดจากสารประกอบในเนื้อแก้วและอัตราการเย็นตัวจากแมกมาจนกลายเป็นหินแข็ง ในอดีตมนุษย์นิยมใช้หินออบซิเดียนเป็นวัสดุหลักในการทำเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันและเครื่องประดับ ตลอดจนเอามาทำเป็นศิลปวัตถุ เนื่องจากมีความแข็งแรงและคงทน ทำให้ในช่วงปี ค.ศ. ...
สำรวจ

เขาสามมุข : ควอตซ์ . ไดค์ . ไซต์ . เวิลด์คลาส

ถ้าเอ่ยชื่อ เขาสามมุข เขื่อว่าชาวเมืองชลฯ คนภาคตะวันออก หรือแม้แต่คนไทยค่อนประเทศ คงจะพอคุ้นหูหรือไม่ก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนจะเคยหรือไม่เคยไป จะไปให้อาหารลิง นั่งนิ่งๆ ที่จุดชมวิวบนเขา หรือมาไหว้ขอพรศาลเจ้าแม่สามมุข ก็ตามแต่โอกาสของแต่ละคน ซึ่งหากดูเผินๆ หรือขับรถวนเล่นเพลินๆ ทุกคนก็คงจะคิดว่าเขาสามมุขก็แค่เขาทั่วๆ ไป ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่ในทางธรณีวิทยา เขาสามมุขถือได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญจุดหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ทำไมน่ะเหรอ ...
สำรวจ

10 เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้มากมาย ทั้งจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว ที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวแทบจะทุกเหตุการณ์ รวมไปถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่แสดงว่าในอดีตนั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก่อน และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญต่างๆ ที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ พบว่ามีหลากหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งบทความนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว 10 เหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์มากที่สุด 1) แผ่นดินไหวขนาด 8.0 มณฑลส่านซี ประเทศจีน 23 มกราคม ...