Latest Articles

เรียนรู้

ทะเลทรายกับการสะสมตัวของตะกอน

โดยปกติในพื้นที่ทะเลทราย ตัวพัดพาของตะกอนที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือลม ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จำแนกรูปแบบการพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ลมพัดพาตะกอนขนาดทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็กให้เคลื่อนที่ได้โดย การคืบคลาน (creep) หรือ การกลิ้ง (rolling) 2) การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ลมพัดพาทรายละเอียดให้เคลื่อนที่แบบกระโดดเป็นช่วง โดยลอยตัวสูง ...
เรียนรู้

ภูมิประเทศน่าสนใจ ใต้มหาสมุทร

ผลการสำรวจพื้นมหาสมุทรในปัจจุบันบ่งชี้ว่า แอ่งมหาสมุทร (ocean basin) นั้นไม่ได้มีความราบเรียบทั่วทั้งมหาสมุทร แต่ประกอบด้วยภูมิลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างน้อย 3-4 รูปแบบ 1) ที่ราบมหาสมุทร ที่ราบมหาสมุทร (abyssal plain) หมายถึง พื้นที่ราบเรียบและลึก ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจาก ลาดทวีป (continental rise) ในขอบทวีปสถิต ...
เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีเทียบเคียง

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำหนดอายุสัมพัทธ์ ที่ศึกษาได้จากการลำดับชั้นหินและฟอสซิลดังที่อธิบายในข้างต้น การกำหนดอายุสัมบูรณ์ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย เป็นหรือตาย ? จากนิยาม “รอยเลื่อนมีพลัง”

ในการประเมินระดับอันตรายแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis) (Kramer, 1996) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบสิ่งปลูกสร้างนั้น ตัวแปรสำคัญที่ควรพิจารณาให้ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด คือ แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อพื้นที่ศึกษา ทั้งในด้านรูปร่าง (ขนาดและทิศทางการวางตัว) และนิสัยใจคอ (พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว) ทั้งนี้เนื่องจากหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ครอบคลุม ผลการประเมินระดับแรงสั่นสะเทือนอาจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การออกแบบจากผลการประเมินที่ได้ยังคงไม่ปลอดภัยจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมากเกินไป ทั้งที่บางแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นอาจไม่ส่งผลกระทบหรือไม่ดุร้ายอย่างที่คิด แรงสั่นสะเทือนที่ประเมินได้ก็จะสูงเกินความเป็นจริง ...
เรียนรู้

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

นึกภาพตามนะครับ ถ้าเราจะวัดความเร็วของรถไฟโดยจับคนวัดไปนั่งอยู่บนรถไฟ ถามว่าผลจะออกมาแบบไหน คำตอบคือคนวัดคงนั่งงง วัดอะไรไม่ได้เลย เพราะทั้งรถทั้งคนก็วิ่งไปพร้อมๆ กันด้วยความเร็วของรถไฟ เว้นเสียแต่คนวัดจะลงจากรถไฟมานั่งนิ่งๆ มองรถไฟวิ่งผ่านหน้าไป ก็คงพอจะเดาได้ว่ารถไฟกำลังวิ่งฉึกฉักหวานเย็น หรือวิ่งฟิ้ววววแบบไม่เห็นฝุ่น ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกโดยที่เราไม่สั่นไปพร้อมกับโลก เราคงต้องลอยนิ่งๆ เหนือพื้นโลกแล้วค่อยวัด จึงจะได้ระดับการสั่นไหวของโลกที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าจะต้องลงทุนกันขนาดนั้น นักแผ่นดินไหวจึงพยายามหาทางเลือกใหม่ ที่จะวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวโดยที่ตัววัดยังคงอยู่แบบนิ่งๆ ...
เรียนรู้

การวิเคราะห์และคัดกรองแผ่นดินไหวที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์

นอกจากแผ่นดินไหวทั่วไปที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวบางส่วนที่บันทึกไว้ได้ในปัจจุบันก็เป็น แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (man-made earthquake) เช่น การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ ซึ่งหากมีข้อมูลแผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในฐานข้อมูลแผ่นดินไหว มักจะทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานมีความคลาดเคลื่อน เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตจาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งนักแผ่นดินไหวหลายกลุ่ม (Zuniga และ Wyss, 1995; Toda และคณะ, 1998; ...
เรียนรู้

วิทยาศาสตร์โลก (Earth Science) และลูกๆ ของเขา

ความเชื่อเกี่ยวกับโลกในอดีต ในอดีตการศึกษาเกี่ยวกับโลกมีวิวัฒนาการมาจากการพัฒนาลัทธิความเชื่อ 3 ลัทธิ ได้แก่ 1) ลัทธิความหายนะ (Catastrophism) เกิดขึ้นในสมัยโบราณ โดยเชื่อว่าโลกเกิดขึ้นมาอย่างลี้ลับ เหนือความเข้าใจของมนุษย์ ทุกอย่างในโลกเกิดจากปรากฏการณ์ที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งลัทธินี้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาคริสต์ซึ่งเจริญรุ่งเรื่องในยุคนั้น 2) ลัทธิดุลยภาพ (Uniformitarianism) นำเสนอเป็นครั้งแรกโดย เจมส์ ฮัทตัน (Hutton ...
เรียนรู้

ทรายพุและโคลนภูเขาไฟ

ทรายพุ (Liquefaction) ทรายพุ (liquefaction) หรือ ทรายเดือด (sand boil) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจจะดูแปลกตาสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในเชิงของภัยพิบัติ ทรายพุถือเป็นภัยพิบัติประเภทหนึ่งที่มีโอกาสสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้ หากทรายพุที่ว่ามีขนาดหรือสเกลใหญ่ๆ ซึ่งกระบวนการเกิดทรายพุเกิดจากพฤติกรรมเฉพาะของชั้นทรายชุ่มน้ำ ที่เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทรายจะสามารถเคลื่อนตัว แทรกดันและพุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกได้ และจากหลักคิดง่ายๆ ถ้าทรายบางส่วนผุดขึ้นมา ก็ต้องมีบางส่วนที่ต้องลงไปแทนที่ ...
เรียนรู้

การหาอายุทางธรณีวิทยาและโบราณคดีจากสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกบรรพกาล

จากการศึกษาโครงสร้างภายในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีสถานะเป็นของเหลว และมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญของแก่นโลก และเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ของเหลวในแก่นโลกชั้นนอกไหลเวียน (Jacobson, 1975) และผลิต สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ตามหลักการพื้นฐานที่นำเสนอโดยไมเคิล ฟาราเดย์ (Faraday M.) ...
เรียนรู้

การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis)

นิยาม โดยคำจำกัดความ คำว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard) หมายถึง ระดับแรงสั่นสะเทือนของพื้นดินในแต่ละพื้นที่ ในขณะที่คำว่า เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว (seismic risk) หมายถึง ระดับความเสี่ยงภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งประเมินจากมูลค่าหรือความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีโอกาสได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ดังนั้นในทาง วิทยาคลื่นไหวสะเทือน หรือ แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ...
วิจัย

รอยเลื่อนฝั่งตะวันตกของไทย : มีที่ไม่น่าไว้ใจอยู่ 2-3 ที่

ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ประเทศไทยและเพื่อนบ้านตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) ซึ่งในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย (Indo-Australia Plate) กำลังวิ่งชนและมุดลงไปใต้แผ่นยูเรเซียบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ผลจากการชนกันทำให้เกิดแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน บีบอัดแผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นและยกตัวสูงขึ้นกลายเป็น แนวเทือกเขาอาระกัน (Arakan-Yoma thrust range) ทางฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า นอกจากนี้แรงเค้นดังกล่าวยังส่งผลเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนรอยต่อ ระหว่างภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคใต้ของประเทศพม่า ผลที่ได้คือเกิดกลุ่มรอยเลื่อนมากมายในแถบนั้น ...
เรียนรู้

การเกิดแหล่งแร่เบื้องต้น

แหล่งแร่ (mineral deposit) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ที่มีแร่สะสมตัวในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเพียงพอในทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า แหล่งสินแร่ (ore deposit) ที่หมายถึง แหล่งแร่ที่มีปริมาณมากพอที่จะนำออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยมีกำไร นักธรณีวิทยาจำแนกชนิดแหล่งแร่ตามรูปแบบการสะสมตัวได้หลากหลายรูปแบบโดยในเบื้องต้น ได้แก่ 1) แหล่งแร่แบบฝังประ แหล่งแร่แบบฝังประ (disseminated deposit) ...
เรียนรู้

ภูมิลักษณ์จากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง

ในธรรมชาติ พื้นที่ที่จะเกิดธารน้ำแข็งได้มีอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ 1) ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) ซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว และ 2) ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาที่มีระดับความสูงพอที่จะทำให้อากาศเย็นและเกิดการสะสมตัวของธารน้ำแข็งได้ ซึ่งในกรณีของธารน้ำแข็งพื้นทวีป น้ำแข็งส่วนใหญ่จะมีความชันต่ำ ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้ช้า ...
เรียนรู้

ชั้นน้ำใต้ดินและการเคลื่อนที่

จากคุณสมบัติ ความพรุน (porosity) และ ความสามารถในการซึมผ่าน (permiability) ของชั้นดินหรือชั้นหินในแต่ละพื้นที่ นักธรณีวิทยาจำแนกชั้นหินตามศักยภาพในการเป็นชั้นน้ำบาดาลออกเป็น 2 ชนิด หลักๆ 1) ชั้นหินต้านน้ำ (aquitard) คือ ชั้นหินที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ต่ำหรือไม่สามารถซึมผ่านได้เลย เช่น ชั้นหินดินดานหรือหินแปรเนื้อแน่น 2) ชั้นหินอุ้มน้ำ ...
เรียนรู้

ฝั่ง . หาด . ชายฝั่ง . ชายหาด ต่างกันยังไง

ถ้าจะเรียกแบบเหมาๆ ริมทะเล ถือเป็นพื้นที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของมนุษย์ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้กระทั่งภัยพิบัติที่น้ำทะเลทำกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น สึนามิ คลื่นพายุซัดฝั่ง การกัดเซาะชาายฝั่ง ทั้งหมดทั้งมวลก็ล้วนแต่เกิดขึ้นบริเวณริมทะเลนี้ทั้งนั้น และในทางปฏิบัติเวลาเราจะนัดหรือชวนใครไปที่ริมทะเล เราก็จะเรียกริมทะเลนั้นแตกต่างกัน ตามความคุ้นชินของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น ฝั่ง ชายฝั่ง หาด ชายหาด ...
เรียนรู้

ความรู้พื้นๆ ของน้ำใต้ดิน

น้ำใต้ดิน (groundwater) คือ น้ำที่ได้จากการซึมผ่านของ น้ำผิวดิน (surface water) และถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินตามช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน รวมทั้งโพรงหรือรอยแตกของหินใต้ดิน ซึ่งถึงแม้ว่าโดยสัดส่วนของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก น้ำใต้ดินจะมีปริมาณเพียง 0.62% ของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก แต่น้ำใต้ดินถือเป็นทรัพยากรแหล่งน้ำบริสุทธิ์ที่สำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์ ซึ่งหากพิจารณาเรื่องแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินเป็นเกณฑ์ นักวิทยาศาสตร์จำแนกชั้นดินหรือชั้นหินใต้พื้นผิวโลกออกเป็น 2 โซน 1) โซนอิ่มอากาศ ...
เรียนรู้

การจัดระบบและจัดจำแนกรูปแบบธารน้ำในธรรมชาติ

ระบบธารน้ำ เนื่องจากธารน้ำในธรรมชาติจะประกอบด้วยธารน้ำสาขาจำนวนมากที่ไหลลงมารวมกัน ดังนั้นเพื่อให้มีการทำความเข้าใจตรงกันในการสื่อสารในการบริหารจัดการน้ำ นักอุทกวิทยาจึงมีหลักการในการ ลำดับธารน้ำ (stream order) อย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบธารน้ำ (drainage system) โดยกำหนดให้ธารน้ำที่ไหลออกจากต้นน้ำหรือแหล่งกำเนิด เรียกว่า ธารน้ำสาขาที่ 1 (1st order stream) ซึ่งต่อมาเมื่อไหลมาบรรจบกับธารน้ำอื่น ...
วิจัย

ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว : ความเงียบที่รอวันระเบิดกับการวิเคราะห์เชิงสถิติ

หลักคิด เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมการปริแตกของหินหรือรอยเลื่อนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวในธรรมชาติ Sobolev (1995) ได้จำลองการเกิดแผ่นดินไหวจากการลองบีบอัดหินและตรวจวัดจำนวนเสียงปริแตกของหิน ซึ่งคล้ายกับการทดสอบของ Main และคณะ (1989) ในการวิเคราะห์ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ FMD แต่ผลการทดสอบของ Sobolev (1995) ตรวจพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการปริแตกของหิน และอธิบายว่าในระยะเริ่มต้นบีบอัดหินจำนวนเสียงปริแตกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มแรงบีบอัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนเสียงปริแตกจะลดลงเนื่องจากรอยแตกของหินเริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุล จนกระทั่งในระยะสุดท้ายหินจะปริแตกอย่างรุนแรง ...
วิจัย

โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย

ตลอดแนวหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถือเป็นขอบของการชนกันระหว่าง 1) แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และ 2) แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) ซึ่งด้วยความที่เป็นขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้พื้นที่แถบนี้เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ดังนั้น ...
วิจัย

จับสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใหญ่ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว

หลักคิด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (seismicity rate change) พัฒนามาากแนวคิด เขตช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) ซึ่ง McCann และคณะ (1979) อธิบายว่า ทุกพื้นที่ย่อยของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจะมีพฤติกรรมหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากพื้นที่ย่อยใดๆ ภายในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวต่ำกว่าพื้นที่ย่อยข้างเคียงหรือไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหว นักแผ่นดินไหวประเมินว่าพื้นที่ย่อยดังกล่าวกำลังสะสมความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานและอาจเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต (McCann และคณะ, ...