เขามีดอีโต้ – ธรณีวิทยาพาเที่ยว
ภูเขารูปมีดอีโต้ หรือที่ทางวิชาการ เรียกว่า ภูมิประเทศเควสตา (cuesta topography) คือ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวภูเขาที่มีสันเขาแหลมคม ด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันสูง ส่วนอีกด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันต่ำราดลงไป โดยปกติ หากเราพบเห็นภูเขารูปมีดอีโต้ หรือลักษณะภูมิประเทศแบบเควสตา โดยส่วนใหญ่หินในแถบนี้มักจะเป็น หินตะกอน (sedimentary rock) วางตัวเป็นชั้นๆ ...
แบบฝึกหัด 14 ตะกอนและหินตะกอน
วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด 1) แบบฝึกหัดจับคู่ คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร ...
ปากแม่น้ำโบราณ ของไทย
ในบรรดา ภูมิลักษณ์ (landform) รูปแบบต่างๆ บนพื้นผิวโลก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) ถือเป็นภูมิลักษณ์อันดับหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดต่อการเกษตรกรรม อุดมยิ่งกว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplain) อย่างที่เราเคยรู้กัน ทั้งนี้ก็เพราะดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นพื้นที่สุดท้าย ที่คอยรวบรวมอินทรีย์วัตถุที่สะสมมาตลอดทาง จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้ตกสะสมในบริเวณนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัดในแถบบ้านเรา คือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ...
กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก
ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด ...
หินตะกอนชีวภาพ
หินตะกอน หินตะกอน (sedimentary rock) หรือ หินชั้น คือ หินที่เกิดจากการทับถมของเศษเม็ดตะกอน ที่ได้มาจากการผุพังของหินเดิมที่แก่กว่า โดยแร่ประกอบหินที่สำคัญของหินตะกอน ได้แก่ แร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ แคลไซต์ โดโลไมต์ ยิปซั่มและแร่เฮไลด์ เป็นต้น ซึ่งด้วยชื่อว่าหินตะกอนและภาพจำเก่าๆ ...
5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”
เศษหิน หรือ ตะกอน (sediment) หมายถึง เศษอนินทรียวัตถุทางธรรมชาติ เช่น แร่ที่ผุพังและถูกพัดพาไปสะสมตัวในพื้นที่ใดๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก ดิน (soil) ที่มีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อินทรียวัตถุ น้ำและก๊าซต่างๆ โดยตะกอนหรือหินตะกอนมีประโยชน์อย่างมากในการแปลความสภาพแวดล้อมในอดีต ทั้งจากลักษณะการสะสมตัวและคุณสมบัติต่างๆ ...
ทะเลทรายกับการสะสมตัวของตะกอน
โดยปกติในพื้นที่ทะเลทราย ตัวพัดพาของตะกอนที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือลม ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จำแนกรูปแบบการพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ลมพัดพาตะกอนขนาดทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็กให้เคลื่อนที่ได้โดย การคืบคลาน (creep) หรือ การกลิ้ง (rolling) 2) การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ...
ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน
ในบรรดาหินทั้ง 3 ชนิด (หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร) หินตะกอน ถือเป็นหินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในหลายๆ กรณีหินตะกอนได้เก็บรักษาลักษณะโครงสร้างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในระหว่างที่ตะกอนสะสมตัวในอดีตได้เป็นอย่างดีรวมทั้งซากสิ่งมีชีวิตที่ในหลายๆ ครั้งก็ถูกปิดเก็บไว้ภายในชั้นหินตะกอน ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างดังกล่าวมีหลากหลาย ซึ่งนักธรณีวิทยาจัดจำแนกเอาไว้อย่างน้อย 8 รูปแบบเด่นๆ ดังนี้ ชั้นตะกอน ตะกอน (bed) ...
หินตะกอนเคมี
โดยปกติถ้าพูดถึงหินตะกอน พวกเราอาจจะคิดว่าถ้าได้มองหินตะกอนไกล้ๆ เราก็จะเห็นเม็ดตะกอนเป็นเม็ดๆ จับตัวกันยู่ ซึ่งนั่นคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ส่วน หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกตะกอนและสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาในรูปของสารละลายในน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หินตะกอนเคมีแทบจะไม่สามรถมองเห็นเม็ดของตะกอนได้เลยด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เนื่อจากตะกอนมีขนาดเล็กมาก ...
หินตะกอนเนื้อเม็ด
หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic หรือ detrital sedimentary rock) เกิดโดยการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ และแข็งตัวกลายเป็นหิน หรือ การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมีหรือทางชีวภาพของตะกอน ตั้งแต่ตะกอนเริ่มสะสมตัวจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งกระบวนการก่อตัวใหม่ของตะกอนจนกลายเป็นหินประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ...
บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง
เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น ...
ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว
พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, ...