“คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ถ้าจะให้พูดกันอย่างแฟร์ๆ วิทยาศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาในภายหลังจากความเชื่อในท้องถิ่นที่มักจะมีอยู่ก็ก่อนแล้ว ดังนั้นในหลายๆ สถานที่บนโลก จึงถูกอธิบายไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธา และอาจจะมีในบางสถานที่ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ เคียงขนานกันไป ซึ่งนั่นก็รวมถึงสถานที่ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าในบทความนี้เช่นกัน เพราะเรื่องเล่าในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะลบล้างหรือลบหลู่ความเชื่อในท้องที่ที่มีอยู่ก่อน แต่เจตนาหลักของการเล่าเรื่องก็เพียงแค่อยากให้มีมุมของวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกซักมุม เดินเคียงกันไปกับความศัทธาดั้งเดิม คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด ...
5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”
เศษหิน หรือ ตะกอน (sediment) หมายถึง เศษอนินทรียวัตถุทางธรรมชาติ เช่น แร่ที่ผุพังและถูกพัดพาไปสะสมตัวในพื้นที่ใดๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก ดิน (soil) ที่มีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อินทรียวัตถุ น้ำและก๊าซต่างๆ โดยตะกอนหรือหินตะกอนมีประโยชน์อย่างมากในการแปลความสภาพแวดล้อมในอดีต ทั้งจากลักษณะการสะสมตัวและคุณสมบัติต่างๆ ...