
โดยปกติถ้าพูดถึงหินตะกอน พวกเราอาจจะคิดว่าถ้าได้มองหินตะกอนไกล้ๆ เราก็จะเห็นเม็ดตะกอนเป็นเม็ดๆ จับตัวกันยู่ ซึ่งนั่นคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ส่วน หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกตะกอนและสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาในรูปของสารละลายในน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หินตะกอนเคมีแทบจะไม่สามรถมองเห็นเม็ดของตะกอนได้เลยด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เนื่อจากตะกอนมีขนาดเล็กมาก แต่อาจมองเห็นเม็ดของแร่ได้หากส่องดูภายใต้กล้องจลทรรศน์ ในธรรมชาติ หินตะกอนเคมีมีหลายชนิด และแต่ละชนิดก็เกิดในสภาพแวดล้อมที่เฉพาะแตกต่างกัน
1) หินปูน (limestone)
หินปูน (limestone) เป็นหินตะกอนเคมีที่พบมากที่สุดในโลก ประกอบด้วยแร่แคลไซต์ (CaCO3) เป็นหลัก ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก โดยส่วนใหญ่มีสีเทาหรือสีดำ บางครั้งมีฟอสซิลขนาดเล็กเป็นองค์ประกอบ เช่น ฟิวซูลินิด (fusulinid) ไครนอยด์ (crinoid) และปะการัง (coral) เป็นต้น

2) หินโดโลไมต์ (dolomite)
หินโดโลไมต์ (dolomite) องค์ประกอบหลักเป็นแร่โดโลไมต์ (CaMg (CO3) 2) เกิดจากการแทนที่ธาตุแคลเซียมด้วยธาตุแมกนีเซียม (Mg) ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารละลายแมกนีเซียมสูงกว่าปกติ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้น้อยกว่าหินปูน โดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดการกัดกร่อน พื้นผิวของหินจะมีลักษณะคล้ายกับหนังช้าง

3) หินอีแวพอไรท์ (evaporite)
หินอีแวพอไรท์ (evaporite) เกิดจากการระเหยของน้ำเค็มเข้มข้นสูง ทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ต่างๆ ได้แก่ หินยิปซั่ม (gypsum : CaSO4 2H2O) หินแอนไฮไดร์ท (Anhydrite : CaSO4) และ หินเฮไลด์หรือหินเกลือ (Halite : NaCl)

4) หินเชิร์ต (chert)
หินเชิร์ต (chert) เกิดจากการตกทับถมของซากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบเป็นแร่ซิลิกาเป็นหลัก เช่น เรดิโอลาเรีย (radiolarian) และ ไดอะตอม (diatom) เป็นหินเนื้อแน่น แข็ง เปราะ บางครั้งพบมลทินเช่นแร่แคลไซต์ เหล็ก ทำให้มีสีและชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น สีเทาหรือดำเข้ม เรียกว่า หินเหล็กไฟ (flint) สีแดง เรียกว่า แจสเพอร์ (Jasper) เป็นต้น



. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth