สำรวจ

Explore

สำรวจ

ล่อง (รอยเลื่อน) แม่ปิง

ปัจจุบัน รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศเอาไว้ว่าเป็น รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ก็จะมีอยู่ประมาณ 14-15 รอยเลื่อน ครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย เช่น รอยเลื่อนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่จัน จังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ในแถบภาคตะวันตก ตลอดจนรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย ...
สำรวจ

How to ดู : คลองคนขุดโบราณ

ในทางโบราณคดี นอกจากโบราณสถาณและโบราณวัตถุ ที่มีให้สำรวจ-ขุดค้นกันอย่างไม่หวาดไม่ไหว อีกหนึ่งตัวละครที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ระบบชลประทาน (irrigation system) หรือ คลองขุดโบราณ ซึ่งมันก็ไม่ยากที่จะแยก หากสิ่งปลูกสร้างในอดีต เช่น ปราสาท สถูป เจดีย์ ฯลฯ ไม่ได้มีการใช้แล้วในปัจจุบัน สิ่งเหล่านั้นก็จะถูกนิยามเป็นโบราณสถาน เปิดทางให้นักโบราณคดีเข้าสำรวจในพื้นที่กันได้ง่ายๆ แต่ใครจะไปรู้ ...
สำรวจ

ปราสาทเขาปลายบัด บุรีรัมย์ : จากกำแพงหินเนื้อแปลก สู่เหมืองหินลึกลับที่น่าค้นหา

ปลายบัด เป็นเขาลูกโดด ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขาพนมรุ้ง อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. บุรีรัมย์ ซึ่งในทางธรณีวิทยา เขาปลายบัดเป็นภูเขาไฟเก่า แต่ปัจจุบันถือว่าดับสนิทแล้ว (ไม่มีแมกมาอยู่ใต้เขาแล้ว) ในทางโบราณคดี บนพื้นที่เขาปลายบัด มีโบราณสถาณสมัยอาณาจักรแขมร์สำคัญ 2 แห่ง ได้แก่ ปราสาทเขาปลายบัด ๑ และ ...
สำรวจ

4 รอยเลื่อน แห่งลุ่มน้ำโขง ที่ไทยควรเฝ้าระวัง

ภาพปก : https://pantip.com/topic/36696666 ปัจุบัน ผลจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย กำลังพุ่งชนและมุดเข้าไปใต้แผ่นยูเรเซีย นอกจากขอบการชนกันอย่าง เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman subduction zone) แรงส่งจากการบดขยี้กันของแผ่นทั้งสอง ยังทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกเกิดรอยแตกร้าวมากมาย อย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า รอยเลื่อน (fault) ซึ่งทั้งเขตมุดตัวและรอยเลื่อน ถือเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญและเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ และเนื่องจากการบดอัดกันของอินเดีย-ยูเรเซีย ส่วนใหญ่เน้นลงแรงกันทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย ...
สำรวจ

เกาะบาเรน : ภูเขาไฟที่หลอนคนไทยให้ผวา สึนามิ

สึนามิเกิดได้จากหลายสาเหตุ นอกจาก กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ที่เป็นสาเหตุหลักของสึนามิ ดินถล่มหรือ ภูเขาไฟ ใต้ทะเลก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างสึนามิได้ หลังปี พ.ศ. 2547 คนไทยรู้ดีว่า ห่างออกไปนอกชายฝั่งอันดามันของไทย มี เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sunatra-Andanan Subduction Zone) ทอดตัวอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสึนามิสำคัญของบ้านเรา ...
สำรวจ

แนวชายฝั่ง ทวารวดี : มองมุมธรณีวิทยา

ภาพจากปก : ตราประทับดินเผาลายนูนต่ำรูปเรือใบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 พบที่เมืองนครปฐมโบราณและพื้นที่ใกล้เคียง แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าในการเดินเรือและการค้าขายของเมืองนครปฐมโบราณสมัย ทวารวดี [ที่มา : มิวเซียมสยาม – Museum Siam] ทวาราวดีเบื้องต้น ทวารวดี (Dvaravati) ...
สำรวจ

แผ่นดินไทยมาจากไหน ? : นิทาน . ธรณีแปรสัณฐาน . ประเทศไทย

เชื่อว่าผู้อ่านคงเคยได้รับชมสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางของเผ่าพันธุ์มนุษย์ การอพยพของสัตว์เพื่อหนีหนาว หรือแม้แต่การเดินทางของเม็ดเลือดจากการ์ตูน “นิทานชีวิต” ที่เราคลั่งไคล้กันตอนเด็กๆ คราวนี้ผู้เขียนอยากให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ มาดูการเดินทางของผืนแผ่นดิน (ธรณีแปรสัณฐาน) กันบ้าง ผู้เขียนผู้เขียนตั้งชื่อนิทานเรื่องนี้ว่า “นิทานขวานทอง” ซึ่งอ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยมีการศึกษาวิจัยเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bunopas (1985) Charusiri และคณะ (2002) และ Yan ...
สำรวจ

ตะพักทะเล : พยานปากเอก จับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

เกริ่นกันก่อน ตะพักแม่น้ำ เกริ่นก่อนจะเข้าเรื่อง แผ่นดินไหว สืบเนื่องจากบทความ : ชนิดและภูมิลักษณ์ของธารน้ำ ผลจากการกวัดแกว่งของ ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream) หินแข็งที่เคยอยู่ริมธารน้ำจะถูกกัดกร่อนและเกิดการทับถมตะกอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปทั่วทุกพื้นที่ที่ธารน้ำเคยตวัดไปถึง ทำให้เกิดภูมิประเทศเป็นที่ราบครอบคลุมพื้นที่กว้างขนาบไปตามธารน้ำที่เรียกกันติดปากว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ซึ่งหากมองในภาพตัดขวางของร่องน้ำ จะพบว่าร่องน้ำโค้งตวัดนี้ จะมีความกว้างโดดเด่นกว่าความลึก หรือมีรูปร่างคล้ายกับตัว ...
สำรวจ

เกลือ 7 แบบ : หลากสี หลายรส

เกลือ – เรียบเรียง : ธัญพร จันทาดี และ สันติ ภัยหลบลี้ เกลือที่มีดีมากกว่าความเค็ม เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักเกลือกันเป็นอย่างดี มีหลักฐานว่ามนุษย์ใช้เกลือและผลิตเกลือมาตั้งแต่ 6,000 ปี ก่อนคริสต์กาล ในอดีตกาลเกลือเป็นสิ่งมีค่ามากยิ่งกว่าทอง แต่นอกจากเกลือสีขาวในครัวที่เรารู้จักกันแล้ว ยังมีเกลือที่มีสีและรสชาติแตกต่างกันมากมายบนโลกนี้ โดยเกลือสามารถแบ่งออกเป็น 2 ...
สำรวจ

ควอตซ์ . หลาก . สี

ควอตซ์ (quartz) – เรียบเรียง : นารีรัตน์ อัมพวะศิริ และ สันติ ภัยหลบลี้ ควอตซ์ (quartz) เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นซิลิกอนและออกซิเจน มีสูตรเคมีคือ SiO₂ เป็นแร่ที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 12 ของเปลือกโลก พบได้ทั้งในหินอัคนี หินตะกอน ...
สำรวจ

มีนิคมอุตสาหกรรมเหล็กร้าง แอบอยู่กลางป่าชายขอบบุรีรัมย์

โบราณคดี – วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ แร่เหล็กถือ (iron) เป็นหนึ่งในวัสดุที่สำคัญในการผลิตเครื่องมือเครื่องไม้ข้างกายมนุษย์มาอย่างยาวนาน แน่นอนว่าปัจจุบันแหล่งผลิตแร่เหล็กที่สำคัญมีกระจายอยู่ทั่วทุกเห็นโลก ได้แก่ ประเทศจีน ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย ...
สำรวจ

ราชมรรคา : อีกเหตุผล ทำไมเส้นทางโบราณนี้เป็นที่นิยม

ราชมรรคา : วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย : สุทธิกานต์ คำศิริ, สุรพล เทวัญรัมย์ และ สันติ ภัยหลบลี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศหรือภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ภาคอีสานของไทยอยู่สูงกว่าที่ราบลุ่มต่ำของประเทศกัมพูชา ซึ่งนอกจากระดับความสูงโดยรวมที่แตกต่างกันแล้ว ชายแดนของทั้ง 2 พื้นที่ ยังถูกขวางกั้นตลอดแนวกว่า 300 กิโลเมตร ...
สำรวจ

คน . หยอก . คลื่น

คลื่น – ปัจจุบันรูปแบบการป้องกันภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่งที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมีอยู่อย่างน้อยๆ 4 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีลีลาในการปก ป้อง ปราม การสูญเสียหาดหรือฝั่งอย่างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการรุกรานของน้ำทะเลหรือ คลื่น ที่ก็ว่ากันไปตามหน้างาน 1) กำแพงกันคลื่น (seawall) คือความพยายามปกป้องพื้นที่ที่น้ำรุกล้ำและประชิดเข้าติดตัวแล้ว ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้น้ำทะเลกระซวกฝั่งเพิ่มหรือเลยเถิด ก็ใช้วิธีใส่เฝือกปูนให้น้ำกระแทกปูน พอบรรเทาฆ่าเวลาไปได้บ้าง 2) ...
สำรวจ

ความเฟี้ยวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนลำตะคอง

เขื่อน – ในบรรดาเขื่อนต่างๆ กว่า 39 เขื่อน ที่มีอยู่ในประเทศไทย เขื่อนส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เป็น หุบเขาร่องลึก (valley) ตามภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของไทย ทั้งนี้ก็เพราะความเหมาะในการเก็บน้ำแบบลึกๆ แต่กินพื้นที่แคบๆ ซึ่งในทางธรณีวิทยาหุบเขาร่องลึกจะเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะมี รอยเลื่อน (fault) เป็นตัวควบคุม ...
สำรวจ

กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก

ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด แต่กลับเป็นหลักฐานทาง ตะกอนวิทยา ...
สำรวจ

เขตมุดตัว (ของเปลือกโลก) ระดับโลก

ธรณีแปรสัณฐาน – ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) หรือ ร่องลึกก้นสมุทร (trench) กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน ร่องลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก และร่องลึกก้นสมุทรชวา เป็นต้น ...
สำรวจ

ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศไทยที่อยู่ใกล้กับขอบของแผ่นเปลือกโลกมากที่สุด ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งก็คือรอยร้าวภายในแผ่นเปลือกโลกที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในอดีต และล่าสุดกรมทรัพยากรธรณี ...
สำรวจ

“คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ถ้าจะให้พูดกันอย่างแฟร์ๆ วิทยาศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาในภายหลังจากความเชื่อในท้องถิ่นที่มักจะมีอยู่ก็ก่อนแล้ว ดังนั้นในหลายๆ สถานที่บนโลก จึงถูกอธิบายไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธา และอาจจะมีในบางสถานที่ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ เคียงขนานกันไป ซึ่งนั่นก็รวมถึงสถานที่ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าในบทความนี้เช่นกัน เพราะเรื่องเล่าในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะลบล้างหรือลบหลู่ความเชื่อในท้องที่ที่มีอยู่ก่อน แต่เจตนาหลักของการเล่าเรื่องก็เพียงแค่อยากให้มีมุมของวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกซักมุม เดินเคียงกันไปกับความศัทธาดั้งเดิม คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง ...