สำรวจ

Explore

สำรวจ

10 เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้มากมาย ทั้งจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว ที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวแทบจะทุกเหตุการณ์ รวมไปถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่แสดงว่าในอดีตนั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก่อน และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญต่างๆ ที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ พบว่ามีหลากหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งบทความนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว 10 เหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์มากที่สุด 1) แผ่นดินไหวขนาด 8.0 มณฑลส่านซี ประเทศจีน 23 มกราคม ...
สำรวจ

มัดรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ไทยเคยโดน

 ประสบการณ์การด้านแผ่นดินไหวในบ้านเรา จริงๆ แล้วก็มีให้เห็นเป็นระยะๆ หลายคนเคยเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ แต่คนที่จะได้รับประสบการณ์ตรงของแรงสั่นสะเทือนนั้นคงนับหัวได้ ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงอาจจะคิดว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ก่อนที่ความรู้สึกแบบนี้จะฝังรากหยั่งลึก แนะนำให้ลองดูแผนที่ด้านล่างกันก่อน ข้อมูลที่แสดงในแผนที่เป็นสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดในช่วงปี พ.ศ. 2507-2554 ซึ่งคัดลอกมาจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวของหน่วยงาน Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ...
สำรวจ

กรุงเทพฯ จมน้ำ : แน่ใจหรือ ว่าเราจะมีโอกาสเห็น

ประเด็นที่ว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังจะจมน้ำ ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงกันมานานมากแล้ว และทุกครั้งที่ถกทั้งในวงแคบและวงกว้าง ก็มักจะทำให้เกิดความวิตกกังวลกับคนในพื้นที่ ถึงขนาดที่ว่าหนีไปซื้อที่ซื้อทางในภาคอื่นเอาไว้ก็มี เพราะกลัวว่าตอนแก่จะไม่มีที่อยู่ ซึ่งถ้าจะพูดถึงความเป็นไปได้ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจม กลายเป็นเมืองบาดาล มีปัจจัยที่ควรถูกตีแผ่อยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล และ 2) การทรุดตัวต่ำลงของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ...
สำรวจ

ทะเลสาบเท้าม้วน : กับตำนาน ศักรินทร์ดาวร้าย แห่งมะริกัน

ทะเลสาบเท้าม้วน (Reelfoot Lake) เป็นทะเลสาบขนาดพอประมาณแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทะเลสาบมีพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (15,000 เอเคอร์) ซึ่งถึงแม้ว่าทะเลสาบเท้าม้วนจะไม่ใช่ทะเลสาบที่โด่งดังคุ้นหูคนไทยมากนัก แต่สำหรับคนอเมริกันท้องถิ่นในแถบแม่น้ำมิสซิสซิปปี รู้จักทะเลสาบเท้าม้วนนี้กันเป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญในแถบตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา และด้วยความที่มีระบบนิเวศไม่ค่อยเหมือนใครในแถบนั้น คนส่วนใหญ่ที่ไปที่นั่นจึงมักจะไปเปิดหูเปิดตาอยู่ไม่ขาดสาย เพื่อตั้งแคมป์ปิ้ง ชมธรรมชาติ ดูนกหายาก รวมทั้งการพายเรือเล่นและตกปลา ...
สำรวจ

สึนามิกำพร้า – ป่าผี

สึนามิกำพร้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในแต่ละครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ประเทศต่างๆ จะพยายามบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา นำมาถอดบทเรียนในการเตรียมตัวรับมือและศึกษาพฤติกรรมของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการนำบันทึกมาวิเคราะห์คาบอุบัติซ้ำของการเกิด หรือแม้กระทั่งนำมาประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความใส่ใจในการจดบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวรวมไปถึงเหตุการณ์สึนามิอย่างดีเยี่ยม โดยแต่ในแต่ละเหตุการณ์ ญี่ปุ่นบันทึกเรื่องราวของสึนามิไว้อย่างสมบูรณ์และสามารถย้อนกลับไปนานที่สุดในโลก ...
สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล สาเหตุที่เรียกว่า วงแหวนปะการังจิ๋ว ...
สำรวจ

การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า 2 วัน ...
สำรวจ

ไทย-สึนามิ เคยพบหน้ากันมาแล้วหลายครั้ง – รู้ได้ยังไง ?

ธรรมชาติของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดที่มีสึนามิมาเอี่ยวด้วย) ส่วนใหญ่จะมี คาบอุบัติซ้ำ (return period) ยาวนานเป็นหลักร้อยๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรอินเดียซึ่งแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ได้ดุร้ายเหมือนกับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตั้งแต่เราเกิดมา ก็เพิ่งจะเคยพบเคยเห็นสึนามิแค่ครั้งเดียวในปี พ.ศ. 2547 แต่การเห็นครั้งแรกแค่ครั้งเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีและอนาคตจะไม่เกิดขึ้น บางทีก่อนหน้าปี พ.ศ. 2547 อาจจะเคยเกิดสึนามิมาแล้วหลายครั้ง แต่ตอนนั้นพวกเรายังเป็นวุ้นอยู่ก็เท่านั้นเอง จริงๆ ...
สำรวจ

ฟุกุชิม่าฟิฟตี้ – we’re not afraid to die

11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 นอกชายฝั่งแปซิฟิกทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทั้งแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิทำให้พื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและชายฝั่งแปซิฟิกของญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดทั้งแนว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16,000 คน บาดเจ็บ 6,000 คน และสูญหายอีกกว่า 4,500 คน นอกจากนี้ ผลจากสึนามิยังทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ริมทะเล เมืองฟุกุชิม่าได้รับความเสียหายอย่างหนัก ...
สำรวจ

รำลึกมหาอุทกภัยปี 2554 – ถอดบทเรียนเพื่อป้องกันภัยตามแนวคิดทางธรณีสัณฐานวิทยา

ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ภาคกลางอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่อยู่กับน้ำ ริมน้ำ ริมคลอง ที่คุ้นชินกับการท่วมเกือบทุกปี แต่สำหรับแหล่งชุมชนเมือง อุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว การท่วมจากแม่น้ำที่ไม่เป็นธรรมชาติ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายมากมาย กรณีมหาอุทกภัยปี 2554 เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการประเมินธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดทางกายภาพหลายประการในการระบายน้ำ และความล้มเหลวในความพยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ ในบทความนี้ผู้เขียนได้ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นช่วงกลางถึงปลายปี พ.ศ. 2554 รำลึกและวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบที่เกิดจากข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ในมุมมองของนักธรณีสัณฐานวิทยา เพื่อให้เห็นว่าปัญหาทางกายภาพเป็นอย่างไร ...
สำรวจ

ไวน์ . แมททิว . มอร์เลย์

ในช่วงที่กำลังเลือกหาหัวข้อเพื่อทำวิจัยปริญญาเอก เฟรเดริก ไวน์ (Frederick Vine) นักศึกษาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นมหาสมุทรแผ่กว้าง (Sea-floor Spreading) ของแฮรี่ เฮสส์ ซึ่งมันทำให้เขาสนใจและอยากรู้ว่าบริเวณ แนวสันเขากลางมหาสมุทรนั้นเป็นต้นกำเนิดของการสร้างแผ่นมหาสมุทรใหม่จริงหรือไม่ และการเกิดใหม่ของแผ่นมหาสมุทรตรงแนวสันเขานี้ใช่ไหมที่ทำให้ทวีปต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างที่อัลเฟรด เวเกเนอร์บอกผ่าน แนวคิดทวีปเคลื่อน ...
สำรวจ

ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย

หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน 10 กว่าปีแล้วก็ตาม ...
สำรวจ

รอยเลื่อนสะกาย – ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา ...
สำรวจ

นิทาน . ตำนาน . ความเชื่อ . แผ่นดินไหว

ในอดีต แนวคิดแบบเหตุและผลอย่างวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก คนโบราณจึงมักจะดำเนินชีวิตตามความเชื่อและความศรัทธาเป็นหลัก ปรากฏการณ์ธรรมชาติถูกผูกติดกับปาฏิหาริย์และอำนาจลึกลับ ผี เทพเจ้าและสรรพสัตว์ที่ดูน่าเกรงขามถูกบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ข้อมูลจากเอกสารหลายๆ ฉบับ ยืนยันว่าในอดีต คนแทบทุกมุมโลกเคยสัมผัสกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น จินตนาการและอารมณ์จึงถูกผสม นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่อง หลักคิดของชาวยุโรป ในอดีต ชาวกรีก เชื่อว่า ...
สำรวจ

วิกฤติน้ำโขงแห้งขอด กับกลิ่นการล่าแม่มดแบบอ่อนๆ

เดือนกรกฎาคม ปีพุทธศักราช 2562 บันทึกกันเอาไว้ได้เลยว่า แม่น้ำโขงเหือดแห้งที่สุด เท่าที่ชายวัยกลางคนคนหนึ่งเคยเห็นมา บางข่าวบอกว่าแห้งที่สุดในรอบ 10 ปี บ้างก็ว่า 40 ปี หรือในบางพื้นที่เคลมกันขนาดว่าในรอบ 100 ปี เพิ่งจะเคยได้เห็น ซึ่งก็จากปรากฏการณ์แม่โขงแห้งในครั้งนี้ ทำให้สังคมไทยเริ่มหันไปมองค้อนประเทศจีน ข่าวชาวบ้านในช่วงนี้ก็จะมีบรรยากาศการลงไปจับปลากลางลำน้ำโขงแบบง่ายๆ ในขณะที่เพจสายอนุรักษ์นิยมก็จะฟีดเรื่องราวการสร้างเขื่อนของจีน ...
สำรวจ

จากห้องทดลองสู่มหาสมุทร จากมหาวิทยาลัยสู่ดงสงคราม – ชีวิตที่ผกผันของผู้พันเฮสส์

แฮรีย์ เฮสส์ (Harry Hess) เกิดที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2449 เขาจบไฮสคูลที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเยล รัฐคอนเนตทิคัต ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ต่อมาเขาหันเหความสนใจย้ายไปเรียนและจบปริญญาตรี สาขาธรณีวิทยา (Geology) ในปี พ.ศ. 2470 ถือว่าเป็นบัณฑิตธรณีวิทยาคนแรกของมหาวิทยาลัยเยล ...
สำรวจ

4 หลักฐานชวนเชื่อ “ทวีปเคลื่อนที่ได้” กับความชอกช้ำของเวเกเนอร์

ต่อให้เป็นยุคนี้ พ.ศ. นี้ ถ้าเราพอจะนึกออกว่าแต่ละทวีปของโลกมันกว้างใหญ่แค่ไหน ใครจะไปกล้าคิดละว่าทวีปต่างๆ จะเคลื่อนที่ได้ แต่เชื่อไหมว่าถ้าย้อนกลับไปซักประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว มีชายเยอรมันคนหนึ่งที่คิดเรื่องพรรณนี้ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) เป็นที่รู้จักในฐานะนักสำรวจขั้วโลกเหนือตัวยง ชีวิตของเขาส่วนใหญ่ก็เลยหนักไปทางสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ บนเกาะกรีนแลนด์ ทั้งในหมวกของนักธรณีวิทยาสำรวจหิน ดิน แร่ รวมไปถึงนักอุตุนิยมวิทยาที่คอยตรวจวัดสภาพอากาศในพื้นที่เขตหนาว ผลงานการสำรวจของเวเกเนอร์มีมากมายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากแวดวงวิทยาศาสตร์ ...