ดิน เบื้องต้น
ดิน (soil) คือ วัตถุทางธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย เศษหินและแร่ ประมาณ 45% น้ำ ประมาณ 25% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน ประมาณ 25% รวมทั้ง อินทรียวัตถุจากซากพืชซากสัตว์ อีกประมาณ ...
หินนาคา ภูลังกา กับธรณีวิทยาน่ารู้
ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ในเขตอุทยานเเห่งชาติภูลังกา รอยต่อระหว่างจังหวัดบึงกาฬ-นครพนม (กรอบสีขาวในแผนที่) ซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจของถ้ำนาคาและพื้นที่โดยรอบนี้คือ การพบหินที่มีพื้นผิวคล้ายกับเกล็ดของสัตว์ขนาดยักษ์อยู่ทั่วไปในแถบนั้น ซึ่งตามคติชาวบ้านหรือความเชื่อในท้องถิ่นบางส่วนเชื่อว่านี่คือร่างของพญานาคที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงปู่อือลือ ถูกสาปให้ร่างกลายเป็นหินติดอยู่ในถ้ำแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นผิวหินที่คล้ายกับเกล็ดปลาหรือเกล็ดพญานาคนี้ สามารถอธิบายได้ตามหลักวิชาการทางธรณีวิทยา บทความนี้จึงอยากจะเผยแพร่ความรู้ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะลบหลู่ความเชื่อหรือคติชาวบ้านในพื้นที่แต่อย่างใด ในทางธรณีวิทยา เมื่อหินบนพื้นผิวโลกผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านกาลเวลามาซักระยะ หินก้อนใหญ่ๆ สามารถแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ...
หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน
ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ...