Tag: พฤติกรรมแผ่นดินไหว

วิจัย

พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน

จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก ...
วิจัย

นิสัยการเกิดแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนสะกาย ประเทศพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ด้วยความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ ทำให้รอยเลื่อนสะกายถือว่าเป็นรอยเลื่อนยักษ์ที่อยู่ใกล้คนมากเกินไปและไม่น่าไว้ใจในอนาคต คำว่า Sagaing Fault เมื่อก่อนคนไทยเคยอ่าน รอยเลื่อนสะเกียง ฝรั่งต่างชาติอ่าน รอยเลื่อนสะแกง ต่อมาคนพม่าบอกว่าบ้านเขาเรียก รอยเลื่อนสะกาย ทุกวันนี้สรุปเรียกให้ตรงกันว่า รอยเลื่อนสะกาย ตามคนพม่าเจ้าของพื้นที่ ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic setting) ...
เรียนรู้

บันทึกแผ่นดินไหว : ไดอารี่ที่จดเอาไว้คาดการณ์อนาคต

ในการศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว ข้อมูลที่จำเป็นและเป็นตัวบ่งชี้นิสัยของแผ่นดินไหวได้ดีที่สุด คือ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจากแหล่งที่ได้มาของบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกบันทึกแผ่นดินไหวตามช่วงเวลาและความแม่นยำของการบันทึกข้อมูลได้ 3 ประเภท คือ 1) บันทึกทางธรณีวิทยา (geological record) หรือ ข้อมูลธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ...