สำรวจ

Explore

สำรวจ

กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก

ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด แต่กลับเป็นหลักฐานทาง ตะกอนวิทยา ...
สำรวจ

เขตมุดตัว (ของเปลือกโลก) ระดับโลก

ธรณีแปรสัณฐาน – ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) หรือ ร่องลึกก้นสมุทร (trench) กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน ร่องลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก และร่องลึกก้นสมุทรชวา เป็นต้น ...
สำรวจ

ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศไทยที่อยู่ใกล้กับขอบของแผ่นเปลือกโลกมากที่สุด ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งก็คือรอยร้าวภายในแผ่นเปลือกโลกที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในอดีต และล่าสุดกรมทรัพยากรธรณี ...
สำรวจ

“คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ถ้าจะให้พูดกันอย่างแฟร์ๆ วิทยาศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาในภายหลังจากความเชื่อในท้องถิ่นที่มักจะมีอยู่ก็ก่อนแล้ว ดังนั้นในหลายๆ สถานที่บนโลก จึงถูกอธิบายไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธา และอาจจะมีในบางสถานที่ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ เคียงขนานกันไป ซึ่งนั่นก็รวมถึงสถานที่ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าในบทความนี้เช่นกัน เพราะเรื่องเล่าในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะลบล้างหรือลบหลู่ความเชื่อในท้องที่ที่มีอยู่ก่อน แต่เจตนาหลักของการเล่าเรื่องก็เพียงแค่อยากให้มีมุมของวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกซักมุม เดินเคียงกันไปกับความศัทธาดั้งเดิม คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง ...
สำรวจ

ย้อนรำลึกแผ่นดินไหวโทโฮคุ 9.0 : ทำไมวันนั้นกำแพงกันคลื่นถึงเอาไม่อยู่

11 มีนาคม พ.ศ. 2554 หรือเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ ภูมิภาคโทโฮคุ (Tohoku) ทางเหนือของ เกาะฮอนชู (Honshu) ประเทศญี่ปุ่น และ ผลจากการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้น ยังทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เข้าปะทะตลอดแนวชายฝั่งแปซิฟิกของประเทศญี่ปุ่น ...
สำรวจ

แผ่นดินไหว . สึนามิ . สุลาเวสี : กับข้อชวนคิดของคนไทย

วิเคราะห์และเรียบเรียง : สันติ ภัยหลบลี้ และ มนตรี ชูวงษ์ สุลาเวสี (Sulawesi) เป็นหนึ่งในเกาะสำคัญของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยในทางธรณีแปรสัณฐาน เกาะสุลาเวสีเกิดจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นอย่างเมามันและซับซ้อน ทั้งแผ่นออสเตรเลีย แผ่นแปซิฟิกและแผ่นฟิลิปปินส์ ทำให้พื้นที่ทั้งภายในและโดยรอบเกาะสุลาเวสีมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญถึง 10 แหล่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ...
สำรวจ

หมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ : ร่องรอยการเดินทางของแผ่นเปลือกโลก

ก่อนที่เราจะคุยกันเรื่อง หมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ ผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกท่านย้อนกลับไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแมกมาและภูเขาไฟกันสักนิด (ตามอ่านได้ที่บทความ ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย) เรื่องของเรื่องคือจากการกระจายตัวของ ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) ทั่วโลกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่าภูเขาไฟไม่ได้เกิดขึ้นแบบมั่วซั่ว เพราะความจริงแล้ว ใต้เปลือกโลกปกติๆ เปลือกโลกจะวางตัวอยู่บนเนื้อโลกหรือ แมนเทิล (mantle) ซึ่งไม่ใช่แมกมาอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจหรือจินตนาการเอาไว้ แต่การที่จะมีแมกมาเกิดขึ้นใต้เปลือกโลกแล้วฉีดพุ่งขึ้นมาเป็นภูเขาไฟได้นั้น ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาที่เหมาะสม ...
สำรวจ

จากตำนาน “เวียงหนองหล่ม” สู่การตีความด้านแผ่นดินไหว

ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีนิทาน ตำนาน หรือเรื่องเล่าพื้นบ้านสืบสานกันมามากมายจากรุ่นต่อรุ่น ไม่ว่าจะเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่อง ศรีธนนชัย ที่บอกเล่าเรื่องราวความฉลาดแกมโกงของมนุษย์คนหนึ่งตั้งแต่เด็กจนโต ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับตัวละครที่ชื่อ เซียงเมี่ยง ที่เล่าต่อปากกันมาในภาคอีสาน หรือจะเป็นตำนาน ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ที่ปราชญ์หลายท่านเชื่อว่าสุดท้ายลงเอยตรงที่สร้าง พระธาตุตาดทอง เพื่อไถ่โทษและบูชาแม่เอาไว้ที่จังหวัดยโสธร หรือบางตำนานเรื่องเล่าก็เข้าไปสัมพันธ์กับการเกิดภัยพิบัติ ตัวอย่างเช่นตำนานเรื่อง ผาแดงนางไอ่ หรือที่เรียกกันในหมู่คนเฒ่าคนแก่ว่าตำนาน ขอคำกระฮอกด่อน ...
สำรวจ

หินนาคา ภูลังกา กับธรณีวิทยาน่ารู้

ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ในเขตอุทยานเเห่งชาติภูลังกา รอยต่อระหว่างจังหวัดบึงกาฬ-นครพนม (กรอบสีขาวในแผนที่) ซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจของถ้ำนาคาและพื้นที่โดยรอบนี้คือ การพบหินที่มีพื้นผิวคล้ายกับเกล็ดของสัตว์ขนาดยักษ์อยู่ทั่วไปในแถบนั้น ซึ่งตามคติชาวบ้านหรือความเชื่อในท้องถิ่นบางส่วนเชื่อว่านี่คือร่างของพญานาคที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงปู่อือลือ ถูกสาปให้ร่างกลายเป็นหินติดอยู่ในถ้ำแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นผิวหินที่คล้ายกับเกล็ดปลาหรือเกล็ดพญานาคนี้ สามารถอธิบายได้ตามหลักวิชาการทางธรณีวิทยา บทความนี้จึงอยากจะเผยแพร่ความรู้ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะลบหลู่ความเชื่อหรือคติชาวบ้านในพื้นที่แต่อย่างใด ในทางธรณีวิทยา เมื่อหินบนพื้นผิวโลกผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านกาลเวลามาซักระยะ หินก้อนใหญ่ๆ สามารถแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการผุพัง ...
สำรวจ

10 การปะทุของภูเขาไฟ ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในโลก

เรียบเรียงโดย : ธนภูมิ โฆษิตานนท์ และ สันติ ภัยหลบลี้  ภูเขาไฟปะทุ (volcanic eruption) ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ภัยพิบัติทางธรณีวิทยา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งด้วย รูปแบบของการประทุภูเขาไฟที่แตกต่างกันทำให้ระดับความรุนแรงของภูเขาไฟนั้นต่างกันไปด้วย โดยในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุและมีการบันทึกไว้ในอดีต มนุษย์ก็หลบได้บ้างไม่ได้บ้าง และมีบางเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาให้กับมนุษย์ได้อย่างเจ็บปวด ...
สำรวจ

เขาสามมุข : ควอตซ์ . ไดค์ . ไซต์ . เวิลด์คลาส

ถ้าเอ่ยชื่อ เขาสามมุข เขื่อว่าชาวเมืองชลฯ คนภาคตะวันออก หรือแม้แต่คนไทยค่อนประเทศ คงจะพอคุ้นหูหรือไม่ก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนจะเคยหรือไม่เคยไป จะไปให้อาหารลิง นั่งนิ่งๆ ที่จุดชมวิวบนเขา หรือมาไหว้ขอพรศาลเจ้าแม่สามมุข ก็ตามแต่โอกาสของแต่ละคน ซึ่งหากดูเผินๆ หรือขับรถวนเล่นเพลินๆ ทุกคนก็คงจะคิดว่าเขาสามมุขก็แค่เขาทั่วๆ ไป ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่ในทางธรณีวิทยา เขาสามมุขถือได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญจุดหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ทำไมน่ะเหรอ ...
สำรวจ

10 เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้มากมาย ทั้งจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว ที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวแทบจะทุกเหตุการณ์ รวมไปถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่แสดงว่าในอดีตนั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก่อน และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญต่างๆ ที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ พบว่ามีหลากหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งบทความนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว 10 เหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์มากที่สุด 1) แผ่นดินไหวขนาด 8.0 มณฑลส่านซี ประเทศจีน 23 มกราคม ...
สำรวจ

มัดรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ไทยเคยโดน

 ประสบการณ์การด้านแผ่นดินไหวในบ้านเรา จริงๆ แล้วก็มีให้เห็นเป็นระยะๆ หลายคนเคยเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ แต่คนที่จะได้รับประสบการณ์ตรงของแรงสั่นสะเทือนนั้นคงนับหัวได้ ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงอาจจะคิดว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ก่อนที่ความรู้สึกแบบนี้จะฝังรากหยั่งลึก แนะนำให้ลองดูแผนที่ด้านล่างกันก่อน ข้อมูลที่แสดงในแผนที่เป็นสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดในช่วงปี พ.ศ. 2507-2554 ซึ่งคัดลอกมาจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวของหน่วยงาน Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ...
สำรวจ

กรุงเทพฯ จมน้ำ : แน่ใจหรือ ว่าเราจะมีโอกาสเห็น

ประเด็นที่ว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังจะจมน้ำ ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงกันมานานมากแล้ว และทุกครั้งที่ถกทั้งในวงแคบและวงกว้าง ก็มักจะทำให้เกิดความวิตกกังวลกับคนในพื้นที่ ถึงขนาดที่ว่าหนีไปซื้อที่ซื้อทางในภาคอื่นเอาไว้ก็มี เพราะกลัวว่าตอนแก่จะไม่มีที่อยู่ ซึ่งถ้าจะพูดถึงความเป็นไปได้ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจม กลายเป็นเมืองบาดาล มีปัจจัยที่ควรถูกตีแผ่อยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล และ 2) การทรุดตัวต่ำลงของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ...
สำรวจ

ทะเลสาบเท้าม้วน : กับตำนาน ศักรินทร์ดาวร้าย แห่งมะริกัน

ทะเลสาบเท้าม้วน (Reelfoot Lake) เป็นทะเลสาบขนาดพอประมาณแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทะเลสาบมีพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (15,000 เอเคอร์) ซึ่งถึงแม้ว่าทะเลสาบเท้าม้วนจะไม่ใช่ทะเลสาบที่โด่งดังคุ้นหูคนไทยมากนัก แต่สำหรับคนอเมริกันท้องถิ่นในแถบแม่น้ำมิสซิสซิปปี รู้จักทะเลสาบเท้าม้วนนี้กันเป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญในแถบตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา และด้วยความที่มีระบบนิเวศไม่ค่อยเหมือนใครในแถบนั้น คนส่วนใหญ่ที่ไปที่นั่นจึงมักจะไปเปิดหูเปิดตาอยู่ไม่ขาดสาย เพื่อตั้งแคมป์ปิ้ง ชมธรรมชาติ ดูนกหายาก รวมทั้งการพายเรือเล่นและตกปลา ...
สำรวจ

สึนามิกำพร้า – ป่าผี

สึนามิกำพร้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในแต่ละครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ประเทศต่างๆ จะพยายามบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา นำมาถอดบทเรียนในการเตรียมตัวรับมือและศึกษาพฤติกรรมของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการนำบันทึกมาวิเคราะห์คาบอุบัติซ้ำของการเกิด หรือแม้กระทั่งนำมาประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความใส่ใจในการจดบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวรวมไปถึงเหตุการณ์สึนามิอย่างดีเยี่ยม โดยแต่ในแต่ละเหตุการณ์ ญี่ปุ่นบันทึกเรื่องราวของสึนามิไว้อย่างสมบูรณ์และสามารถย้อนกลับไปนานที่สุดในโลก ...
สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล สาเหตุที่เรียกว่า วงแหวนปะการังจิ๋ว ...
สำรวจ

การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า 2 วัน ...