วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในอนาคต

เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกขนานไปกับแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกิดจากการชนกันในแนวเหนือ-ใต้ของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) ทำให้แนวหมู่เกาะอินโดนีเซียยังคงมีภูเขาไฟมีพลังและกิจกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิเกิดขึ้นตลอดแนวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

ในเรื่องของแผ่นดินไหว เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมต่ำกว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน ในแถบบ้านเรา ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ดังกล่าว บ่งชี้ว่าไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด > 8.6 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 (Newcomb และ McCann, 1987) อย่างไรก็ตาม Ammon และคณะ (2006) ศึกษาและสรุปว่าแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมักจะก่อให้เกิดสึนามิ โดยหน่วยงาน NOAA รายงานว่าในช่วงปี ค.ศ. 1629-2010 (380 ปี) มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ > 150 เหตุการณ์ ที่ทำให้เกิดสึนามิ สร้างความเสียหายต่อประเทศอินโดนีเซีย

ด้วยเหตุนี้เพื่อที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวตามแนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย และทำให้เกิดสึนามิในอนาคต Chenphanut (2015) ได้วิเคราะห์ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ในบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย โดยคัดเลือกแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 (รูปด้านล่าง) เป็นกรณีศึกษาในการ วิเคราะห์ค่า Z ทั้งในเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ เพื่อคัดเลือกตัวแปรอิสระ N และ Tw ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ค่า Z โดยผลการทดสอบย้อนกลับบ่งชี้ว่าตัวแปรอิสระ N = 25 เหตุการณ์ และ Tw = 2.5 ปี พบค่า Z ที่มีนัยสำคัญก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw จากทุก 13 กรณีศึกษา (รูปด้านล่าง)

ลำดับ ลองจิจูด ละติจูด ความลึก (กิโลเมตร) วัน/เดือน/ปี ขนาด (Mw) Zmax TZ (ค.ศ.) DZ (ปี)
1. 101.94 -4.73 44 04/06/2000 7.9 1.9 1989.94 10.5
2. 102.36 -5.40 21 13/02/2001 7.4 4.4 1997.92 3.2
3. 124.11 -4.31 19 19/10/2001 7.5 4.6 1989.67 12.1
4. 128.67 -3.56 10 10/102002 7.0 1.7 1998.15 4.6
5. 127.28 -3.00 16 26/052003 7.0 4.9 1989.29 14.1
6. 125.12 -7.87 17 11/11/2004 7.5 5.1 1988.25 16.6
7. 97.05 0.09 12 16/05/2006 7.0 4.9 2003.06 3.3
8. 106.00 -9.23 33 17/07/2006 7.2 4.9 1998.76 7.8
9. 100.13 -2.46 43 12/09/2007 7.9 4.9 1990.82 16.9
10. 100.99 -3.78 24 12/09/2007 8.5 4.9 1995.89 11.8
11. 132.43 -2.77 33 03/01/2009 7.6 4.9 1988.33 20.7
12. 133.78 -4.92 18 29/09/2010 7.0 5.1 1992.74 18.0
13. 99.32 -3.71 12 25/10/2010 7.8 4.6 2005.28 5.5
กรณีศึกษาแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียในช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 และผลการวิเคราะห์ค่า Z (Chenphanut, 2015) หมายเหตุ: 1) Zmax คือ ค่า Z สูงที่สุด ที่ตรวจพบในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า Z เชิงเวลา 2) TZ คือ เวลาที่ตรวจพบค่า Zmax และ 3) DZ คือ ช่วงเวลาระหว่าง TZ ถึงเวลาเกิดแผ่นดินไหวที่พิจารณา

การทดสอบย้อนกลับเชิงเวลา

 ในส่วนของการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า Z เชิงเวลา Chenphanut (2015) วิเคราะห์ค่า Z ในช่วงปี ค.ศ. 1980 จนถึงเวลาเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละกรณีศึกษา  แสดงผลการวิเคราะห์จำนวนแผ่นดินไหวสะสมและค่า Z ในแต่ละกรณีศึกษา พบค่า Zmax อยู่ในช่วง 1.7-5.1 เช่น ในรูป ก-ข พบภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวอย่างชัดเจนในปี ค.ศ. 1989.94 (Zmax = 1.9) และ ค.ศ. 1997.92 (Zmax = 4.4) และหลังจากนั้น 10.5 ปี และ 3.2 ปี จึงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 Mw และ 7.4 Mw ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 และเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ตามลำดับ (รูป ก-ข) (Chenphanut, 2015)

กราฟแสดงจำนวนแผ่นดินไหวสะสม (เส้นสีดำ) และการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาของค่า Z (เส้นสีเทา) วิเคราะห์ที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดขึ้นตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Chenphanut, 2015) แถบสีเทา คือ ช่วงเวลาเกิดภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว ดาวสีเทา คือ เวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่พิจารณา

อย่างไรก็ตามในบางกรณีศึกษาตรวจพบค่า Zmax หลายช่วงเวลา เช่น ในรูป ฉ พบค่า Zmax = 5.1 ในปี ค.ศ. 1982.50 และ ค.ศ. 1988.25 ซึ่ง Chenphanut (2015) คัดเลือกค่า Zmax ที่ตรวจพบครั้งสุดท้าย (ค.ศ. 1988.25) เป็นตัวแทนของภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว ซึ่งหลังจากนั้น 16.6 ปี จึงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 Mw เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 นอกจากนี้จากรูป ง พบค่า Zmax = 1.7 ทั้งหมด 4 ช่วงเวลา คือ ปี ค.ศ. 1982.85 ค.ศ. 1986.07 ค.ศ. 1993.93 และ ค.ศ. 1998.15 ตามลำดับ โดยหากพิจารณาค่า Zmax ที่ตรวจพบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1998.15 จะพบว่าหลังจากนั้น 4.6 ปี จึงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 Mw เมื่อวันที่ 10 เดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 ในกรณีของรูป ซ ตรวจพบค่า Zmax ทั้งหมด 5 ช่วงเวลา โดยค่า Zmax ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1998.76 และหลังจากนั้น 7.8 ปี จึงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 Mw ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 เป็นต้น

จากผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า Z เชิงเวลา ดังที่อธิบายในข้างต้น Chenphanut (2015) สรุปว่าตัวแปรอิสระ N = 25 เหตุการณ์ และ Tw = 2.5 ปี ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระสำหรับการวิเคราะห์แผ่นดินไหวโดยใช้ค่า Z มีประสิทธิภาพสำหรับการวิเคราะห์ค่า Z อย่างมีนัยสำคัญ ในบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย

การทดสอบย้อนกลับเชิงพื้นที่

และเพื่อที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z และจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดตามมา Chenphanut (2015) วิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z จากกรณีศึกษาทั้งหมด 13 กรณีศึกษา โดยผลการวิเคราะห์ดังแสดงในรูปด้านล่าง พบค่า Z แปรผันอยู่ในช่วง -4.0 ถึง 5.5 เช่น รูป ข เป็นแผนที่แสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z ที่วิเคราะห์ในช่วงเวลา TZ = ค.ศ. 1997.92 พบพื้นที่แสดงค่า Z สูงอย่างผิดปกติ (Z = 4.5) 2 พื้นที่ คือ 1) ตอนใต้ของเมืองปาเล็มบัง และ 2) ทางตะวันตกของเมืองยอร์กจาการ์ตา รวมทั้งพื้นที่ขนาดเล็กที่มีค่า Z = 2.0 กระจายตัวอยู่ตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (รูป ข) ซึ่งหลังจากนั้นประมาณ 3 ปี จึงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 Mw เมื่อวันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในบริเวณที่แสดงค่า Z สูงที่สุดทางตอนใต้ของเมืองปาเล็มบัง (รูป ข) เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวขนาด 7.2 Mw เมื่อวันที่ 17 เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 (รูป ซ) ที่เกิดในบริเวณที่แสดงค่า Z สูงที่สุด จากการวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z ในช่วงเวลา TZ = ค.ศ. 1998.76

ในกรณีของรูป ค (TZ = ค.ศ. 1989.67) และรูป จ (TZ = ค.ศ. 1989.29) พบค่า Z = 4.6-4.9 ในพื้นที่เมืองปาเล็มบัง ทางตอนใต้และตอนเหนือของเมืองพรายา นอกชายฝั่งทางตะวันออกของเมืองดิลี และพื้นที่ทางตะวันออกของเมืองมากัสซาร์ (Makassar) ซึ่งหลังจากนั้นประมาณ 12-14 ปี เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 Mw ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2001 ในพื้นที่แสดงค่า Z สูงที่สุดทางตะวันออกของเมืองมากัสซาร์ และในช่วงกลางปี ค.ศ. ​​ 2003 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 Mw ทางตอนเหนือของเมืองอัมบน

แผนที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียแสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z ที่เวลา TZ ซึ่งประเมินจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า Z เชิงเวลาใน (Chenphanut, 2015) ดาวสีดำ คือ แผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่พิจารณา

ถึงแม้ว่าในรูป ญ (TZ = ค.ศ. 1995.89) แสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวไม่ชัดเจน แต่ในเวลาต่อมาประมาณ 11 ปี เมื่อวันที่ 12 เดือนกันยายน ค.ศ. 2007 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 Mw ในพื้นที่แสดงค่า Z สูงที่สุดทางตอนตะวันตกของเมืองปาเล็มบัง (รูป ญ) (Chenphanut, 2015)

นอกจากนี้ในรูป ฎ และรูป ฏ ถึงแม้ว่าค่า Z สูงอย่างผิดปกติที่ตรวจพบทางตอนเหนือของเมืองดิลีจะมีขนาดเล็กกว่าพื้นที่ข้างเคียง เช่น ตอนใต้ของเมืองจาการ์ตาและพื้นที่โดยรอบเมืองปาดัง (Padang) แต่หลังจากนั้นประมาณ 17 ปี เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 Mw ทางตอนเหนือของเมืองดิลีซึ่งแสดงค่า Z = 5.1 รวมทั้งกรณีศึกษาทั้งหมด ก็แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z สูงอย่างผิดปกติและจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดตามมา Chenphanut (2015) จึงสรุปว่าตัวแปรอิสระ N = 25 เหตุการณ์ และ Tw = 2.5 ปี มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ค่า Z ที่มีนัยสำคัญต่อภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต โดยเฉพาะพื้นที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย

พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต

นอกจากการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z สูงอย่างผิดปกติที่สัมพันธ์กับตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดตามมา จากรูปด้านบนที่แสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า Z บ่งชี้ว่าในบางพื้นที่สามารถพบค่า Z สูงอย่างผิดปกติเช่นกัน ได้แก่ 1) ตอนเหนือของเมืองพรายา 2) ตอนใต้ของเมืองพรายา และ 3) ทางตะวันออกของเมืองดี ซึ่งจากการทดสอบย้อนกลับทั้งในเชิงเวลาและเชิงพื้นที่พบค่า Z = 4.5 แสดงอยู่ในหลายช่วงเวลาในช่วงปี ค.ศ. 1988.33-1990.82 (รูป ก-ฎ) 4) ตอนเหนือของเมืองบาจาวา พบค่า Z สูงอย่างผิดปกติในช่วงปี ค.ศ. 1989.67-1989.94 (รูป ก-ค) 5) ทางตอนใต้ของเมืองบาจาวา พบค่า Z = 4.5 (รูป ก-ฌ) 6) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปาลู และ 7) ตอนใต้ของเมืองอัมบน ซึ่งตรวจพบค่า Z สูงที่สุดในปี ค.ศ. 1990.82 (รูป ฌ)

แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw เกิดขึ้น Chenphanut (2015) จึงสรุปว่าทั้ง 7 พื้นที่ดังกล่าว อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024