เรียนรู้

คลื่นกลางมหาสมุทร และกระแสน้ำริมฝั่ง

คลื่นน้ำ (water wave) ในมหาสมุทร คือ คลื่น ที่เกิดจากการกระเพื่อมขึ้น-ลงของผิวน้ำ เกิดจากการถ่ายทอดพลังงานจากลมเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากลมพัดอ่อนๆ ทำให้พื้นน้ำที่ราบเรียบกลายเป็น ระลอกคลื่น (ripple) ต่อมาผิวน้ำที่ขรุขระจากระรอกคลื่นทำให้ลมปะทะกับน้ำได้ง่ายขึ้น ทำให้คลื่นใหญ่ขึ้นตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความเร็วและความยาวนานของลมที่เข้าปะทะ (รูปซ้าย) โดยเมื่อคลื่นเดินทางผ่านน้ำ มวลน้ำจะเคลื่อนที่แบบหมุนวนแต่จะไม่มีการเดินทางของมวลน้ำ สังเกตได้จากวัตถุใดๆ หรือเรือเมื่อลอยอยู่ในมหาสมุทรจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมตามจังหวะการกระเพื่อมของคลื่น โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง

(ซ้าย) ระนอกคลื่นกลางมหาสมุทร (ขวา) คลื่นหัวแตกริมชายฝั่ง

องค์ประกอบของคลื่นน้ำนั้นประกอบด้วย 1) ยอดคลื่น (crest) และ 2) ท้องคลื่น (trough) ซึ่งระยะห่างระหว่างยอดคลื่นถึงยอดคลื่นข้างเคียงหรือท้องคลื่นถึงท้องคลื่นข้างเคียง คือ ความยาวคลื่น (wave length) ซึ่งการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในมหาสมุทรเปิดนั้นจะมีลึกลงไปประมาณ ½ หรือ 0.5 เท่าของความยาวคลื่น เรียกว่า ฐานคลื่น (wave base) ซึ่งจะลึกลงไปมากกว่าท้องคลื่นที่เห็นบนผิวน้ำ

กลไกการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำลึก กลางมหาสมุทรเปิด

เมื่อคลื่นเดินทางเข้าใกล้ชายฝั่ง และฐานคลื่นเริ่มสัมผัสกับพื้นหาด (ความลึก ½ เท่าของความยาวคลื่น) คลื่นจะเดินทางช้าลง ความยาวคลื่นโดยรวมสั้นลง ยอดคลื่นชันขึ้น การเคลื่อนที่ของมวลน้ำที่เคยเป็นแบบวงกลมจะแหลมขึ้นและเอียงเท จากนั้นจะเกิดการแตกของคลื่นในบริเวณ โซนกระดานโต้คลื่น (surf zone) หรือเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า คลื่นหัวแตก

กลไกการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำบริเวณชายฝั่ง

ปฏิสัมพันธ์ของน้ำทะเลหรือคลื่นที่กระทำกับพื้นที่ริมชายฝั่งสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบแตกต่างกัน คือ

1) กระแสคลื่นขนานฝั่ง

กระแสคลื่นขนานฝั่ง (longshore current) คือ คลื่นที่เคลื่อนที่เป็นมุมกับชายฝั่ง ทำให้ คลื่นซัดหาด (swash) ซึ่งหมายถึง คลื่นที่ม้วนตัวขึ้นฝั่ง และ คลื่นกลับหาด (backwash) คือ คลื่นที่ม้วนตัวกลับลงทะเล เกิดการเคลื่อนที่ในแนวเฉียงไปด้านข้างเป็นระรอก ซึ่งการกลับไปมาของคลื่นซัดหาดและคลื่นออกหาด ทำให้เกิดการหอบเม็ดทรายเลื่อนออกไปด้านข้างขนานกับไปกับชายฝั่งเป็นระยะ (longshore drift หรือ littoral drift) (รูปซ้าย)

(ซ้าย) แบบจำลองและลักษณะจริงของกระแสคลื่นขนานฝั่งในรัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย (jabiru) (ขวา) แบบจำลองและลักษณะจริงของกระแสคลื่นกว้าน
กระแสคลื่นขนานฝั่ง

ในบางพื้นที่กระแสคลื่นขนานฝั่งสามารถเคลื่อนทรายไปได้ไกลเป็นหลัก กิโลเมตรต่อวัน

2) กระแส คลื่น กว้าน

กระแสคลื่นกว้าน (rip current) หมายถึง คลื่นหัวแตกที่พาน้ำซัดเข้าฝั่ง (รูปขวา) บางครั้งพื้นไม่เรียบน้ำไหลหลงไม่ได้ตลอดแนว เพราะบางแนวเป็นเหมือนสันทรายตื้นใต้น้ำ ทำให้น้ำไหลตามช่องอย่างรวดเร็ว ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีความเร็ว โดยปกติจุดที่เกิดกระแสน้ำแบบนี้เป็นอันตรายต่อคนที่ว่ายน้ำเล่นมักเกิดอยู่ระดับขา บางครั้งจึงเรียกว่า คลื่นปลายเท้า (underthrow, rip tide, sea pause)

หากเจอกระแสคลื่นกว้านให้ว่ายขนานฝั่ง เพื่อหลบแรงดันน้ำที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเล และมีโอกาสว่ายไปเหยียบบริเวณสันทรายที่ตื้นกว่าปกติ

กระแสคลื่นก้วานในมุมมองต่างๆ

3) กระแสน้ำขึ้น-น้ำลง

กระแสน้ำขึ้น-น้ำลง (tidal current) ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น-ข้างแรม (Lunar’s Phase หรือ Moon’s Phase) เกิดจากดวงจันทร์ ซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบ ใช้เวลาประมาณ 29.5 วันต่อรอบ โดยนักวิทยาศาสตร์แบ่งย่อยปรากฏการข้างขึ้น-ข้างแรม ของดวงจันทร์ออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์ (ที่มา : wikipedia.org)

1) ข้างขึ้น (waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่าง คืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แบ่งออกเป็น 15 ส่วน เริ่มจาก ขึ้น 1 ค่ำ จนถึง ขึ้น 15 ค่ำ

2) ข้างแรม (waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 15 ส่วนโดยเริ่มจากแรม 1 ค่ำ จนถึง แรม 14-15 ค่ำ

3) คืนเดือนมืด (new moon) เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ อยู่หน้าดวงอาทิตย์ ในวันนี้ผู้สังเกตที่ด้านกลางคืนและด้านกลางวันบนโลก จะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกคืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ

4) วันเพ็ญ (full moon) ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ผู้สังเกตที่อยู่ด้านกลางวันจะไม่เห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้าเลย ในขณะที่ผู้ที่อยู่ด้านมืดจะเห็นดวงจันทร์นานที่สุดคือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 6 โมงเย็นถึง 6 โมงช้าของอีกวันหนึ่ง

โดยผลจากปรากฏการข้างขึ้น-ข้างแรม ของดวงจันทร์ทำให้มหาสมุทรนั้นเกิด กระแสน้ำขึ้น-น้ำลง (tidal current) ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่ง จากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ซึ่งอิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง โดยแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลง (รายวัน) ส่วนดวงจันทร์ ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลง (รายเดือน) ซึ่งผลจากทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำให้เกิด กระแสน้ำขึ้น-น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตร/ชั่วโมง น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม

อ่าวมง-แซ็ง-มีแชล (Mont Saint Michel) ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงน้ำขึ้นและน้ำลง (Hoffmann O.; Captblack76)

1) น้ำใหญ่หรือน้ำเกิด (spring tide) คือ แรงจะมีมากที่สุดเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม15 ค่ำ เช่นในช่วงดวงจันทร์เต็มดวงและมืดสนิท

2) น้ำน้อยหรือน้ำตาย (neap tide) คือ แรงที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงจะน้อยที่สุด เกิดในรอบ 15 วัน เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันแรขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ แรงนี้ที่เกิดจากดวงจันทร์แรงเป็น 2 เท่าของที่เกิดจากดวงอาทิตย์ เนื่องจากระยะห่างของดวงอาทิตย์จากโลกมาก

แบบจำลองการเกิด (บน) น้ำเกิด และ (ล่าง) น้ำตาย

เพิ่มเติม : ดวงจันทร์ : สัพเพเหระ

น้ำขึ้นน้ำลงจึงมีลักษณะแตกต่างกัน โดยหลักกว้าง ๆ พอจะแบ่งรูปแบบของน้ำขึ้น-น้ำลง (Tidal Pattern) ออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • น้ำเดี่ยว (diurnal tide) น้ำขึ้นน้ำลงอย่างละ 1 ครั้งต่อวันค่ะ
  • น้ำคู่ (semidiurnal tide) น้ำขึ้น 2 ครั้ง และน้ำลง 2 ครั้งใน 1 วัน น้ำขึ้นหรือน้ำลงครั้งแรกมักจะเท่ากับน้ำขึ้นหรือน้ำลงครั้งที่ 2 น้ำขึ้นน้ำลงแบบนี้ใกล้เคียงกับทฤษฎีมาก เปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งของดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ พบทั่วไปในมหาสมุทรแอตแลนติค ฝั่งอเมริกาและยุโรป
  • น้ำผสม (mixed tide) เป็นแบบผสมระหว่างแบบที่ 1 กับแบบที่ 2 เวลาที่ทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เข้าใกล้แนวเส้นศูนย์สูตรโลก น้ำขึ้นน้ำลงจะคล้ายแบบที่ 2 มาก แต่เวลาที่ดวงจันทร์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรโลกมาก น้ำขึ้นน้ำลงจะปรากฏเป็นแบบที่ 1 มากกว่า พบทั่วไปบริเวณฝั่งเม็กซิโกของอเมริกา

ซึ่งจากการเฝ้าสังเกตปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ พบว่า ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยเกิดน้ำขึ้น-น้ำลงได้ 2 แบบ คือ น้ำเดี่ยวและน้ำผสม ในขณะที่ฝั่งอันดามันของไทยเกิดเฉพาะแบบ น้ำคู่ เท่านั้น

รูปแบบการเกิด น้ำขึ้น-น้ำลง ที่พบเห็นบนโลก

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024